Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประกันภัยทางทะเล บทที่ 7 - Coggle Diagram
การประกันภัยทางทะเล บทที่ 7
หลักประกันภัย
การขนส่ง ก็คือการนำเอาสินค้าจากแหล่งผลิต หรือจากที่หนึ่งไปยังมือของผู้ที่ต้องการใช้ สินค้านั้นอย่างถูกต้องตามความต้องการของผู้รับสินค้านั้น และจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ที่ ทำให้สินค้านั้นไม่มาถึงตามกำหนด หรือมาถึง แต่อยู่ในสภาพเสียหาย ก็จะทำให้ธุรกิจเกิดการ กระทบกระเทือน และบรรดาผู้ที่อยู่ในเครือข่ายที่ทำให้เกิดการขนส่งสินค้ามาจากต้นทาง
ได้แก่ โรงงานผู้ผลิต พ่อค้าหรือตัวแทนต่างจะต้องทราบถึงผลเสียทางด้านการเงินและเศรษฐกิจที่ตาม ติดมากับการไม่ถูกต้องเรียบร้อยในการมาถึงและสภาพของสินค้าดังกล่าวมาแล้ว และอันตรายที่ เกิดขึ้น จะแยกกล่าวได้ คือ ประเภทที่เป็นภัยที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมีการปฏิบัติที่เป็นไปได้ ซึ่งปกติจะรับประกันในการจ่ายค่าสินไหมหากสินค้าสูญหายหรือเสียหาย กับอีกแบบหนึ่งที่สินค้า อาจจะหายไปด้วยการที่เรือถูกพายุ สินค้าถูกโจรปล้น ขโมยหรือเรือโดยทุ่นระเบิดอับปางลงเช่นนี้ อาจจะไม่มีการรับประกันในสมัยก่อนเพราะถือว่าอยู่นอกเหนือวิสัยที่จะควบคุมได้
ประวัติและความเป็นมาของการประกันภัยทางทะเล
เรือออกไปทำมาหากินในทะเล อาจจะต้องผจญภัยต่างๆ ทั้งทางธรรมชาติ เช่น ลมพายุ โจรสลัด และจากมนุษย์ด้วยกันเอง นอกจากนี้ยังต้องได้รับอนุญาตให้เข้าจอดตามท่าเรือของ ประเทศอื่นด้วย เช่น ท่าเรือในประเทศอาหรับจะไม่ยอมให้เรือสินค้าที่ไม่มีการประกันประเภทคุ้มครองความเสียหายที่จะเกิดแก่บุคคลที่สามใช้ท่าเรือการประกันภัยทางทะเล จึงได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบและชดใช้แทนให้ ตามประวัติของการคุ้มครองการประกันภัยทางทะเลนั้นได้ถือกำเนิดมายาวนานเมื่อก่อนคริสต์ ศักราช 2000 ปี ในเรื่องของเฉลี่ยความเสียหาย “General Average” ในสมัยบาบิโลน และ ก่อนคริสต์ศักราช 2000 ปี เมื่อมีการกล่าวหาของพ่อค้าจีนในแม่น้ำแยงซีเกียง ที่เรือได้ทำให้สินค้า บางส่วนเสียหายไป เพื่อช่วยให้เรือและสินค้าส่วนใหญ่อยู่รอด ซึ่งเป็นหลักการของ “การเฉลี่ย ความเสียหาย
โดยถือว่าสถาบันชั้นเรือเหล่านั้นมีกฎเกณฑ์ และความเข้มงวดในการตรวจตราใกล้เคียงกัน และที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อบรรทุกสินค้าขนส่งทางทะเล โดยเรือซึ่งอยู่ในสถาบันชั้นเรือ แล้ว จะได้รับการคิดเบี้ยประกันในอัตราปกติ ส่วนสินค้าที่บรรทุกโดยเรือในสถาบันชั้นเรืออื่นๆ ที่ไม่ เป็นสมาชิก จะต้องถูกเรียกค่าเบี้ยประกันสูงขึ้น ทั้งนี้รวมไปถึงเบี้ยประกันในด้านการประกันตัวเรือและ เครื่องจักร ก็ต้องถูกเก็บในอัตราที่สูงขึ้นด้วย
การประกันภัยทางทะเล
การประกันภัยทางทะเลอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทดังนี้ คือ
การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance)
การประกันกับตัวเรือ (Hull Insurance)
การประกันภัย ระวาง (Freight Insurance)
การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลอื่น (Liability Insurance)
การประกันภัยสินค้า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสินค้าแบ่งออกได้เป็น
1.1 ความเสียหายสิ้นเชิง (Total Loss) ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็น
1.1.1 ความเสียหายสิ้นเชิงที่แท้จริง (Actual Total Loss) ได้แก่ ความ เสียหายของสินค้าที่ทำให้สินค้าสิ้นสภาพความเป็นสินค้า สูญเสีย จม เช่น เรือจมสินค้าอยู่ใต้ทะเล ไม่สามารถจะรักษาสินค้านั้นได้ หรือสินค้าละลายน้ำทั้งหมด เป็นต้น
1.1.2 ความเสียหายเสมือนความเสียหายสิ้นเชิง (Total or Constructive Total Loss) ได้แก่ ความเสียหายบางส่วนแต่ถ้านำมาปรับปรุง เปลี่ยนสภาพ และทำให้เหมือนเดิม
1.1.3 ความเสียหายที่ถือว่าเสียหายสิ้นเชิง (Presumed Total Loss) ได้แก่ ความเสียหายที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัด หรือหาหลักฐานไม่ได้
เงื่อนไขความคุ้มครอง
1.F.P.A
(Free from Particular Average) แปลว่า การประกันตามเงื่อนไขให้ความคุ้มครองแคบที่สุด กล่าวคือ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้า เสียหายโดยสิ้นเชิง เท่านั้น ถ้าสินค้านั้นได้รับความเสียหายแต่เพียงบางส่วน จะไม่ได้รับการชดใช้
2.W.A
(With Average) แปลว่า การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองความ เสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความเสียหายบางส่วนนี้จะต้องไม่ต่ำกว่า30% ของข้อมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัย
3.All Risks
เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด คือ ให้คุณส่งความคุ้มครองทั้งความเสียหายบางส่วน และสิ้นเชิงโดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย
4.I.C.C.A
ภัยที่ยกเว้นความคุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (A)แม้ว่าเงื่อนไขความคุ้มครองตาม Institute Cargo Clauses (A) จะระบุความคุ้มครอง แบบ All Risks ก็ตามแต่ก็มีความเสี่ยงภัย หรือลักษณะความเสียหายบางอย่างที่ถูกยกเว้นไม่ให้ความ คุ้มครองโดยได้กำหนดและระบุไว้เป็นข้อกำหนดอย่างชัดเจนภายใต้ ดังนี้ ไม่ว่ากรณีใดก็ตามการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญเสีย เสียหาย หรือค่าใช้จ่ายอันเ
5.I.C.C.B
ภัยที่คุ้มครองใน Institute Cargo Clauses (B) Institute Cargo Clauses (B) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก Institute Cargo Clauses(A) คือ ICC (A) ระบุให้คุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีเกาเหตุจากภายนอกพร้อมกับกำหนด ยกเว้นภัยบางประเภทไว้เท่านั้น แต่ ICC (B) ระบุภัยที่คุ้มครอง และสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครอง ไว้อย่างชัดเจน
6.I.C.C.C
ujuneaulu Institute Cargo Clauses (C) Iristitute Cargo Clauses (C) ให้ความคุ้มครองแตกต่างจาก ICC. (A) เช่นเดียวกับ I.C.C (B) คือระบุภัยที่คุ้มครอง และสิ่งที่ยกเว้นความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน ความสูญเสีย หรือเสียหาย อันสืบเนื่องจากหรือมีสาเหตุจากภัย ที่ไม่ได้ระบุไว้จะไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่ IC.C. (C) ให้ความคุ้มครองที่แคบกว่า IC.C. (B)