Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4
สภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
…
บทที่ 4
สภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ได้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส และสัมผัสทางผิวหนัง
-
-
อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านเคมี ในงานอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยแบ่งอนุภาคของสารเคมีตามรูปร่างและลักษณะทางกายภาพได้แก่ ฝุ่น (Dust) ฟูม (Fume) ควัน (Smoke) ละออง (Mist) ก๊าซ (Gas) และไอระเหย (Vapor) ลักษณะอันตรายของ สารเคมีที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
1.การระคายเคือง (Irritant) หมายถึง สภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อการสัมผัสสารเคมี มีอาการปวดแสบปวดร้อน ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น อวัยวะที่มักเกิดอาการระคายเคือง ได้แก่ ผิวหนัง นัยน์ตา ทางเดินหายใจ เป็นต้น สารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ได้แก่ กรด ด่าง สารตัวทำ ละลาย ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คลอรีน แอมโมเนีย ฟอร์มัลดีไฮด์ สารหนู ฟอร์มารีน เป็นต้น
2.การขาดออกซิเจน (Asphyxiants) หมายถึง การได้รับออกซิเจนในปริมาณไม่พอเพียง ต่อความต้องการของร่างกาย อาจทำให้มีอาการเป็นลม หรือหมดสติ โดยทั่วไปออกซิเจนใน บรรยากาศจะมีอยู่ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ ถ้าออกซิเจนต่ำกว่า 19.5 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้การหายใจ ล าบาก ยิ่งถ้าต่ำกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อผู้ปฏิบัติงาน การขาดออกซิเจน
3.การเกิดพิษต่ออวัยวะในร่างกาย (Effect to Target Organ) หมายถึง เมื่อ ร่างกายได้รับสารเคมีเหล่านี้แล้วสารเคมีจะไปท าลายอวัยวะเป้าหมายต่าง ๆ
- มะเร็ง (Cancer) เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย สารเคมีสามารถก่อมะเร็งต่ออวัยวะต่าง ๆ
5.ทารกพิการแต่กำเนิด (Teratogenic) ทารกที่ผิดปกติแต่กำเนิดหรือทารกวิรูป เป็นผลมาจากการรับสัมผัสสารเคมีผ่านทางรกในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา สารเคมีไปขัดขวางการ เจริญเติบโตของทารก อาจทำให้พิการ หรือมีรูปร่างผิดปกติ เช่น ตะกั่ว เบนซีน โทลูอีน กัมมันตภาพรังสี คลอโรฟอร์ม คิวมีน เป็นต้น
6.การผ่าเหล่า (Mutagenic) คือ การเปลี่ยนแปลงที่ยีนหรือพันธุกรรมในระดับ DNA ท าให้มีคุณสมบัติของเซลล์แตกต่างไปจากเดิม อาจเกิดการใช้รังสีหรือสารเคมี เช่น กัมมันตภาพรังสี Ethylene Oxide Hydrogen Peroxide เป็นต้น
อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านการยศาสตร์ ปัญหาการยกศสาสตร์ จากการทำงานมักเกิดจากการออกแบบสถานที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิด ความเครียดเมื่อยล้าจากการทำงาน และสุดท้ายส่งผลให้เกิดโรคและอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น การปฏิบัติงานในลักษณะท่าทางที่ฝืนธรรมชาติ การทำงานซ้ำซากจำเจ การออกแบบสถานีงาน เครื่องมือไม่เหมาะสมกับการทำงาน เป็นต้น สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางจิตวิทยาสังคม (Psychosocial health hazard) คือ สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สามารถก่อให้เกิดสภาวะเครียด เนื่องมาจากจิตใจหรืออารมณ์ที่ได้รับความบีบคั้น ยังมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายได้
อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านชีวภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมที่เกิด จากการสัมผัสอันตรายทางด้านชีวภาพหรือสิ่งมีชีวิต แล้วทำให้เกิดการก่อโรคหรือการเจ็บป่วยเกิด ขึ้นมา อันตรายทางด้านชีวภาพสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
- สารที่ทำให้เกิดการแพ้พิษจากพืช ทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ คันจากการสัมผัส เช่น ตำแยหรือหมามุ่ยหรือพืชที่มีขนชนิดต่าง ๆ เช่น ต้นถั่วเขียว เป็นต้น ถ้าเข้าสู่ร่างกายทางการ หายใจจะทำให้เยื่อจมูกเกิดการอักเสบได้
- โปรตีนจากสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ทำให้เกิดการแพ้ได้แก่ ปัสสาวะ อุจจาระ ผม น้ำลาย และโปรตีนจากสัตว์เหล่านี้อาจทำให้เกิดการแพ้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ใช้ในการทดลองความ เป็นพิษของสารเคมี
- สัตว์เลื้อยคลานและแมลงกัดต่อย เป็นอันตรายอย่างมากกับผู้ปฏิบัติงาน เช่น งูพิษชนิด ต่าง ๆ แมงมุม แมงป่อง ผึ้ง ต่อ แตน ตะขาบ เป็นต้น ถ้าถูกกัดต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดย ทันที เพราะอาจท าให้เกิดการแพ้พิษถึงขั้นเสียชีวิตได้ และสัตว์บางประเภทสามารถนำเชื้อโรคมาสู่ผู้ ที่ถูกกัดได้ เช่น สุนัขอาจทำให้ผู้ที่ถูกกัดได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้า เป็นต้น
- สารกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ พืชชั้นต่ำ เช่น Lichen และเฟิร์น เมื่อสูดดมเข้าไปในปอดท าให้เกิด อาการแพ้ รวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ โปรโตซัว พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน ทำให้ร่างกาย ได้รับโทษจากหนอนพยาธิเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาธิใบไม้ตับท าให้เกิดมะเร็งตับได้
1.จุลินทรีย์และพิษจุลินทรีย์ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว สามารถก่อโรคต่าง ๆ ได้ขึ้น โดยโรคที่เกิดจากการสัมผัสอันตรายทางด้านชีวภาพขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคและความ แข็งแรงของร่างกายของผู้ได้รับเชื้อ โรคที่พบได้บ่อยจากการทำงาน
อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานด้ายกายภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมที่อยู่ ในพื้นที่การทำงานโดยผู้ปฏิบัติงานสามารถสัมผัสอันตรายนี้ได้ โดยใช้ประสาทสัมผัส เช่น การ มองเห็น การได้ยิน หรือสัมผัสทางผิวหนัง สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านกายภาพนี้ สามารถ จำแนกออกเป็น 7 กลุ่ม
ไฮโปเทอเมีย (Hypothermia) เกิดที่อุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย ต่ำกว่า 350C หรือที่อุณหภูมิของอากาศอยู่ระหว่าง 2 – 100C คนงานที่เกิดอาการไฮโปเทอเมียนี้จะมีอาการสั่น อย่างรุนแรง
4.2 Raynaud’s Phenomenon เป็นสภาวะการหมดความรู้สึกเฉพาะแห่ง เกิดการขาว ซีดของนิ้วมือหรือส่วนปลายของร่างกาย
ฟรอสไบท์ (Frostbite) เกิดเมื่อคนงานได้รับสัมผัสความเย็นจัด ท าให้มีการแข็งตัว ของของเหลวที่อยู่รอบเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
- รังสีแตกตัว lionizing Radiation และรังสีไม่แตกตัว Non- lonizing Radiationโดยอาจเกิดความผิดปกติต่อเซลล์ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินอาหาร ระบบกระดูก ผิวหนัง ดวงตา ไขกระดูก ระบบประสาท ระบบสมอง ระบบสืบพันธุ์รวมทั้งอาจทำให้เกิดมะเร็งจากการได้รับสัมผัสรังสี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) และมะเร็งผิวหนัง (Skin cancer)
-
-
การมีไข้(Fever) เป็นสภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 380C ท าให้ร่างกาย ของคนงานเกดอาการมีไข้จากการท างานในสภาวะแวดล้อมที่ร้อน
การเป็นลมเนื่องจากความร้อน (Heat Stroke) เป็นความผิดปกติของร่างกาย เกิดที่อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายหรือ Core Temperature สูงเกินกว่า 40.50C ทำให้เกิดอาการมักงง สับสน อาจมีอาการไม่รู้สึกตัว เกิดการชัก
-
การอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion) เกิดจากร่างกายได้รับ ความร้อนเป็นเวลานาน ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดอาการอ่อน ล้า คลื่นไส้ ปวดหัว เวียนศีรษะ
การขาดน้ำ (Dehydration) เกิดจากร่างกายทำงานในสภาวะแวดล้อมที่ร้อน ร่างกายจะระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยการระเหยของเหงื่อ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำออกมาทาง เหงื่อ ท าให้คนงานรู้สึกกระหายน้ำผิวหนังแห้ง บางรายอาจพบอาการผื่นขึ้นตามผิวหนังเป็นต้น
ตะคริวเนื่องจากความร้อน (Heat Cramp) เกิดจากร่างกายสูญเสียเกลือแร่ไป กับเหงื่อ ทำให้สมดุลการท างานของเกลือแร่ในร่างกายสูญเสียไป เกิดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้ เจ็บปวดมาก
การเป็นผดผื่นเนื่องจากความร้อน (Heat Rash) เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการ สัมผัสลักษณะความร้อนชื้นหรือการสวมชุดหรือถุงมือแล้วทำให้เหงื่อไม่สามารถระเหยออกมาจากชุด หรือถุงมือได้ ทำให้เกิดผื่น ตุ่มเม็ดเล็กสีแดง มักเกิดขึ้นบริเวณมือ แขน ลำตัว และเท้า
ความกดดันอากาศที่สูงกว่าปกติ ความกดดันอากาศสูงทำให้ก๊าซไนโตรเจนละลายในเลือด ของเหลวและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการปวดตาม ข้อ แก้วหูฉีก เกิดภาวะช็อคจาก decompression Sickness ในรายที่รุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้
ความกดดันอากาศที่ต่ำกว่าปกติ จะเกิดฟองก๊าซต่าง ๆ ในร่างกาย ขยายตัวไปในเนื้อเยื่อและของเหลวในร่างกายมากขึ้น ร่างกายขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า ปวดศีรษะ การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทไม่ ประสานกัน ท าให้การมองเห็นผิดปกติ เกิดอันตรายต่อการทำงาน
ความสั่นสะเทือนที่มือและแขน (Hand Arm Vibration: HAV) เป็นผลกระทบ ที่เกิดขึ้นที่มือและแขนของผู้ปฏิบัติงานเมื่อสัมผัสกับความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การ ใช้เครื่องเจาะในโรงงานก่อสร้าง หรือการทำเหมืองแร่ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้แรงอัดลม การใช ค้อน เลื่อยไฟฟ้า สิ่ว และสกัด ฯลฯ
ความสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย (Whole Body Vibration: WBV) เป็นผลกระทบจาก ความสั่นสะเทือน ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งร่างกายของผู้ปฏิบัติงานในการทำงานในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การขับขี่ยานพาหนะต่าง ๆ ได้แก่ การขับรถยนต์ รถบรรทุก รถโฟล์คลิฟท์(Forklift) รถแทรกเตอร์ การทำงานบนเรือ หรือเครื่องบิน ฯลฯ
แสงสว่างที่น้อยเกินไป ได้แก่การปฏิบัติงานในพื้นที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอต่อ การทำงานนั้น ๆ หรือลักษณะการเกิดเงา ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไปเพราะต้องบังคับให้รู ม่านตาเปิดกว้างขึ้น ส่งผลให้เกิดความเมื่อยล้าจากการจ้องมองหรือการเพ่งนาน ๆ ทำให้เกิดอาการ ปวดตา มึนศีรษะ รวมทั้งส่งผลให้การหยิบจับเครื่องมืออุปกรณ์ผิดพลาดได้ง่ายทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการ ท างาน
แสงสว่างมากเกินไป ได้แก่การปฏิบัติงานในพื้นที่ที่แสงสว่างสูงกว่าความจำเป็น รวมทั้งเกิดแสงจ้า (Glare) จากการท างาน รูม่านตาจะหดเล็กลงท าให้เกิดความไม่สบายตา เกิดอาการ แสบตา เกิดความเมื่อยล้า กล้ามเนื้อตากระตุก การมองเห็นแย่ลง ในรายที่รุนแรงอาจทำให้เกิดอาการ ตาบอดชั่วคราวจากแสง (Temporary Blindness)
- เสียงรบกวน (Noise)ถ้าเสียงในสถานประกอบการ ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล สถานประกอบการต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน เพื่อเป็นการป้องกัน อันตรายจากเสียงที่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน
-
-