Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart Disease) :
…
โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart Disease) :
โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart Disease)
ความหมาย
เป็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจซึ่งเกิดจากกระบวนการอักเสบของกล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มและหัวใจ จากเป็นไข้รูมาติค (Rheumatic fever) นำมาก่อนภาวะการอักเสบนี้ ส่งผลให้เกิดการเสียหน้าที่ของลิ้นหัวใจไปในระยะหลัง คือ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (regurgitation) ตีบ (stenosis) หรือ Aortic regurgitation ซึ่งต่อมาอาจทำให้เกิดหัวใจวายและลิ้นหัวใจผิดปกติอย่างถาวร
การรักษา
- ให้ยากำจัดเชื้อโรค Beta hemolytic streptococcus
- ให้นอนพัก 2-6 สัปดาห์/เคลื่อนไหวไปมาในห้อง เดินบริเวณใกล้ ช่วยเหลือในการทำกิจกรรมทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
- ถ้ามี Chorea ให้ Phenobarbital, Diazepam
- ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ให้ digitalis ร่วมกับยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยในการขยายหลอดเลือด
- ให้ยาสำหรับลดการอักเสบ ได้แก่ SalicylateและSteroid ให้กรณีมี Carditis และหัวใจโตมาก ไม่มี heart failure ให้ Aspirin 75-120 มก./กก./วัน และ Prednisolone 2 มก./กก./วัน
-
-
สาเหตุ
เกิดจากกระบวนการอักเสบของกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มและหัวใจจากเป็นไข้รูมาติค (Rheumatic fever) นำมาก่อนภาวะการอักเสบนี้ เป็นภาวะแทรกซ้อนของคออักเสบหรือทอนซิลอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื้อว่า บีตาฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (beta-hemolytic Streptococcus group A)
อาการ
อาการทาง major criteria
-
ปวดเข่า ศอก ข้อเท้า อาจเป็นทีละข้อแล้วเปลี่ยนไปข้ออื่น (migration) หรือเป็นพร้อมกันหลายข้อ ตรวจพบลักษณะการอักเสบ คือ ปวด บวม แดง ร้อน ส่วนใหญ่มักเป็นกับข้อใหญ่ๆ ของแขนและขา
-
Subcutaneous nodule เป็นก้อนรีๆ ใต้ผิวหนัง จับให้เคลื่อนไหวได้ มักจะเป็นใกล้ๆ ข้อ เป็นปุ่มๆ ติดกับเอ็นและกระดูก
Erythema marginatum เป็นผื่นแดง ไม่คัน ขอบผื่นจะหยักและสีแดงชัดเจน มักพบบริเวณแขน ขา ลำตัว เป็นๆ หายๆ
-
มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยเจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจร่วมกับมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้พูดไม่ชัด เขียนหนังสือไม่ค่อยเป็นตัว มีความแปรปรวนทางอารมณ์ ติดกระดุมเสื้อไม่ได้
อาการทาง minor criteria
-
- Previous Rheumatic fever or RHD (Rheumatic heart disease)
- increase ESR, C-Reactive protein และ leukocytosis
- Arthralgia มีการปวดตามข้อ โดยตรวจไม่พบอาการอักเสบ คือ ปวด บวม แดง และร้อนมักจะเป็นตามข้อใหญ่ๆ และปวดมากกว่า 2 ข้อขึ้นไป
- increase ESR, C-Reactive protein และ leukocytosis
-
พยาธิสภาพ
เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immunopathology) ทำให้มีการทำลายของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยเฉพาะที่ผนังของ left ventricle, mitral valve, aortic valve และเยื่อหุ้มหัวใจ การอักเสบจะเป็นแบบ exudative inflammation เกิดgranulomatus tissue และ fibrosis การอักเสบซ้ำๆ จะทำให้ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วได้
การพยาบาล
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม เกลือ
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Penicillin v. และสังเกตผลข้างเคียงของยา
-
- ทำ tepid sponge เมื่อผู้ป่วยมีไข้สูง > 38.5 องศาเซลเซียส
- ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนกระตุ้นเด็ก เพื่อให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงเยอะ เช่น เบ่งถ่ายอุจจาระ การเล่นกีฬาแข่งขัน หรือทำให้ตื่นเต้นเร้าใจ
- ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลการตรวจเพาะเชื้อจากคอ ติดตาม WBC, ASO titer
- สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ถ่ายเหลว อาเจียน ไอ เจ็บหน้าอก น้ำมูกไหล
-
- ดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของปากและฟันสม่ำเสมอ
- ระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มเติม ถ้ามีอาการเจ็บคอ หวัดไอควรปิดปากเวลาไอจาม
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษากรณีมี Carditis และหัวใจโตมาก ไม่มี heart failure ให้ Aspirin 75-120 มก./กก./วัน และ Prednisolone 2 มก./กก./วัน และสังเกตผลข้างเคียงและติดตามอาการหลังให้ยา