Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Birth Asphyxia ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด, image, image, image, image,…
Birth Asphyxia ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
ความหมาย
หมายถึง ภาวะที่ประกอบไปด้วยเลือดขาดออกซิเจน
คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง และมีภาวะกรดจากเมตาบอลิซึม หรือจากการไม่มีการระบายอากาศที่ปอด (ventilation) ร่วมกับปริมาตรเลือดที่ผ่านปอด (pulmonary perfusion) มีน้อยหรือมีไม่เพียงพอ หลังจากการคลอด ส่งผลให้อวัยวะที่สำคัญขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่และเสื่อมประสิทธิภาพของอวัยวะนั้นๆ
ปัจจัยเสี่ยง
การใช้สูติศาสตร์หัตถการ
คีม
เครื่องดูดสุญญากาศ
การผ่าคลอด
ระหว่างคลอด
ท่าผิดปกติ คลอดติดไหล่
เลือดออกมากผิดปกติ การเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ
รกลอกตัว การติดเชื้อของรกและถุงน้ำคร่ำ
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน สายสะดือย้อย
มารดาดมยาสลบ GA หรือ ยาระงับปวด
ก่อนคลอด
oligohydramios/polyhydramios
GA<36 wk / GA > 41 wk
HT Preeclampsia Eclamsia
ครรภ์แฝด ทารกในครรภ์บวมน้ำ
ทารกตัวใหญ่/ เล็ก พิการ มารดาไม่ฝากครรภ์
พยาธิสรีรภาพ
หัวใจและหลอดเลือด เมื่อทารกขาดออกซิเจนทําให้ศูนย์ควบคุมการทํางานของหัวใจถูกกด ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ การทํางานเลวลง ความดันโลหิตต่ํา ทําให้เกิดภาวะ cardiogenic shock
สมอง ผลของการขาดออกซิเจนทําให้เกิดพยาธิสภาพที่สมองเนื่องจากเนื่องสมองเสื่อมจากการขาดออกซิเจนและ
ขาดเลือด (hypoxic-ischemic encephalopathy : HIE) ทําให้ทารกมีความพิการทางสมอง หรือทารกเสียชีวิต
ระบบโลหิตวิทยา เมื่อทารกมีภาวะขาดออกซิเจน มีภาวะเลือดเป็นกรด และความดันโลหิตต่ํา ทําให้ไขกระดูกไม่สามารถผลิตเกล็ดเลือดได้ตามปกติ
ระบบหายใจ ภาวะขาดออกซิเจน ทําให้ศูนย์การหายใจถูกกด ทารกจะหายใจช้าหรือหยุดหายใจรวมทั้งทำให้มีการหยุดชะงักของการสร้างสารเคลือบปอด โดยทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจเกิดอาการหายใจลำบาก
ระบบทางเดินปัสสาวะ ผลจากการขาดออกซิเจนทําให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง ส่งผลให้เกิดการตายของหลอดเลือดฝอยของไตอย่างเฉียบพลัน
ระบบการเผาผลาญ ร่างกายมีภาวะกรดจากการเผาผลาญทําให้ภาวะน้ําตาลในเลือดต่ําหรือสูง แคลเซียม /
แมกนีเซียมในเลือดต่ํา และฟอสเฟตในเลือดสูง
ระบบทางเดินอาหาร การขาดออกซิเจนอาจทําให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร (stress ulcer) และทําให้เกิดภาวะ
ลําไส้ขาดเลือดและเน่าตาย (necrotizing enterocolitis: NEC) และเกิดภาวะตัวเหลืองจากการที่ตับสูญเสียหน้าที่
อาการและอาการแสดง
ขณะตั้งครรภ์
ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติและต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจในระยะแรกจะเร็วและมากกว่า60ครั้งต่อนาที ต่อมาจะช้าลง
ขณะคลอด
พบขี้เทาในน้ําคร่ํา
ระยะคลอด
ทารกมี Apgar score ต่ํากว่า 7 คะแนน ที่ 1 นาที หรือ 5 นาที ถ้า Apgar score 5 - 6 คะแนน ทารกมี
ภาวะขาดออกซิเจนเล็กน้อย ถ้า 3-4 คะแนนมีภาวะขาดออกซิเจนปานกลาง และ 0-2 คะแนนมีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรง
ทารกมีลักษณะเขียวแรกคลอด ไม่หายใจเอง ตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียก ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
(reflex irritability) ลดลง หัวใจเต้นช้า
ระยะหลังคลอด
ทารกจะมีหัวใจเต้นเร็ว ซีด หายใจแบบ gasping มี metabolic acidosis และ
อุณหภูมิของร่างกายต่ํา ความดันโลหิตต่ํา
มีการท้องอืด และมีการทําลายของเยื่อบุลําไส้ ทําให้เกิดลําไส้เน่าอักเสบชนิด NEC
( necrotizing enterocolitis)
ทารกจะมีอาการหายใจหอบ เขียว หรือเกิด persistent fetal circulation
ทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้า ม่านตาขยากกว้าง ไม่ตอบสนองต่อแสง ไม่มี
doll's eye movement กล้ามเนื้อไม่มีแรง มีการชักที่เรียกว่า subtle seizure คือการทํามุมปากขมุบขมิบ กระพริบตาถี่
ทารกจะมีปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะ หรือถ่ายปัสสาวะเลือด(hematuria) เนื่องจากการเกิด perenal acute renal failure หรือ เกิด bilateral cortical necrosis
การเปลี่ยนแปลงทาง metabolic ทารกอาจมีอาการชักจากการเกิด hypoglycemia hypocalcemia และ hyperkalemia
การแปลผล Apgar scoreและให้การช่วยเหลือ
คะแนน 8-10 (ไม่มีภาวะ Asphyxia)
1.เช็ดตัวให้แห้ง ให้ความอบอุ่น
2.ดูดเสมหะ
คะแนน 6-7(Mild Asphyxia)
1.เช็ดตัวให้แห้ง ให้ความอบอุ่น
2.ดูดเสมหะ
3.กระตุ้นโดยการสัมผัส
4.ให้ออกซิเจน
คะแนน4-5(Moderate Asphyxia)
1.เช็ดตัวให้แห้งและให้ความอบอุ่น
2.ดูดเสมหะ
3.เริ่มช่วยหายใจโดยการใช้ถุงช่วยหายใจและหน้ากากออกซิเจน100%
คะแนน0-3 (Severe Asphyxia)
1.เช็ดตัวให้แห้งอย่างรวดเร็วและให้ความอบอุ่น
2.ดูดเสมหะ
3.ช่วยหายใจด้วยเเรงดันบวก
4.ถ้าไม่ดีขึ้นให้ใส่ท่อหลอดลมคอ
5.ถ้าHR <60 ให้ทำ chest compression แบบ two thumb ร่วมกับ ventilation
6.หลัง chest compression ถ้าHR<60 ให้ยากระตุ้นหัวใจ ได้แก่ epinephine
7.ให้สารน้ำ