Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคิดเชิงมโนทัศน์ - Coggle Diagram
การคิดเชิงมโนทัศน์
รูปแบบของกรอบมโนทัศน์
- Cycle Map (ผังวงจร, ผังวัฏจักร) ทางรูปแบบนี้ใช้แสดงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์กับระยะเวลาที่มีการ เรียงล าดับการเคลื่อนไหวของข้อมูล ลักษณะเป็นวงจรที่ไม่แสดงจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดที่แน่นอน
- Order Graph Events Chain (ผังแสดงลำดับเหตุการณ์)
ผังรูปแบบนี้เป็นพลังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ต่างๆตามลำดับเวลา
-
- Venn diagram (แผนภูมิเวนน์) ทางรูปแบบนี้ใช้แสดงข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของ องค์ประกอบต่าง ๆของบุคคล สถานที่หรือสิ่งของที่มีลักษณะต่าง ๆเป็นผังวงกลมสองวงหรือมากกว่า ที่มีส่วนซ้อนกันอยู่เป็นผังที่เหมาะสำหรับการนำเสนอสิ่งสองสิ่งหรือมากกว่า
-
- Tree Structure (ผังโครงสร้างต้นไม้) ผังรูปแบบนี้แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องที่มีความสำคัญลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆหรือบาง ท่านอาจเรียกผังแสดงความสัมพันธ์แบบกิ่ง (Branching map) มีรูปร่างคล้ายแผนภูมิบริหารองค์การ นำเสนอโดยการเขียนชื่อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกันกับความคิดรวบยอด อื่นๆที่สำคัญรองลงไปตามลำดับ
- Classification Map (ผังแสดงความสัมพันธ์แบบจำแนกประเภท) ผังรูปแบบนี้เหมาะกับข้อเขียนแบบพรรณนาโวหาร จะแสดงถึงความสัมพันธ์ของหัวข้อ เรื่อง ตัวอย่าง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะ โดยหัวข้อเรื่องที่กล่าวถึงจะอยู่บนสุด
- Wed Diagram หรือ Spider Map (ผังใยแมงมุม) ผังรูปแบบนี้ใช้แสดงในการแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของข้อมูล
- Interval Graph หรือ Time line (ผังแสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่าง ๆ) ผังรูปแบบนี้สามารถใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามลำดับเวลา โดยกำหนดช่วงสเกลของระยะเวลา ซึ่งอาจเป็น ปีเดือน สัปดาห์วัน ชั่วโมง อย่างใดก็ได้สำหรับ ระยะห่างของแต่ละสเกลเป็นเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล แต่ช่วงของสเกลนั้นจะต้อง กำหนดเท่าๆ กันจากนั้นก็บันทึกข้อมูลที่เป็นเหตุการณ์เรื่องราวลงไปตามระยะเวลานั้นนั้น
- Mind Map หรือ Mind mapping (ผังความคิด) ทางความคิดรูปแบบนี้ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่าง ความคิดหลักความคิดรองและความคิดย่อยโดยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันพัฒนาขึ้นโดย โทนี่ บูซาน
- Fishbone map (ผังก้างปลา)เป็นผังที่นำเสนอข้อมูลที่มีประเด็นปัญหาหลักแล้วเสนอสาเหตุหรือผลต่าง ๆที่เป็น องค์ประกอบเกี่ยวข้องกันโดยนำเสนอเป็นผัง
- Descending Ladder หรือ Time Ladder Map (ผังแบบขั้นแบบบันได)ผังรูปแบบนี้ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีลักษณะแสดงลำดับเวลากระบวนการ หรือขั้นตอนเป็นลำดับอย่างง่ายง่ายหรืออาจจะเรียกผังลำดับขั้นตอน
- Matrix Diagram (ผังแสดงความสัมพันธ์) ผังรูปแบบนี้ใช้แสดงข้อมูลที่เน้นถึงชนิดและความสัมพันธ์ที่สำคัญซึ่งก าหนดไว้เป็น แนวตั้งและแนวนอนซึ่งได้แก่ การเปรียบเทียบความคล้ายคลึงหรือความแตกต่างความสัมพันธ์ ระหว่างเหตุและผลหรือล าดับเวลา เป็นต้น โดยทั่วไปข้อมูลที่จ าเป็นทั้งหมดจะถูกบรรจุอยู่ในตาราง ช่องสี่เหลี่ยมทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ได้ชัดเจน
- Flowchart Diagram (ผังแสดงลำดับขั้นการดำเนินงาน) ผังรูปแบบนี้ใช้แสดงการเลื่อนไหลของข้อมูลที่มีลักษณะมองเห็นกระบวนการเป็นวงจร ที่มีการเลื่อนไหลหลายทิศทาง แต่สุดท้ายก็น าไปสู่จุดปลายทางอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องการ
- Concept Map (ผังมโนทัศน์ หรือผังมโนภาพ)
เป็นแผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ (Concept) ต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องใด เรื่องหนึ่งอย่างเป็นล าดับขั้น เพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ พัฒนาขึ้นโดย Joseph D.Novak
-
เทคนิคการสอนเชิงมโนทัศน์
- แบบอุปนัย (Inductive Method)
กระบวนการที่ผู้สอน สอนจากรายละเอียดปลีกย่อยหรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ หรือกฎเกณฑ์หลักการข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการนำเอาตัวอย่าง ข้อมูลเหตุการณ์ สถานการณ์ หรือปรากฎการณ์ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษาสังเกต ทดลอง เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ จนสามารถสรุปหลักการหรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง
1.แบบนิรนัย (Deductive Method)
กระบวนการที่ผู้สอนจาก กฎ ทฤษฎี หบักเกณฑ์ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียนจากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆ ตัวอย่าง หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกนำทฤษฎี หลักการ หลักเกณฑ์ กฎ หรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย จนสามารถเข้าใจกฎเกณฑ์ทฤษฎี ข้อสรุปเหล่านั้นอย่าวลึกซึ้ง
ความหมาย
การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกัน โดยไม่ขัดแย้ง การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมองภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด กระชับสามารถอธิบายได้ เป็นการคิดรวบยอด สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน สามารถถ่ายทอดออกไปได้
-
สรุป
การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการคิดที่ไม่จำกัดรูปแบบความคิด เป็นการคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดลำดับความสำคัญ ของข้อมูล สามารถคิดได้หลากหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสม แต่ความถนัดของแต่ละบุคคล