Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผ…
หน่วยที่ 1 แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ความหมายของการวัดผล การทดสอบและการประเมินผล
การวัดผลทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการหาปริมาณความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิด จากการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษาที่สนใจ
การทดสอบ (Test) หมายถึง เป็นเทคนิคที่ใช้การวัดผลทางการศึกษาประเภทหนึ่ง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลคือ "แบบทดสอบ"
การวัดผล หมายถึง กระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ให้กับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการวัดโดยใช้เครื่องมืออย่าฝดอย่างหนึ่งมาวัด
การประเมินผล หมายถึง การตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ได้ทำการวัดอย่างมีเหตุผลโดย เทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้
จุดมุ่งหมายของการวัดการศึกษา
จัดอันดับหรือตำแหน่ง (Placement) เพื่อจัดอันดับความสามารถของผู้เรียน
เปรียบเทียบหรือทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียนอ(Assessment) เพื่อให้ทราบความสามรถของตัวนักเรียนเอง(ไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น)
วินิจฉัย (Diagnosis) เพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนและหาทางช่วยเหลือ
พยากรณ์ (Prediction) คาดคะเนหรือทำนายอนาคตของผู้เรียน เช่น แบบทดสอบความถนัด
ค้นหาและพัฒนาสมรรณภาพของผู้เรียน
ประเมิน (Evaluation) เพื่อตัดสินใจสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษา ควรปรับปรุงหลักสูตรหรือไม่ ฯลฯ
มาตราการวัด > ระดับของข้อมูล
มาตราเรียงอันดับ (Ordinal scale) เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะ มาก-น้อย สูง-ต่ำ เก่ง-อ่อน กว่ากัน
มาตราอันตรภาค (Interval scale) มีศูนย์สมมติ และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน สามรถบ่งบอกถึง ปริมาณความแตกต่างได้
มาตรานามบัญญัติ (Nominal scale) เป็นระดับการวัดที่ต่ำที่สุด จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยใช้ตัวเลข
มาตราอันตรภาคส่วน (Ratio scale) มีศูนย์แท้ การวัดในระดับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทางวิทยาศาสตร์
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินและสิ่งที่จะประเมิน
ประเภทของการประเมินผล
จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
การประเมินผลระหว่างเรียน หรือการประเมินความก้าวหน้า (Formative evaluation)
การประเมินสรุป (Summative evaluation)
การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-evaluation) เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
จำแนกตามระบบการวัดผล
การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการตัดสินคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมโโยเปรียบเทียบกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
การประเมินแบบอิงเกณฑ์ การประเมินแบบนี้มุ่งบ่งชี้สถานภาพของผู้เรียนแต่ละคนเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์
การกำหนดสิ่งที่จะประเมิน
กำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ชัดเจน กำหนดพฤติกรรมทางการศึกษาที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน
ประโยชน์ของการประเมินผลการศึกษา
ประเมินประสิทธิภาพการสอนของครุผู้สอนเอง
ผู้เรียนทราบถึงระดับความสามรถของตนเอง มีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น
ช่วยให้ครุกำหนดหรือปรับปรุงจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการโรงเรียน
ครูได้ข้อมูลพฤติกรรมของผู้เรียนเบื้องต้นก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ครุสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล
ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดและการประเมินผลกับกระบวนการเรียนการสอน
จุดประสงค์การเรียนรู้ <> กิจกรรมการเรียนการสอน<>
<>การวัดผลและประเมินผล <>
Assessment เป็นการประเมินโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียน
Evaluation เป็นการประเมินโดย การตัดสินผู้เรียนจากพฤติกรรมทางการศึกษาได้วัดได้โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานทางการศึกษาที่กำหนดเอาไว้
องค์ประกอบของการวัดและการประเมินผล
องค์ประกอบของการวัด
3 องค์ประกอบ ปัญหาหรือสิ่งที่จะวัด เครื่องมือวัด และข้อมูลที่ได้จากการวัด
องค์ประกอบของการประเมิน
3 องค์ประกอบ ข้อมูล(ที่ได้จากการวัด) เกณฑ์(สำคัญที่สุด) และการตัดสินคุณค่า
ขอบข่ายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการในการวัดผลการศึกษา
เลือกตัวแทนของสิ่งที่จะวัดให้เหมาะสม
ใช้ผลจากการวัดให้คุ้มค่า
เลือกใช้วิธีการวัด/เครื่องมือที่หลากหลาย
มีความยุติธรรม
เลือกใช้วิธีการวัดให้เหมาะสม/เครื่องมือที่มีคุณภาพ
ดำเนินการสอบที่มีคุณภาพ
กำหนดจุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลให้ชัดเจน
กระบวนการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
กำหนดวัตถุประสงค์ > กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม > สร้างเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ > ทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมูล > จัดกระทำกับข้อมูล > ตัดสินผลการเรียน
ธรรมชาติของวัดผลการศึกษา
การวัดผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน (Error) วัดผลหลายครั้ง ใช้เครื่องมือหลากหลาย
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดในเชิงสัมพันธ์ (Relation) นำเอาผลที่ได้จากการวัดผลการศึกษาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์จึงจะสามารถแปลความหมายได้
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม (Indirect) แบบสังเกตพฤติกรรม พฤติกรรมทางการศึกษาของผู้เรียน
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สมบูรณ์ ผลที่ได้จากการวัดเท่ากับ 0 ไม่ได้แปลว่าผู้เรียนไม่มีความรู้ แต่ข้อสอบไม่ได้ถามสิ่งที่ผู้เรียนมีความรู้
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete) เป็นการวัดในสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถทราบปริมาณหรือขอบเขตที่แน่นอนได้
นางสาวณัฐกาญจ์ มาเวียง เลขที่ 7 ค.6305 รหัสนักศึกษา 6340101107