Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๑๐
การพยาบาลแบบองค์รวมบนพื้นฐานทฤษฏีการดูแลด้วยความเอื้ออาทรแก่บุคค…
บทที่ ๑๐
การพยาบาลแบบองค์รวมบนพื้นฐานทฤษฏีการดูแลด้วยความเอื้ออาทรแก่บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีปัญหาการใช้สารเสพติดและการทารุณกรรม
สารเสพติด
ควมหมาย
หมายถึง สิ่งที่เสพเข้าไปในร่างกายแล้วทําให้ร่างกายต้องการสารนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถหยุดได้ มีผลทําให้ร่างกายทรุดโทรมและสภาวะจิตผิดปกติ
ประเภทของสารเสพติด
ประเภทของสารเสพติดตามการออกฤทธิ์
- สารกคประสาท ออกฤทธิ์กคการทำงานของสมอง ได้แก่ แอลกอฮอล์ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารกลุ่ม benzodiazpine และ สารกลุ่ม barbiturate เป็นต้น
- สารกระตุ้นประสาท ออกฤทธิ์กระตุ้นส่วนของพฤติกรรมและการเคลื่อนไหว ได้แก่ แอมเฟดามีน ยาเลิฟ ยาอี ยาไอซ์ โคเคน บุหรี่ กาแฟ กระท่อม เป็นต้น
- สารหลอนประลาท ออกฤทธิ์ทำให้การรับรู้บิดเบือนจากความเป็นจริง เช่น ยาอี ยาเลิฟ ยาเค กัญชา สารระเทย เห็ดขี้ควาย LSD PCP
- สารออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกัน ได้แก่ กัญชา
ประเภทของสารเสพติดตามที่มาของสาร
- ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา เป็นต้น
- ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน
สารระเหย เป็นต้น
ประเภทของสารเสพติดตามการบังคับใช้กฎหมาย
- ประเภทถูกกฎหมาย เช่น กาแฟ บุหรี่ สุรา
ไวน์ เบียร์
- ประเภทผิดกฎหมายเช่น มอร์ฟีน ฝืน เฮโรอีน กัญชา ยาอี ยาเลิฟ ยาเค แอมเฟตามีน
ประเภทของสารเสพติดตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
- ประเภท 1 ให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน
เมทแอมเฟตามีน
- ประเภท 2 ให้โทษประเภททั่วไป เช่น มอร์ฟิน โคคาอีน โคเดอีน ฝั่นยา
- ประเภท 3 ให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษประเภท 2เป็นส่วนผสม
- ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตสารเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2
- ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้อยู่ในประเภท 14
-
-
การประเมิน (Assessment)
- อาการสำคัญ
- ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
- พัฒนาการตามวัยทางด้านร่างกาย
- ด้านจิตสังคม
- ประวัติการคลอดและการได้รับภูมิคุ้มกัน
- ประวัติการเลี้ยงดู
- ประวัติการใช้สารเสติด : ปริมาณ ความถี่ ระยะเวลาที่เสพ ครั้งสุดท้ายที่เสพ
- แบบแผนสุขภาพ
แบบแผนที่1. การรับรู้ภาวะสุขภาพและการดูแลสุขภาพแบบแผนที่6. สติปัญญาและการรับรู้
แบบแผนที่7. การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์
แบบแผนที่8. บทบาทและสัมพันธภาพ (รวมถึงข้อมูลครอบครัว และชุมชน)
แบบแผนที่10. การปรับตัวและความทนทานกับความเครียด
แบบแผนที่11. คุณค่าและความเชื่อ
การพยาบาล
- ผู้ป่วยขาดแรงจูงใจในการเลิกยา เนื่องจากไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของการเสพติด
- กิจกรรมการพยาบาล
1.พยาบาลสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ โดยแสดงความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ รับฟังผู้ป่ วยอย่างตั้งใจ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร อบอุ่น
2.ให้ข้อมูลทำให้ผู้ป่วยมองเห็นถึงความขัดแย้งที่มีอยู่ในตนเอง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจูงใจผู้ป่วยโดยให้รับรู้ว่า พฤติกรรมในปัจจุบันเป็นอุปสรรคอย่างไรกับเป้าหมายในชีวิต
3.พูดคุยให้ผู้ป่วยได้สำรวจถึงผลดีผลเสียที่ตามมาจากพฤติกรรมของเขาเน้นให้ทราบว่าเขาคือผู้ทที่รับผิดชอบต่อพฤติกรรมตนเอง
4.หลีกเลี่ยงการขัดแย้งกับผู้ป่วย ซึ่งในช่วงแรกนี้ผู้ป่วยยังมีความสับสนเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง
5.ให้ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับสาเหตุการติดยา แนวทางในการบำบัดรักษา วิธีการที่จะหยุดใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
3 ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการกลับไปใช้ยาซ้ำเนื่องจากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยง
- กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสัญญาณเตือนภายในของการหวนกลับไปใช้ยาซ้ำ และสามารถหยุดยั้งได้ทัน
2.พูดคุยกับผู้ป่วยถึงเหตุการณ์ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาที่เคยทำให้กลับไปใช้ยา และเรียนรู้การมีพฤติกรรมใหม่ที่ไม่ต้องใช้ยาเสพติด
3.ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยในช่วงนี้ที่หยุดยาได้ เพื่อให้เข้าใจ และเห็นถึงผลสำเร็จที่เกิดจากความตั้งใจ
4.สอนทักษะต่าง ๆ ในการป้องกันการกลับไปเสพยาซ้ำ เทคนิคการจัดการกับอารมณ์ ความเชื่อ ความคิดที่จะทำให้กลับไปเสพยาซ้ำ
5.สนับสนุนให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมใหม่ที่ต่างจากการใช้ยา การออกกำลังกาย การจัดตาราง ชีวิตประจำวันใหม่ การมีกิจกรรมนันทนาการใหม่ ๆ ในชีวิต
6.สนับสนุนให้ผู้ป่วยเรียนรู้โอกาสของการกลับไปใช้ยาซ้ำ อาจเกิดขึ้นได้ ทว่าไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
2 ผู้ป่วยติดสารเสพติดเนื่องจากขาดความรู้และทักษะในการหยุดใช้ยาระยะเริ่มต้น
- กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะในการหยุดยา เทคนิคการหยุดความคิดเพื่อไม่ให้เกิดความอยากยา แยกแยะตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความอยากยา
2.สนับสนุนให้ผู้ป่วยเรียนรู้ทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ในการเลิกยา เรียนรู้ว่าความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้
3.พยาบาลและผู้ป่วยร่วมกันหาแนวทางในการปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมเผชิญกับตัวกระตุ้นต่าง ๆ และกำจัดอุปกรณ์การเสพยา
4.พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับวงจรการอยากยา และหาวิธีที่จะหยุดวงจรนั้นด้วยตัวเอง โดยพยาบาลมีหน้าที่เป็นผู้ให้แนวทาง และให้กำลังใจสนับสนุน
5.อธิบายให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่จะเกิดขึ้นในช่วงขาดยา เช่น ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หงุดหงิด ปวดศีรษะ และหาแนวทางในการจัดการกับอาการดังกล่าวร่วมกับผู้ป่วย
4 ครอบครัวขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลช่วยเหลือผู้ติดยา
- กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพกับครอบครัว โดยแสดงความเห็นอกเห็นใจ ยอมรับ และตั้งใจรับฟังปัญหาของครอบครัว ที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดของสมาชิกในครอบครัว
2.ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับกระบวนการติดยา และกระบวนการเลิกยา เนื่องจากความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง จะช่วยให้ครอบครัวให้อภัย เห็นใจ และสนับสนุนให้ผู้รับการบำบัด เลิกยาได้อย่างต่อเนื่อง
3.สนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และเรียนรู้วิธีการหาแนวทางต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
4.สอนเทคนิคการเรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับผู้ที่กำลังเลิกยา เรียนรู้วิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในครอบครัว
5.สนับสนุนให้ผู้รับการบำบัด และครอบครัว มีการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ส่งเสริมให้เกิดการเลิกยาอย่างต่อเนื่อง และฟื้นฟูสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
5 ผู้ป่วยขาดทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมโดยไม่ใช้ยา
- กิจกรรมการพยาบาล
1.ติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง หลังการเลิกยา เพื่อให้ความช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตหลังเลิกยา
2.สอนให้ผู้ป่วยได้รู้จักฝึกวิธีการเข้าสังคม และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ภายใต้บรรยากาศของมิตรภาพ และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
3.สนับสนุนให้กำลังใจในความสามารถที่ผู้ป่วยหยุดยาได้ด้วยตนเอง เสริมความมีคุณค่าในตนเองให้ผู้ป่วย
4.ให้คำปรึกษาผู้ป่วย และครอบครัว ในการดำเนินชีวิตที่สมดุลย์ การจัดการกับกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน ให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะจัดเวลาในการทำงาน พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังและทำกิจกรรมในสังคมให้เหมาะสม และสมดุลย์ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และไม่ใช้ยา
ลักษณะการแก้ปัญหา 3 แบบ
- แบบที่ 1 เรียกว่าการแก้ปัญหาแบบมีเหตุผล (Rational problem solving) เป็นการแก้ปัญหาโดยพยายามทำความเข้าใจกับปัญหา (Formulation) และค้นหาปัญหาที่แท้จริง(Identified problem) พยายามคิด หาทางออกจากปัญหาหลายๆ ทางมีการตัดสินใจบนวิธีการแก้ปัญหาที่มีการวางแผนไว้ ลงมือแก้ปัญหาตามที่ได้มีการวางแผน ไว้และตรวจสอบผลการแก้ปัญหาทั้งผลดีและผลลบ โดยการแก้ปัญหาทั้งหมดอยู่กับความเป็นจริงและพยายามลดอารมณ์ทางลบเพราะคิดว่าไม่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาแบบที่ 2 เป็นการแก้ปัญหาโดยการหลีกหนี (Avoidence) การแก้ปัญหาแบบนี้เป็นการหลีกหนีปัญหาพยายามจะหลีกเสี่ยงออกจากความรับผิดชอบในการ
- แบบที่ 2 เป็นการแก้ปัญหาโดยการหลีกหนี (Avoidence) การแก้ปัญหาแบบนี้ เป็นการหลีกหนีปัญหา ไม่พยายามผชิญกับปัญหา พยายามจะหลีกเดี่ยงออกจากความรับผิดชอบในการแก้ปัญหามีความตั้งใจที่จะไม่ร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหากับผู้อื่น
รอให้ปัญหาจบลงด้วยตัวของมันเอง หรือแก้ปัญหาโดย การพึ่งพาผู้อื่นและมองการแก้ปัญหาในทางร้าย
- แบบที่ 3 เป็นการแก้ปัญหาแบบทุนหันพลันแล่นและขาดความระมัดระวัง(Impulsivecareless) เป็นการแก้ปัญหาอย่างเร่งรีบ แก้ปัญหาแบบถวกๆ ตัดสินใจเร็วโดยไม่รอคิดทบทวนหลายๆ ทางก่อนมีทางออกของปัญหาเพียงไม่กี่แนวทาง แก้ปัญหาแบบไม่มีระบบหรือใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ไม่มีการตรวจสอบและประเมินการแก้ปัญหาที่ได้กระทำ
-
-
-
-
-