Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่10 การพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด - Coggle Diagram
บทที่10 การพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด
•สารเสพติด(substance) หมายถึง ยา สารเคมี หรือวัตถุใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการรับประทาน สูบ ฉีด สูดดม ทำให้เกิดผลต่อร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ มีผลทําให้ร่างกายทรุดโทรมและสภาวะจิตผิดปกติ
สาเหตุของการติดสารเสพติด
ความอยากรู้อยากลองด้วยความคึกคะนอง
เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่าสารเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข หรือช่วยให้ ทํางานได้มากๆ
ประเภทของสารเสพติดตามการออกฤทธ์
1.สารกดประสาท ออกฤทธ์ิกดการทางานของสมอง ได้แก่ แอลกอฮอล์ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอนี สารกลุ่ม benzodiazpine และสารกลุ่ม barbiturate เป็นต้น
2.สารกระตุ้นประสาทออกฤทธ์ิกระตุ้นส่วนของพฤติกรรมและการเคลื่อนไหว ได้แก่ แอมเฟตามนี ยาเลิฟ ยาอี ยาไอซ์ โคเคน บุหรี่ กาแฟ กระท่อม เป็นต้น
สารหลอนประสาทออกฤทธ์ิทาให้การรับรู้บิดเบือนจากความเป็นจริง เช่น ยาอี ยาเลิฟ ยาเค กัญชา สารระเหย เห็ดขี้ควาย LSD PCP เป็นต้น
4.สารออกฤทธ์ิผสมผสานอาจกดกระตุ้นหรือหลอนประสาทผสมรวมกัน ได้แก่ กัญชา
ประเภทของสารเสพติดตามที่มาของสาร
1.ประเภทท่ีได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา เป็นต้น
2.ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอนี แอมเฟตามีน สารระเหย เป็นต้น
ประเภทของสารเสพติดตามการบังคับใช้กฎหมาย
1.ประเภทถูกกฎหมาย (legal drug) เช่น กาแฟ บุหรี่ สุรา ไวน์เบียร์ เป็นต้น
2.ประเภทผิดกฎหมาย (illegal drug) เช่น มอร์ ฟีนฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาอี ยาเลิฟ ยาเค แอมเฟตามีน เป็นต้น
•ประเภทของสารเสพติดตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ประเภท2 ให้โทษประเภททั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน โคเดอีน ฝิ่น ยา
ประเภท3 ให้โทษที่มี ลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท2 เป็นส่วนผสม
ประเภท4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตสารเสพติดให้โทษประเภท1หรือประเภท2
ประเภท1 ให้โทษชนิดร้ายแรงเช่นเฮโรอนี แอมเฟตามนี เมทแอมเฟตามีน
ประเภท5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้อยู่ในประเภท1-4
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้สารเสพติด
ปัจจัยด้านชีวภาพ
จากการศึกษาผู้ที่ติดสุราและโคเคนพบว่ามีพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง
ำหรับนิโคตินหลังผ่านเข้าสู่สมองแล้วจะเข้าจับกับตัวรับ คือ Nicotinic receptor ใน Brain reward circuit ทำให้ผู้เสพเกิดความพึงพอใจ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมการเลียนแบบ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของ สังคมและวัฒนธรรม กลุ่มคนท่ีมีพฤติกรรมเลียนแบบคนอื่นได้ง่าย
ปัจจัยด้าน learning และ conditioning
ผลบวกจากการใช้ยา เป็นแรงเสริมให้พฤติกรรมการใช้ยาคงอยู่
Substance Use Disorders
รูปแบบการใช้สารท่ีมีปัญหา ก่อให้เกิดความเสียหาย แสดงออกดัง ข้อต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ เกิดขึ้น ในช่วงระยะเวลา 12 เดือน
1.ใช้สารน้ันจำนวนมากหรือเป็นระยะเวลานานกว่าที่ตั้งใจไว้
ต้องการอย่างต่อเนื่องหรือพยายามลด/ควบคุมการใช้สารน้ันไม่เคยสำเร็จ
กระบวนการพยาบาลให้การพยาบาลผู้ติดสารเสพติด
การรวบรวมข้อมูล มีเป้าหมายเช่นเดียวกับการให้พยาบาลจิตเวชในกลุ่มอื่น ข้อมูลที่ควรรวบรวม ได้แก่
1.1 ชนิดของสารเสพติดที่ผู้ป่วยเคยใช้ และก่อนใช้ที่จะมาขอรับการรักษาครั้งน้ี
1.2 วิธีการนาสารเข้าสู่ร่างกาย เช่น การดม การสูด การกิน การฉีด
1.3 ปริมาณสารเสพติดที่ใช้ในแต่ละครั้ง
อาการและอาการแสดงในภาวะฉุกเฉิน
นอกจากความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในแต่ละกลุ่ม และการพยาบาล ที่เก่ียวกับผู้ป่วยสารเสพติดต้องสามารถให้การช่วยเหลือ โดยด่วน ไม่เช่นนั้นผู้ป่วยอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการเป็นพิษหรือเมื่อขาดสาร
3.ข้อมูลตามแผนสุขภาพ
ผู้ใช้สารเสพติดส่วนมากหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมามักไม่บอกปัญหาท่ีแท้จริง ดังนั้นอาจต้องให้การรวบรวมข้อมูลท่ีน่าเช่ือถือของตัวผู้ป่วยมากขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยกลุ่มน้ี ต้องใช่เวลานาน โดยเริ่มจากขั้นถอนพิษสารเสพติด ไปจนกระทั่งผู้ป่วย หยุดใช่ซึ่งพยาบาลจิตเวชควรมีเป้าหมายในการช่วยเหลือ ดังนี
4.1 เป้าหมายในระยะสั้น (short-term objectives)
4.2 เป้าหมายในระยะสั้น (intermediate objective)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
Critical phase
มีภาวะเพ้อสับสนเนื่องจากพิษสุรา
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางกายจากอาการถอนพิษสุรา
Acute phase
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทรงตัวไม่ดี,ฤทธ์ิข้างเคียงของยา
เสี่ยงต่อการหลบหนีเนื่องจากปฏิเสธการเจ็บป่วย
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างรักษาด้วยไฟฟ้าบกพร่องทางด้านกระบวนความคิดและพฤติกรรมเนื่องจากการรับรู้ผิดปกติ
5.เสี่ยงต่อการมีอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เนื่องจากมีอาการหลงผิด ประสาทหลอนและพฤติกรรมหวาดระแวง
6.มีความบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจาวันเนื่องจากอยู่ในภาวะหวาดระแวง หลงผิดและประสาทหลอน
7.มีความบกพร่องในการสร้างสัมพันธภาพเนื่องจากขาดความไว้วางใจผู้อื่นและมีภาวะแยกตัวเอง
Sub-Acute phase
1.มีการปรับตัวต่อแผนการรักษาดีขึ้น
2.มีแนวโน้มกลับมารักษาซํ้าเนื่องจากขาดความรู้และทักษะการปฏิเสธ
เสี่ยงต่อการกลับเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
วิตกกังวลเนื่องจากต้องการกลับบ้าน
Maintenance phase เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เช่น D-method
ปัญหาและกิจกรรมการพยาบาล
ปัญหาท่ี 1 ผู้ป่วยขาดแรงจูงใจในการเลิกยาเนื่องจากไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของการเสพติด
พยาบาลสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ โดยแสดงความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ รับฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตรอบอุ่น
ให้ข้อมูลทำให้ผู้ป่วยมองเห็นถึงความขัดแย้งที่มีอยู่ในตนเอง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจูงใจ ผู้ป่วยโดยให้รับรู้ว่า พฤติกรรมในปัจจุบันเป็นอุปสรรคอย่างไรกับเป้าหมายในชีวิต
พูดคุยให้ผู้ป่วยได้สำรวจถึงผลดีผลเสียท่ีตามมาจากพฤติกรรมของเขา เน้นให้ทราบว่าเขาคือ ผู้ท่ีรับผิดชอบต่อพฤติกรรมตนเอง
หลีกเลี่ยงการขัดแย้งกับผู้ป่วย ซึ่งในช่วงแรกนี้ผู้ป่วยยังมีความสับสนเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง
ให้ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจท่ีถูกต้อง เก่ียวกับสาเหตุการติดยา แนวทางในการบำบัดรักษา วิธีการ ท่ีจะหยุดใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
ปัญหาที่ 2 ผู้ป่วยขาดความรู้และทักษะในการหยุดใช้ยาระยะเริ่มต้น
ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะในการหยุดยา เทคนิคการหยุดความคิดเพื่อไม่ให้เกิดความอยากยา แยกแยะตัวกระตุ้นท่ีทำให้เกิดความอยากยา
สนับสนุนให้ผู้ป่วยเรียนรู้ทักษะพื้นฐานต่างๆ ในการเลิกยา เรียนรู้ว่าความคิด อารมณ์ และ
พฤติกรรมต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้
พยาบาลและผู้ป่วยร่วมกันหาแนวทางในการปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมเผชิญกับตัวกระตุ้นต่างๆ และการจัดอุปกรณ์การเสพยา
พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับวงจรการอยากยา และหาวิธีท่ีจะหยุดวงจรนั้นด้วยตัวเอง โดยพยาบาลมีหน้าที่เป็นผู้ให้แนวทาง และให้กำลังใจสนับสนุน
5.อธิบายให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการที่จะเกิดขึ้นในช่วงขาดยา เช่น ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หงุดหงิด ปวด
ศีรษะ และหาแนวทางในการจัดการกับอาการดังกล่าวร่วมกับผู้ป่วย
ปัญหาที่ 3 ผู้ป่วยขาดทักษะในการปฏิเสธและมีโอกาสเสี่ยงต่อการกลับไปใช้ยาซํ้า
ให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงสัญญาณเตือนภายในของการหวนกลับไปใช้ยาซํ้า และสามารถหยุดยั้งได้ทัน
พูดคุยกับผู้ป่วยถึงเหตุการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาที่เคยทำให้กลับไปใช้ยา และเรียนรู้การมีพฤติกรรมใหม่ท่ีไม่ต้องใช้ยาเสพติด
ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยในช่วงนี้ที่หยุดยาได้ เพื่อให้เข้าใจ และเห็นถึงผลสำเร็จท่ีเกิดจากความตั้งใจ
สอนทักษะต่าง ๆ ในการป้องกันการกลับไปเสพยาซ้ำ เทคนิคการจัดการกับอารมณ์ ความเชื่อ ความคิดที่จะทำให้กลับไปเสพยาซ้ำ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมใหม่ท่ีต่างจากการใช้ยา การออกกาลังกาย การจัดตารางชีวิตประจาวันใหม่ การมีกิจกรรมนันทนาการใหม่ ๆ ในชีวิต
สนับสนุนให้ผู้ป่วยเรียนรู้โอกาสของการกลับไปใช้ยาซ้ำ อาจเกิดขึ้นได้ ทว่าไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นสิ่งท่ีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ท่ีจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ปัญหาที่ 4 ครอบครัวขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลช่วยเหลือผู้ติดยา
สร้างสัมพันธภาพกับครอบครัว โดยแสดงความเห็นอกเห็นใจ ยอมรับ และตั้งใจรับฟังปัญหาของ ครอบครัว ที่เกิดจากการใช้ยาเสพติดของสมาชิกในครอบครัว
ให้ความรู้ความเข้าใจท่ีถูกต้อง เกี่ยวกับกระบวนการติดยา และกระบวนการเลิกยา เนื่องจากความรู้ ความเข้าใจท่ีถูกต้อง จะช่วยให้ครอบครัวให้อภัย เห็นใจ และสนับสนุนให้ผู้รับการบาบัด เลิกยาได้อย่างต่อเนื่อง
สนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และเรียนรู้วิธีการหาแนวทางต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
สอนเทคนิคการเรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับผู้ท่ีกาลังเลิกยา เรียนรู้วิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ต่อกันในครอบครัว
สนับสนุนให้ผู้รับการบำบัด และครอบครัว มีการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ส่งเสริมให้เกิดการเลิกยาอย่างต่อเนื่อง และฟื้นฟูสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
ปัญหาที่ 5 ผู้ป่วยขาดทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมโดยไม่ใช้ยา
ติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง หลังการเลิกยา เพื่อให้ความช่วยเหลือในการดาเนินชีวิตหลังเลิกยา
สอนให้ผูป่วยได้รู้จักวิธีการฝึกเข้าสังคม และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ภายใต้บรรยากาศของมิตรภาพ และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
สนับสนุนให้กาลังใจในความสามารถท่ีผู้ป่วยหยุดยาได้ด้วยตนเอง เสริมความมีคุณค่าในตนเองให้ผ้ปู่วย
ให้คำปรึกษาผู้ป่วย และครอบครัว ในการดาเนินชีวิตท่ีสมดุลย์ การจัดการกับกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน ให้ผู้ป่วยเรียนรู้ท่ีจะจัดเวลาในการทำงาน พักผ่อนหย่อนใจ ออกกาลัง และทากิจกรรมในสังคมให้ เหมาะสม และสมดุลย์ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และไม่ใช้ยา
Substance Induced Disorders
ภาวะเป็นพิษ(substance intoxication)
มีพฤติกรรมหรือจิตใจเปลี่ยนแปลงผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะเป็นพิษของสารน้ัน ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นมีลักษณะเฉพาะเป็นผลจากที่สารที่มีต่อระบบประสาทส่วนกลางเกิดขึ้นไม่นานขณะหรือหลังการเสพสาร
ภาวะถอนสารเสพติด(substance withdrawal)
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมกับสภาพร่างกายและความคิดอย่างเฉพาะเจาะจงของ สารจากการหยุดหรือลดใช้สารน้ันหลังเสพสารอย่างมากมาเป็นเวลานาน
ความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดจากสารเสพติด(othersubstance/medication- induced mental disorders)
ความผิดปกติของการนอนหลับ แอลกอฮอล์ทำให้หลับง่ายแต่มีผลเสียคือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนทำให้มีลักษณะการนอนไม่ต่อเนื่องตื่นบ่อย ภาวะถอนแอลกอฮอล์ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป