Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นภายหลัง, นางสาวปิยรัตน์ สุขดำ 621001055 - Coggle…
โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นภายหลัง
ความหมาย
ความผิดปกติของหัวใจที่ไม่ได้เป็นมาเเต่เกิด อาจเกิดขึ้นในระยะใดๆของการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจในระบบต่างๆในร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้เกิดความผิดปกติในด้านโครงสร้างของหัวใจหรือในด้านการทำงานของหัวใจ หรือทั้งสองอย่างร่วมกันจนทำให้เด็กมีอาการหรือตรวจพบความผิดปกตินั้นได้
โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart disease)
สาเหตุ
จึงทำให้เกิดหัวใจอักเสบและจะมีการทำลายลิ้นหัวใจด้วยส่งผลให้ลิ้นหัวใจมีพยาธิสภาพคือมักทำให้เกิดการรั่วของลิ้นหัวใจหลังจากนั้นในบางรายอาจเกิดการตีบของลิ้นหัวใจตามมา
โรคหัวใจรูมาติกเป็นผลหรือภาวะแทรกซ้อนของไข้รูมาติกเนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อ IS-hemolytic streptococcus group A ประมาณ 1-5 สัปดาห์แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือทันท่วงที
พยาธิสรีรภาพ
ส่งผลให้ลิ้นหัวใจถูกทำลายมากขึ้นโดยมีการหดตัวหรือแข็งตัวขึ้นทำให้เกิดความผิดปกติของลิ้นหัวใจขึ้นอาจจะเป็นการรั่วหรือการตีบจึงเรียกว่าโรคหัวใจรูมาติก
ภายหลังที่เด็กเป็นไข้รูมาติกแล้วจะมีการอักเสบของลิ้นหัวใจทุกชั้นเป็นไข้รูมาเติศา ๆ หลาย ๆ ครั้งจะส่งผลให้ลิ้นหัวใจถูกทำลายมากขึ้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อเนื้อเยื่อของร่างกายขาดออกซิเจนเนื่องจากมีภาวะหัวใจวายเพราะมีการอักเสบของหัวใจและพยาธิสภาพของลิ้นหัวใจ
ผู้ป่วยมีความเครียดต่อการถูก จำกัด ให้พักอยู่บนเตียงและอยู่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 3-hemolytic streptococcus group A ซ้ำและมีการติดเชื้อเยื่อบุหัวใจจากการเป็นโรคไข้รูมาติกมาก่อน
บิดามารดาเกิดความวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วยของบุตรและการดูแลบุตรเมื่อกลับบ้าน
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยและบิดามารดาในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหรือการสังเกตอาการและอาการแสดงของหัวใจวาย
เพื่อบิดามารดาจะพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้ทันท่วงทีทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสมสามารถดำเนินชีวิตที่ใกล้เคียงกับเด็กสุขภาพดีมากที่สุดและคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี
ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever)
ความหมาย
ไข้รูมาติก หมายถึง โรคที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเช่นหัวใจเนื้อเยื่อของข้อสมองเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและผิวหนังเป็นผลจาก autoimmune reaction มักเกิดตามหลังคออักเสบเนื่องจากเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A
สาเหตุ
เด็กที่มีประวัติเป็นไข้รูมาติกมาก่อนเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัดหรือมีผู้ติดเชื้อโรคนี้อยู่ด้วยทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่าย
เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆของร่างกายขึ้นไข้รูมาติกมักพบในด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 6-15 ปีและพบบ่อยที่สุดในเด็กอายุ 8 ปีโรคนี้มักพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชายและมีโอกาสเป็นได้
เกิดตามหลังการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนเช่นคออักเสบหรือต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อ 8-hemolytic streptococcus group A และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องภายในเวลา 1-5 สัปดาห์
พยาธิสภาพ
มีปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆด้วยจึงทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ถูกท่าลายโดยทำให้เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆมีการอักเสบเกิดขึ้นการอักเสบเหล่านี้ถ้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะหายขาดได้ แต่ในรายที่มีการอักเสบของหัวใจมักจะพบว่ามีความพิการอย่างถาวร
โดยเริ่มจากการอักเสบของหัวใจซึ่งจะเกิดขึ้นได้ทุกขั้น ได้แก่ pericarditis, myocarditis และ endocarditis และรวมไปถึงลิ้นหัวใจด้วยทำให้ลิ้นหัวใจถูกทำลาย
เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายร่างกายจะมีปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค (antigen-antibodyreaction) โดยจะสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อโรค แต่เนื่องจากส่วนต่างๆของเชื้อโรคมีความคล้ายคลึงกันทางระบบภูมิคุ้มกันกับเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆในร่างกายแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อโรค
อาการ
ข้ออักเสบ (Arthitis) อาการข้ออักเสบเป็นอาการหลักของโรคไข้รูมาติกที่พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 30-79 ของผู้ป่วยโรคไข้รูมาติก
อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Svdenham's chorea) อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham'schorea vša St. Vitus 'dance uſa chorea minor หรือ theumatic chorea))
การอักเสบของหัวใจ (Carditis) หัวใจอักเสบพบได้ทุกขั้นของเนื้อเยื่อหัวใจ
ปุ่มใต้หนัง (Subcutaneous nodules) ความชุกของการเกิดปุ่มใต้หนังในผู้ป่วยโรคไข้รูมาติกพบประมาณร้อยละ 1-9 ปุ่มใต้หนังที่เกิดจากโรคไข้รูมาติกมักจะเกิดภายใน 2-3 สัปดาห์แรกของโรค
ผื่นแดงที่ผิวหนัง (Erythema marginatum) ผื่นแดงที่ผิวหนังมักจะปรากฏในระยะแรกของไข้รูมาติก
ข้อวินิจฉัย
ผู้ป่วยมีการอักเสบของข้อเนื่องจากติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A
อาจเกิดการกลับซ้าของไข้รูมาติกโดยมีการ ciaiva B-hemolytic streptococcus group A
ผู้ป่วยมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเนื่องจาก dauia-hemolytic streptococcus group A
การพยาบาล
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดาตามแผนการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อ B-hemolytic streptococcusgroup A
ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักขอที่มีการอักเสบและอยู่ในลักษณะท่าที่ผ่อนคลายมากที่สุดโดยหาหมอนหรือผ้ามารองใต้ข้อนั้น ๆ เพื่อลดอาการปวดของข้อ
ลังเกตอาการและบันทึกเช่นบวมแดงร้อนปวดหรือกดเจ็บดูแลให้ได้รับยาแอสไพลินตามแผนการรักษาเพื่อลดอาการปวดอักเสบของข้อ
แนะน่าบิดามารดาและหรือผู้ป่วยให้เข้าใจถึงเหตุผลของการป้องกันโรคว่าผู้ป่วยจําเป็นต้องรับยาปฏิชีวนะจนถึงวัยผู้ใหญ่
แนะนำผู้ป่วยให้มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาและแพทย์ทราบความก้าวหน้าในการรักษา
อธิบายให้ผู้ป่วยและหรือบิดามารดาให้เข้าใจถึงเหตุผลในการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำเพื่อให้ผู้ป่วยและ / หรือบิดามารดาให้ความร่วมมือในการรักษา
ภาวะหัวใจวาย
ความหมาย
กลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่เกิดในระบบไหลเวียนเลือดเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปตามระบบไหลเวียนเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
สาเหตุ
ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้ทำงานมากขึ้นเนื่องจากมีปริมาณเลือดในหัวใจเพิ่มมากขึ้น
ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นเนื่องจากมีความดันในเวนตรีเคีลสูงกว่าปก
ความผิดปกติของกลุ่มเนื้อของหัวใจ (myocardial factor) ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจลดลงเนื่องจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจจะลดลง
จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (dysrhythmias) ส่งผลให้ปริมาณเลือดไหลปริมาณเลือดไหลออกจากหัวใจลดลง
อาการและอาการแสดง
หัวใจซีกขวาวาย
คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหารปวดท้องแน่นอึดอัดท้อง
แขนขาเย็นบวมและมีน้ำในช่องท้อง
มีอาการบวมเช่นบวมที่ขาบวมทั้งตัวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นบางรายมีม้ามโต
หลอดเลือดดาที่คอโป่งพอง (engorgement of jugular vein)
ในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจอาการสำคัญที่ช่วยบ่งชี้ว่ามีภาวะหัวใจวาย (cardinal Sig ) 4 ประการ
หัวใจเต้นเร็ว
หายใจเร็ว
หัวใจโต
ตับโต
หัวใจซีกข้ายวาย
เหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้ (orthopnea) อาการเหนื่อยหอบในช่วงกลางคืน (paroxysm al nocturmal dyspnea)
มีอาการไอมีเสมหะเป็นฟองหรือมีเลือดปนและฟังได้เสียง Crepitation เนื่องจากมี pulmonary congestion
มีอาการหายใจเร็ว (tachypnea), หายใจสาบาก (dyspnea)
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยมีน้ำเย็นเนื่องจากมีการคั่งหรือการสะสมของน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้นส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักเกินไป
มีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากมีอัตราการเผาผลาญพลังงานสูงกว่าปกติเป็นผลจากการทำหน้าที่ของหัวใจลดลงและการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ
ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายต่อนาที่ลดลงเป็นผลจากความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือดเช่น WSDASD, PDA, Ml, AI
มีโอกาสเกิดพัฒนาการล่าช้า
มีโอกาสเกิดภาวะเป็นพิษจากดิจิตาลิส
การพยาบาล
จำกัด กิจกรรมต่างๆของผู้ป่วยและดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่เพื่อลดความต้องการออกซิเจนของร่างกายลงและควรให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงโดยนอนศีรษะสูงประมาณ 30-15 องศาหรือในเด็กเล็กอาจจัดให้นอนใน cardiac chair ท่านี้จะช่วยให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ (maximum chest expansion) ในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบากเนื่องจากมีภาวะคั่งของน้ำในปอด
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษาเช่น lasix, dichlotride aldactone เพื่อลดการสะสมของน้ำและโซเดียมภายในร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีแคลอรี่เพียงพอและควรเป็นอาหารจืดหรือเค็มน้อยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีแคลอรี่เพียงพอต่อการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย
ดูแลให้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างถูกต้องโดยถูกต้องทั้งชนิดขนาดวิธีเวลาและตัวผู้ป่วยการให้ยาเม็ดควรบดและผสมกับน้ำเล็กน้อยก่อนให้ไม่ควรผสมยากับนม
นางสาวปิยรัตน์ สุขดำ 621001055