Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรวิทยาระบบเลือด Hemato Phisiology, 3, 4, 6, 5, 7, _, 44, 66, 55,…
พยาธิสรีรวิทยาระบบเลือด
Hemato Phisiology
หน้าที่ของระบบเลือด
การขนส่ง (Transportation) การขนส่งสารอาหาร
มีหน้าที่ลำเลียงทั้งก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สารอาหาร ของเสีย และฮอร์โมนไปส่งยังทุกส่วนของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้
การควบคุม (Regulation)
ควบคุมความเป็นกรด-เบสของร่างกาย (Regulation of body pH)
ขบวนการเมแทบอลิซึมและปฎิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย
รวมทั้งการเผาผลาญอาหารหรือผล
จากการได้รับยาหรือสารเคมีต่างๆ เข้าไป
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย (Regulation of body temperature)
เลือดควบคุมอุณหภูมิหรือความร้อนภายในร่างกายโดยการกระจายความร้อนและการขับเหงื่อ
การควบคุมน้eในร่างกาย (Regulation of water balance)
ทำหน้าที่รักษาสมดุลของของเหลวในกระแสเลือดกับของเหลวในเนื้อเยื่อโดยการแลกเปลี่ยนของน้ำ
การป้องกัน (Protection)
การป้องกันการสูญเสียเลือด (Protection of blood loss)
เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นกับร่างกาย เลือดจะมีกลไกการห้ามเลือดโดยอาศัยปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดรวมถึงเกล็ดเลือด ช่วยให้เกิดการอุดปิดบาดแผล
การป้องกันสิ่งแปลกปลอม (Protection of foreign body)
เช่น เชื้อโรค ตลอดจนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย โดยอาศัยกลไกการทำงานของเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และแอนติบอดี ที่ไหลเวียนในกระแสเลือด
องค์ประกอบของเลือด
พลาสมา (Plasma)
ในเลือดประกอบไปด้วยน้ำเลือดหรือพลาสมา 55 เปอร์เซ็นต์ จะประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่
จะถูกลำเลียงไปยังเซลล์และอวัยวะเป้าหมาย จากนั้นพลาสมาจะรับของเสียจากเซลล์ เช่น ยูเรีย เพื่อนำไปกำจัดออกนอกร่างกายต่อไป
มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองใส ซึ่งมีสารต่างๆละลายอยู่ได้แก่ โปรตีนชนิดต่างๆ รวมถึงปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด คารโบไฮเดรต ไขมัน วิตามินเกลือแร่ต่างๆ (อิเล็กโทรไลต์) ฮอร์โมนและสารอื่นๆ
ชนิดและปริมาณโปรตีนในพลาสมา
อัลบูมิน และโกลบูลิน เป็นตัวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความดันออสโมติกในการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
ไฟบริโนเจนช่วยในการแข็งตัวของเลือด
โปรตีนทั้งหมดในพลาสมาทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ช่วยควบคุมระดับความเป็น กรด-เบส และทำให้เกิดความหนืดของเลือด
เม็ดเลือด (Corpuscles หรือ formed elements)
ส่วนที่เป็นตัวเซลล์แขวนลอยไหลเวียนในหลอดเลือดทั่วร่างกาย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ของเลือด
โดยแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ ดังนี้ ได้แก่
เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte , red blood cell)
หน้าที่ขนส่งออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่างๆ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาที่ปอด
และทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่ปรับความสมดุลของ
กรดและเบส (acid - base buffer) ของเลือด
ภายในเม็ดเลือดห่อหุ้มสารละลายต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ คือ
ฮีโมโกลบิน (hemoglobin)
เอ็นไซม์(enzyme)
อิออน (ion)
มีอายุ 110-120 วัน ถูกสร้างมาจากไขกระดูก ตับ ม้าม
เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cellsหรือ Leucocytes)
มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 ไมครอน มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ มีอายุ 2-14 วัน ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค
เกล็ดเลือดหรือเพลตเลต (Platelet)
มาจากเศษของ Megakaryocytes ที่พบในไขกระดูก ไม่มีนิวเคลียส อายุของเกล็ดเลือดประมาณ 5-9 วัน หลังจากนั้นจะถูกทำลายที่ตับและม้าม
ทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว โดยการปล่อยสารทรอมโบพลาสตินซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งออกมา
การสร้างเลือด (Hemopoiesis)
1.การสร้างเลือดของทารกในครรภ์ (Embryonic or Pre-natal hemopoiesis)
การสร้างเลือดในระยะหลังคลอด (Post-natal hemopoiesis)
เป็นการสร้างเลือดหลังจากที่ทารกคลอดมาแล้ว ยกเว้นพวกลิมโฟไซต์ที่มีการสร้างจากอวัยวะน้ำเหลือง
สร้างจากพวกเซลล์มีเซนไคมอล ที่แทรกตามเนื้อเยื่อ ในอวัยวะเหล่านี้เป็นเซลล์ต้นกำเนิด และเป็นการสร้างนอกหลอดเลือด
การสร้างเลือดนอกไขกระดูก (Extramedullary hemopoiesis)
ร่างกายจะควบคุมการสร้างเม็ดเลือด ส่วนใหญ่ที่ไขกระดูกเท่านั้น
หากมีการทำลายเม็ดเลือดเป็นจำนวนมากไขกระดูกส่วนที่เป็นไขกระดูกสีเหลือง จะกลับมามีบทบาทในการสร้างเม็ดเลือด ทำให้การสร้างเลือดต้องกลับไปสร้างในที่ที่เคยสร้างมาก่อน
แหล่งสำคัญของการสร้างเลือด คือ
ม้าม รองลงมาคือ ตับ และอวัยวะอื่นๆ ที่มีเซลล์ มีเซนไคมอล แทรกอยู่ เช่น ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) ต่อมหมวกไต (adrenal gland)
กำเนิดและการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือด
เซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด (stem cell)
ทฤษฎีการสร้างเม็ดเลือดมีดังนี้ คือ
ทฤษฎีโมโนไฟลิติก (Monophyletic theory)
โดยที่เซลล์นี้จะเจริญเป็นเม็ดเลือดแดง แกรนูลโลไซต์โมโนไซต์ลิมโฟไซต์และทรอมโบไซต์ได้ตามความต้องการของร่างกาย
ทฤษฎีโพลีไฟลิติก (Polyphyletic theory)
เซลล์ใหม่มีกำเนิดมาจากเซลล์เดียวกัน โดยเชื่อว่าลิมโฟไซต์ในภาวะปกติจะไม่มีการเปลี่ยนรูปร่าง
แต่ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะที่ผิดปกติหรือมีพยาธิสภาพพบว่าลิมโฟไซต์เหล่านี้จะสามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดใหม่ได้โดย เฉพาะในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เม็ดเลือดแดงถูกสร้างในไขกระดูก
ไขกระดูกเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวข้องกับการสร้างเลือด มีฮอร์โมนอีริโทรพอยอีติน (Erythropoietin) ในเลือดเป็นตัวควบคุมการสร้าง
มีอายุประมาณ 120 วัน ถูกทำลายในม้าม ตับ และไขกระดูก
โดยปริมาณเลือดขึ้นอยู่กับอายุ บทบาทของร่างกาย ภูมิอากาศระดับความสูงของที่อยู่อาศัยพยาธิสภาพของโรคที่เกิดกับร่างกาย
การสร้าง erythropoietin และการสร้างเม็ดเลือดแดง
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin, Hb) คือ โปรตีนในเม็ดเลือดแดง
ทำหน้าที่รับส่งแก๊สออกซิเจน และเป็นบัฟเฟอร์ที่ปรับความสมดุลของกรดและเบส
แต่ละโมเลกุลของฮีโมโกลบินประกอบด้วย 4 หน่วยย่อย แต่ละหน่วยย่อยประกอบด้วย 1 ฮีม (heme)
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง
Anemia เป็นสภาวะที่เลือดมีปริมาณฮีโมโกลบินหรือมีค่าปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่นต่ำกว่าปกติ
เกิดได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น
เสียเลือดทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
การสร้างหรือการเจริญของเม็ดเลือดแดงช้า
ไขกระดูกผิดปกติหรือผนังเม็ดเลือดแดงเปราะแตกง่าย
ทำให้มีผลต่อขนาดเซลล์และปริมาณ
ฮีโมโกลบินในเซลล์แตกต่างกันไป
Normocytic normochromic anemia
ขนาดเซลล์และความเข้มข้นฮีโมโกลบินในเซลล์ปกติ แต่จำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดต่ำ
เช่น กรณี acute hemorrhage
Microcytic hypochromic anemia (iron deficiency anemia)
เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก ปริมาณฮีโมโกลบินต่ำ
พบในกรณี chronic hemorrhage หรือทารกที่ขาดธาตุเหล็กในอาหาร
Macrocytic hypochromic anemia
เซลล์มีขนาดใหญ่ ปริมาณฮีโมโกลบินมาก แต่จำนวนเซลล์น้อย
เกิดจากการขาด
antianemia (หรือ hemotinic) factor
Aplastic anemia
เกิดจาก bone marrow ผิดปกติอาจจะเกิดขึ้นเองหรือได้รับรังสีมากเกินไป
Hemolytic anemia
เกิดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากกว่าปกติ
อาจเกิดจาก
สารเคมี
ระบบ reticuloendothelial ทำงานมากเกินไป
กรรมพันธุ์ซึ่งมีผลให้เม็ดเลือดแดง ที่ถูกสร้างขี้นมามีขนาดหรือรูปร่างที่ผิดปกติ
เม็ดเลือดขาว (Leucocyte , white blood cell)
หน้าที่หลัก คือ ป้องกัน และ ทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ
เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยสู่เนื้อเยื่อไปยังบริเวณที่มีเชื้อโรค
เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนเข้าไปหาเชื้อโรคโดยการดึงดูดของสารเคมีที่ถูกปล่อยจากเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย
เม็ดเลือดขาวสามารถจับกินสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีคล้ายอะมีบา คือเข้าโอบล้อม และย่อยเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมนั้น
แบ่งเม็ดเลือดขาวออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
ชนิดมีแกรนูลหรือมีนิวเคลียสหลายแบบ (Granulocytic or polymorpho nuclear cell)
นิวโตรฟิล (Neutrophil)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณมากที่สุด พบได้ประมาณ 40–80 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด
มีหน้าที่ตอบสนองต่อภาวะการอักเสบและติดเชื้อเฉียบพลันโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย
ร่างกายสามารถตอบสนองโดยการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและจับกินเชื้อโรคโดยตรง
อิโอซิโนฟิลด์ (Eosinophil)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยในกระแสเลือด
ทำหน้าที่ในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
เบโซฟิลด์ (Basophil)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยมากในเลือด
ทำหน้าที่สร้างสารป้องกันมิให้เลือดแข็งตัว และรวมทั้งหลั่งสารที่ช่วยในการขยายของหลอดเลือด
ชนิดไม่มีแกรนูล หรือ มีนิวเคลียสเดียว
(Agranulocytic or mononuclear cell)
โมโนไซท์ (Monocyte)
เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจับกินเชื้อโรคได้สูงกว่านิวโทรฟิลด์
มีปริมาณเพิ่มขึ้นตอบสนองต่อภาวะติดเชื้อไวรัส วัณโรค หรือเชื้อรา รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด
ลิมไฟไซท์ (Lymphocyte)
เป็นเม็ดเลือดขาวขนาดเล็ก
ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานต่อทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
มีปริมาณสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อไวรัส และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด
เกล็ดเลือด (platelet)
เป็นองค์ประกอบของเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุดประมาณ 2-4 ไมครอน ไม่มีนิวเคลียส ส่วนใหญ่รูปร่างกลมแบน หรือ รูปไข่
กระจายอยู่ทั่วไปกลางเซลล์ มีต้นกeเนิดมาจาก
เซลล์เมกะคาริโอไซต (megakaryocyte) ในไขกระดูก
ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ช่วยทำให้เลือดหยุดไหลหรือห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล กลไกห้ามเลือด
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
หลอดเลือดหดตัว (Vasoconstriction)
เมื่อเกิดบาดแผล สารซีโรโทนิน จาก
เกล็ดเลือดจะกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว
การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation)
คือ เซลล์ที่ได้รับความเสียหาย และ
เกล็ดเลือด จะปล่อยสาร ADP ออกมา
ทำให้เกล็ดเลือดเกิดการเปลี่ยนรูปร่าง และรวมกัน (aggregate) อุดหลอดเลือดที่เกิดบาดแผล
การแข็งตัวของเลือด (Coagulation, clot)
เกิดจากปฏิกิริยาของเกล็ดเลือด สารต่างๆ ใน
พลาสมา และสารจากเนื้อเยื่อที่เกิดบาดแผล
3.1 การเกิดการกระตุ้นโปรทรอมบิน
Extrinsic pathway เกิดจากการทำลายเซลล์หลอดเลือด
Intrinsic pathway เกิดขึ้นภายในหลอดเลือด เมื่อเกล็ดเลือดเกิดการแตก
3.2 การเปลี่ยนโปรทรอมบินเป็นทรอมบิน
ทรอม โบพลาสติน ที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นการเปลี่ยนโปรทรอมบิน เป็นทรอมบิน
3.3 การเปลี่ยนไฟบริโนเจนเป็นไฟบริน
ทรอมบินที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไฟบริโนเจน เป็นไฟบริน โดยใช้แคลเซียมอิออน (Ca 2+)
3.4 การเกิดการหดตัวของก้อนเลือด
มีการหดตัวของก้อนเลือดและร่างแหทำให้น้ำเลือด (ซีรั่ม) ออกจากก้อนเลือด และเป็นผลให้เกิดการเชื่อมติดบาดแผลมากขึ้น
หมู่เลือดระบบ ABO
ในระบบ ABO มีหมู่โลหิต 4 ชนิด คือ A B AB และ O โดยเรียกชื่อตามชนิดของแอนติเจนที่พบบนผิวของเม็ดโลหิตแดง
ระบบ ABO มีแอนติเจนและแอนติบอดี ซึ่่งแอนติบอดีหมายถึงภูมิต้านทานต่อแอนติเจนที่ตนเองไม่มี เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม
หมู่เลือดระบบ Rh
เป็นหมู่เลือดที่มีความซับซ้อนมาก โดย D แอนติเจนของหมู่เลือดระบบ Rh มีความสำคัญมากในการถ่ายเลือด รองมาจาก A และ B ของ แอนติเจนของหมู่เลือดระบบ ABO
เนื่องจากแอนติเจน D สามารถกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีได้ดีกว่าแอนติเจนอื่นๆ ของเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้หมู่เลือดระบบ Rh ยังประกอบด้วยแอนติเจนที่มีความสามารถทางคลินิกอีก 4 ชนิด คือ แอนติเจน C , E , c , e
หมู่เลือดRh บวก (Rh positive) คือหมู่เลือดที่มีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ในคนไทยมีหมู่เลือด Rh (D) บวกประมาณ 99.7 %
หมู่เลือด Rh ลบ (Rh negative) คือหมู่เลือดที่ไม่มีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ในคนไทยพบว่า มีหมู่เลือดนี้เพียง 0.3 % หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น ซึ่งเราเรียกว่า " หมู่เลือดหายาก " หรือ " หมู่เลือดพิเศษ "
การให้เลือด