Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
พยาธิสรีรภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความสำคัญของระบบไหลเวียน
ระบบไหลเวียนจะทำหน้าที่นำออกซิเจน และสิ่งจำเป็น
ในการดำรงชีวิตไปเลี้ยงเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายและนำของเสียกลับบออกมําเพื่อขับออก
ดังนั้นถ้ามีเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจหยุดเต้น ปริมาณเลือดลดลง หรือเส้นเลือดไม่สามารถรับเลือดที่ส่งมาได้
เกิดการฉีกขําด หรืออุดตัน ย่อมทำให้
อวัยวะส่วนนั้นเกิดอันตรายและถ้าไม่แก้ไขก็อาจเจ็บป่วยถึงชีวิตได้
ส่วนประกอบของระบบไหลเวียนเลือด
ระบบเหลเวียนประกอบด้วย หัวใจ (heart) หลอดเลือดแดง (artery) หลอดเลือดดํา (vein) และหลอดเลือดฝอย (blood capillary)
หัวใจ (heart)ทําหน้าที่สูบฉีดโลหิตอยู่ในทรวงอกค่อนไปทางด้านซ้ายและติดกับกระบังลม โดย ลักษณะภายในของหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ซีก ได้แก่ ซีกขวา และซีกซ้าย ซึ่งหัวใจทั้ง 2 ซีกจะ มีความแตกต่างกันในหน้าที่
ซีกขวา มีหน้าที่ส่งเลือดที่ใช้แล้วจากส่วนต่างๆ ของร่างกายไปยังปอด เพื่อฟอกให้เป็นเลือดดี
ซีกซ้าย คือ รับเลือดจากปอดและส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่ละซีกของหัวใจยังแบ่งออกเป็นห้องบน (atrium) และห้องล่าง (ventricle) ผนังของหัวใจประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium)
หลอดเลือดแดง (artery) รับเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ชั้นในสุด เรียก Tunica intima
ผนังชั้นกลาง เรียก Tunica media
ผนังชั้นนอก เรียก Tunica adventitia
หลอดเลือดดํา (vein) หลอดเลือดดําขนาดเล็กเรียก Venule จะรับเลือดจาก หลอดเลือดฝอยกลับเข้าหัวใจ ผนังหลอดเลือดดํามี 3 ชั้น เหมือนหลอดเลือดแดง แต่บางกว่า
หลอดเลือดฝอย (capillary) หลอดเลือดฝอยของหลอดเลือดแดง เรียก arterial capillaryของหลอดเลือดดําเรียก venous capillary หลอดเลือดฝอยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
การไหลเวียนของโลหิต
เมื่อหัวใจบีบตัวส่งเลือดเราเรียก ชีสโตลี (Systole) และความดันสูงสุดที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเรียกว่า Systolic pressure และความดันต่ําสุดเรียก diastolic pressure การไหลเวียนของเลือดในร่างกายเริ่มจากเลือดดําจากส่วนบนของร่างกายมารวมกันในเส้นเลือดดําใหญ่เรียก Superior vena Cava เข้าสู่หัวใจห้องบนขวา (right atrium) ส่วนเลือด ดําจากส่วนล่างรวมตัวกันใน Inferior vena Cava ไหลเข้าสู่ right atrium เช่นกัน แล้วรวมกัน ผ่านลิ้นไตรคัสปิด ลงหัวใจล่างขวา (right ventricle)
หัวใจบีบตัว เลือดดําจาก right ventricle จะ ผ่าน Pulmonary Valve เข้าไปใน pulmonary artery เข้าสู่ปอดขวา และซ้ายรับออกซิเจนกลายเป็นเลือดแดงไหลกลับเข้าหัวใจทางหลอดเลือด pulmonary vein ข้างละ 2 เส้น เทรวมกันเข้าใน left atriumผ่าน ไมทรัลวาวล์ ลงใน left ventricle ในจังหวะหัวใจคลายตัว เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดแดงจะผ่าน aortic valve เข้า สู่เส้นเลือด แดงใหญ่ aorta ไปตาม ระบบไหลเวียนเลือดแดง ไปเลี้ยง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การทํางานของหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจจะมีการหดตัวได้เองโดยอัตโนมัติจากการกระกันของกระแสไฟฟ้าจาก sinoatrial node (SA node) ซึ่งอยู่ใต้เยื่อหุ้มหัวใจ Epicardium ตรงหัวใจห้องบนขวา (right atrium) แล้วกระแสไฟจะกระจายออกไปรอบ ๆ
วิธีการประเมินการทํางานของหัวใจที่ควรทราบ
การฟังเสียงของหัวใจ (heart Sound) จะได้ยินเสียงที่เกิดจากการ จากการเปิด-ปิด ของลิ้นหัวใจ ปกติจะได้ยิน 2 เสียง เสียงแรกจะยาวเป็นเสียงเปิด จะสั้นเป็นเสียงปิด
การคลําชีพจร (pulse) ชีพจรเกิดจากแรงกระทบของเลย แดง จากการเต้นของหัวใจแต่ละครั้ง การจับชีพจรจะรู้สึกว่ามีแรงมาก พบได้ที่ผนังของเส้นเลือดแดงทุกแห่ง
การวัดความดันโลหิต (Blood pressure) :เป็นการวัดแรงดันของเลือดในหลอด เลือด โดยใช้เครื่องวัดความดันซึ่งประกอบด้วยถุงยางมีผ้าหุ้มพันต้นแขนเหนือข้อศอกอัดอากาศเข้าไปในถุงแล้วปล่อยออกช้าๆ ส่วนของถุงจะมีท่อยางกับหลอดแก้วที่บรรจุปรอทอยู่ มีตัวเลขบอกค่าความดัน
ความผิดปกติของหลอดเลือด
มื่อหลอดเลือดเกิดพยาธิสภาพก็จะเกิดผลกระทบต่อระบบไหลเวียน พยาธิสภาพและโรคที่เกิดกับระบบไหลเวียนจะกล่าวโดยละเอียดเฉพาะที่พบบ่อยและมีความสําคัญ ได้แก่ การหนาตัวของผนังหลอดเลือด และภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนความผิดปกติอื่น ๆ จะกล่าวถึงพอสังเขปเท่านั้น
ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)
แบ่งได้ตามชนิดของสาเหตุที่ทําให้เกิด ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
Primary hypertension หรือ Essential hypertension เป็นความความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง (ประมาณร้อยละ 90) และพบว่ามีปัจจัยส่งเสริมต่าง ๆ ที่ชักนําให้เกิดความดันโลหิตสูงชนิดนี้ ดังนี้
อายุที่เพิ่มขึ้น กรรมพันธุ์ ความอ้วน ความเครียด (Stress)การใช้ยาคุมกําเนิด
พยาธิสรีรภาพ
(1) Genetic defect มีความผิดปกติของไตเองตั้งแต่กําเนิด ไม่สามารถ excrete sodium และน้ําได้
(2) Sympathetic nervous system มี overactivity เพิ่มการหลั่งของสาร adrenaline และ Noreadrenaline มากกว่าปกติ
(3) Renin angiotensin system ปัจจัยนี้ได้มีผู้พยายามศึกษาระดับเรนินในพลาสม่า ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
2.Secondary hypertension เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีสาเหตุจากโรคไต เช่น โรคหลอดเลือดแดงของไตตีบ (renal artery stenosis) สาเหตุจากโรคของระบบต่อมไร้ท่อ
พยาธิสรีรภาพ หลายระบบของร่างกายทํางานสัมพันธ์กันในการควบคุมความดันโลหิต ดังนั้นตัวกำหนดที่สําคัญคือ ปริมาณเลือดที่หัวใจสูบฉีดใน 1 นาที (cardiac output) และแรงต้านทานของหลอดเลือด (peripheral resistance)
โรคหลอดเลือดหัวใจ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease : CAD) ที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ มีจํานวนเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะว่าการตรวจหาความผิดปกติ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่มีสาเหตุจาก atherosclerosis ของหลอดเลือดโคโรนารีและมีสาเหตุจากหลอดเลือดแดงโคโรนารีหดเกร็งตัว (coronary vasospasm) ซึ่งการอธิบายสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่จึงอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับ atherosclerosis ลักษณะของ atherosclerotic lesion ในหลอดเลือด
พยาธิสรีรวิทยาของโรคหลอดเลือดหัวใจ (Pathophysiology)
โรคหลอดเลือดหัวใจจึงหมายถึงการเกิด atherosclerotic plaque สะสมและเพิ่มมากขึ้นในหลอดเลือดแดงโคโรนารี ทําให้เกิดการตีบแคบของหลอดเลือด ซึ่งระดับการอุดกั้นของ atherosclerotic plaque มีผลต่อระดับของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง แบ่งได้เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial ischenmia) ประกอบด้วย stable angina และ unstable angina และกล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocarial infarction) ซึ่งมีพยาธิสรีรวิทยาดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับการเกิด atherosclerosis แต่ยังไม่สามารถอธิบายกลไกของปัจจัยเสี่ยงกับการเกิด atherosclerosis ได้ชัดเจน การวิจัยเสนอว่า atherosclerosis เป็นผลมาจาก มีการบาดเจ็บของendothelium มีไขมันแทรกเข้าไปในผนังชั้นในของหลอดเลือดแดง และมีการขยาย smooth muscle cell เข้าไปใน ผนังชั้นในของหลอดเลือด
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)
สาเหตุที่ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวลดลง เนื่องจากสูญเสียกล้ามเนื้อหัวใจ ที่ พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ทําให้เกิดภาวะหัวใจวาย การวัดสัดส่วนของปริมาตรเลือดที่บีบออกจาก ventricle (ejection fraction) จะช่วยประเมินว่าความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลงเพียงใดปกติหัวใจบีบตัว 1 ครั้งจะมีเลือดออกประมาณ ⅔ ของปริมาตรเลือดในระยะ end-diastolic volume (preload)
สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักขึ้น มีข้อบ่งชี้ คือ preload (volume work) และ after load (pressure work) โรคที่มีผลต่อ preload ได้แก่ โรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจพิการมาแต่กำเนิด เช่น ลิ้นหัวใจไมทรัลจะทำให้ปริมาณเลือดใน ventricle และ atrium ข้างซ้ายผิดปกติ หรือถ้า aortic ตีบ จะทำให้เกิดแรงต้านต่อการบีบเลือดออกจาก left ventricle มีแรงต้านเพิ่มมากขึ้น (After load เพิ่มขึ้น)
กลไกหารปรับชดเชยภาวะหัวใจล้มเหลว (compensatory mechanism)
1.กลไกการสนับสนุนจากระบบประสาทซิมพาเทติก
( sympathetic nervous system )เมื่อ cardiac output ลดลง ระบบซิมพาเทติกจะถูกกระตุ้นทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ
2.การคั่งของโซเดียมและน้ำ (sodium and water retention) เมื่อมีภาวะหัวใจล้มเหลว cardiac output ลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลงจึงไปกระตุ้นระบบ renin-angiotensin-aldosterone ทำให้มี angiotensin II และ aldosterone เพิ่มขึ้นในระบบการไหลเวียนซึ่งจะทำให้ไตมีการดูดกลับโซเดียม และน้ำไว้ในร่างกายมากขึ้น
3.Frank-Starling Mechanism กลไกนี้ช่วยเพิ่ม stroke volume เนื่องจากเมื่อมี venticular end-diastolic volume (preload) เพิ่มขึ้น จะทําให้กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial fiber) ยืดออกทําให้แรงบีบในการไล่เลือดออกจากหัวใจแรงขึ้น stroke volume จึงเพิ่มขึ้น
4.กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น (Myocardial hypertrophy) เป็นกลไกการปรับตัวในระยะยาวต่อภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งกล้ามเนื้อหัวใจที่หนาขึ้นนี้เกิดจากการตอบสนองต่อความต้องการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวทํางานมากขึ้น