Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูล และสารสนเทศ - Coggle Diagram
สรุปความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ข้อมูล และสารสนเทศ
คอมพิวเตอร์ หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (ส่วนตัวเครื่องและอุปกรณ์) และซอฟต์แวร์ (ส่วนชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน) สามารถทำงานคำนวณผล และเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง และอัตโนมัติ.
1.คุณลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์
การปฎิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting)การประมวลผลข้อมูลตามลำดับคำสั่ง อย่างถูกต้องต่อเนื่อง
-หน่วยความจำหลัก
-หน่วยความจำรอง
ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
การปฎิบัติงานอัตโนมัติ (Self Acting)การประมวลผลข้อมูลตามลำดับคำสั่ง อย่างถูกต้องต่อเนื่อง
2.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เป็นลักษณะทางกายภายของเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้อง
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น
ข้อมูล (Data)
กระบวนการทำงาน (Procedure)
องค์ประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
2.ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม
หน่วยควบคุม
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกๆหน่วยในซีพียูรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง
เริ่มตั้งแต่การแปลคำสั่งที่ป้อนเข้าไป โดยการไปดึงคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำมาแล้วแปลความหมายของคำสั่ง(Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน
จากน้ันส่งความหมายที่ได้ไปให้หน่วยคำนวณและตรรกะเพื่อคำนวณและตัดสินใจว่าจะให้เก็บ ข้อมูลไว้ที่ใด
หน่วยคำนวณและตรรกะ
ทำหน้าที่ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (arithmetic) เช่น การคูณ ลบ บวก หาร
เปรียบเทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ (logical) ว่าเป็นจริงหรือเท็จ
อาศัยตัวปฏิบัติการเปรียบเทียบพื้นฐาน 3 ค่า คือ มากกว่า น้อยกว่าและ เท่ากับ
รีจิสเตอร์
พื้นที่สาหรับเก็บพักข้อมูลชุดคำสั่ง ผลลัพธ์ และข้อมูลที่เกิดขึ้นขณะที่ซีพียูประมวลผล เพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นหน่วยความจำ
รับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง และทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุมเช่นเดียวกับ หน่วยอื่นๆ
ประเภทของ Register
Address Register เก็บ Address ของคำสั่งหรือข้อมูล
Storage Register เก็บข้อมูลที่ได้จากหน่วยความจำหรือผลลัพธ์จากการประมวลผล ที่จะถูกส่งไปเก็บยังหน่วยความจำ
Instruction Register เก็บคำสั่งในโปรแกรม
3.หน่วยความจำ(Memory unit)
จัดเก็บข้อมูลก่อนการประมวลผล
จัดเก็บข้อมูลระหว่างการประมวลผล
จัดเก็บข้อมูลหลังจากการประมวลผล
แบ่งได้ 2 ประเภท หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำที่จำเป็นต้องมีในคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำสำรอง ใช้สำหรับเก็บและบันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์
1.หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร
4.หน่วยแสดงผล(Output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลโดยสามารถแสดงผลทั้งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
5.ทางเดินระบบ(System bus) จำนวนเส้นทางที่ใช้วิ่งบนทางเดินระบบ เรียกว่า บิต
1.ซอฟแวร์ (Software)ชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใ
2.ผู้ใช้ บุคลากรหรือผู้ใช้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อประสิทธิ์ภาพที่ดี
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
กลุ่มผู้บริหาร
กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป
3.ข้อมูลและสารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ+++
4.กระบวนการทำงาน(Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน