Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบสุขภาพของประเทศต่างๆ, นางสาวนิฟาร์ติล สือรี
รหัสนักศึกษา 63203303013 …
ระบบสุขภาพของประเทศต่างๆ
ประเทศไต้หวัน
ข้อดี
-
-
-
ประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาลที่ผ่านมาของเจ้าของบัตรจะปรากฏขึ้นมาบนจอคอมพิวเตอร์ทำให้แพทย์มีข้อมูลการรักษาครบถ้วนและสามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว เพียงใช้บัตรประกันสุขภาพอัจฉริยะเสียบเข้าไปในเครื่องเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาล
ผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลเพราะสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติของรัฐบาลจะจ่ายเงินค่ารักษาเป็นจำนวนเงินที่ตายตัว (Premium) ให้แก่โรงพยาบาลแทน
สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติจะทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการรักษาของโรงพยาบาล สำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลทุกแห่ง
-
ข้อจำกัด
หากเป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือพนักงานของรัฐ นายจ้างจะช่วยจ่ายราว 60% ตัวเองจ่ายสมทบ 30% และอีก 10% รัฐบาลเป็นผู้จ่าย ซึ่งโดยรวมแล้วจะอยู่ที่ราว 4.9% ของเงินเดือนและรายได้อื่น ส่วนเจ้าของกิจการนั้น จะจ่ายในอัตรา 5% ของรายได้ต่อปี
ระบบหลักประกันสุขภาพของไต้หวัน ไม่ใช่ของฟรี พลเมืองไต้หวัน 24 ล้านคน ต้องจ่ายสมทบเข้าสู่กองทุนสุขภาพทุกเดือน โดยประชาชน นายจ้าง และรัฐบาลร่วมกันสมทบ
คนไต้หวัน ใช้บริการสุขภาพอย่าง “สิ้นเปลือง” เกินไป โดยเฉลี่ยแล้วคนไต้หวันพบแพทย์มากกว่า 15 ครั้งต่อปี ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ พบแพทย์เพียง 5 ครั้งต่อปี
ประเทศไทย
ข้อดี
1.ทำให้คนไทยมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นับว่าเป็นนโยบายที่ถูกใจประชาชนมากที่สุด ปัจจุบันมีคนไทยกว่า 47.24 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 75.29 จากจำนวนประชากรกว่า 64 ล้านคน มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ ที่ช่วยคุ้มครองดูแลสุขภาพ ในด้านการรักษาโรค การป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามข้อบ่งชี้ของแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กล่าวได้ว่า ยุคของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้คนไทยไม่ต้องล้มละลายเพราะโรคภัยไข้เจ็บอีกต่อไปแล้ว
2.มีการพัฒนาสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิให้ก้าวหน้าไปอย่างมาก มีการฟื้นฟูแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคเป็นไปทั้งในและนอกโรงพยาบาล ประชาชนตื่นตัวออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหาร ติดตามข่าวสารด้านสุขภาพ มีการวางระบบคัดกรองโรคเรื้อรัง มีศูนย์สุขภาพชุมชนเป็นที่พึ่งของประชาชน แบบใกล้บ้านใกล้ใจ
-
-
-
ข้อจำกัด
1.เป็นโครงการที่ผูกติดกับการเมือง ในยุคแรก การรีบเร่งใช้โครงการหาเสียง ขาดข้อมูลและประสบการณ์ จึงเกิดปัญหา ต้องทำไปแก้ไป ในยุคหลังเนื่องจากเป็นที่นิยมของประชาชนมาก แม้มีปัญหาก็ไม่อาจแก้ไขได้ เพราะเกรงใจฝ่ายการเมือง เกรงประชาชนไม่พอใจ
2.เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูง และเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากประชากรมีจำนวนมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บซับซ้อนขึ้น เครื่องไม้เครื่องมือทันสมัยขึ้น แพทย์ไทยเก่งขึ้น การรักษาไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ประชาชนหันกลับมารับบริการมากขึ้น โดยอาศัยช่องโหว่ของโครงการ
10.ความขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับ สปสช. อันที่จริงมีการส่งสัญญาณ ความขัดแย้งมาเรื่อยๆ แต่เพิ่งมาปะทุให้เห็นชัดเจนเมื่อครบรอบ 12 ปี ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นเรื่องของคนดีที่ขัดแย้งกับคนดี ข้อดีคืออาจเกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงปฏิรูประบบสุขภาพ แต่ข้อเสียคือหากความขัดแย้งบานปลายตกลงกันไม่ได้
8.การเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข การใช้ผลงานแลกเงินของ กองทุนย่อยของ สปสช. ที่จัดการโรคเฉพาะ
4.ปัญหาการจัดสรรงบประมาณ การจัดสรรงบให้โรงพยาบาลต่างๆ ขึ้นอยู่กับจำนวนหัวของประชากร แม้ฟังดูดี แต่เมื่อลงรายละเอียดแล้ว โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขตั้งมานานกว่า 60 ปี โครงสร้างของโรงพยาบาล แบ่งเป็นระดับตติยภูมิ ทุติยภูมิ และปฐมภูมิ คำนึงถึงศักยภาพการทำงาน ไม่ได้คำนึงถึงจำนวนประชากรในเขตที่รับผิดชอบ
5.ปัญหาการบริหารงบประมาณ มีการกันเงินเป็นค่าบริหารจัดการของสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ กันเงินบริหารกองทุนย่อยต่างๆที่สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งขึ้นเพื่อดูแลโรคเรื้อรัง
3.คนไข้ล้นโรงพยาบาล การรักษาฟรีสนับสนุนให้ประชาชนมารับบริการจากสถานพยาบาล มากกว่าดูแลตนเอง จึงเกิดสัดส่วนที่ไม่เพียงพอระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ คนไข้ที่เจ็บป่วยมาก มีฐานะลำบากยากจน ไม่สามารถไปรักษาสถานพยาบาลเอกชนได้ จึงถูกแซงคิวจากคนไข้อื่นๆ โดยปริยาย
6.การจ่ายเงินผู้ป่วยในโดยอาศัยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG = Diagnosis Related group) สปสช.จ่ายเงินสำหรับผู้ป่วยในให้โรงพยาบาลรัฐ โดยการเหมาจ่ายตามโรค นอกจากจ่ายน้อยกว่าความเป็นจริงเกือบทุกโรค
7.นโยบายโรบินฮู้ด หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้แต่ละโรงพยาบาลขาดทุน จึงต้องใช้เงินส่วนอื่นมาโปะให้โรงพยาบาลอยู่รอด ด้วยการลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้ การลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่สุดคือยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาที่ใช้ควรมีคุณภาพดี ซึ่งบางอย่างยาอาจจะแพง แต่ยาที่ราคาแพงหรือยาต้นแบบได้ออกจากโรงพยาบาลเกือบทั้งหมด
9.ความศักดิ์สิทธิ์ของระบบราชการหายไป เป็นยุคที่แพทย์ลาออกจากระบบราชการสูงสุด ระบบราชการไม่ศักดิ์สิทธิ์ไม่ดึงดูดใจให้เข้ารับราชการเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไปแล้ว งานหนัก คนน้อย ไม่มีเวลาพักผ่อน ค่าตอบแทนต่ำ มีโอกาสทำผิดพลาด มีโอกาสถูกฟ้องร้องสูง
-