Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยโรค Diabetes Mellitus Hypertension Hypercalcemia Hyperkalemia…
การวินิจฉัยโรค Diabetes Mellitus Hypertension
Hypercalcemia Hyperkalemia
End Stage Renal Disease
การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้ตั้งแต่แรกรับจนสิ้นสุดการลงเวร
26/08/64
07.00 น.
-แนะนำตัวสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
การแนะนำตัวกลุ่ม A2 ดิฉันเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จากมหาวิทยาลัยปทุมธานี วันนี้ดิฉันได้รับมอบหมายให้มาดูแลคนไข้นะคะ
-การประเมินสภาพร่างกาย
รูปร่างอ้วน
ผิวหนัง: ผิวสองสี
ตา: ตาซ้ายมองไม่เห็น ตาข้างขวามัว การมองเห็น 20/70
จมูก: ปกติ รับรู้กลิ่น
ปาก: รูปร่างปกติ
ลำคอ: ต่อมไทรอยด์ไม่โต
ระบบทางเดินหายใจและทรวงอก: ทรวงอกรูปร่างปกติเสียงการหายใจปกติไม่มีเสียงกรอบแกรบ (Crepitation) หรือเสียงวี้ด (wheezing)
ระบบหัวใจและหลอดเลือด: การเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ 68 ครั้งต่อนาที ไม่มีเสียง Murmur หลอดเลือดดำข้างคอไม่โป่งพอง ไม่มีเส้นเลือดขอดที่ขา
ศีรษะ: มีความสมมาตรทั้งสองข้างขนาดปกติ
-วัด vital signs
T=37.9 องศาเซลเซียส R= 28 ครั้ง/นาที 02 Sat 88 %
07.30 น.
ดูแลทำความสะอาดเตียงและสิ่งแวดล้อม Unit care
บริเวณรอบตัวผู้ป่วยสะอาด ไม่ส่งกลิ่นเหม็นมารบกวนผู้ป่วย อากาศถ่ายเทสะดวก
08.00 น.
รับเวร
การวินิจฉัยโรค DM ,HT ,Hyper Ca, Hyper k, ESRD
หญิงไทยอายุ 58 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ สถานภาพสมรส คู่ ระดับการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อาชีพค้าขาย
-รับไว้ในความดูแล วันที่ 10 กรกฎาคม-23 สิงหาคม 2652 รวมเวลา 44 วัน
อาการสำคัญ: สับสน ซึมงง ถามตอบไม่รู้เรื่อง ก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง
อาการที่ตรวจพบมีอาการหายใจเหนื่อย หอบ หายใจ 28 ครั้ง/นาที 02 Sat 88 %
: ฟังเสียงปอดพบ crepitation both lung: อุณหภูมิร่างกาย 37.9 องศาเซลเซียส
ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ on Ventilator Mode PSV O2 40% TV 500Ml Rate 12 bpm
08.30 น.
pre conference
การวินิจฉัยโรค DM ,HT ,Hyper Ca, Hyper k, ESRD
ปัญหาที่พบ
1.ภาวะพร่องออกซิเจน
2.ปริมาณน้ำตาลในเลือดผิดปกติ
3.การติดเชื้อปัสสาวะ
4.ติดตามค่าไต
09.00 น.
complete bed bath
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย แนะนำตนเอง อธิบายวัตถุประสงค์
2.เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้มาที่เตียงให้ครบถ้วน
3.กั้นม่าน ปิดพัดลม เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่เปิดเผย
4.ปรับระดับเตียงให้เหมาะสมยกราวกั้นเตียงตรงข้ามพยาบาลขึ้นเลื่อนราวกั้นเตียงด้านที่พยาบาลยืนลง
5.เลื่อนผู้ป่วยมาริมเตียงต้านที่พยาบาลยืนอยู่
6จัดท่านอนหงายราบใช้ผ้าคลุมตัวผู้ป่วยถอดเสื้อและกางเกงหากมีสายให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้ถอดแขนเสื้อด้านที่ไม่มีสายให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำก่อน
ปูผ้าเช็ดตัวบริเวณใต้คางและใต้ใบหูถึงบริเวณหน้าอก
8.จุ่มผ้าถูตัวในน้ำบิตให้พอหมาดพันผ้ารอบมือแล้วเหน็บชายเข้า
9.เช็ดตาทั้ง 2 ข้างโดยเซ็ตต้านไกลตัวก่อนเซ็ตจากหัวตามาหางตาแล้วใช้ผ้าอีกมุมในการเช็ดตาอีกด้าน ซักผ้า ถูตัว เช็ดใบหน้าและหู ใช้ผ้าเช็ดตัวซับหน้า
10.เลื่อนผ้าเช็ดตัวลงมาคลุมที่หน้าอก เปิดเฉพาะไหล่ ส่วนบนเช็ดคอและไหล่ด้วยน้ำและสบู่ซับให้แห้ง
เช็ดร่างกายด้วยสบู่และน้ำโดยเช็ดต้านไกลตัวก่อนด้านใกล้ตัวใช้ผ้าเช็ดตัวปูรองใต้บริเวณที่เช็ด ซับให้แห้งทาครีมบำรุงผิวทาแป้งตามลำดับ
12.ให้ผู้ป่วยนอนหงายทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
13.สวมเสื้อผ้า(หากมีสายให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้สวมแขนด้านที่มีสายทางหลอดเลือดดำก่อน)จัดท่านอนในท่าที่สุขสบาย
การดูแลสายสวนปัสสาวะ
ดูแลให้สายสวนคาและถุงรองรับน้ำปัสสาวะเป็นระบบปิด (closed system) เสมอไม่ปลดรอยต่อสายสวนคาโดยไม่จำเป็นยกเว้นกรณีสวนล้างกระเพาะปัสสาวะซึ่งต้องเป็นไปตามการรักษาของแพทย์และขณะเทน้ำปัสสาวะออกจากถุงระวังมิให้ปลายท่อทางเปิดของถุงสัมผัสสิ่งอื่นใด นอกจากนี้ก่อนและหลังเทน้ำปัสสาวะออกจากถุงต้องเช็ดบริเวณท่อทางเปิดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ทุกครั้ง
ควรเทน้ำปัสสาวะออกทุก 8 ชั่วโมงหรือเมื่อพบว่าน้ำปัสสาวะมีจำนวนมากเพื่อป้องกันการหมักหมมเกิดเชื้อจุลินทรีย์ได้
สายและถุงรองรับน้ำปัสสาวะควรอยู่ต่ำกว่าระดับของกระเพาะปัสสาวะ เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำปัสสาวะและไม่ควรวางถุงรองรับน้ำปัสสาวะบนพื้นห้อง
ระวังมิให้สายจากถุงรองรับน้ำปัสสาวะหักพับงอจะทำให้อุดกั้นการไหลของน้ำปัสสาวะ
สังเกตลักษณะจํานวนและสีของน้ำปัสสาวะถ้าผิดปกติรายงานแพทย์
ติดพลาสเตอร์ที่สายสวนคาปัสสาวะ ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสม สายสวนปัสสาวะไม่ควรมีการดึงรั้งเพราะทำให้ผู้ใช้บริการไม่สุขสบาย
mouth care
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย แนะนำตนเอง อธิบายวัตถุประสงค์
2.ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
จัดผู้ใช้บริการนอนตะแคงหน้ามาด้านที่พยาบาลยืน ปูผ้ากันเปื้อนรองใต้คางและแก้มแล้ววางชามรูปไตให้ชิดแก้ม
เทน้ำยาบ้วนปากลงในภาชนะที่ใส่สำลี ใช้ไม้กดลิ้นที่พันกอซหรือใช้ mouth gag ช่วยเปิดช่องปากผู้ป่วย ใช้ปากคีบจับสำลีบิดหมาดทำความสะอาดด้านนอกด้านใน ด้านสบของฟันบนและฟันล่าง กระพุ้งแก้ม เหงือก เพดาน ในกรณีที่จำเป็นอาจใช้ลูกสูบยางหรือ bulb syringe ล้างช่องปากให้สะอาดแล้วดูดน้ำออก
เช็ดช่องปากและแก้มให้แห้ง
ทาริมฝีปากด้วย glycerine borax หรือสารที่ทำให้ปากชุมชื้นชนิดอื่นและ จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย
การดูแลเช็ดตัวเพื่อลดไข้
เตรียมสถานที่ ที่จะเช็ดตัวเด็กและควรปิดแอร์
ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วย
ปูผ้าเช็ดตัวรองส่วนที่เช็ด เพื่อป้องกันน้ำเปียกที่นอน
ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นบิดน้ำให้หมาดพอควร เริ่มเช็ดบริเวณใบหน้า และพักไว้ที่หน้าผาก ซอกคอ ทำซ้ำ 3-4 ครั้ง
เช็ดบริเวณหน้าอกและลำตัว
เช็ดแขนด้านไกลตัว จากปลายแขนเข้าหาต้นแขน และรักแร้เป็นการเช็ดในลักษณะย้อนรูขุมขน เพื่อระบายความร้อนทำซ้ำ 3-4 ครั้ง และพักผ้าไว้บริเวณข้อพับแขน และรักแร้
เช็ดแขนด้านใกล้ตัว โดยทำเช่นเดียวกัน
เช็ดขาด้านไกลตัว จากปลายขาเข้าหาต้นขา และขาหนีบ 3-4 ครั้ง และพักผ้าบริเวณใต้เข่า ขาหนีบ
เช็ดขาด้านใกล้ตัว โดยทำเช่นเดียวกัน
นอนตะแคงเช็ดบริเวณหลัง ตั้งแต่ก้นกบขึ้นบริเวณคอทำซ้ำ 3-4 ครั้ง
เช็ดตัวให้แห้ง แล้วใส่เสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย
การดูแลผู้ป่วยที่มีท่อช่วยหายใจ
1.ล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังดูแลผู้ป่วย
2.จัดท่าให้ผู้ป่วยหายใจอย่างสะดวก เปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยทุก 1-2 ชม. ป้องกันการดึงรั้ง ETT จากการเปลี่ยนท่านอนโดยจับยึดสายเครื่องช่วยหายใจ
ภายหลังใส่ ETT ยึดตรึงด้วยพลาสเตอร์ / เชือกผูก ETT และตรวจสอบการผูกยึดไม่ให้แน่นตึงหรือหลวมเกินไป
เปลี่ยนพลาสเตอร์ / เชือกที่ยึดตรึง ETT ทุกวันโดยเจ้าหน้าที่ 2 คนหากพบพลาสเตอร์ / เชือกที่ยึดตรึง ETT เปียกแฉะมีคราบสกปรกหรือไม่มีประสิทธิภาพให้ทำการเปลี่ยนใหม่
5.ตรวจสอบรอยต่อระหว่างเครื่อง รวมถึงตัวผู้ป่วยให้แน่น ไม่หลุด
6.สังเกตอาการว่าได้รับออกซิเจนเพียงพอหรือไม่
7..ดูแลไม่ให้มีการอุดตัน หักพับของท่อ โดยจัดตำแหน่งให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดการหัก พับ งอ
ตรวจสอบ Cuff pressure ทุก 8 ชม.
10.00 น.
-ประเมิน vital signs
-BT=37.90 °C,
ผู้ป่วยมีไข้ ทำการเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ติดตามปรอท
RR= 28 ครั้ง/นาที,
11.00 น.
เจาะ DTX ด้วยหลัก ascptic technique
เตรียมยาหลังอาหาร
1.Enalapril 1*1 o pc
2.Hydralazine 1*1 o pc
3.Glipizide 1*1 o pc
DTX ปลายนิ้ว=152 mg /dl
บริหารยาตามหลัก 7 R
1.Right Client
2.Right Drug
3.Right Dose
4.Right Route
5.Right Time
6.Right to Refuse
7.Right documentation
11.30 น.
ดูแล suction clear airway
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย แนะนำตนเอง อธิบายวัตถุประสงค์
2เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสม
3.1 ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีจัดท่านอนหงายศีรษะสูงปานกลาง 30-45 (Semi-fiowler & position)
3.2 ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวให้นอนตะแคง (Lateral's position)
ล้างมือให้สะอาดเช็ดให้แห้งหรือใช้ Waterless 20-30 วินาที ผูกผ้าปิดปากปิดจมูก
ดูแลความสะอาดช่องปากก่อนดูดเสมหะ
สวมถุงมือปลอดเชื้อจับสายดูดเสมหะต่อเข้ากับหัวต่อเครื่องดูดเสมหะ
เปิดเครื่องดูดเสมหะปรับแรงดัน 80-120 มิลลิเมตรปรอท
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ
8.1 ให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง (Hyper (Oxygenate) ทางเครื่องช่วยหายใจจากเดิมที่เคยได้รับนาน 1-2 นาทีหรือบีบ Self inflating with reservoir bag (AMBU) ต่อ ออกซิเจน 100% บีบ 3-6 ครั้งก่อนดูดเสมหะ
8.2 ปลดข้อต่อออกซิเจนหรือเครื่องช่วยหายใจออกจาก Endotracheal tube และเช็คข้อต่อด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
8.3 ค่อย ๆ ใส่สายดูดเสมหะลงในท่อช่วยหายใจอย่างนุ่มนวลโดยไม่ดูดเสมหะเมื่อสายลงจนถึงทางแยกหลอดลมใหญ่ให้ถึงกลับประมาณ 0.5-1 ซม. และเริ่มดูดเสมหะพร้อมกับดึงสายดูดเสมหะขึ้นเรื่อย ๆ
หากต้องการดูดเสมหะซ้ำควรทำดังนี้
9.1 ให้ผู้ป่วยได้พักหายใจประมาณ 3-5 ครั้ง
9.2 ให้ออกซิเจนระหว่างพัก (กรณีผู้ป่วยที่ได้ออกซิเจนอยู่เดิม)
9.3 ในแต่ละรอบไม่ควรดูดเสมหะเกิน 3 ครั้งหรือเกิน 5 นาที
ให้ออกซิเจน 100% ไม่น้อยกว่า 30-60 วินาทีหลังดูดเสมหะทุกครั้ง
ภายหลังการดูดเสมหะในปากให้ปลดสายดูดเสมหะและถอดถุงมือในถังน้ำเปล่าระมัดระวังไม่ให้เกิดการปนเปื้อน
ดูแลผู้ป่วยนอนในท่าที่สบาย
ปิดเครื่องดูดเสมหะถอดแว่นตาและผ้าปิดปากปิดจมูกล้างมือให้สะอาดหรือใช้ Waterless 20-30 วินาที
ประเมินอาการการหายใจเสียงหายใจและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังดูดเสมหะเช่น Hypoxia, Hypoxemia, Arrhythmia, Hypotension, Bronchospasm เป็นต้น
บันทึกจำนวนลักษณะสีกลิ่นของเสมหะและอาการของผู้ป่วยในแบบบันทึกทางการพยาบาล
-ผู้ป่วยทางเดินหายใจโล่ง ไม่มีเสมหะเหนียวข้น ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนที่สบาย ไม่มีแผลกดทับ
12.00 น.
ดูแลให้ได้รับสารอาหารทาง NG tube
1.ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
2.เตรียมอาหารจำนวนตามการรักษาของแพทย์
นำเครื่องใช้ไปเตียงผู้ป่วย
4.ตรวจสอบชื่อ นามสกุล และจัดเครื่องใช้ให้อยู่ในตำแหน่งที่จะหยิบใช้สะดวก
5 จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นสัดส่วน
6 จัดท่าผู้ใช้บริการให้ถูกต้องเหมาะสมคืออยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงอย่างน้อย 30 องศา เพื่อป้องกันอาการสำลัก
ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
บีบสายเปิดที่ปิดปลายสายและเช็ดปลายสายด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก
9.ตรวจสอบตำแหน่งปลายสายให้อาหาร โดยดูดของเหลวออกจากกระเพาะอาหาร ถ้าไม่มีของเหลวออกจากกระเพาะอาหารให้ตรวจสอบโดยใส่อากาศ 10-20 ml แล้วใช้หูฟังบริเวณลิ้นปี่ขณะที่ใส่อากาศเข้าไปจะได้ยินเสียง ฟุบ
10.หลังจากนั้นตรวจสอบว่าสายอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จึงสามารถ feed อาหารให้ ตามด้วยน้ำ 50 ml
11.ปิดปลายสายให้สนิท
ผู้ป่วยได้รับสารอาหารและยาตามแผนการรักษา และไม่มีอาการสำลัก
13.00 น.
ดูแล PM care
mouth care
ผู้ป่วยมีร่ายกายที่สะอาด
-ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย ไม่มีบาดแผลกดทับ
14.00 น.
-วัด vital signs
บันทึก I / O
BT=36.7 °C,
RR= 28 ครั้ง/นาที,
-Tube อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เลื่อนหลุด
-อยู่ในภาวะไม่สมดุล
15.00 น.
ดูแล suction clear airway
-ผู้ป่วยทางเดินหายใจโล่ง ไม่มีเสมหะเหนียวข้น
-ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย ไม่มีบาดแผลที่กดทับ
15.30 น.
เจาะ DTX ด้วยหลัก asceptic technique
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ได้แก่ อาการ hypogiycemia
เหงื่อออก มือสั่น กระสับกระส่าย
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
อาการ hyperglycemia
ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
มองเห็นไม่ชัด
กระหายน้ำมาก
ปวดศีรษะ
เหนื่อยง่าย
16.00 น.
Post conference
การวินิจฉัยโรค DM ,HT ,Hyper Ca, Hyper k, ESRD
-ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ on Ventilator Mode PSV O2 40% TV 500Ml Rate 12 bpm
-tube ไม่เลื่อนหลุด
เวลา 11.00 น. DTX ปลายนิ้ว=152 mg /dl ดูแลให้ Regular insulin (RI) 4-10 ยูนิตฉีดชั้นใต้ผิวหนัง
ผล Lab ค่าที่ผิดปกติ
PH
7.280
เลือดมีสภาพเป็นกรด
pCO2
49.4
มีภาวะHypoventilation
HCO3 std
21.0
มีภาวะ metabolic alkalosis
BE(B)
-4.3
มีภาวะ metabolic acidosis
HbA1C
6.8
สภาวะของโรคเบาหวานควบคุมโรคได้ไม่ดี
Hemoglobin (Hb)
10.5
มีภาวะโลหิตจาง
Hematocrit(Automate)
34.9
มีภาวะโลหิตจาง
MCHC
29.9
อาจเกิดสภาวะของโรคโลหิต
Neutrophil
82.1
อาจกำลังเกิดโรคจากการติดเชื้อ
Lymphocyte
10.6
อาจเกิดโรคโลหิตจางจากความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว
Platelet count
115
มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
การดูแลเครื่องช่วยหายใจ wean Ventilator
ระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจ (weaning-phase)
เมื่อผู้ป่วยมีความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ มีการปรึกษาร่วมกับแพทย์เพื่อวางแผนในการเริ่มให้ผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งมี 2 ขั้นตอน รายละเอียดดังต่อไปนี้
เริ่มให้ผู้ป่วยทดลองหายใจเอง (Spontaneous Breathing Trail: SBT)
เลือกเวลาในการเริ่มหายใจเองที่เหมาะสมควรเป็นเวลาเช้า
ให้ข้อมูลและอธิบายการหย่าเครื่องช่วยหายใจให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนการเริ่มหายใจเอง ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย และถ้ามีอาการเหนื่อยมากขึ้นต้องบอกให้ทราบ
จัด position ให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 45 องศา (ถ้าไม่มีข้อห้าม) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อกระบังลมเคลื่อนไหวได้ดี
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยดูดเสมหะก่อนหย่าเครื่อง และบีบ self–inflating bag 2–3 ครั้ง หรือจนกระทั่งผู้ป่วยหายเหนื่อย จึงเริ่ม wean
ดูแลเพื่อป้องกันปอดแฟบ จากการหายใจเองเป็นเวลานานโดยบีบ self–inflating bag 3–5 ครั้ง ต่อชั่วโมง
สอนและกระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าช้าๆและผ่อนลมหายใจออกช้าๆ หรือ deep breathing exercise
ดูแลให้ยาขยายหลอดลมเพื่อลดภาวะหลอดลมตีบแคบ เช่น การให้ bronchodilator หรือ aerosol เพื่อละลายเสมหะที่แห้งและเหนียว ตามแผนการรักษา
ขณะทดลองให้ผู้ป่วยหายใจเอง ควรบันทึกข้อมูลการหย่าเครื่องช่วยหายใจให้เห็นชัดเจน ในแบบ บันทึกข้อมูล (weaning record)
เฝ้าติดตามความสามารถในการหายใจเองใน 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่อไปนี้ ให้ยกเลิกการทดลองให้หายใจเอง
9.1. ความดันโลหิตเพิ่มจากเดิม > 20 mmHg
9.2. อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นจากเดิม > 20 beat/min อัตราการหายใจ > 35 BPM
9.3. EKG show arrhythmia, ischemic, bradycardia
9.4. ABG: Pa CO2 เพิ่มขึ้น > 10 mmHg ทำให้ pH ต่ำกว่า 7.35
9.5. Vt < 200 ml., MV < 5 liters หรือ > 12 liters, f/Vt > 105
9.6. Skin มีเหงื่อออกมาก ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป
9.7. อาการแสดงว่ากล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่นการใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ หรือหายใจแบบ paradoxical
9.8. ผู้ป่วยบอกหรือบ่นแน่น หายใจเองไม่ไหว อ่อนเพลีย
ถ้าผู้ป่วยหายใจเองได้ดีนาน 2 ชม. และไม่มีข้อบ่งชี้ให้หยุดการหายใจเอง ให้ปรึกษาร่วมกับแพทย์เพื่อพิจารณาถอดท่อช่วยหายใจ
ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถหายใจเองได้นาน 2 ชม. ให้กลับใส่เครื่องช่วยหายใจแบบเดิมและให้ผู้ป่วย พักเป็นเวลา 24 ชม. ให้ผู้ป่วยเริ่มหายใจเองใหม่ในวันรุ่งขึ้นตามความเหมาะสม
ค้นหาสาเหตุหรือปัญหาร่วมกับแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่พร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (ดูแนวทางแก้ไขปัญหาความไม่พร้อมในการ หย่าเครื่องช่วยหายใจ)
ประเมินความพร้อมใหม่อีกครั้ง ถ้าผู้ป่วยมีความพร้อมตามที่เกณฑ์ที่กำหนด ร่วมปรึกษากับแพทย์ เพื่อใช้วิธี gradual weaning technique ต่อไป
การหย่าเครื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป (Gradual weaning technique)
T-piece weaning
Synchronized intermittent mandatory ventilation with pressure support (SIMV with PSV)
Pressure support ventilation (PSV)
Continuous positive airway pressure (CPAP)
การดูแลผู้ป่วยขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจแบบค่อยเป็นค่อยไป
ปฏิบัติเช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยเริ่มให้ผู้ป่วย ทดลองหายใจเอง ข้อ 1-7
ลดความวิตกกังวลขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจโดย
2.1 อธิบายเป้าหมาย ขั้นตอนของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ เพื่อเกิดความเข้าใจและให้ความร่วมมือ
2.2 ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจควรอยู่ข้างเตียงผู้ป่วย ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว จนกว่า ผู้ป่วยมีความมั่นใจ ไม่กระสับกระส่าย
2.3 หันเหความสนใจ และหาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น การนวด การใช้เทคนิคผ่อนคลาย การฝึกการหายใจ การใช้ดนตรีบำบัด
2.4 ดูแลส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถติดต่อสื่อสาร กับญาติ และเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบอกความต้องการและขอความช่วยเหลือ
2.5 ประเมินและบันทึก vital signs, O2 Saturation, Vt, minute volume ก่อนเริ่มหย่าเครื่อง และขณะหย่าเครื่อง ในระยะแรกบันทึกทุก 15-30 นาที ต่อมาทุก 1 ชม.
2.6 เฝ้าติดตามประเมินผลความสามารถในการทนต่อการหายใจเอง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้ ให้หยุดการหย่าเครื่อง
เกณฑ์บ่งชี้การหยุดการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
Restless, distress, diaphoresis
BP change > 20 % baseline, systolic BP160 mmHg, หรือ diastolic BP 90 mmHg
HR change > 20 % from baseline, HR 140 beats/min
Vt<200 ml, RR > 35 breath/min
f/Vt > 105 , MV < 5 liters or > 12 liters.
PaCO2 > 45 mmHg (except COPD), pH < 7.35, PaO2 < 60 mmHg, SaO2 < 90 %
การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้เรื่องโรคเบาหวานเฝ้าระวังอะไรบ้าง
และการพยาบาลผู้ป่วยรายนี้หลังฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
1.เฝ้าระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia)
การพยาบาล
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ทราบถึงสาเหตุ อาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เช่น ซึม กระวนกระวาย ชักหรือหมดสติ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที
3.วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาทีเพื่อ ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและวางแผนการช่วยเหลือได้ทันท่วงที
4.เฝ้าระวังการเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำโดยสังเกตและแนะนำญาติในการสังเกตอาการผู้ป่วยหลังได้รับอินซูลิน เช่น มึนงง ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว พูดไม่ชัด เหงื่อออก รีบแจ้งพยาบาลเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ถูกต้อง
5.. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังให้อินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดสูงทุก 1 ชั่วโมงตามแผนการรักษา เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดถ้าพบระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำกว่าปกติ รายงานแพทย์ทราบ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที
2.เฝ้าระวังภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia)
การพยาบาล
1.สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยเช่นซึมกระวนกระวายชักหรือหมดสติเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที
2.วัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและวางแผนการช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ดูแลการได้รับยาลดระดับน้ำตาลอินซูลินตามแผนการรักษาของแพทย์
ติดตามผลระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที
1.การพยาบาลหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
การพยาบาล
• การปฏิบัติตัวหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
1.หลังฟอกเลือดเสร็จ ถ้าผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลม ความดัน โลหิตต่ำ ควรแจ้งให้แพทย์และพยาบาลทราบเพื่อพิจารณาปรับน้ำหนักแห้ง (dry weight) ของผู้ป่วยใหม่ให้เหมาะสม
2.เมื่อเสร็จสิ้นการฟอกเลือดพยาบาลจะทำการกดเส้น ด้วยผ้าก็อซสะอาดจนกว่าเลือดจะหยุดหลังจากนั้นจะปิดพลาสเตอร์บริเวณแทงเข็มด้วยพลาสเตอร์ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ผู้ป่วยจึงสามารถเอาพลาสเตอร์ออกได้
3.ชั่งน้ำหนักหลังการฟอกเลือดทุกครั้งและลงในแบบบันทึกน้ำหนัก เพื่อใช้ประเมินการดึงน้ำว่าตรงตามค่าที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าน้ำหนักหลังฟอกเลือดมากกว่าน้ำหนักตัวแห้ง แสดงว่าผู้ป่วยยังมีน้ำเหลือค้างกลับไป ผู้ป่วยต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในวันถัดไปก่อนจะมาฟอกเลือดครั้งต่อไป
4.ควรระมัดระวังการกระทบกระแทกแรงๆ และการถูกของมีคม โดยเฉพาะบริเวณเส้นเลือดที่ใช้ฟอกเลือดเพราะจะทำให้เลือดออกมาก และอาจมีผลตกค้างของสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดในขณะฟอก ทำให้เลือดหยุดยากและเขียวช้ำบริเวณที่ถูกกระแทกได้
ผู้ป่วยต้องบริหารเส้นฟอกเลือดโดยการบีบและคลายมือเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยควรบริหารหลังการฟอกเลือด 1 วัน ไม่ควรบริหารเส้นหรือยกของที่ต้องออกแรงแขนมากหลังฟอกเลือดวันแรก เพราะอาจทำให้เลือดออกบริเวณรูเข็มได้
-อยู่ในภาวะไม่สมดุล