Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาโรคทางตา, image, image image, image, image, image, image,…
พยาธิสรีรวิทยาโรคทางตา
Glaucoma ต้อหิน
กลไกการเกิดต้อหิน
ลูกตาส่วนหน้าจะมีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา (aqueos humor) โดย ciliarybody ซึ่งเป็นอวัยวะภายในลูกตา น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาจะมีการไหลเวียนผ่านเข้าสู่ช่องหน้าม่านตา และระบายออกจากลูกตาทาง trabecula meshwork เพื่อรักษาระดับความดันลูกตาให้อยู่ในระดับปกติ ซึ่งในโรคต้อหินจะมีความผิดปกติของการไหลเวียนน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และเกิดการทำลายขั้วประสาทตาตามมา
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคต้อหิน
-อายุมากกว่า 40 ปี
-ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคข้อ สายตาผิดปกติ
-ได้รับยาประจำ เช่น สเตียรอยด์ยากันชักบางชนิด
-มีความดันตาสูงมากกว่า 20 mmhg
-มีอุบัติเหตุกับดวงตามาก่อน
-เชื้อชาติเอเชียจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิด และเชื้อชาติแอฟริกันอเมริกันจะพบต้อหินสูงกว่าคนผิวขาว 6-8 เท่า
ต้อหินมี 3 ระยะ
1.ความดันตาสูงอย่างเดียวยังไม่ทำลายขั้วประสาทตา การมองเห็นยังดี
2.ความดันตาสูงเป็นเวลานานทำลายขั้วประสาทตาไปมากกว่าครึ่งลานสายตาเริ่มแคบลง
3.ภาวะต้อหินระยะรุนแรงความดันตาสูงเป็นเวลานานทำลายขั้วประสาทตาไปร้อยละ 80-90
การรักษาต้อหิน
1.การรักษาด้วยยา ยาหยอดตารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา หรือช่วยให้การไหลเวียนออกจากลูกตาดีขึ้น เพื่อลดความดันลูกตา
2.การใช้เลเซอร์ ประเภทของเลเซอร์ขึ้นกับชนิดและระยะของโรคต้อหิน
3.การผ่าตัด เลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ เป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มช่องทางการระบายน้ำออกจากลูกตา
-Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดมาตรฐาน เพื่อเจาะผนังลูกตาทำทางระบายน้ำ ลดความดันตา
-Glucoma drainage device (GDD) เป็นการผ่าตัดใส่ท่อที่ทำด้วยวัสดุสังเคราะห์
ประเภทต้อหิน
- ต้อหินมุมปิด (angle closure glaucoma) เกิดจากการที่มุมตาถูกอุดกั้น ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ตามปกติ ทำให้ความดันตาสูงขึ้น โดยพบว่าผู้ป่วยมักจะมีภาวะต้อกระจกร่วมด้วย
- ต้อหินมุมเปิด (open angle glaucoma) เกิดจากการอุดตันของ trabecula meshwork ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ตามปกติ ทำให้ความดันตาสูงขึ้น
Cataract ต้อกระจก
ภาวะการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของแก้วตาหรือเลนส์ตาจากที่เคยใสเป็นขุ่น แก้วตาทำหน้าที่ในการรวมแสงให้ตกบนจอประสาทตา เมื่อแก้วตาขุ่นทำให้แสงผ่านไปถึงจอประสาทตาลดลงและส่งผลกระทบต่อการรวมแสง
สาเหตุของต้อกระจก
-ภาวะสูงอายุ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
-อุบัติเหตุที่ดวงตา
-โรคตาหรือโรคทางกาย
อาการของต้อกระจก
จะมีตามัวเหมือนมีหมอกหรือฝ้าบัง มักมัวมากในตอนกลางวัน หรืออยู่ในที่มีแสงจ้าและเห็นชัดตอนกลางคืน, บางรายเห็นภาพซ้อน, หรืออาจมีสายตาสั้นและต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ
การรักษา
การใช้ยาหยอดตาอาจช่วยชะลอต้อกระจกในรายที่เป็นน้อยๆ แต่เมื่อแก้วตาขุ่นมากขึ้น การมองเห็นจะลดลงจนถึงขั้นเห็นแต่แสงลางๆ ได้ ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือสลายต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมเพื่อปรับสายตาให้เป็นปกติ
-
Pinguecula ต้อลม
สาเหตุ
ต้อลมเกิดจากการที่ดวงตาสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงแดดต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมถึงเกิดจากภาวะตาแห้ง และสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองดวงตา เช่น ฝุ่นละออง ควัน ลม อากาศแห้ง ดังนั้น โรคนี้จึงพบได้บ่อยในประเทศเขตร้อนที่มีแสงแดดจัด และในผู้ที่ต้องทำงานหรือนิยมทำกิจกรรมกลางแจ้ง
อาการและอาการแสดง
– เนื้อเยื่อสีเหลืองๆนูนๆ ข้างตาดำ
– ระคายเคืองและคัน แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงให้เห็น
– ทำให้ตาแห้ง เยื่อบุตาอักเสบในบางครั้ง จะมีสีแดงเมื่อมีการอักเสบ
การรักษา
-หลีกเลี่ยงลม, แดด (UV light), ฝุ่น, ควัน
-สวมแว่นตากันแดด กันลม
-ใช้ยาหยอดตาและการผ่าตัด
Pterygium ต้อเนื้อ
-
-
-
อาการและอาการแสดง
– เนื้อเยื่อสีน้ำตาล, แดง(อักเสบ) หรือขาว(ไม่อักเสบ)
– เคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล ตาแห้ง
–ทำให้มองเห็นมัวลงจากต้อเนื้อมาบังตาดำ, ทำให้ผิวกระจกตาขรุขระ
– ส่วนใหญ่ (>90%) จะพบทางหัวตา
การรักษา
-หลีกเลี่ยงลม, แดด (UV light), ฝุ่น, ควัน
-สวมแว่นตากันแดด กันลม
-ใช้ยาหยอดตาและการผ่าตัด
-
Hordeolum กุ้งยิง
สาเหตุ
การอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา ซึ่งโดยปกติแล้ว ตาของคนเราจะมีต่อมไขมันมากมายอยู่บริเวณใต้ผิวหนังที่เปลือกตา ซึ่งสามารถระบายไขมันออกมาได้โดยผ่านทางรูระบายเล็ก ๆ ใกล้ ๆ ขนตา แต่หากมีอะไรมาอุดตัน
อาการของตากุ้งยิง
อาการเจ็บ ๆ คัน ๆ บริเวณเปลือกตา ต่อมาจะเริ่มบวมแดง และจะเริ่มรู้สึกปวดบริเวณเปลือกตา หากกดลงไปบริเวณก้อนจะรู้สึกเจ็บ จะเริ่มเห็นเป็นหัวฝีหรือหัวหนองภายใน 4-5 วัน หลังจากนั้นหนองจะแตกและยุบไป
การรักษาอาการตากุ้งยิง
-การใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-20 นาที เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไขมันบริเวณเปลือกตาเปิดตัว ช่วยระบายไขมันที่อุดตันอยู่
-การเจาะและขูดหนองออก และให้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 3-5 วัน หรือจนกว่าอาการอักเสบจะหายดี
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-