Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหาระบบหัวใจ 0 - Coggle Diagram
บทที่ 10 การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหาระบบหัวใจ
โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart Disease)
โรคหัวใจรูมาติค (Rheumatic Heart Disease
)
-เกิดภายหลังจากเป็นไข้รูมาติค
-มีการเสียหน้าที่ของลิ้นหัวใจไมตรัลเกิดการรั่ว(regurgitation) หรือตีบ (stenosis) หรือaortic regurgitation ทำให้เกิดหัวใจวายและลิ้นหัวใจผิดปกติอย่างถาวร
การประเมินสภาพ
1.การซักประวัติ
2.ตรวจร่างกาย : พบอาการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ :
-เพาะเชื้อจากคอ ตรวจหา Beta hemolyticstreptococcus group A
-Antistreptolysin O (ASO) ในเลือดมากกว่า320 Todd unit
-ESR (Erythrocyte Sedimentation rate) เพิ่มขึ้น
4.ภาพรังสีทรวงอก : พบเงาหัวใจโตกว่าปกติปอดบวมน้ำ มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มปอด
5.คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : P-R interval ยาวกว่าปกติT-wave ผิดปกติ
6.คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : ช่วยวินิจฉัยการมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจการรั่ว/ตีบของลิ้นหัวใจ
การรักษา
ให้ยากำจัดเชื้อโรค Beta hemolytic streptococcus ได้แก่ ยา Penicillin,Erythromycin
ให้ยาสำหรับลดการอักเสบ ได้แก่ Salicylateและ Steroid
ให้นอนพัก 2-6 สัปดาห์/เคลื่อนไหวไปมาในห้อง
ถ้ามี Chorea ให้ Phenobarbital, Diazepam
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ให้ digitalis ร่วมกับยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยในการขยายหลอดเลือด
อาการและอาการแสดง
อาการทาง major criteria
ได้แก่ 1.Carditis 2. Polyarthritis 3. อาการแสดงทางผิวหนัง 4. Chorea
อาการทาง minor criteria
ได้แก่ 1. Fever 2. Arthalgia 3. Previous Rheumatic fever or RHD 4. increase ESR, C-Reactive protein และleukocytosis 5. Prolonged P-R interval
การวินิจฉัยว่าเป็นไข้รูมาติค ต้องพบว่ามี 2
major criteria ขึ้นไปหรือพบ 1 major ร่วมกับ 2 minor
การป้องกัน
ป้องกันผู้ที่เป็นแล้วไม่ให้เป็นซ้ำอีกโดย ควรได้รับยาป้องกันตลอดชีวิต แต่อาจจะพิจารณาหยุดยา เมื่ออายุ 25 ปี และไม่เป็นโรคนี้ซ้ำอีก เป็นเวลา 5 ปี ได้แก่ ยา Penicillin, Erythromycin
ภาวะหัวใจวาย (Heart Failure)
ความหมาย
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการในเด็กมักเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะในวัยทารกและเด็กเล็ก อาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง ลิ้นหัวใจต่างๆไม่ปกติ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติไป
พยาธิสภาพและอาการแสดง
หัวใจขยายโต มีพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อหัวใจ ปริมาณเลือดคั่ง และแรงดันเลือดสูงมากกว่าปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ chest x – ray จะพบหัวใจขยายโตชัดเจน
หัวใจเต้นเร็ว เป็นกลไกการชดเชยเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่สูบฉีดไปให้เพียงพอกับความต้องการของเนื้อเยื่อร่างกาย ผลจากหัวใจสูบเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนปลายไม่พอ ทำให้ชีพจรปลายมือ ปลายเท้า จะเบาลง แขนขาเย็นชื้น ผิวหนังเป็นสีเทา ๆ หรือซีด
ระบบหายใจจะทำงานหนัก ปอดบวมน้ำ มีหายใจเร็วหรือขัด ฟังปอดได้ยินเสียง crepitationหอบ ไอเรื้อรัง ปอดบวมบ่อยๆ ถ้ามีอาการมากขึ้น จะเกิดหายใจขัด ปีกจมูกบานและเขียวได้ หัวใจเต้นแรงเหนื่อยง่าย เด็กเล็กจะหายใจแรง ขณะดูดนม และใช้เวลาดูดนมนานกว่าจะหมดขวด อาจสำลักหรืออาเจียนได้
เหงื่อออก บ่งบอกว่ามีอัตราเพิ่มของการเผาผลาญ และเพิ่มการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติส่งผลให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้นและหัวใจวายได้
ปัสสาวะน้อยลง บวม เลือดไปเลี้ยงไตได้น้อย เส้นเลือดตีบแคบ น้ำและเกลือคั่ง ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น หนังตาบวม หน้าบวม มือและเท้าบวม หรือบวมทั้งตัว
ตับโต เลือดคั่งในตับ หัวใจซีกขวามีแรงดันเลือดสูง จะเห็นเส้นเลือดดำที่คอโป่งตึง
การเจริญเติบโตชะลอลง หรือล้มเหลว เลี้ยงไม่โต เนื่องจากมีปัญหาในการดูดนม เด็กมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
ความทนทานในการทำกิจกรรมลดลง เด็กจะหลับเป็นส่วนใหญ่
อาการทั่วๆไป จะร้องกวนโยเย หงุดหงิด ชอบให้อุ้ม เหงื่อมาก ตัวเล็กไม่สมวัย
การรักษาพยาบาลทั่วไป
1.ให้พักผ่อน โดยเฉพาะจัดให้นอน Fowler’s position โดยให้ศีรษะสูง 30 องศาหรือในเด็กเล็กให้นอนใน cardiac chair เพื่อลดการทำงานของหัวใจและเนื้อเยื่อต่างๆ ลดความต้องการออกซิเจน
2.ให้ยาขับปัสสาวะ ลดปริมาณของเหลวในร่างกายป้องกันการเกิดปอดบวมน้ำและน้ำคั่งในร่างกายส่วนอื่นๆ ผลข้างเคียงของยาคือ Hypokalemia และ Metabolic acidosis
3.จำกัดเกลือในอาหาร โดยเฉพาะในรายที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรให้เกลือน้อยกว่า 1 กรัม /วัน
4.จำกัดน้ำดื่มและน้ำเข้าสู่ร่างกายทุกทางเพื่อลดเลือดที่จะไหลเวียนเข้าสู่หัวใจและเป็นการลดความต้องการออกซิเจนของหัวใจ
5.check serum electrolyte เพราะยาขับปัสสาวะทำให้เกิดโปตัสเซียมและคลอไรด์ต่ำ และบอกถึงภาวะ Digitalis intoxication
6.ให้ยา Digitalis เพื่อเป็นการเพิ่มแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ cardiac output เพิ่มขึ้น เลือดไปสู่ไตเพิ่มขึ้น ทำให้ขับของเสียออกได้ง่าย ปริมาตรของเลือดลดลงได้
7.- ให้ยาขยายหลอดเลือด ลดการบีบตัวของหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ
เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ดี และช่วยลดอาการบวม
8.เมื่อเกิด Cardiogenic shock ต้องให้ sympathominetic amines เช่น Isotroterenol, Norepinephrineและ Glugacon
9.ดูแลตามอาการ เช่น ให้ออกซิเจนและยาปฏิชีวนะ
10.ถ้ามีอาการของหัวใจวายควรให้นอนพักรักษาตัวใน ร.พ. และในรายที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจต้องรีบทำการสวนหัวใจ และส่งผ่าตัดแก้ไขความพิการนั้นๆ
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
ชนิดที่ไม่มีอาการเขียว (acyanotic heart
disease)
Left to right shunt
Ventricular Septal Defect (VSD) = มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้น Ventricle ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่าง Ventricle ซ้ายและขวา
การประเมินสภาพ
-การซักประวัติ : หายใจเร็วผิดปกติ เด็กตัวเล็ก โตช้า
-การตรวจร่างกาย : พบเสียง murmur
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : พบ left atrium และventricleโต
-ภาพรังสีทรวงอก
:VSD ขนาดเล็ก : ขนาดหัวใจมักปกติหรือโตเล็กน้อย
:VSD ขนาดปานกลาง : มักมีหัวใจโต หลอดเลือดที่
ปอดเพิ่มขึ้น
:VSD ขนาดใหญ่ : มักพบว่าหัวใจโตมาก หลอดเลือดที่
ปอดเพิ่มขึ้นมาก พบ ventricleซ้าย-ขวาโต และมีatrium ซ้ายโตด้วย
-คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) : มองเห็นขนาดรูรั่วและห้องหัวใจที่โตขึ้น
การรักษา
-การดูแลสุขภาพทั่วไป
-VSD ขนาดเล็ก ให้การดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีระมัดระวังและป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
-VSD ขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ต้องทำการผ่าตัด
-กรณีไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจวายได้ การผ่าตัดเย็บปิดรูพิการ หรือการผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ
-กรณีมีภาวะหัวใจวาย ให้ยา digitalis ยาขับ
ปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด
อาการและอาการแสดง
-Small VSD ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
-Moderate VSD ตัวเล็กหรือเลี้ยงไม่โตพัฒนาการทางกายช้า
-Large VSD มีอาการเหนื่อยง่าย เลี้ยงไม่โต ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาดูดนม
ภาวะแทรกซ้อน
อาจเกิดภาวะหัวใจวาย ติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ Eisenmenger’s syndrome, Aortic insufficiency
Patent Ductus Ateriosus (PDA) = เกิดจากการที่หลอดเลือด Ductus arteriosus ไม่ปิดภายหลังทารกคลอด
การประเมินสภาพ
-PDA ขนาดใหญ่ : ผู้ป่วยจะมีอาการมากตั้งแต่วัยทารก
-การตรวจร่างกาย : ได้ยิน murmur ที่ลิ้นpulmonic ชีพจรเต้นแรง (bounding pulse) pulse pressure กว้างกว่า ½ ของความดัน systolic
-ถ่ายภาพรังสีทรวงอก : พบ ventricle ซ้ายโตหลอดเลือด pulmonary artery มีขนาดใหญ่ขึ้น หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้น
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : พบว่าหัวใจล่างซ้ายโต
การรักษา
-ในรายที่ไม่มีอาการ ควรทำการผ่าตัดโดยผูกductus arteriosus เมื่อผู้ป่วยอายุเกิน 1 ปีไปแล้ว
-การรักษาทางยา ในทารกแรกคลอดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีอาการหัวใจวายให้ยาIndomethacin 0.2 mg/Kg. ทางปากหรือหลอดเลือดดำซ้ำ3 ครั้ง ห่างกัน 8 –12 ชม.
-ถ้าการใช้ยาไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องผ่าตัดผูกหลอดเลือด ductus arteriosus ด้วยไหมขนาดใหญ่
อาการและอาการแสดง
-PDA ขนาดเล็ก : ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ
-PDA ขนาดปานกลาง : ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่ายเล็กน้อย
-PDA ขนาดใหญ่ : ผู้ป่วยจะมีอาการมากตั้งแต่วัยทารกหัวใจวายเหนื่อยหอบ
Atrial Septal Defect (ASD) = มีความปกติในการสร้างผนังกั้น Atrium ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่าง Atrium ซ้ายและขวา
การประเมินสภาพ
-การซักประวัติ : ประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย เหนื่อยง่าย
-การตรวจร่างกาย : Ventricle ขวาโตเสียงที่หนึ่ง (S1) ต่ำกว่าปกติที่บริเวณลิ้นไตรคัสปิด
-ภาพรังสีทรวงอก : ASD ขนาดปานกลางจะพบหัวใจโต
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ASD ขนาดปานกลางขึ้นไปจะพบatrium ขวาโต พบว่า มี P wave สูงแหลม
-คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) : ขนาดของ atrium ขวาและ ventricle ขวา รวมทั้งหลอดเลือดแดง pulmonary มีขนาดใหญ่ขึ้น เห็นรูรั่วบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องบนชัดเจน
-การตรวจสวนหัวใจและการฉีดสารทึบรังสี(Angiography) ความเข้มข้นออกซิเจนใน
เลือดใน
การรักษา
ASD ปิดเองได้ในช่วงอายุ 3 ปี ถ้ารูรั่วมีขนาดเล็กกว่า 5 มม.
-การรักษาทางยา:เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
รักษาโดยใช้ ยาปฏิชีวนะ
-รักษาภาวะหัวใจวาย คือ ยา Lanoxin,
Lasix
การผ่าตัด สามารถทำได้เมื่อวัยก่อนเข้าเรียนหรือทำก่อนถ้าเด็กมีอาการโดยการเย็บปิด
ผนังกั้นของ ASD หรือเย็บซ่อมลิ้นหัวใจ mitral
การดูแลสุขภาพสุขภาพปาก และฟัน
อาการและอาการแสดง
-ขนาดเล็ก เติบโตปกติหรือช้า ติดเชื้อระบบทางเดิน
หายใจบ่อย
-ขนาดปานกลาง เติบโตปกติหรือช้า ติดเชื้อระบบ
ทางเดินหายใจบ่อย
-ขนาดใหญ่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก
ภาวะแทรกซ้อน
อาจเกิดภาวะหัวใจวาย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
obstructive lesion
Coarctation of Aorta (COA) = การตีบแคบหรืออุดตัน
ของส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือด aorta
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ : อาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย :
-รูปร่างหน้าตาปกติ บางคนมีร่างกายส่วนบนใหญ่แต่ท่อนล่างเล็กเรียกว่า pop-eye appearance
-ชีพจรส่วนบนของร่างกายแรง แต่ชีพจรส่วนล่างของร่างกาย เช่น femoral เบา
-ขาอาจจะเย็นกว่าแขน
-ความดันโลหิตมักจะสูง
การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น
-ภาพรังสีทรวงอก : หัวใจห้องล่างซ้ายโต aorta ส่วนหน้าของบริเวณตีบแคบจะขยายใหญ่ขึ้น
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : หัวใจห้องล่างซ้ายโตในเด็กโตส่วนเด็กเล็กจะพบ ventricle ขวาโต
-คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : พบ hypoplasia ของ aortic isthmus
การรักษา
-รักษาทางยา digitalis ในรายที่มีภาวะหัวใจวาย
-ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ทำผ่าตัดเมื่ออายุ 4–5ปี โดยทำการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบออก และต่อส่วนปลายทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน (end to end anastomosis) หรือการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบ
ออก
อาการและอาการแสดง
-ในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มาด้วยอาการของหัวใจวายในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มาด้วยอาการของหัวใจวาย ชีพจรที่แขนจะแรงกว่าที่ขา
-ในเด็กโตส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ ถ้ามีอาการมักจะเป็นผลจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย และติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
Pulmonary Stenosis (PS) = การตีบของลิ้น pulmonary มีผลให้การไหลของเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาไปยัง pulmonary artery ได้ยากขึ้น
การประเมินสภาพ
-การซักประวัติ
-การตรวจร่างกาย : ฟังได้ systolic murmur
-ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ : ventricle ขวาโต atrium ขวาโต
-ภาพรังสีทรวงอก : พบมีการโป่งพองของpulmonary artery หัวใจห้องบนและล่างขวาโต หลอดเลือดที่ปอดมักจะน้อยลง
-คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : พบ atrium ขวาโต ventricle ขวาหนาขึ้น
การรักษา
-รายที่เป็น mild pulmonary stenosis ไม่ต้องผ่าตัด
-ในรายที่มีอาการมาก ทำผ่าตัดpulmonary valvotomy และ balloon valvuloplasty เพื่อขยายลิ้นpulmonary
-ให้คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
อาการและอาการแสดง
-ชนิดที่มีการตีบแคบน้อย : ผู้ป่วยจะไม่มีอาการอาจพบ systolic murmur
-ชนิดที่มีการตีบแคบปานกลาง : ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหนื่อยง่ายเพียงเล็กน้อยเวลาออกแรง พบ systolicmurmur
-ชนิดที่มีการตีบแคบมาก : ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะหัวใจซีกขวาวายหรือมีอาการเขียวเล็กน้อยในเด็กเล็ก ส่วนในเด็กโตมักมีอาการเหนื่อยง่าย อาจมีอาการเขียว พบ systolic murmur บางรายอาจมีการเป็นลมหมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิตในขณะออกกำลังกายได้
ชนิดที่มีอาการเขียว (cyanotic heart
disease)
Right to left shunt
Tetralogy of Fallot (TOF) = มี 4 อย่างที่ผิดปกติ คือ VSD , PS , Aorta ค่อนไปทางขวา และ RV Hypertrophy
การประเมินสภาพ
-การซักประวัติ : ตามอาการ/เด็กโตช้า พัฒนาการไม่สมวัยน้ำหนักน้อย
-การตรวจร่างกาย :
-น้ำหนักและส่วนสูงน้อยกว่าปกติ : ตัวเล็ก ผอมกว่าปกติ
-ปากและเล็บเขียว นิ้วมือและนิ้วเท้าปุ้ม (clubbing finger)
-ฟังพบ systolic ejection murmur
-Lab : พบ Hct/ Hb สูงขึ้น
-การถ่ายภาพรังสีทรวงอก : พบหัวใจห้องล่างขวาโต pulmonary
artery ที่ไปปอดขนาดเล็กกว่าปกติและหลอดเลือดไปปอดลดลง
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) : มี ventricle ขวาโต แกน QRS เบี่ยงเบนไปขวา
-คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) : พบ atrium ขวาโต ventricle ขวาหนา aorta คร่อม VSD pulmonary valve เล็ก
การรักษา
การรักษาทั่วไป
1.1 ดูแลสุขวิทยาทั่วไป : รักษาสุขภาพฟัน อาหารที่เหมาะสมให้ได้รับภูมิคุ้มกันตามปกติ
1.2 ให้ยาป้องกัน infective endocarditis ถ้าผู้ป่วยผ่าตัดหรือถอนฟันหรือได้รับการตรวจพิเศษต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดภาวะติดเชื้อเข้าไปในระบบไหลเวียนโลหิต
1.3 ป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก (cerebrovascular accident : CVA) ไม่ปล่อยให้เด็กเกิดภาวะเลือดจางโดยการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก หรือให้เลือด และไม่ให้เด็กเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป 1.4 รักษาภาวะ anoxic spells โดยการให้นอนท่า knee-chest position (นอนคว่ำยกก้นสูงมากกว่าเหยียดแขนขา) เพื่อลด systemic venous return ให้ออกซิเจน ให้ยา Propanolol ซึ่งเป็น Beta adrenergic blocking agent และให้ NaHCO3 1-2 mEq/kg. เข้าหลอดเลือดดำช้าๆ
การรักษาทางศัลยกรรม โดยทำการต่อระบบไหลเวียน เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดไปปอด ให้มากขึ้น
อาการและอาการแสดง
-เด็กส่วนใหญ่จะมีอาการเมื่ออายุ ประมาณ 3 – 6 เดือน ในตอนแรกจะพบว่ามีอาการเขียว เฉพาะเวลาเด็กออกแรง
-ในเด็กที่เดินได้แล้ว มักจะเหนื่อยง่าย เวลาเหนื่อยจะนั่งยองๆ (squatting) บางรายเป็นมากจะเกิดภาวะ anoxic spells มักพบในช่วงอายุ 2 ปีแรก
Mixed blood flow
Transposition of the Great
Vessels (TGV) = ภาวะที่ aorta และ pulmonary
arteryอยู่สลับที่กัน โดย aorta จะออกจาก
ventricle ขวาแต่ pulmonary artery ออกจาก
ventricle ซ้ายแทน
การประเมินสภาพ
-การซักประวัติ : มีอาการเขียว ดูดนมแล้วเหนื่อยง่าย
-การตรวจร่างกาย :-พบอาการเขียว มี clubbing finger
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ:-เด็กโต : Hb/Hct สูงกว่าปกติ
-ถ่ายภาพรังสีทรวงอก : เงาหลอดเลือดในปอดเพิ่มขึ้นห้องหัวใจโต
-คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : atrium และ ventricle ข้างขวาโตความดันในเส้นเลือดของปอดสูง
-คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
การรักษา
1.การรักษาทั่วไป
-แนะนำอาหารที่ถูกต้อง ป้องกันและรักษาภาวะเลือดจาง
-ดูแลสุขภาพฟัน
--ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่หัวใจและภาวะขาดน้ำ
-ให้ออกซิเจน และรักษาภาวะหัวใจวาย
-ให้ Prostaglandin ในระยะหลังคลอดใหม่ๆ และให้แพทย์ทำ atrial septal defect โดยใช้ balloon catheter หรือการผ่าตัด
-ให้ยา digitalis และ ยาขับปัสสาวะ
2.การรักษาทางศัลยกรรม โดยการทะลุระหว่างผนังกั้น
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเขียวตั้งแต่ 2–3 วันแรกหลังคลอด หายใจเร็ว ดูดนมได้ช้า มีหัวใจวายตับโต เด็กจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ