Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease): โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดช…
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease): โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว
ความหมาย
ความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือด และ/หรือหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โดยทั่วไปตั้งแต่ระยะที่อยู่ในครรภ์มารดา ตั้งแต่อายุ 18 วัน จนถึง 2 เดือน ที่มีการสร้างหัวใจและหลอดเลือด มีบางชนิดเกิดในระยะท้ายกว่านี้ และความผิดปกตินี้ไม่ทำให้เลือดดำ (ที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ) จากหัวใจซีกขวามาผสมกับเลือดแดงในหัวใจซีกซ้าย ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายยังคงเป็นเลือดแดง (ที่มีปริมาณออกซิเจนสูง) จึงไม่มีอาการเขียว ความผิดปกติที่พบอาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรู ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท (รั่ว) หรือเปิดไม่กว้างเท่าปกติ (ตีบ) หรือหลอดเลือดตีบ หรือเกินปกติ เป็นต้น
สาเหตุ
Atrial Septal Defect (ASD))มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้นเอเตรียมที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่างเอเตรียม ซ้ายและขวา การเกิดรูรั่วอาจมีเพียงรูเดียวหรือหลายรูก็ได้
Ventricular Septal Defect
ชนิดไม่เขียวที่มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้นventricle ที่
ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่างventricleซ้ายและขวา
Patent Ductus Ateriosus
เกิดจากการที่หลอดเลือดductus arteriosus หลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างส่วนต้นของdescending aorta กับส่วนต้นของหลอดเลือดแดง pulmonaryข้างซ้าย ไม่ปิดภายหลังทารกคลอดซึ่งปกติควรปิดภายใน 1 – 4 สัปดาห์
Coarctation of Aorta การตีบแคบหรืออุดตันของส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือด aortaซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบที่aortic aortic
Pulmonary Stenosisการตีบของลิ้น pulmonary
มีผลให้การไหลของเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาไปยังpulmonaryartery ได้ยากขึ้น
อาการ
Atrial Septal Defect (ASD)
-ขนาดเล็ก เติบโตปกติหรือช้า ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจบ่อย
-ขนาดปานกลาง เติบโตปกติหรือช้า ติดเชื้อระบบ
ทางเดินหายใจบ่อย
-ขนาดใหญ่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก
3.3. Patent Ductus Ateriosus
-PDA ขนาดเล็ก : ผู้ป่วยมักไม่มี
อาการ
-PDA ขนาดปานกลาง : ผู้ป่วยอาจจะมี
อาการเหนื่อยง่าย
-PDA ขนาดใหญ่ : ผู้ป่วยจะมีอาการมากตั้งแต่วัยทารก
หัวใจวายเหนื่อยหอบ
Coarctation of
Aorta
-ในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มาด้วย
อาการของหัวใจวายได้แก่ หายใจเหนื่อยหอบเลี้ยงไม่โต
ตรวจร่างกายจะพบว่ามีหายใจเร็วชีพจรที่แขนจะแรงกว่าที่ขา
-ในเด็กโตส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิด
ปกติถ้ามีอาการมักจะ
เป็นผลจากภาวะแทรกซ้อนเช่น ความ
ดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย และติด
Pulmonary Stenosisการตีบของลิ้น pulmonary
มีผลให้การไหลของเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาไปยังpulmonaryartery ได้ยากขึ้น
-ชนิดที่มีการตีบแคบน้อย : ผู้ป่วยจะไม่มีอาการอาจพบ systolic murmur
-ชนิดที่มีการตีบแคบปานกลาง : ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหนื่อยง่ายเพียงเล็กน้อยเวลาออกแรง พบ systolic murmur
-ชนิดที่มีการตีบแคบมาก : ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะหัวใจซีกขวาวายหรือมีอาการเขียวเล็กน้อยในเด็กเล็ก ส่วนในเด็กโตมักมีอาการเหนื่อยง่าย อาจมีอาการเขียว
Ventricular Septal Defect
-small VSD ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
-moderate VSD ตัวเล็กหรือเลี้ยงไม่โตพัฒนาการทาง
กายช้า
-large VSD มีอาการเหนื่อยง่ายเลี้ยงไม่
โต ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยมักจะมีอาการเหนื่อยง่าย
เวลาดูดนม
การวินิจฉัย
Atrial Septal Defect (ASD)
-การซักประวัติ ประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย เหนื่อยง่าย
-การตรวจร่างกาย : Ventricle ขวาโตเสียงที่หนึ่ง (S1) ต่ำกว่าปกติที่บริเวณลิ้นไตรคัสปิด
-ภาพรังสีทรวงอก : ASD ขนาดปานกลางจะ
พบหัวใจโต
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ASD ขนาดปานกลางขึ้นไป
จะพบเอเตรียมขวามีการ
-Echocardiography : ขนาดของ
atrium ขวาและ ventricle ขวาและ
หลอดเลือดแดง มีขนาด
ใหญ่ขึ้น เห็นรูรั่วบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องบนชัดเจน
-การตรวจสวนหัวใจและการฉีดสารทึบ
รังสี (Angiography) ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด
Ventricular Septal Defect(VSD)
-การซักประวัติ : หายใจเร็วผิดปกติ เด็กตัวเล็ก โต
ช้า
-การตรวจร่างกาย : พบเสียง murmur
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : พบ left atrium และventricle
โต
-ภาพรังสีทรวงอก VSD ขนาดเล็ก: ขนาดหัวใจมักปกติหรือโต
เล็กน้อย VSD ขนาดปานกลาง : มักมีหัวใจโต หลอดเลือด
ที่ปอดเพิ่มขึ้น VSD ขนาดใหญ่ : มักพบว่าหัวใจโตมาก
Patent Ductus Ateriosus
-การซักประวัติ : จากอาการตัวเล็ก น้ำหนักน้อย
หายใจเร็ว
-การตรวจร่างกาย : ได้ยิน murmur ที่ลิ้น
pulmonicชีพจรเต้นแรงpulse pressure
กว้างกว่า ½ ของความดัน systolic
-ถ่ายภาพรังสีทรวงอก : พบ ventricle ซ้ายโต
หลอดเลือดpulmonary artery มีขนาดใหญ่ขึ้น หลอดเลือดที่
ปอดเพิ่มขึ้น
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : พบว่าหัวใจล่างซ้ายโต
Coarctation of
Aorta
-การซักประวัติ : อาการและอาการแสดง
-การตรวจร่างกาย :รูปร่างหน้าตาปกติ บางคนมีร่างกายส่วนบนใหญ่แต่ท่อนล่างเล็ก
-เรียกว่า pop-eye appearanceชีพจรส่วนบนของร่างกายแรง แต่ชีพจรส่วนล่างของร่างกาย เช่นfemoral เบา
-ขาอาจจะเย็นกว่าแขน
-ความดันโลหิตมักจะสูง
-ภาพรังสีทรวงอก : หัวใจห้องล่างซ้ายโต aortaส่วนหน้าของบริเวณตีบแคบจะขยายใหญ่ขึ้น
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : หัวใจห้องล่างซ้ายโตในเด็กโตส่วนเด็กเล็กจะพบ ventricle ขวาโตคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : พบ hypoplasia ของaortic isthmus
Pulmonary Stenosis
-การซักประวัติ
-การตรวจร่างกายฟังได้ systolic murmur
-ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ : ventricle ขวาโต atriumขวาโต
-ภาพรังสีทรวงอก : พบมีการโป่งพองของ
pulmonary arteryหัวใจห้องบนและล่างขวาโต หลอดเลือดที่ปอดมักจะน้อยลง
-คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : พบ atrium ขวาโตventricle ขวาหนาขึ้น
การรักษา
Atrial Septal Defect (ASD)
-การดูแลสุขภาพสุขภาพปาก และฟัน
-การรักษาทางยา:เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
รักษาโดยใช้ ยาปฏิชีวนะรักษาภาวะหัวใจวาย คือ ยา Lanoxin,
Lasix
-การผ่าตัด : โดยการเย็บปิดผนังกั้น
Ventricular Septal Defect(VSD)
-VSD ขนาดเล็ก ให้การดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีระมัดระวังและป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
-VSD ขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ต้องทำการผ่าตัด
-กรณีไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจวายได้ การการ
ผ่าตัดเย็บปิดรูพิการ หรือการผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ
-กรณีมีภาวะหัวใจวาย ให้ยา digitalis ยาขับ
ปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด
Patent Ductus Ateriosus
-ในรายที่ไม่มีอาการ ควรทำการผ่าตัดโดยผูกductus arteriosus เมื่อผู้ป่วยอายุเกิน 1 ปีไปแล้ว
-การรักษาทางยา ในทารกแรกคลอดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีอาการหัวใจวายให้ยา
Indomethacin 0.2 mg/Kg.ทางปากหรือ
หลอดเลือดดำซ้ำ3 ครั้ง ห่างกัน 8 –12 ชม.
-ถ้าการใช้ยาไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องผ่าตัดผูก
หลอดเลือดductus arteriosus ด้วยไหมขนาดใหญ่
Coarctation of
Aorta
-รักษาทางยา digitalis ในรายที่มีภาวะหัวใจวาย
-ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง แนะนำ
ให้ทำผ่าตัดเมื่ออายุ4–5
ปี โดยทำการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบออกและต่อ
ส่วนปลายทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน(end to end
anastomosis)หรือการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบ
ออก
Pulmonary Stenosis
รายที่เป็น mild pulmonary stenosis ไม่
ต้องผ่าตัด
-ในรายที่มีอาการมาก ทำผ่าตัด
pulmonary valvotomy และ
balloon valvuloplasty เพื่อขยายลิ้น
pulmonary ให้คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อที่
-
การพยาบาล
ผู้ป่วย/ผู้ปกครองวิตกกังวลต่อการสวน
หัวใจเพื่อปิดรูรั่วที่หัวใจห้องล่าง
ข้อมูลสนับสนุน
1) ผู้ป่วยไม่เคยสวนหัวใจมาก่อน
2) ผู้ป่วย/ผู้ปกครองมีสีหน้าวิตกกังวลและผู้ป่วยไม่ยอมอยู่ห่างจากผู้ปกครอง (มารดา)
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยและวิธีการที่ผู้ป่วยใช้ในการเผชิญปัญหาเพื่อที่จะได้ทราบประสิทธิภาพในการเผชิญปัญหาและส่งเสริมผู้ป่วยในการแก้ปัญหาใช้อวัจนภาษาเช่นการจับมือรับฟังเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและกล้าที่จะแสดงความรู้สึกออกมา
สนับสนุนให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกวิตกกังวลเพื่อที่ทราบปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลซึ่งจะทำให้สามารถค้นหาวิธีการที่ช่วยให้ผู้ป่วยคลายเครียดได้อย่างเหมาะสม
ให้ข้อมูลและอธิบายให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองทราบเกี่ยวกับโรคการรักษาขั้นตอนในการสวนหัวใจปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างด้วยคำพูดเข้าใจง่ายและใช้สื่อเป็นภาพเพื่อให้ผู้ป่วย / ผู้ปกครองเข้าใจลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือ
ให้เวลากับผู้ป่วยและผู้ปกครองในการซักถามข้อสงสัยในการรักษาและประสานงานกับแพทย์ที่รักษาในการให้ข้อมูลในการรักษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการรักษา
สนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยและมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อช่วยลดความวิตกกังวลจากการพลัดพรากเพิ่มความไว้วางใจกับเจ้าหน้าที่และรู้สึกผ่อนคลายในการนอนโรง
ุ6.แนะนำผู้ป่วยเรื่องสถานที่รู้จักบุคลากรในหอผู้ป่วยเพื่อนข้างเตียงเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกคุ้นเคยและผ่อนคลายรวมทั้งจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบเพื่อลดสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลและส่งเสริมการพักผ่อน
เสี่ยงต่อภาวะช็อกเนื่องจากการ
สูญเสียเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
1) กลับจากห้องสวนหัวใจประเมินสัญญาณชีพ BT 37.9 ° C, ชีพจร 70 ครั้ง / นาที, อัตราการหายใจ 30 ครั้ง / นาที, BP 94/64 มม. ปรอท
2)ผู้ป่วยได้รับ Heparin ในขณะสวนหัวใจ,
3)ใช้เวลาในการกดเพื่อ stop bleeding เป็นเวลา 30 นาที
4) ผู้ป่วยมีปัสสาวะสีแดงจาง, ผลการตรวจปัสสาวะโดยการทำ urine strip พบ blood 3+, protein 1+ ผลตรวจ Urine Analysis พบ
5)protein trace, Blood 4+, RBC 1-2, ค่า Hct ได้
28 %
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้นอนศีรษะราบหรือสูงไม่เกิน 30 องศาและให้ผู้ป่วยร่วมมือในการ จำกัด การเคลื่อนไหวของขาข้างที่สวนหัวใจโดยเหยียดขาข้างที่แทงสายสวนหัวใจหรือห้ามลุกนั่งอย่างน้อย 6 ชั่วโมงหลังนำสายสวนหัวใจออกเพื่อป้องกันการเกิดเลือดออก
ดูแลได้รับเลือดเพื่อทดแทนเลือดที่เสียไปคือให้ LPRC 160 ml LV. drip ใน 3 ชั่วโมงตามแผนการรักษาของแพทย์พร้อมทั้งติดตามผลความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (Hct) เพื่อประเมินการสูญเสียเลือด
เฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะช็อกอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง ได้แก่ บันทึกและสังเกตจำนวนและสีปัสสาวะฟังเสียง bowel sounds การประเมินชีพจรปลายมือปลายเท้าการประเมินขาดเลือดของอวัยวะส่วนปลายถ้าบริเวณอวัยวะส่วนปลายข้างที่แทงสายสวนหัวใจมีสีซีดลงหรือคล้ำขึ้นผิวหนังเย็นคลำชีพจรบริเวณส่วนปลายของที่แทงสายสวนหัวใจได้ช้าลงหรือคลำไม่ได้และมีการไหลเวียนกลับของหลอดเลือดส่วนปลายนิ้ว (Capillary refill time) ซ้าลงปัสสาวะออกน้อยมีสีปนเลือดควรรายงานแพทย์ทันที
เฝ้าระวังและประเมินอาการผิดปกติทางระบบการไหลเวียนโลหิตอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมงจากความดันโลหิตสีผิวอุณหภูมิของผิวหนังอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจความแรงและคุณภาพของชีพจรส่วนปลายและความเข้มข้นของออกซิเจนบริเวณปลายนิ้วถ้าพบความดันโลหิตต่ำหัวใจเต้นเร็ว Tachycardia) หายใจเร็วผิวหนังซีดเย็นชีพจรปลายมือปลายเท้าเบาลงเหงื่อออกตัวเย็นรีบรายงานแพทย์ทันที
ประเมินตำแหน่งที่แทงสายสวนหัวใจและการไหลเวียนของแขนขาข้างที่ทำการสวนหัวใจโดยตรวจชีพจรหลังเท้าบริเวณ dorsalis pedis และ posterior tibial เปรียบเทียบซ้ายและขวาพร้อมทั้งทำเครื่องหมายบนผิวหนังบริเวณที่คลำได้ชัดเจนที่สุดเพื่อไว้เปรียบเทียบกับก่อนทำประเมินอุณหภูมิและสีผิวข้างที่ใส่สายสวนถ้าเย็นลงผิวสีซีดหรือชีพจรเบาลงต้องรายงานแพทย์ทันที
เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงการเสียเลือดตามอวัยวะต่างๆอย่างใกล้ชิดและรายงานแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ไปนี้เช่นการเสียเลือดบริเวณที่แทงสายสวนหัวใจโดยการตรวจดูบริเวณที่ใส่สายสวนเพื่อดูการมีเลือดออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการไอหรืออาเจียนอย่างแรงหากพบเลือดซึมต้องกดด้วย pressure dressing เหนือตำแหน่งที่แทงเข็มเข้าหลอดเลือด 1 เซนติเมตร เเละการมีเลือดออกภายในช่องท้อง (retroperitoneal bleeding) ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้องปวดขาหนีบและอาการปวดหลังอาการปวดหลงบางใดบวกบท่าแหน่งที่แทงสายสวนหัวใจ, มีอาการกระสับกระส่าย, หัวใจเต้นเร็ว, pulse pressure กว้าง, ความดันโลหิตต่ำ, ความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit) ลดลง, เหงื่อออกมาก, peripheral perfusion ลดลงและมีการไหลเวียนกลับของหลอดเลือดส่วนปลายนิ้ว (Capillary refill)
การมีเลือดออกทางปัสสาวะโดยเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจดูความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะสีและปริมาณปัสสาวะทุกครั้งที่ผู้ป่วยปัสสาวะถ้าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะเพิ่มขึ้นแสดงว่าผู้ป่วยขาดน้ำหากปัสสาวะมีสีแดงเข้มขึ้นแสดงว่ามีการแตกของเม็ดเลือดแดง
สนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยและแนะนำให้ทราบถึงอาการที่ต้องรายงานพยาบาลทันทีคืออาการมึนงงหน้ามืดเป็นลมกระหายน้ำคลื่นไส้ปลายมือปลายเท้าซีดเย็นหายใจเร็วขึ้นซึ่งเป็นอาการของความดันโลหิตต่ำเพื่อที่จะได้ให้การ
มีโอกาสเกิดปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาที(cardiac output)ลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการนำ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ข้อมูลสนับสนุน
EKG monitoring แรกรับที่หอผู้ป่วยเป็น Junctional rhythm rate 70 ครั้ง / นาทีผิวสีแดงและอุ่นดีมีเพียงปลายเท้าขวาเย็นเล็กน้อย 94/64 มม. ปรอท
กิจกรรมการพยาบาล
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอเพื่อช่วยลดการทำงานของหัวใจและลดใช้ออกซิเจนโดยทำกิจกรรมต่างๆให้รบกวนผู้ป่วยน้อยที่สุด
เฝ้าระวังสัญญาณชีพและการเปลี่ยนของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างใกล้ชิดทั้งจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อประเมินความเพียงพอของเลือดที่หัวใจบีบออกต่อนาที (Cardiac Output) โดยหากพบความดันโลหิตดำมีเหงื่อออก, ชีพจรเบา, ปลายมือปลายเท้าเย็นและซีด, ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง, Capillary refill มากกว่า 3 วินาทีให้รายงานแพทย์
บันทึกจำนวนสารน้าที่เข้า / ออกจากร่างกายแต่ละเวร ได้แก่ ปริมาณปัสสาวะอุจจาระอาเจียนหากพบปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 ml.kg/hr แสดงว่ามีเลือดไปเลี้ยงไตลดลงให้รายงานแพทย์ทันที
สอนผู้ป่วย / ผู้ปกครองในการรายงานอาการหากมีอาการมึนงงหน้ามืดเป็นลมอ่อนแรงซึ่งอาจเป็นอาการแสดงของสมองขาดออกซิเจนจากจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
อธิบายให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองให้ทราบถึงความจำเป็นในตรวจหัวใจเพื่อบันทึกการทำงานหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter monitor) เพื่อประเมินความผิดปกติคลื่นไฟฟฟ้าหัวใจ
เตรียมความพร้อมในการรักษาเมื่อเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ (life-threatening arrhythmias) โดยการเตรียมเครื่อง Defibrillator และยาต่างๆให้พร้อมใช้
พยาธิสรีรวิทยา
Atrial Septal Defect (ASD) ASD ทำให้เลือดไหลผ่านรูรั่วจาก LA ไปยัง RA ปริมาณเลือดขึ้นกับขนาดของรูรั่ว แรงต้านทานหลอดเลือดในปอด ความยืดหยุ่น (compliance) ของ RV ซึ่งในช่วงแรกเกิด ผนัง RV จะหนา มีความยืดหยุ่นน้อย จึงทำให้เลือดไหลผ่านรูรั่วจาก LA ไปยัง RA น้อย เมื่ออายุ 3-5 ปี RV จะมีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถขยายรับเลือดจาก RA ลงมา RV ได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ทั้ง RA และ RV โตขึ้นได้ (รูปที่ 5) นอกจากนี้ปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมา คือขนาดของรูรั่ว ยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งมีเลือดไหลผ่านรูรั่วมากขึ้น
Ventricular Septal Defect VSD ทำให้เกิดเลือดแดงไหลลัดจากหัวใจ LV ไหลไปยัง RV ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านขึ้นกับขนาดของรูรั่วและแรงต้านทานหลอดเลือดในปอด (pulmonary vascular resistance, PVR) ถ้ารูรั่วมีขนาดใหญ่หรือแรงต้านทานหลอดเลือดในปอดต่ำ จะทำให้เลือดจาก LV ไหลไปยัง RV และเข้าสู่ปอดมากขึ้นในทารกแรกเกิด PVR ในปอดยังสูงอยู่ ดังนั้นความดันเลือดใน ventricle ทั้งสองจะสูงเท่าๆกัน ทำให้เลือดไหลผ่านรูรั่วน้อย แต่เมื่อแรงต้านทานหลอดเลือดแดงในปอดค่อยๆลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ประมาณอายุ 6-8 สัปดาห์ ปริมาณเลือดที่ไหลลัดไปปอดจะมากขึ้นจนเกิด volume overload เกิดภาวะหัวใจวาย (congestive heart failure) เลือดที่ไปปอดจะไหลกลับเข้า pulmonary veins (PV) และเข้าสู่ left atrium (LA) และ LV มากขึ้น เกิด volume overload ทำให้ pulmonary artery (PA), PV, LA และ LV โตขึ้น
Patent Ductus Ateriosus คนที่ ductus arteriosus ไม่ปิดเองตามธรรมชาติ ทำให้เกิด PDA คือ มีทางเชื่อมต่อระหว่าง aorta และ PA ทำให้เลือดจาก aorta ซึ่งมีความดันหลอดเลือดสูงกว่า ไหลไปยัง PA ทำให้มีเลือดไปที่ปอดมากขึ้น ทำให้ PA, PV, LA, LV และ aortic knob โตขึ้น
Coarctation of Aorta aorta ส่วนที่เป็น coarctation แคบลง ทำให้หัวใจห้อง ventricle ซ้ายทำงานหนักมาก และ
aortic blood flow ลดลง เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงเเละทำให้การทำงานของ ventricle ซ้าย
เสียไป เป็นผลให้ความดันเลือดใน atrium ซ้ายสูงขึ้น มีleft to right shunt ทำให้เกิดอาการหัวใจวาย
Pulmonary Stenosis เกิดการอุดกั้นของทางออกของ ventricle ขวาทำให้ ventricle ขวาต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อให้มีปริมาณของเลือดไปปอดเพียงพอกล้ามเนื้อของ ventricle ขวาจึงหนาตัวขึ้นส่งผลให้เลือดจาก atrium ขวาไหลลง ventricle ขวาได้ไม่สะดวก atrium ขวาจึงมีขนาดใหญ่และผนังหนาขึ้นและอาจทำให้ความดันใน atrium ขวาสูงกว่า atrium ซ้ายเกิดเลือดไหลลัดวงจรจาก atrium ขวาไปซ้าย (right to lell shunt) ทำให้เกิดอาการเขียวได้