Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว, นางสาวปิยรัตน์ สุขดำ 621001055 - Coggle…
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว
Tetralogy of Fallot (TOF)
เป็นโรคหัวใจที่มีความผิดปกติ แต่กำเนิดหลายอย่างที่พบได้ตั้งแต่แรกคลอดทันทีซึ่งความพิการ 4 ประการของฟาโลท์มีความผิดปกติ 4 อย่าง
Pulmonary Stenosis (PS)
หลอดเลือด aorta ค่อนไปทางขวา (Overriding aorta)
Ventricular Septal Defect: VSD
Right Ventricular Hypertrophy (RVH) มีการหนาตัวของ ventricle
พยาธิสภาพ
มีการอุดกั้น ventricle ขวาจาก PS และมี VSD ดังนั้นจึงมีเลือดลัดวงจรจากขวาไปซ้ายในระดับ ventricle ทำให้หัวใจห้องล่างขวามีการทำงานมากขึ้นเด็กมีอาการเขียวจากการผสมกันของเลือดที่มีระดับออกซิเจนน้อยการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนนี้ทำให้ร่างกายได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำร่างกายจึงมีการทดแทนโดยการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น (polycythemia) ทำให้เลือดมีความหนืดมากขึ้นเกิด thrombophlebitis emboli ได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมักมีอาการในระยะปลายขวบแรกคือขณะเริ่มเดินมีอาการเหนื่อยง่ายซึ่งความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับการตีบที่บริเวณลิ้นเด็กส่วนใหญ่ในตอนแรกจะมีอาการเขียวขณะออกกำลังเช่นการดูดนมการร้องไห้และในเด็กที่เดินได้แล้วนั้นจะได้ประวัติว่าเด็กอ่อบนั่งยอง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกเหนื่อยการเจริญเติบโตจะชำกว่าปกติ
อาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อาการเขียวมากขึ้นทันทีโดยที่อยู่ ๆ เด็กจะมีอาการหอบและร้องมากตัวและปากเขียวมากกว่าปกติหลังจากนั้นจะมีอาการตัวอ่อนแล้วก็หลับไปในเด็กที่มีอาการมากอาจมีอาการตัวแข็งตาเหลือกไม่รู้สึกตัวชักและอาจตายได้เรียกภาวะนี้ว่าภาวะ Cyanotic spell หรือภาวะ Anoxic Spel เป็นภาวะที่เกิดจากการที่สมองขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลันโดยจะเกิดได้ในขณะที่ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนมากกกว่าปกติพบได้บ่อยในทารกอายุก่อน 1 เดือนราว 1 – 2 ปี แต่พบน้อยเมื่ออายุมากกว่า 2 ปี
อาการเขียวมากขึ้นทันทีนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่ออายุ 2-3 เดือนมักเป็นในตอนเช้าหลังตื่นนอนสิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการ ได้แก่ การร้องการดูดนมการขับถ่ายหรือการไอติดๆกันหลายครั้งอาการแต่ละครั้งอาจเป็นอยู่เป็นนาทีหรือชั่วโมง
การวินิจฉัย
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก: พบหัวใจห้องล่างขวาโต pulmonary artery
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ: มี ventricle ขวาโตแกน QRS เบี่ยงเบนไปขวา
Lab: พบ Hct Hb สูงขึ้น
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : พบ atrium ขวาโต ventricle ขวาหนา aorta คร่อม VSD pulmonary valve เล็ก
การตรวจร่างกาย: น้ำหนักและส่วนสูงน้อยกว่าปกติ: ตัวเล็กผอมกว่าปกติปากและเล็บเขียวนิ้วมือและนิ้วเท้าปุ่ม ฟังพบ systolic ejection murmur
การซักประวัติ: ตามอาการ / เด็กโตช้าพัฒนาการไม่สมวัยน้ำหนักน้อย
การรักษา
บันทึกการเกิดอาการเขียวกะทันหันของเด็กทุกครั้งและแจ้งให้แพทย์
ลดปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะเขียวกะทันหัน
ดูแลให้เด็กได้รับยาโพรพาโนโลน (propranolol) ตามที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเขียวกะทันหัน
การพยาบาล
รักษาประคับประคองอาการ
การทำบอลลูนเป็นการทำสวนหัวใจโดยใช้สายสวนชนิดพิเศษถ่างบริเวณเส้นเลือดที่ตีบ
การผ่าตัดต่อเส้นเลือดเทียน
Transposition of the Great Vessels (TGV)
ความหมาย
ภาวะที่ aorta และ pulmonary artery อยู่สลับที่กันโดย aorta จะออกจาก ventricle ขวา แต่ pulmonary artery ออกจาก ventricle ซ้ายแทน
พยาธิสภาพ
หลอดเลือด aorta ออกจาก ventricle ข้างขวาและหลอดเลือด pulmonary artery ออกจาก ventricle ข้างซ้ายซึ่งรับเลือดแดงจาก atrium ข้างซ้ายผู้ป่วยจึงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าไม่มีช่องทางติดต่อให้เลือกทั้ง 2 วงจรมีการผสมกันซึ่งถ้าผสมกันไม่เพียงพออาการเขียว เป็นอาการปรากฏที่สำคัญของการมีเลือดผสมไม่เพียงพอปัญหาในผู้ป่วย TGV คือเขียวเรื้อรังและมีเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจนถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อน 1 ปี
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเขียวตั้งแต่ 2 -3 วันแรกหลังคลอดหายใจเร็วดูดนมได้ช้ามีหัวใจวายตับโตเด็กจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
การรักษา
การรักษาทั่วไป
แนะนำอาหารที่ถูกต้องป้องกันและรักษาภาวะเลือดจาง
ดูแลสุขภาพฟัน
ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่หัวใจและภาวะขาดน้ำ
ให้ออกซิเจนและรักษาภาวะหัวใจวาย
ให้ Prostaglandin ในระยะหลังคลอดใหม่ จะทำให้ ductus arteriosus
เปิดอยู่ต่อไปทำให้ผู้ป่วยเขียวน้อยลงและให้แพทย์ทำ atrial septal defect โดยใช้ balloon catheter หรือการผ่าตัดให้ยา digitalis และยาขับปัสสาวะ
การรักษาทางศัลยกรรม
การผ่าตัดเพื่อให้เกิดทางติดต่อระหว่าง atrium ทั้งสอง
การทะลุระหว่างผนังกั้น atrium ด้วย balloon เพื่อให้เกิด mixed blood มากขึ้น
การวินิจฉัย
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง
การตรวจสวนหัวใจและการฉีดสารทึบรังสี
ภาพรังสีทรวงอกจะพบหัวใจโต
คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีเวนตริเคิลขวาโต แต่ในสัปดาห์แรกหลังเกิดอาจพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
การตรวจร่างกายในรายที่มี VSD จะได้ยินเสียง sysoc murmer บริเวณขอบซ้ายของกระดูกอก
การซักประวัติมีอาการเขียวจัดตั้งแต่แรกเกิดบางรายจะมีอาการหอบลึกและมีประวัติของภาวะหัวใจวาย
นางสาวปิยรัตน์ สุขดำ 621001055