Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะสูดสำลักขี้เทา (Meconium aspiration syndrome)
Meconium_aspiration…
ภาวะสูดสำลักขี้เทา (Meconium aspiration syndrome)
-
พยาธิสภาพ
การขาดออกซิเจนในระหว่างการคลอดทําให้ขี้เทาถูกบีบออกมาอยู่ในน้ําคร่ํา การหายใจที่เกิดขึ้นทําให้ทารกสําลักขี้เทาเข้าสู่ทางเดินหายใจ หากขี้เทามีขนาดใหญ่จะอุดตันหลอดลมใหญ่ๆ ทําให้ขาดออกซิเจนรุนแรง แต่หากการสําลักก้อนเล็กๆและกระจายอยู่ทั่วไปและอุดตันท่อหลอดลมเล็กๆจะเป็นการอุดตันอย่างสมบูรณ์
การพยาบาล
ระยะคลอด
ทารกในครรภ์มีอาการของภาวะพร่องออกซิเจนและพบขี้เทาปนในน้ำคร่ำ จัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมในระยะคลอด
ประวัติก่อนคลอด
เพื่อจําแนกทารกที่มภาวะเสี่ยง่อการเกิดภาวะสูดสำลักขี้เทา ซึ่งพบในทารกคลอดครบกําหนด ทารกเกินกำหนด และทารกที่คลอดท่าก้น เฝ้าติดตามการตั้งครรภ์และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน
ระยะแรกเกิด
Apgar score มักจะต่ำ มีขี้เทาติดอยู่ที่สะดือและเล็บ และมีอาการของภาวะ หายใจลําบาก พบทรวงอกโป่งพองหรืออกถัง ถ้าพบทารกมีปัญหาการหายใจต้องนําทารกส่งห้องผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
แนวทางการรักษา
ระยะแรกในห้องคลอด
เมื่อศีรษะทารกพ้นช่องคลอด ผู้ทําคลอดต้องพยายามดูดขี้เทาและน้ำคร่ำออกจากปากและจมูกให้มากที่สุด ก่อนที่ทารกจะเริ่มหายใจครั้งแรก เพื่อลดการสูดสําลักขี้เทา แต้าทารก คลอดออกมาแล้วไม่หายใจหรือหายใจผิดปกติ ควรได้รับการใสท่อหลอดลมคอและใช้สายดูดเสมหะออก ถ้าดูดทางสายไม่ออกจึงใชเครื่องดูดเสมห่ะต่อกับท่อหลอดลมคอโดยตรง
แล้วค่อยๆ เลื่อนท่อหลอดลมคอออก
ระยะหลัง
ให้ยาปฏิชีวนะเนื่องจากขี้เทาช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียจึงนิยมให้ยาปฏิชีวนะตั้งแต่เริ่มวนิจฉัยร่วมกับการส่งเลือดเพื่อทําการเพาะเชื้อก่อนเสมอ
การรักษาด้วย Continuous Positive Airway Pressure (CPAP)ในรายที่มีภาวะขาดออกซิเจน รุนแรง ถ้ามีระบบหายใจล้มเหลว ควรรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ และใส่สายสวนหลอดเลือดทางสะดือ เพื่อติดตามการวิเคราะห์ก๊าซในเลือดอย่างใกล้ชิด
ให้ออกซิเจนโดยปรับความเข้มข้นของออกซิเจนให้เหมาะสม โดยรักษาระดับของออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) ให้อยู่ระหว่าง 80-100 มิลลิเมตรปรอท และระวังไม่ให้เกิดภาวะเลือดเป็น กรดจากเมตาบอลิซึม เพื่อป้องกันการหดตัวของเลือดในปอด ซึ่งจะนําไปสู่ภาวะความดันของหลอดเลือด ในปอดสูง
การรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว เนื่องจากขี้เทาที่สําลักเข้าไปจะกดการสร้างสารลดแรงตึงผิว การให้สารลดแรงตึงผิวตั้งแต่ระยะเริ่มต้นภายใน 6 ชั่วโมงหลังเกิดจะได้ผลดี
นางสาวบุญหลาย โทนารินทร์ เลขที่ 61 รหัสนักศึกษา 61113301061 ชั้นปีที่ 4 รุ่น 36