Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาของระบบทางเดินหายใจ - Coggle Diagram
พยาธิสรีรวิทยาของระบบทางเดินหายใจ
อาการหรือความผิดปกติในระบบหายใจที่พบบ่อย
อาการไอ(cough)
เป็นกลไกสำคัญที่ร่างกายใช้ในการขับเสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจส่วนต้น มักเกิดจากการระคายเคืองจากสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง หมอกควัน ก๊าซต่างๆ ลักษณะการไอสามารถช่วยในการจำแนกโรคได้
ความผิดปกติของรูปแบบการหายใจ
Cheyne-Stokes breathing การหายใจตื้นแล้วลึกขึ้นเรื่อยๆแล้วกับมาตื้นใหม่ และมีช่วงที่หยุดหายใจประมาณ 15-120 วินาที
Kussmaul breathing มีลักษณะการหายใจหอบลึก หายใจลำบากแบบ air huger มักพบในผู้ป่วยเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน(Diabetic ketoacidosis)
Dyspnea หมายถึงการหายใจลำบาก
Apnea หมายถึงการหยุดหายใจ
Hyperpnea หมายถึงการหายใจเร็วและลึกกว่าปกติ
Tachypnea หมายถึงการหายใจเร็วกว่าปกติ
ภาวะหายใจลำบาก(Dyspnea)
เป็นอาการหายใจที่ใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจหรือเป็นการหายใจที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่พอ รู้สึกเหนื่อย แน่น หายใจไม่เต็มอิ่ม
มีการกระตุ้นตัวรับในปอด ซึ่งมีตัวรับในปอดมี 3 ชนิดได้แก่
1.1 การหดเกร็งหรือการอุดกั้นของทางเดินหายใจ กระตุ้น stretch receptor ในกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมและถุงลม หายใจลำบากพบในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD), โรคหืด(asthma) ปอดอักเสบ(pneumonitis) ปอดมีผังพืด(lung fibrosis)
1.2 สารที่ระคายเคืองกระตุ้น Irritant receptor ใต้เยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้หายใจเร็ว และเกิดหลอดลมหดตัว พบในโรคหืด
1.3 เมื่อมีการขยายของหลอดเลอดฝอยที่ปอดจากหลอดเือดอุดตันอักเสบ การมีเลือดคั่งที่ปอด กระตุ้น juxtapulmonary capillary receptor ทำให้หายใจเร็วตื้น
มีการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อช่วยหายใจให้ทำงานมากขึ้น
มีการกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจ จากภาวะพร่องออกซิเจนหรือมีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งพบในภาวะโลหิตจางทำให้ออกซิเจนในเลือดแดงต่ำลงหรือพบในผู้ที่มีความเครียด วิตกกังวล
ภาวะการผันแปรการระบายอากาศ แบ่งออกเป็น
4.1 การระบายอากาศน้อย(Hypoventilation) หมายถึงภาวะที่มีการระบายอากาศของถุงลมปอดน้อยกว่าปกติ
4.2 การระบายอากาศมาก(Hyperventilation) คือภาวะที่มีหายใจหอบลึกทำให้การระบายก๊าซ CO2ที่ถุงลมมากกว่าปกติ
ภาวะพร่องออกซิเจน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
Hypoxia คือภาวะที่เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
Hypoxemia เป็นภาวะพร่องออกซิเจนในกระแสเลือด
โรคของระบบหายใจที่สำคัญ
ภาวะหอบหืด(asthma)
เป็นโรคการอุดกั้นในท่อทางเดินหายใจชนิดที่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ พบในคนทุกเพศทุกวัย สาเหตุแบ่งออกเป็น
Extrinsic asthma เกิดจากการแพ้สารภายนอก เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง ตัวไรในฝุ่น เศษขุย ผิวหนัง ขนสัตว์ ยา อาหารจำนวกนม ไข่ กุ้ง เหล็กในของต่อ ผึ้ง
Intrinsic asthma เกิดจากสาเหตุภายในร่างกาย เช่น การติดเชื้อทางเดินหายใจทำให้เกิดการระคายเคืองจนเกิดหลอดลมหดเกร็ง การออกกำลังกายมากเกินไป ได้รับยาแอสไพลิน มีอารมณ์ตึงเครียด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหอบหืด
Status asthmaticus คือภาวะที่หลอดลมหดเกร็งรุนแรงถาวร ถ้าไม่รักษาอาจเกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลวได้
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะปอดแฟบ
ปอดอักเสบ
หลอดลมอักเสบเรื้อรังและ emphysema
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน(Acute bronchitis)
เป็นการอักเสบของเยื่อมูกบุของ trachea หรือ bronchus พบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่มักหายได้เอง และไม่มีภาวะแทรกซ้อน เกิดจากสาเหตุ
การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่
จากสิ่งระคายเคือง ที่พบบ่อยคือการสูบบุหรี่ ฝุ่นควัน ไอเสียรถยนต์ สารเคมี รวมทั้งการระคายเคืองจากน้ำย่อยในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน
ภาวะปอดบวมน้ำ(Pulmonary edema)
คือ ภาวะที่มีสารน้ำรั่วจาก pulmonary capillary เข้ามาใน interstitial space มากผิดปกติ จนเกิดความสามารถของระบบไหลเวียนน้ำเหลืองที่จะดูดซึมกลับจนมีสารน้ำรั่วเข้าไปในถุงลมได้
อาการและอาการแสดง
-Wheezing
-Paroxysmal Nocturnal Dyspnea(PND)
สาเหตุ
การเสียสมดุลของ Starling force ของหลอดเลือดฝอย
มีการทำลาย alveolar-capillary membrane ทำให้ capillary permeability เพิ่มขึ้น พบในภาวะ O2 toxicity การได้รับสารพิษหรือติดเชื้อในปอดโดยตรงหรือมาจากกระแสเลือด
พยาธิสรีรวิทยาของระบบหายใจ
การผันแปรการระบายอากาศ(Alteration in ventilation)
การผันแปรการกำซาบ(Alteration in perfusion) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายเพื่อส่งO2 และสารอาหารเข้าสู่เซลล์และรับ CO2 และของเสียออกจากเซลล์
การผันแปรของการซึมซ่าน(Alteration in diffusion)แบ่งออกเป็น
3.1 การซึมซ่านที่ปอดลดลง
หมายถึง ความผิดปกติที่ทำให้การซึมซ่านก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านผนังกั้นระหว่างถุงลมและ pulmonary capillary
3.2 การซึมซ่านที่เนื้อเยื่อภายในอวัยวะของร่างกายลดลง
การซึมซ่านที่เนื้อเยื่อของร่างกายอาศัยการกำซาบที่เนื้อเยื่อ(tissue perfusion) ซึ่งขึ้นอยู่กับการทำงานของการไหลเวียนของระบบหลอดเลือดฝอยเพื่อการแลกเปลี่ยนก๊าซและสารอาหารปัจจัยทำให้การซึมซ่านที่เนื้อเยื่อลดลง
การผันแปรการหายใจระดับเซลล์(Alteration in oxygen consumption; VO2) เกิดจาก2 สาเหตุ
ความต้องการออกซิเจนเพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีภาวะโลหิตเป็นพิษ(sepsis) ภาวะมีไข้
การจ่ายออกซิเจนให้เซลล์ลดลง เนื่องจากปริมาณเลือดส่งออกจากหัวใจปกติแต่มีความผิกปกติของการไหลเวียนเลือดจุลภาคหรือเกิดจากการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกายลดลง จากภาวะ shock ทุกชนิด
ไม่โตครอนเดรียทำงานผิดปกติ(Mitochondrial malfunction) เนื่องจากได้รับสารพิษจากไซยาไนด์ ซึ่งไปขัดขวางการทำงานของ cytochrome oxidase