Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลักษณะของวงดนตรีพื้นบ้านในภาคต่างๆของประเทศไทย
National-flag-2 - Coggle…
ลักษณะของวงดนตรีพื้นบ้านในภาคต่างๆของประเทศไทย
ภาคเหนือ
เครื่องดนตรีและวงดนตรี :วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ ประกอบไปด้วยวงกลองแอว วงสะล้อ-ซอ-ซึง วงกลองมองเซิง วงกลองปูเจ่ วงปี่ จุม ส่วนโอกาสที่ใช้ในการบรรเลงมีความแตกต่างกันไป อาทิ วงกลองแอว จะนิยมใช้บรรเลงประกอบการ ฟ้อนเมือง วงกลองมองเซิง
-
สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง : มีสำเนียงที่ไพเราะ อ่อนหวาน นุ่มนวล โปร่งสบาย และเนิบช้า มีการบรรเลงดนตรีที่มีจังหวะตื่นเต้น คึกคัก เช่น การบรรเลง วงกลองแอว ประกอบการฟ้อนเล็บ มีจังหวะและท านองที่นุ่มนวล การบรรเลงวงกลองสะบัดชัยให้ความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ
องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง : จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี วงดนตรี ทำนองเพลงที่ปรากฏลีลาไพเราะ มีการประสานเสียงระหว่างดนตรีและผู้ขับร้อง มีสีสันและมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มวัฒนธรรมดนตรี บทเพลงที่รู้จักกันทั่วไป เช่นเพลงล่องน่าน เพลงสาวไหม เพลงแม่หม๊ายค้อม เพลงตีนตุ้ม เพลงซอพม่า
ภาคใต้
เครื่องดนตรีและวงดนตรี : มีพื้นที่ทอดยาวจากจังหวัดชุมพรไปยัง ๕ จังหวัดชายแดนด้านประเทศมาเลเซีย ดนตรีและเพลงที่ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ นิยมบรรเลงในกิจกรรมต่างๆ ทั้งดนตรีในงานมงคล ดนตรีในงารนอวมงคลดนตรีที่นำมาประกวดประชันกัน และดนตรีประกอบการแสดง วงดนตรีพื้นบ้านมีอยู่หลายวง เช่น วงกาหลอ วงรอเฮ็ง วงโต๊ะครึม วงโนรา วงหนังตะลุง วงสีละ เครื่องดนตรีมีหลายชนิด เช่น กลองพรก แกระ บานอ ปี่กาหลอ โพน รือบับ กลองชาตรี กรือโต๊ะ
สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง : สำเนียงที่ใช้ในบทร้องจะมีสำเนียงทางใต้ ที่มีลักษณะห้าวและห้วน มีจังหวะและท านองที่คึกคักและหนักแน่น เน้นความสนุกสนานครื้นเครง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาถิ่น ภาษายาวี และภาษามาลายู เนื้อร้องมีความหลากหลาย คำไม่ยืดเยื้อ มีการโต้ตอบ ซักถามเรื่องราวต่างๆ การเกี้ยวพาราสี การบอกข่าวสาร
องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง : มีการขับร้องและบรรเลงดนตรีมีกี่ปะสนเสียงกันได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม บทเพลงที่ใช้ในวัฒนธรรมแต่ละกลุ่มจะมีรูปแบบ แนวเพลงและจังหวะแตกต่างกันไปตามประเภท และกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้น บทเพลงที่รู้จักกันทั่วไป เช่น เพลงรองเง็ง เพลงนา เพลงบอก เพลงคำตัก
-
ภาคกลาง
องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง : จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี วงดนตรี ทำนองเพลงที่ปรากฏ ลีลา ทำนอง และจังหวะ มีความสัมพันธ์กับดนตรีแบบแผน การใช้คำมีสัมผัสคล้องกันจังหวะและทำนองมีความสนุกสนาน มีการประสานเสียงระหว่างดนตรีกับการขับร้องที่กลมกลืน บทเพลงที่รู้จักกันทั่วไป เช่น เพลงเรื่อ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงพานฟาง เพลงรำโทน เพลงอีแซว
เครื่องดนตรีและวงดนตรี : มีการสมวงบรรเลงในงานและกิจกรรมต่างๆ ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล มีการผสมผสานวัฒนธรรมทางดนตรีราษฎร์และหลวง เครื่องดนตรีพื้นบ้านจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงดนตรีไทยแบบแผนและเครื่องดนตรีที่บรรเลงอยู่ในวงดนตรีพื้นบ้าน เครื่องดนตรีมีอยู่หลายชนิด เช่น ปี่ ขลุ่ย ระนาด ตะโพน กลองทัด กลองยาว อังกะลุง
สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง : มีสำเนียงถิ่นที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมในด้านภาษา เช่นสำเนียงเหน่อ บทเพลงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับโอกาสที่ใช้ เช่นการเกี้ยวพาราสี การโต้ตอบชิงไหวพริบ เพลงพื้นบ้านนิยมใช้เนื้อร้องที่ผูกด้วยกลอนสดประเภทกลอนหัวเดียว คือ กลอนไล และกลอนลา
-
ภาคอีสาน
สำเนียง ภาษา และเนื้อร้อง : โครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สื้อสำเนียงที่เรียบง่าย ถ้าเป็นกลุ่มอีสานเหนือ
จะมีสำเนียงภาษาที่มีสำเนียงคล้ายภาษาลาว
องค์ประกอบของดนตรีและบทเพลง : บทเพลงพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเรียบง่ายมีจังหวะและทำนองที่สนุกสนาน
เร้าใจ ให้ความสนุกสนา แก่ผู้ฟังมีการประสานเสียงระหว่างผู้ขับร้องและการบรรเลงดนตรีที่
สนุกสนานให้ความสนุกสนาน
เครื่องดนตรีและวงดนตรี : วงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน มีวงดนตรีพื้นบ้านหลายประเภทด้วยกัน เช่น วงโปงลาง วงกันตรึม วงตุ้มโมง วงแคน ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้บรรเลงในวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ แคน โปงลาง พิณ โหวด
-