Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) ชนิดที่ไม่มีอาการตัวเ…
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
ชนิดที่ไม่มีอาการตัวเขียว
Atrial Septal Defect (ASD)
ความหมาย
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
ชนิดไม่เขียวที่มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้นเอเตรียมที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่างเอเตรียม
ซ้ายและขวา การเกิดรูรั่วอาจมีเพียงรูเดียวหรือหลายรูก็ได้
อาการและอาการแสดง
-ขนาดเล็ก เติบโตปกติหรือช้า ติดเชื้อระบบทางเดิน
หายใจบ่อย
-ขนาดปานกลาง เติบโตปกติหรือช้า ติดเชื้อระบบ
ทางเดินหายใจบ่อย
-ขนาดใหญ่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก
การรักษา
ASD ปิดได้เองในช่วงอายุ 3 ปี ถ้ารูรั่วมีขนาด
เล็กกว่า 5 มม.
การดูแลสุขภาพสุขภาพปาก และฟัน
การรักษาทางยา:เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบรักษาโดยใช้ ยาปฏิชีวนะรักษาภาวะหัวใจวาย คือ ยา Lanoxin,
Lasix
การผ่าตัด : โดยการเย็บปิดผนังกั้น
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : ประวัติการติดเชื้อทางเดิน
หายใจบ่อย เหนื่อยง่าย
การตรวจร่างกาย : Ventricle ขวาโต
เสียงที่หนึ่ง (S1) ต่ำกว่าปกติที่บริเวณลิ้นไตรคัสปิด
ภาพรังสีทรวงอก : ASD ขนาดปานกลางจะ
พบหัวใจโต
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ASD ขนาดปานกลางขึ้นไปจะพบเอเตรียมขวามีการ
ขยายตัว และเวนตริเคิลขวามีการหนาตัว
Echocardiography
การตรวจสวนหัวใจและการฉีดสารทึบรังสี
พยาธิสภาพ
เลือดแดงในหัวใจห้องบนซ้ายมีความดันสูงกว่าด้านขวา ไหลผ่านตรงทางรูรั่วที่ผิดปกติ เข้าไปหัวใจห้องบนขวาลงสู่ห้องล่างขวา เป็นผลให้เกิด left to right shunt ทำให้หัวใจห้องบนขวาและ ห้องล่างขวาโตและขยายตัวขี้น เนื่องจากต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้นเมื่อเลือดจำนวนมากกว่าปกติไหลผ่านออกสู่หลอดเลือดในปอดเป็นเวลานานนับปีทำให้หลอดเลือดในปอดชั้นmedia หนาตัวขึ้นเป็นการเพิ่มแรงต้านที่ปอดเพื่อให้เลือดไหลผ่านปอดน้อยลง แต่ขณะเดียวกันหัวใจห้องล่างขวาต้องออกแรงบีบตัวมากขี้น เพื่อดันเลือดจำนวนมากออกไปให้หมด เกิดภาวะtricuspid valve รั่วตามมาได้
Ventricular Septal Defect
ความหมาย
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวที่มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้น ventricle ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่างventricle ซ้ายและขวา
อาการและอาการแสดง
small VSD ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
moderate VSD ตัวเล็กหรือเลี้ยงไม่โต พัฒนาการทาง
กายช้า
large VSD มีอาการเหนื่อยง่าย เลี้ยงไม่โต ติดเชื้อทางเดิน
หายใจบ่อย มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาดูดนม
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : หายใจเร็วผิดปกติ เด็กตัวเล็ก โตช้า
การตรวจร่างกาย : พบเสียง murmur
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : พบ left atrium และventricle โต
ภาพรังสีทรวงอก
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : มองเห็นขนาดรูรั่วและห้องหัวใจที่โตขึ้น
การรักษา
การดูแลสุขภาพทั่วไป
-VSD ขนาดเล็ก ให้การดูแลสุขภาพอนามัยที่ดี ระมัดระวังและป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
VSD ขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ต้องทำการผ่าตัด
กรณีไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจวายได้ การผ่าตัดเย็บปิดรูพิการ หรือการผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ
กรณีมีภาวะหัวใจวาย ให้ยา digitalis ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด
พยาธิสภาพ
ความผิดปกติเป็นผลมาจาก VSD จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของรูรั่วระหว่าง ventricle โดยที่เลือดจะไหลลดจาก ventricle ซ้ายไปขวาไหลไปสู้ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนแล้วไหลสู่ LA ลงสู้ LV ซึ่งทำงานเพิ่มขึ้นบีบตัวให้เลือดส่วนหนึ่งออกไปสู่ทั่วร่างกายโดยที่เลือดอีกส่วนหนึ่งผ่านรูรั่วกลับเข้าสู่ RV ใหม่กล้ามเนื้อ LV จิงโตกว่าปกติเมื่อเลือดลัดวงจรจากซ้ายไปขวานาน ๆ ถ้าแรงต้านขอ pulmonary สูงกว่าแรงต้านของหลอดเลือดทั่วร่างกายจะทำให้มีการไหลกลับของเลือดคือแทนที่เลือดจะไปสู่ปอดเลือดจะลัดวงจรไหลย้อนผ่านทางเปิดจาก RV ไป Lv (right to left shunt) ทำให้เลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายเกิดอาการ Eisenmenger 's syndrome
Patent Ductus Ateriosus
ความหมาย
เกิดจากการที่หลอดเลือด ductus arteriosus (หลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างส่วนต้นของ descending aorta กับส่วนต้นของหลอดเลือดแดง pulmonary ข้างซ้าย) ไม่ปิดภายหลังทารกคลอด ซึ่งปกติควรปิดภายใน 1 – 4 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
PDA ขนาดเล็ก : ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ
PDA ขนาดปานกลาง : ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย
เล็กน้อย
PDA ขนาดใหญ่ : ผู้ป่วยจะมีอาการมากตั้งแต่วัยทารก
หัวใจวายเหนื่อยหอบ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : จากอาการตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หายใจเร็ว
การตรวจร่างกาย : ได้ยิน murmur ที่ลิ้น pulmonic
ถ่ายภาพรังสีทรวงอก : พบ ventricle ซ้ายโต หลอดเลือด pulmonary artery มีขนาดใหญ่ขึ้น หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้น
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : พบว่าหัวใจล่างซ้ายโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : พบว่า มีหัวใจด้านซ้ายโต วัดขนาดของ ductus
arteriosus ได้
การรักษา
ในรายที่ไม่มีอาการ ควรทำการผ่าตัดโดยผูก ductus arteriosus เมื่อผู้ป่วยอายุเกิน 1 ปีไปแล้ว
การรักษาทางยา ในทารกแรกคลอดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีอาการหัวใจวายให้ยา Indomethacin 0.2 mg/Kg. ทางปากหรือหลอดเลือดดำซ้ำ3 ครั้ง ห่างกัน 8 –12 ชม.
ถ้าการใช้ยาไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องผ่าตัดผูกหลอดเลือด ductus arteriosus ด้วยไหมขนาดใหญ่
พยาธิสภาพ
ความดันของเลือดใน aorta สูงกว่าในหลอดเลือดแดง pulmonary เป็นเหตุให้เลือดไหลจาก aorta กลับมายังที่ LA ลงสู่ LV ออกทาง aorta ใหม่วนเวียนไปเรื่อย ๆ LV ทำงานมากกว่าปกติและเกิดหัวใจโตเมื่อเลือดแดงไหลเวียนไปสู่ปอดมากขึ้นจะทำให้ความดันในปอดสูงเกิด night to left shunt เลือดดำผสมเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนล่างของร่างกายทำให้เกิดอาการเขียวที่ขาและเท้า แต่แบนและใบหน้าไม่มีอาการเขียวเรียกภาวะนี้ว่า differential cyanosis
Coarctation of Aorta
ความหมาย
การตีบแคบหรืออุดตันของส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือด aorta ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบที่ aortic arch
อาการและอาการแสดง
ในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มาด้วยอาการของหัวใจวาย
ได้แก่ หายใจเหนื่อยหอบ เลี้ยงไม่โต ตรวจร่างกายจะพบว่ามีหายใจเร็ว ชีพจรที่แขนจะแรงกว่าที่ขา
ในเด็กโตส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ ถ้ามีอาการมักจะ
เป็นผลจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย และติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
การวินิจฉัย
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย : อาการและอาการแสดง
ภาพรังสีทรวงอก : หัวใจห้องล่างซ้ายโต aorta ส่วนหน้าของบริเวณตีบแคบจะขยายใหญ่ขึ้น
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ : หัวใจห้องล่างซ้ายโตในเด็กโต ส่วนเด็กเล็กจะพบ ventricle ขวาโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : พบ hypoplasia ของ aortic isthmus
การรักษา
รักษาทางยา digitalis ในรายที่มีภาวะหัวใจวาย
ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ทำผ่าตัดเมื่ออายุ 4–5
ปี โดยทำการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบออก และต่อส่วนปลายทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน (end to end anastomosis) หรือการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบออก
พยาธิสภาพ
raorta ส่วนที่เป็น coarctation แคบลงทำให้หัวใจห้อง ventricle ซ้ายทำงานหนักมากและ aortic blood Flow สุดลงเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงและทำให้การทำงานของ ventricle ซ้ายเสียไปเป็นผลให้ความดันเลือดใน atrium ซ้ายสูงขึ้นมี left to right shunt ทำให้เกิดอาการหัวใจวายในเด็กโตจะมีอาการที่สำคัญคือความดันโลหิตในส่วนของแบนสูงกว่าที่ขา pulse pressure จะกว้าง
Pulmonary Stenosis
ความหมาย
การตีบของลิ้น pulmonary มีผลให้การไหลของเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาไปยัง pulmonary artery ได้ยากขึ้น
อาการและอาการแสดง
ชนิดที่มีการตีบแคบน้อย : ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ อาจพบ systolic murmur
ชนิดที่มีการตีบแคบปานกลาง : ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหนื่อย
ง่ายเพียงเล็กน้อยเวลาออกแรง พบ systolic murmur
ชนิดที่มีการตีบแคบมาก : ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะหัวใจซีกขวาวายหรือ
มีอาการเขียวเล็กน้อยในเด็กเล็ก ส่วนในเด็กโตมักมีอาการเหนื่อยง่าย อาจมีอาการเขียว
การวินิจฉัย
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย : ฟังได้ systolic murmur
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ : ventricle ขวาโต atrium ขวาโต
ภาพรังสีทรวงอก : พบมีการโป่งพองของ pulmonary artery
หัวใจห้องบนและล่างขวาโต หลอดเลือดที่ปอดมักจะน้อยลง
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ : พบ atrium ขวาโต ventricle ขวาหนาขึ้น
ดูโป่งพอง และมีการตีบแคบของหลอดเลือด pulmonary
การรักษา
รายที่เป็น mild pulmonary stenosis ไม่ต้องผ่าตัด
ในรายที่มีอาการมาก ทำผ่าตัด pulmonary valvotomy และ
balloon valvuloplasty เพื่อขยายลิ้น pulmonary
ให้คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
พยาธิสภาพ
เกิดการอุดกั้นของทางออกของ ventricle ขวาทำให้ ventricle ขวาต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อให้มีปริมาณของเลือดไปปอดเพียงพอกล้ามเนื้อของ ventricle ขวาจึงหนาตัวขึ้นส่งผลให้เลือดจาก atrium ขวาไหลลง ventricle ขวาได้ไม่สะดวก atrium ขวาจึงมีขนาดใหญ่และผนังหนาขึ้นและอาจทำให้ความดันใน atrium ขวาสูงกว่า atrium ซ้ายเกิดเลือดไหลลัดวงจรจาก atrium ขวาไปซ้าย (right to left shunt) ทำให้เกิดอาการเขียวได้
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
อาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดจากผนังกั้นหัวใจมีรู ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ หรือหลอดเลือดตีบหรือเกิน
ปัจจัยส่งเสริมการเกิด
การติดเชื้อไวรัสบางชนิดในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
พันธุกรรม
ข้อวินิจฉัย;เนื้อเยื่อต่างๆมีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจทำให้ร่างกายได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำหรือหัวใจทำงานหนักเกินไปทำให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง
กิจกรรมทางการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบไม่มีเสียงรบกวนกระตุ้นเด็กให้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
วางแผนปฏิบัติการพยาบาลจัดลำดับก่อน-หลัง
คลายเสื้อผ้าให้หลวมและจัดให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ
สังเกตและบันทึกอาการ
ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม
7.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาและวัดความเข้มข้นของออกซิเจนเป็นระยะ ๆ
ดูแลให้ได้รับยา Digitalis (Digoxin) ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียง
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ตรงตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยายาขับปัสสาวะที่ใช้คือ Furosemind (Lasix)
นางสาวน้ำทิพย์ เต็งฉ้วน รหัส621001045