Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง โรคหัวใจรูมาติค (Rheumatic Heart Disease),…
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง
โรคหัวใจรูมาติค (Rheumatic Heart Disease)
สาเหตุ
มีการเสียหน้าที่ของลิ้นหัวใจไมตรัลเกิดการรั่วรั่ว(regurgitation) ตีบ (stenosis) หรือ Aortic regurgitation ซึ่งต่อมาอาจทำให้เกิดหัวใจวายและลิ้นหัวใจผิดปกติอย่างถาวร
เกิดภายหลังจากการเป็นไข้รูมาติคและการติดเชื้ออื่นๆ
ความหมาย
ความผิดปกติของหัวใจซึ่งไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด อาจเกิดขึ้นในระยะใดๆของการเจ็บป่วยด้วยโรคในระบบต่างๆในร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้เกิดความผิดปกติในด้านโครงสร้างของหัวใจหรือในด้านการทำงานของหัวใจ หรือทั้งสองอย่างร่วมกันจนทำให้เด็กมีอาการหรือตรวจพบความผิดปกตินั้นได้
พยาธิสรีรวิทยา
กลไกของการเกิดโรค เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immunopathology) ทำให้มีการทำลายของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยเฉพาะที่ผนังของ left ventricle, mitral valve, aortic valve และเยื่อหุ้มหัวใจ การอักเสบจะเป็นแบบ exudative inflammation เกิด granulomatus tissue และ fibrosis การอักเสบซ้ำๆ จะทำให้ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วได้
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ตรวจร่างกาย : พบอาการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพาะเชื้อจากคอ ตรวจหา Beta hemolytic streptococcus group A
Antistreptolysin O (ASO) ในเลือดมากกว่า 320 Todd unit
ESR (Erythrocyte Sedimentation rate) เพิ่มขึ้น
ภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray) : พบเงาหัวใจโตกว่าปกติ ปอดบวมน้ำ มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มปอด
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) : P-R interval ยาวกว่าปกติ T-wave ผิดปกติ
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) : ช่วยวินิจฉัยการมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ การรั่ว/ตีบของลิ้นหัวใจ
การพยาบาล
การป้องกันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โดยการฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันในหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำแก่หญิงมีครรภ์ เช่น การงดดื่มสุรา ห้ามซื้อยากินเอง
ถ้าใกล้ชิดกับบุคคลป่วยเป็นหัดเยอรมันหรือมีการระบาดต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาและวัดความเข้มข้นของออกซิเจนเป็นระยะๆ
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ตรงตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ดูแลให้ได้รับยา Digitalis (Digoxin) ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
คลายเสื้อผ้าให้หลวม และจัดให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
ในเด็กที่เกิดภาวะขาดออกซิเจน จัดให้นอนคว่ำให้นอนคว่ำ ยกก้นสูง (knee - chest position) เพื่อลดปริมาณเลือดที่กลับสู่หัวใจ
ในเด็กที่มีอาการหายใจลำบากจัดให้นอนศีรษะสูงเพื่อลดความดันในช่องอกและช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
ในเด็กที่เป็นลมหมดสติ (anoxic spell) จัดให้นอนราบยกปลายเท้าสูงหรือนอนคว่ำ ยกก้นสูงเพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจมากขึ้น ตะแคงหน้าด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักหรือลิ้นตกไปปิดทางเดินหายใจ
อาการและอาการแสดง
การวินิจฉัยว่าเป็นไข้รูมาติค ต้องพบว่ามี 2 major criteria ขึ้นไปหรือพบ 1 major ร่วมกับ 2 minor criteria
อาการทาง major criteria
Chorea เป็นความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่วมกับมีอารมณ์แปรปรวน
Carditis : เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด
Polyarthritis : การอักเสบของข้อ
อาการแสดงทางผิวหนัง มี 2 ลักษณะ
Erythema marginatum : เป็นผื่นแดง ไม่คัน ขอบผื่นจะหยักและสีแดงชัดเจน
Subcutaneous nodule : เป็นก้อนรีๆ ใต้ผิวหนัง จับให้เคลื่อนไหวได้ มักจะเป็นใกล้ๆ ข้อ เป็นปุ่มๆ ติดกับเอ็นและกระดูก
อาการทาง minor criteria
Fever (ไข้) : มักจะเป็นแบบไข้ต่ำ
Arthalgia : มีการปวดตามข้อ โดยตรวจไม่พบอาการอักเสบ คือ ปวด บวม แดง และร้อนมักจะเป็นตามข้อใหญ่ๆ และปวดมากกว่า 2 ข้อขึ้นไป
Previous Rheumatic fever or RHD (Rheumatic heart disease)
Prolonged P-R interval
การวินิจฉัยว่าเป็นไข้รูมาติค ต้องพบว่ามี 2 major criteria ขึ้นไปหรือพบ 1 major ร่วมด้วย
การรักษา
ให้ยากำจัดเชื้อโรค Beta hemolytic streptococcus
ให้ยาสำหรับลดการอักเสบ ได้แก่ Salicylate และ Steroid
ให้นอนพัก 2-6 สัปดาห์/เคลื่อนไหวไปมาในห้อง เดินบริเวณใกล้ ช่วยเหลือในการทำกิจกรรมทุกอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
ถ้ามี Chorea ให้ Phenobarbital, Diazepam
นางสาวนิธินาฏ เวทนา รหัสนักศึกษา 621001046