Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปองค์ความรู้ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ image - Coggle Diagram
สรุปองค์ความรู้ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
หน่วยที่ 1 แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.ความหมายของการวัดผล การทดสอบและการประเมินผล
การวัดผลทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการหาปริมาณความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษาที่สนใจ
การทดสอบ (Test) หมายถึง เป็นเทคนิคที่ใช้การวัดผลทางการศึกษาประเภทหนึ่ง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลคือ “แบบทดสอบ”
การวัดผล หมายถึง กระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสิ่งต่างๆ ที่ ต้องการวัดโดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งมาวัด ซึ่งผลจากการวัดนั้นอาจจะเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์
การประเมินผล หมายถึง การตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้ท าการวัดอย่างมีเหตุผลโดย เทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้
องค์ประกอบของการวัดและการประเมินผล
2.1 องค์ประกอบของการวัด
เครื่องมือที่ใช้วัด
ข้อมูลที่ได้จากการวัด
ปัญหาหรือสิ่งที่จะวัด
2.2 องค์ประกอบของการประเมิน
เกณฑ์
การตัดสินคุณค่าหรือการตัดสินใจ
ข้อมูล(ที่ได้จากการวัด)
ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดและประเมินผลกับกระบวนการเรียนการสอน
การประเมินแบบ Assessment ป็นการประเมินโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง ไม่มุ่งเปรียบเทียบกับพัฒนาการของนักเรียนคนอื่น ๆ การตัดสินได้-ตก
การประเมินแบบ Evaluation เป็นการตัดสินผู้เรียนจากพฤติกรรมทางการศึกษาได้วัดได้โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานทางการศึกษาที่กำหนดเอาไว้ เพื่อตัดสินว่าผู้เรียนนั้นมีพฤติกรรมทางการศึกษาที่สนใจอยู่ในระดับใด
การจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนใด ๆ จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน
กิจกรรมการเรียนการสอน (Learning Experience)
การวัดและประเมินผล (Evaluation)
จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objectives)
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลทางการศึกษาไม่ได้มีเพื่อการตัดสินผู้เรียนว่าสอบได้หรือสอบตก หรือใครอ่อนหรือเก่งกว่าใคร แต่ผลที่ได้จากการวัดและประเมินผลการศึกษาควรจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
จัดอันดับหรือตำแหน่ง การวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อจัดอันดับความสามารถของผู้เรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งใครอ่อน ผ่าน-ไม่ผ่าน
4.เปรียบเทียบหรือทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน (ไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น)ว่ามีความ เจริญงอกงามขึ้นเพียงใด เช่น การทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
พยากรณ์ เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อนำผลไปคาดคะเนหรือทำนายอนาคตของผู้เรียน เช่น แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา
วินิจฉัย เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่ายังไม่เกิดการเรียนรู้ในจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนและสอนซ่อมเสริมนักเรียนได้
ค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียน
ประเมิน เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อตัดสินใจสรุปคุณภาพของการจัดการจัดการศึกษา ควรปรับปรุงหลักสูตรหรือไม่
ธรรมชาติของวัดผลการศึกษา
ผู้ที่ทำการวัดผลการศึกษาควรศึกษาถึงธรรมชาติของการวัดผลการศึกษาดังนี้
การวัดผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดในเชิงสัมพันธ์
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สมบูรณ์ คือ คะแนน/ผลที่ได้จากการวัด เท่ากับ 0 ไม่ได้แปลว่าผู้เรียนไม่มีความรู้
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์
มาตราการวัด
มาตรานามบัญญัติ
ใช้จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยใช้ตัวเลข เช่น เพศ สถานภาพ
มาตราอัตราส่วน
การวัดในระดับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทางวิทยาศาสตร์ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง จำนวนเชื้อแบททีเรีย จำนวนผู้ติดเชื้อ เป็นต้น (การวัดทางการศึกษาไม่อยู่ในระดับนี้)
มาตราเรียงอันดับ
การวัดระดับนี้ เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะ มาก-น้อย สูง-ต่ำ เก่ง-อ่อน กว่ากัน
มาตราอันตรภาค
บ่งบอกถึง ปริมาณความแตกต่างได้ เช่น อุณหภูมิ 0 องศา กับ 10 องศา มีความหนาวแตกต่างกันอยู่ 10 ช่วงเท่าๆ กัน หรือคะแนนสอบ
ขอบข่ายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการในการวัดผลการศึกษา ประกอบด้วย
เลือกตัวแทนของสิ่งที่จะวัดให้เหมาะสม
ใช้ผลจากการวัดให้คุ้มค่า
เลือกใช้วิธีการวัด/เครื่องมือที่หลากหลาย
มีความยุติธรรม
เลือกใช้วิธีการวัดให้เหมาะสม/เครื่องมือที่มีคุณภาพ
ดำเนินการสอบที่มีคุณภาพ
กำหนดจุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลให้ชัดเจนว่าต้องการวัดอะไร
กระบวนการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
กำหนดวัตถุประสงค์
กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
ทดสอบเเละเก็บรวบรวมข้อมูล
จัดกระทำกับข้อมูล
ตัดสินผลการเรียน
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินและสิ่งที่จะประเมิน
ประเภทของการประเมินผล
จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
การประเมินผลระหว่างเรียน
การประเมินสรุป
การประเมินผลก่อนเรียน
จำแนกตามระบบการวัดผล
การประเมินแบบอิงกลุ่ม
การประเมินแบบอิงเกณฑ์
การกำหนดสิ่งที่จะประเมิน
จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนการ จะต้องกำหนดพฤติกรรมทางการศึกษาที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน
ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ครูผู้สอนและนักเรียนจำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ และกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมร่วมกัน
การประโยชน์ของการประเมินผลการศึกษา
ช่วยให้ครูกำหนดหรือปรับปรุงจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนเอง
ครูได้ข้อมูลพฤติกรรมของผู้เรียนเบื้องต้นก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล
ผู้เรียนทราบถึงระดับความสามารถของตนเอง มีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น
เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการโรงเรียน
หน่วยที่ 2 พฤติกรรมทางการศึกษา
พฤติกรรมการศึกษาที่ทั่วโลกใช้
พฤติกรรมพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นกลุ่มพฤติกรรมด้านสมอง หรือพฤติกรรมด้านสติปัญญาของมนุษย์
พฤติกรรมทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นกลุ่มพฤติกรรมที่เกิดการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเเละประสาทสัมพันธ์ หรือพฤติกรรมจากการลงมือปฏิบัติจริง
พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นกลุ่มพฤติกรรมด้านจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึก
1.พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย(Cognitive Domain)
ความรู้ :pencil2:
-ความรู้เฉพาะเจาะจง
ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และนิยาม
ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงเฉพาะ
-ความรู้เกี่ยวกับวิธีดำเนินการเฉพาะอย่าง
ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม
ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภทและจัดกลุ่ม
ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน
ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์
ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ
-ความรู้รวบยอดและนามธรรมในแต่ละเนื้อเรื่อง :
ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและข้อสรุปอ้างอิง
ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง
ความเข้าใจ :<3:
การตีความ
การขยายความ
การแปลความ
ย่อความ
คาดคะเน
การนำไปใช้ :red_flag:
เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
การวิเคราะห์ :explode:
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
การวิเคราะห์หลักการ
การวิเคราะห์ส่วนประกอบ
การสังเคราะห์ :star:
การสังเคราะห์แผนงาน หรือเสนอโครงการดำเนินงาน
การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ ของสิ่งที่เป็นนามธรรม
การสังเคราะห์ข้อความ หรือการถ่ายทอดความคิด
การประเมินค่า
การตัดสินโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายในเหตุการณ์
การตัดสินโดยใช้เกณฑ์ภายนอก
2.พฤติกรรมด้านจิตพิสัย(Affective Domain)
ขั้นรับรู้(Receiving) เป็นขั้นแรกที่เริ่มจากการที่บุคคลรับรู้สิ่งเร้าหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่กระทบประสาทสัมผัสต่าง ๆ จนเกิดความรู้สึกสนใจสิ่งนั้น
ขั้นสร้างลักษณะนิสัยจากค่านิยม (Characterization) เป็นขั้นสุดท้ายหลังจากที่ค่านิยมต่าง ๆ สามารถสัมพันธ์กันเป็นระบบแล้วก็จะมีพัฒนาบุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัยของบุคคลให้เป็นรูปแบบที่ชัดเจน
ขั้นเห็นคุณค่าหรือสร้างค่านิยม (valuing) หลังจากบุคคลมีพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะเต็มใจยินดีพอใจแล้วก็จะเกิดความรู้สึกในคุณค่าของสิ่งนั้นซึ่งมักจะต้องยึดถือกฎเกณฑ์ของกลุ่มหรือสังคมมาใช้ในการตัดสินใจให้คุณค่าและกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมทิศทางของพฤติกรรมซึ่งเรียกว่าค่านิยม
ขั้นจัดระบบค่านิยม (Organization) เมื่อบุคคลมีค่านิยมหลาย ๆ อย่างซึ่งเป็นค่านิยมย่อย ๆ ก็จะเกิดการจัดระบบค่านิยมโดยการจัดลำดับความสำคัญของค่านิยมและสัมพันธ์เชื่อมโยงค่านิยมที่เกี่ยวข้องกันกลายเป็นคติหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติ
ขั้นตอบสนอง (Responding) หลังจากที่รับรู้ในขั้นแรกแล้วบุคคลจะมีพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะที่เต็มใจหรือไม่เต็มใจยินดีพอใจหรือไม่ยินดีพอใจตอบสนอง
3.พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย(Psychomotor Domain)
การเตรียมความพร้อม (Set)
การตอบสนองตามแนวชี้แนะ (Guided Response)
การรับรู้ (Perception)
การปฏิบัติได้ด้วยตนเอง (Mechanism)
การตอบสนองที่ซับซ้อน (Complex overt Response)
การดัดแปลง (Adaptation)
การริเริ่ม (Origination)
หน่วยที่ 3 การประเมินตามสภาพจริง
การจัดการเรียนรู้แบบเดิม
การจัดการเรียนการสอนจึงคือ“การถ่ายทอดความรู้จาก
ผู้สอนไปสู่ผู้เรียน”ผ่านกระบวนการสอนที่มุ่งเน้นเนื้อหา
วิชาเป็นหลักผู้เรียนมีหน้าที่รับฟังและจดจำในสิ่งที่บอก
วัดประเมินผลการเรียนรู้
โดยใช้ข้อสอบ
การจัดการเรียนรู้แบบใหม่
ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วในกระแสโลกาภิวัตน์
องค์ความรู้ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการจัดการเรียนการสอน
จากผู้สอนบอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนมาเป็นการให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้เองภายใต้สถานการณ์ที่ผู้สอนออกเเบบไว้
กระบวนทัศน์ใหม่ของการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้ความสำคัญต่อ“กระบวนการ เรียนรู้ของผู้เรียน” เเละเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
เน้นกระบวนการคิดกระบวนการเรียนรู้ผู้เรียนเเละกลุ่มผู้เรียน มากกว่าเนื้อหาวิชาเเละผู้สอน
มาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จะระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ
ตัวชี้วัด
เป็นตัวระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ มีความเฉพาะเจาะจงเป็นรูปธรรม
นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหาจัดทำหน่วยการเรียนรู้จัดการเรียนการสอน
เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน
กิจกรรมการเรียนการสอน
ครูผู้สอนมีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ครบทั้ง 3 ด้าน
2.พฤติกรรมด้านจิตพิสัย(Affective Domain)
3.พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย(Psychomotor Domain)
1.พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย(Cognitive Domain)
การประเมินตามสภาพจริง
การประเมินผลที่ใช้วิธีการและเกณฑ์ที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะต่าง ๆ ของผู้เรียนอย่างเต็มเวลาของกิจกรรมในแต่ละโปรแกรม
เป้าประสงค์หลักที่สำคัญที่สุดของกระบวนการเรียนการสอน
“การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์การเรียนการสอน”
จำเป็นต้องมี “การวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง”
หน่วยที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล
พฤติกรรมและลักษณะการแสดงออก
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องรู้ว่าจะสอนให้เกิดพฤติกรรมอะไร
ต้องรู้ว่าจะวัดพฤติกรรมนั้นอย่างไร โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้เรียนที่ปรากฏในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ลักษณะของการแสดงออกของพฤติกรรมด้านต่างๆ เพื่อแนวทางในการนำไปใช้เขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เครื่องมือในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษา
1.แบบตรวจสอบรายการ
แบบตรวจสอบรายการเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมการปฏิบัติงานโดยมีการบันทึกพฤติกรรมที่ผู้วัดหรือครูผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ หรือไม่
นิยมใช้ในกรณีที่มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน และใช้ในการบันทึกผลที่ได้จากการปฏิบัติของผู้เรียน
ผลที่ได้จะสะท้อนว่าผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับ
พฤติกรรมที่กำหนดไว้หรือไม่
ข้อดี :check: ง่ายต่อการใช้ เเละสามารถนำไปใช้วัดพฤติกรรมทางการศึกษาด้านด้านจิตพิสัยและด้านทักษะพิสัยร่วมกับการสังเกตได้
ข้อเสีย :red_cross: พฤติกรรมหรือคุณลักษณะของผู้เรียนที่จะวัดนั้นต้องชัดเจน (จะสื่อความหมายไม่ตรงกัน)
2.แบบมาตราส่วนประมาณค่า
ข้อดี :check:
ครูผู้สอนจะได้ระดับของพฤติกรรมของผู้เรียนว่ามีมากน้อยเพียงใด
สามารถนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้
นำเอาระดับพฤติกรรมนั้นไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงผู้เรียนต่อไป
ข้อเสีย :red_cross:
พฤติกรรมหรือคุณลักษณะของผู้เรียนที่จะวัดนั้นต้องชัดเจน (จะสื่อความหมายไม่ตรงกัน)
3.แบบวัดเชิงสถานการณ์
เป็นการจำลองหรือสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ ขึ้นเเล้วให้บุคคลเเสดงความรู้สึก หรือเเสดงพฤติกรรมด้านสติปัญญาที่ตนมี
ข้อดี :check:
เร้าใจให้ผู้ตอบติดตามอ่านคำถามสร้างความยุติธรรมให้กับผู้ตอบเเต่ละคน
ครูจะสามารถวัดพฤติกรรมของผู้เรียนในระดับสูงได้ทั้งพฤติกรรมในด้านพุทธิพิสัย และจิตพิสัย
ข้อเสีย :red_cross:
ครู/ผู้สร้างแบบวัดเชิงสถานการณ์จะต้องมีความรู้ความสามารถในการสร้างแบบวัดแล้วนำมาผนวกกับเงื่อนไขที่เป็นไปตามเนื้อหาที่ได้สอนผู้เรียนไป
4.การสังเกต
1.การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่ามในเหตุการณ์หรือกิจกรรม
2.การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่ามในเหตุการณ์หรือกิจกรรม
การสังเกตเเบบไม่มีโครงสร้าง
การสังเกตเเบบมีโครงสร้าง
5.การสัมภาษณ์
1.การสัมภาษณ์เเบบไม่มีโครงสร้าง
2.การสัมภาษณ์เเบบมีโครงสร้าง
หลักในการสัมภาษณ์
สร้างบรรยากาศที่ดี
จดบันทึกคำตอบในระหว่างการสัมภาษณ์
การเตรียมตัวก่อนสัมภาษณ์
เเบบสอบถาม
ประกอบไปด้วยสามส่วน คือ
สถานภาพทั่งไปของผู้ตอบเเบบสอบถาม
พฤติกรรมที่ต้องการวัด
คำชี้เเจงเเบบสอบถาม
รูปเเบบของเเบบสอบถาม
เเบบสอบถามปลายเปิด
เเบบสอบถามปลายปิด
เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์
การวัดผลภาคปฏิบัติ
เป็นการวัดผลงานที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกระบวนการเเละผลงาน
เหมาะสำหรับการวัดด้านทักษะพิสัยเเละด้านพุทธิพิสัย
หน่วยที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลในศตวรรษที่ 21
1.แนวคิดหลักของการจัดการเรียนรู้
เน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน
ทักษะการเรียนรู้ไว้ 5 ด้าน ที่สำคัญ
3.หลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21
4.การพัฒนาทางวิชาการในศตวรรษที่ 21
2.การประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21
สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
มาตรฐานในศตวรรษที่ 21
การจัดกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ
การเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
กรอบแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การนำทักษะในศตวรรษที่ 21 ทุกทักษะไปใช้นักเรียนทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มี
นักเรียนสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาน
นักเรียนสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาหลักด้านวิชาการ
อาศัยการบูรณาการของพื้นฐานความรู้ภายใต้บริบทการสอนความรู้วิชาหลัก
นักเรียนต้องเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นเพื่อให้ประสบความสำเร็จในโลก
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
5.ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
6.ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม
7.ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้
ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา
แนวทางการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ประการแรก คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน และการเรียนรู้ของผู้เรียน ในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
ประการที่สอง คือ การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินสรุปผลการเรียนรู้ ซึ่งมีหลายระดับ
การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นการประเมินแบบสมดุลเชิงคุณภาพ
จุดเน้นของการวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สร้างความสมดุลในการประเมินผลเชิงคุณภาพ
เน้นการนำประโยชน์ของผลสะท้อนจากการปฏิบัติของผู้เรียนมาปรับปรุงเเก้ไขงาน
สร้างเเละพัฒนาระบบเเฟ้มสะสมงาน(Portfolios) ของผู้เรียนให้เป็น
มาตรฐานและมีคุณภาพ
ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการทดสอบวัดและประเมินผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการวัดและประเมินทักษะทักษะในศตวรรษที่ 21
1) การประเมินด้วยการสื่อสารส่วนบุคคล
2) การประเมินจากการปฏิบัติ
3) การประเมินตามสภาพจริง
ขั้นตอนในการดำเนินการวัดตามสภาพจริง
2.กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและออกแบบ/สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา
3.ออกแบบการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ครู้ผู้สอนจะต้องออกแบบการวัด และประเมินผลทางการศึกษาให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
1.กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้โดยพิจารณามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4) การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน
หน่วยที่ 6 แนวทางการวัดและประเมินสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
1.ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางการศึกษาทั้ง 9 ประเภท
กลุ่มเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
กลุ่มเด็กด้อยโอกาส
ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติพ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษา เกี่ยวกับคนพิการไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องจัด ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอภาคกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้ อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
เพื่อประเมินความรู้ความสามารถพื้นฐานและความต้องการจำเป็นพิเศษเพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้
ประเมินพัฒนาการและผลการเรียนรู้ของนักเรียนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัดสินผลการเรียน เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้หรือจบรายวิชาตามมาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) :silhouette:
ประเมินความรู้ทักษะและความพร้อมพื้นฐานของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียน
วางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
:silhouette:
:pencil2:จุดเด่น คือ ความสามารถหรือศักยภาพในปัจจุบันที่นักเรียน สามารถทำได้ในสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้
:pencil2:จุดด้อย คือ สิ่งที่นักเรียนไม่สามารถทำได้ในสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้
การวัดเเละประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
เเนวทางปฏิบัติในการวัดเเละประเมินผลการเรียนรู็ตามหลักสูตรเเกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่เหมาะกับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่เรียนรวมอยู่ด้วย
หลักการวัดและประเมิน
ช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ เชื่อมโยงกับมาตรฐานและตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
คิดวิเคราะห์และเขียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ประเมินการอ่าน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ดำเนินการด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาและศักยภาพของนักเรียน
5.แนวทางการวัดและประเมิน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (หลากหลาย จากแหล่งความรู้หลายแหล่ง)
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน (คำนึงถึงสิ่งที่เป็นข้อจำกัดที่เกี่ยวข้อง และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน )
6.เกณฑ์ในการวัดและประเมิน
การตัดสินผลการเรียน
การให้ระดับผลการเรียน
การเลื่อนชั้น
การเรียนซ้ำชั้น
การสอนซ่อมเสริม
เกณฑ์การจบการศึกษา
การรายงานผลการเรียน