Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551, พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541,…
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551
พ.ร.บ. สุขภาพจิต 2551 มาตรา 17, 18, 29(2), 30
สิทธิของผู้ป่วยจิตเวชที่จะได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ทางการแพทย์โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย
ในประการที่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย เว้นแต่
ในกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หรือผู้อื่น
เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน
มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
มาตรา 17 การบำบัดรักษาโดยการผูกมัดร่างกายการกักบริเวณ หรือ แยกผู้ป่วยจะกระทำไม่ได้เว้นแต่เป็นความจำเป็น
เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้บำบัดรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา 18 การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า การกระทำต่อสมอง ระบบประสาทหรือการบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่น ที่อาจเป็นผลทำให้ร่างกายไม่อาจกลับคืนสู่สภาพเดิมอย่างถาวร
ให้กระทำได้ดังนี้
1.ผู้ป่วยให้ความยินยอมเป็นหนังสือเพื่อการบำบัด
2.กรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือมีความทำเป็นอย่างยิ่ง
มาตรา 22 บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา
มีภาวะอันตราย
มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา
มาตรา 23 ผู้ใดพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิต
มีภาวะอันตราย หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจโดยเร็ว
มาตรา 24 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือตำรวจได้รับแจ้ง หรือพบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีความผิดปกติทางจิตให้ดำเนินการนำตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาล
เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย โดยการนำตัวบุคคลดังกล่าวไปสถานพยาบาล จะไม่สามารถผูกมัดร่างกายของบุคลนั้นได้ เว้นแต่ความจำเป็นเพื่อ ป้องกันการเกิดอันตรายต่อบุคคลนั้นเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น
มาตรา 27 ให้แพทย์อย่างน้อยหนึ่งคนและพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประจำสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น
ต้องให้แล้วเสร็จ ภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับตั้งแต่บุคคลนั้นมาถึงสถานพยาบาล และผู้ที่ทำการตรวจวินิจฉัย ต้องบันทึกรายละเอียดในแบบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น
คำสั่งจำหน่ายตัวผู้ป่วย
กรณีที่แพทย์ทำการรักษาจนความผิดปกติทางจิตหายหรือทุเลาและผู้ป่วยไม่มีภาวะอันตรายแล้ว ให้แพทย์จำหน่วยผู้ป่วยออกจากสถานพยาบาลและรายงานผลให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาทราบโดยไม่ชักช้า ( พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 31)
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541
พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541
เป็นกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไขโดยยกเลิก พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2504 เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมสถานที่ที่ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ มาทำการประกอบวิชาชีพ โดยเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้ได้รับความปลอดภัยในการดำเนินการของถานพยาบาล จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตั้งและดำเนินการสถานพยาบาล
ประเภทของสถานพยาบาล
1.ประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
2.ประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
1.คลินิกเวชกรรมเฉพาะทาง
2.คลินิกทันตกรรม
3.คลินิกเวชกรรม
4.คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง
5.คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์
6.คลินิกกายภาพบำบัด
7.คลินิกเทคนิคการแพทย์
8.คลินิกการแพทย์แผนไทย
9.คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์
10.คลินิกการประกอบโรคศิลปะ
11.คลินิกเฉพาะทาง
12.สหคลินิก
คุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ
-มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
-มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ
-ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
-ไม่เป็นโรคตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
-ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ
อายุของใบอนุญาต
1.ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สิบนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
2.ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินของปีที่สองนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
การเลิกสถานพยาบาล
-การแจ้งและจัดทำรายงานเมื่อและเลิกกิจการสถานพยาบาล
-ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะเลิกกิจการสถานพยาบาลให้แจ้งเป็นหนังสือตามแบบที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนให้ใช้พื้นแผ่นป้ายสี ขาวและตัวอักษร ในแผ่นป้ายแสดงชื่อให้ใช้สี ดังต่อไปนี้
1.โรงพยาบาลทั่วไปให้ใช้ ตัวอักษรสีเขียว
2.โรงพยาบาลทันตกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีม่วง
3.โรงพยาบาลการพยาบาลและผดุงครรภ์ให้ใช้ ตัวอักษรสีฟ้า
4.โรงพยาบาลกายภาพบำบัดให้ใช้ ตัวอักษรสีชมพู
5.โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยให้ใช้ ตัวอักษรสีน้ำเงิน
6.โรงพยาบาลเฉพาะทางให้ใช้ ตัวอักษรสีเขียว
7.โรงพยาบาลเฉพาะประเภทผู้ป่วยให้ใช้ ตัวอักษรสีเหลือง
สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนให้ใช้พื้นแผ่น
ป้ายสีขาวและตัวอักษร ในแผ่นป้ายแสดงชื่อให้ใช้สี ดังต่อไปนี้
1.คลินิกเวชกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีเขียว
2.คลินิกทันตกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีม่วง
3.คลินิกการพยาบาลและผดุงครรภ์ให้ใช้ตัวอักษรสีฟ้า
4.คลินิกกายภาพบำบัดให้ใช้ตัวอักษรสีชมพู
5.คลินิกเทคนิคการแพทย์ให้ใช้ตัวอักษรสีเลือดหมู
6.คลินิกการแพทย์แผนไทยให้ใช้ตัวอักษรสีน้ำเงิน
7.คลินิกการประกอบโรคศิลปะให้ใช้ตัวอักษรสีน้ำตาล
8.คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีเขียว
9.คลินิกเฉพาะทางด้านทันตกรรมให้ใช้ตัวอักษรสีม่วง
10.สหคลินิกให้ใช้ตัวอักษรสีเขียวแก่
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
ปรัชญาแนวคิดในการคุ้มครองเด็ก
คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน (Fundamental Rights) ที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1.สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่รอด
2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนารอบด้าน
3.สิทธิที่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง
4.สิทธิการมีส่วนร่วม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 52
เด็กและเยาวชนมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาตามศักยภาพใน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ เด็กและเยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าวการแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชนและบุคคล ในครอบครัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการ อบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอ ภาคของหญิงชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่น ของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์ และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือ ทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากล าบาก ให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา 40)
เด็กที่ถูกทารุณกรรม
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดให้ผู้พบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่า มีการกระทำทารุณกรรมเด็ก ให้รีบแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าตรวจค้นและมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัว เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพโดยเร็ว การแจ้งโดยสุจริตไม่ต้องรับผิดชอบในทางใด
ข้อห้ามสำหรับเด็ก (มาตรา 45)
ซื้อสุราหรือ บุหรี่
เสพสุราหรือ บุหรี่ เข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อจำหน่าย สุราหรือบุหรี่
เข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อเสพสุรา หรือบุหรี่
เด็ก ตามกฎหมาย
บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
ซึ่งอาจจะเป็น
1.เด็กเร่ร่อน 2.เด็กกำพร้า 3. เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก 4.. เด็กพิการ 5. เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
เด็กที่เลี้ยงดูโดยมิชอบ 7. นักเรียน 8. นักศึกษา
กองทุนคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วย (มาตรา 69)
1.เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
2.เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3.เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้ 4.เงินอุดหนุนจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
5.เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายหรือโดยนิติกรรมอื่น
6.เงินที่รับจากเงินประกันของผู้ปกครองที่ผิดทัณฑ์บนตามมาตรา 39
7.ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
บทกำหนดโทษ
ฝ่าฝืน มาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 78)
ฝ่าฝืน มาตรา 27 มาตรา 50 มาตรา 61 ต้องระวางโทษตามมาตรา 79
3.ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานหรือไม่ยอมมาให้ถ้อยคำหรือไม่ยอมให้ถ้อยคำโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน โทษตามมาตรา 80 และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย
ฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาล ตามมาตรา 43 ต้องระวางโทษ ตามมาตรา 81
ระเบียบการมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข
ว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วน จังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น หรือสภากาชาดไทยมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2539
บุคคลที่สามารถประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้
(ข้อ 7)ให้บุคคลที่มีวุฒิ
-ประกาศนียบัตรพนักงานอนามัย
-ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานสาธารณสุข (พนักงานอนามัย)
-ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์
-ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ -ประกาศนียบัตรพนักงานสุขภาพชุมชน
-ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสอง
ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้
การประกอบวิชาชีพเวชกรรม
โดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง
ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลหรือประกาศนียบัตร
ผู้ช่วยพยาบาลและจิตเวช
วิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้ (ข้อ 7)
1.ด้านอายุรกรรม
1)ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
เพื่อบรรเทาอาการหรือ โรคดังต่อไปนี้ คือ ไข้ตัวร้อน ไข้และมีผืนหรือจุด ไข้จับสั่น ไอ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเดิน คลื่นไส้อาเจียน การอักเสบต่างๆ โลหิตจาง ดี ซ่าน โรคขาดสารอาหาร อาหารเป็นพิษ โรคพยาธิลำไส้ โรคบิด โรคหวัด โรคสุกใส โรคคางทูม โรคไอกรน โรค ผิวหนังและ โรคติดต่อตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุข
2)การรักษาพยาบาลอื่น
คือ (1) การให้น้ำเกลือในผู้ป่วยท้องเดินอย่างรุนแรง (2) การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู (3) การสวนปัสสาวะ (4) การล้างกระเพาะอาหารโดยใช้สายยาง ในรายที่สงสัยว่ารับประทานสารพิษ
2.ด้านศัลยกรรม
1.ผ่าฝี
2 เย็บบาดแผลที่ไม่สาหัส
3 ชะล้างทำแผล ตกแต่งบาดแผล
ผ่าเอาสิ่งแปลกปลอมซึ่งอยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายออกโดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
3.ด้านสูตินรีเวชกรรม
1)ทำคลอดในรายปกติ
2)ทำการช่วยเหลือขั้นต้นในรายที่มีการคลอดผิดปกติ
3)ทำการช่วยเหลือในกรณีที่จะมีการแท้งหรือหลังแท้งแล้ว
4)การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
5)การวางแผนครอบครัว กรณีฉีดยาคุมและจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด
6)การเจาะโลหิตจากปลายนิ้วหรือหลอดเลือดดำเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือ เพื่อบริจาคเข้า ธนาคารเลือด
ด้านปัจจุบันพยาบาล
ด้านปัจจุบันพยาบาลให้การปฐมพยาบาลเกี่ยวกับการได้รับสารพิษและสัตว์มีพิษ กัดต่อย การแพ้ยา การแพ้เซรุ่มและวัคซีน การเสียโลหิต ภาวะช็อค การเป็นลมหมดสติ หยุดหายใจ กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน ชัก จมน้ำไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไฟฟ้าดูด สิ่งแปลกปลอมเข้าตา หู คอ จมูก และ กระเพาะอาหาร และผู้ป่วยที่เจ็บหนัก
ข้อ 8.
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตามข้อ 7 และ กระทำการ ด้านการวางแผนครอบครัวใส่และถอดห่วงอนามัยได้
ข้อ 9.
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นสอง ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตร ผู้ช่วยพยาบาล หรือประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลและจิตเวช ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตามข้อ 7 ยกเว้น 7.3 (7.3 ด้านสูตินรีเวชกรรม
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 4
“ยา” หมายความว่า
1.วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีประกาศ
2.วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์
3.วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
4.วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือ สัตว์
มาตรา 6
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการยา" ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ อธิบดีกรม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนทบวงวิทยาลัยซึ่งแต่งตั้งจากผู้ ด ารงตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์สองคน ผู้แทนสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการกอง กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง กับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรี แต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคนในจำนวนนี้อย่างน้อย สองคนจะต้องเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเป็นกรรมการและ เลขานุการ และให้ผู้อำนวยการกอง กองควบคุมยา สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ [มาตรา 6 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 (รก.2530/278/1 พ.)]
มาตรา10
ให้คณะกรรมการ มีหน้าที่ให้คำแนะนำหรือความเห็นในเรื่องต่อไปนี้ (1) การอนุญาตผลิตยา ขายยา หรือนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรและการขึ้นทะเบียนตำหรับยา (2) การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต หรือการ เพิกถอนทะเบียนตำหรับยา (3) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการ ผลิตยา การขายยา การนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร การนำยามาเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจและการตรวจสอบสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา สถานที่นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรและสถานที่เก็บยา (4) การที่รัฐมนตรีจะใช้อำนาจตามมาตรา 76 หรือมาตรา 77 (5) เรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา 12
ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต จากผู้อนุญาต
มาตรา 13
บทบัญญัติมาตรา 12 ไม่ใช้บังคับแก่
1 การผลิตยาซึ่งผลิตโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทยและองค์การเภสัชกรรม
2การผลิตยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือของผู้ประกอบโรคศิลปะ ที่สั่งสำหรับคนไข้เฉพาะราย หรือตามใบสั่งยา ของผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์สำหรับ สัตว์เฉพาะราย
มาตรา 16
ใบอนุญาตที่ออกตามมาตรา 15 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตด้วย ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาต ที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตด้วย เว้นแต่ผู้รับอนุญาตจะพิสูจน์ได้ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการสุดวิสัยที่ตนจะล่วงรู้หรือควบคุมได้
มาตรา 17
ใบอนุญาตตามาตรา 15 ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอเสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อ ได้ยื่นคำขอดังกล่าวแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้ จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตนั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้รับอนุญาตซึ่งใบอนุญาตของตนสิ้นอายุไม่เกินหนึ่ง เดือน จะยื่นคำขอผ่อนผันพร้อมด้วยแสดงเหตุผลขอต่ออายุใบอนุญาตก็ได้ แต่การยื่นคำขอผ่อนผันนั้นไม่เป็นเหตุ ให้พ้นผิดสำหรับการประกอบกิจการที่ได้ กระทำไปก่อน ขอต่ออายุใบอนุญาตซึ่งถือว่าเป็นการประกอบกิจการ โดย ใบอนุญาตขาดอายุ การขอต่ออายุใบอนุญาต เมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาหนึ่ง เดือน นับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุจะกระทำมิด้
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
คำนิยามที่สำคัญ
“ผู้สูงอายุ”
หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย
“กองทุน”
หมายความว่า กองทุนผู้สูงอายุ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมที่สำคัญ
กองทุนผู้สูงอายุ
1.เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
2.เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3.เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
4.เงินอุดหนุนจากต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ
5.เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายหรือโดยนิติกรรม
6.ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
ผู้สูงอายุ ได้รับการคุ้มครองการส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ
ให้หน่วยบริการในระดับโรงพยาบาลของรัฐให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุ
1.การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขโดยสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ ได้แก่
1.1 จัดช่องทางเฉพาะแยกออกจากผู้รับบริการทั่วไปในแผนกผู้ป่วยนอก
1.2 กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการแก่ผู้สูงอายุ โดยการปิดประกาศไว้ให้ชัดเจน และมีการประชาสัมพันธ์ในระหว่างการให้บริการ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การบริกาการแพทย์ และการสาธารณสุขที่จัดไว้ โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. 2548 (27 เมษายน พ.ศ. 2548)
ให้หน่วยบริการในระดับโรงพยาบาลของกระทรวงกลาโหม ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุยกเว้นกรณีที่มีสถานการณ์ไม่ปกติ การรบ หรือสงคราม
1.จัดให้มีช่องทางเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุแยกจากผู้รับบริการทั่วไปในแผนกผู้ป่วยนอก
2.กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการแก่ ผู้สูงอายุ โดยปิดประกาศไว้ให้ชัดเจนและให้มีการ ประชาสัมพันธ์ในระหว่างให้บริการด้วย
ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. 2554 (19 เมษายน พ.ศ. 2554)
ให้หน่วยบริการในระดับโรงพยาบาลของรัฐให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุ
1.จัดให้มีช่องทางเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุแยกจาก ผู้รับบริการทั่วไปในแผนกผู้ป่วยนอก
กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการให้บริการแก่ ผู้สูงอายุ โดยปิดประกาศไว้ให้ชัดเจนและให้มีการประชาสัมพันธ์ในระหว่างให้บริการด้วย
ผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้บุพการี
สิทธิของผู้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีคนละ 30,000บาท
การกู้ยืมเป็นรายกลุ่มผู้สูงอายุ
1.ยืมกู้ได้วงเงินไม่เกินรายละ 100,00บาท กำหนดอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย
มีจำนวนสมาชิกซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีจุดประสงค์ร่วมกันในการประกอบอาชีพ ไม่น้อยกว่า 5 คน
มีความจำเป็นในการขอรับการสนับสนุนการประกอบอาชีพ
มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
มีสภาพร่างกายแข็งแรงสามารถประกอบอาชีพได้
โดยได้รับใบรับรองจากแพทย์
มีรายได้ไม่เกิน 5,000บาท ต่อเดือน