Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหัวใจวาย (Heart Failure), นางสาวธิติยา กิติลาโภ รหัส 621001039…
ภาวะหัวใจวาย (Heart Failure)
ความหมาย
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในเด็กมักเกิดจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยเฉพาะในวัยทารกและเด็กเล็ก อาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง ลิ้นหัวใจต่างๆไม่ปกติ หรือจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติไป
พยาธิสภาพ
หัวใจขยายโต มีพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อหัวใจ ปริมาณเลือดคั่ง และแรงดันเลือดสูงมากกว่าปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ chest x – ray จะพบหัวใจขยายโตชัดเจน
หัวใจเต้นเร็ว เป็นกลไกการชดเชยเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดที่สูบฉีดไปให้เพียงพอกับความต้องการของเนื้อเยื่อร่างกาย ผลจากหัวใจสูบเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนปลายไม่พอ ทำให้ชีพจรปลายมือ ปลายเท้า จะเบาลง แขนขาเย็นชื้น ผิวหนังเป็นสีเทา ๆ หรือซีด
ระบบหายใจจะทำงานหนัก ปอดบวมน้ำ มีหายใจเร็วหรือขัด ฟังปอดได้ยินเสียง crepitation หอบ ไอเรื้อรัง ปอดบวมบ่อยๆ ถ้ามีอาการมากขึ้น จะเกิดหายใจขัด ปีกจมูกบานและเขียวได้ หัวใจเต้นแรง เหนื่อยง่าย เด็กเล็กจะหายใจแรง
เหงื่อออก บ่งบอกว่ามีอัตราเพิ่มของการเผาผลาญ และเพิ่มการทำงานของระบบประสาท
อัตโนมัติส่งผลให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้นและหัวใจวายได้
ปัสสาวะน้อยลง บวม เลือดไปเลี้ยงไตได้น้อย เส้นเลือดตีบแคบ น้ำและเกลือคั่ง ทำให้น้ำ
หนักเพิ่มขึ้น หนังตาบวม หน้าบวม มือและเท้าบวม หรือบวมทั้งตัว
ตับโต เลือดคั่งในตับ หัวใจซีกขวามีแรงดันเลือดสูง จะเห็นเส้นเลือดดำที่คอโป่งตึง
การเจริญเติบโตชะลอลง หรือล้มเหลว เลี้ยงไม่โต เนื่องจากมีปัญหาในการดูดนม เด็กมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
ความทนทานในการทำกิจกรรมลดลง เด็กจะหลับเป็นส่วนใหญ่
อาการและอาการแสดง
เด็กทารก
จะหายใจแรงและเร็วกว่าเด็กปกติอื่นๆ ดื่มนมได้น้อย เหนื่อยมากขึ้นเวลาดื่ม น้ำหนักขึ้นน้อย เลี้ยงไม่ค่อยโต มีประวัติติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างบ่อยๆ
เด็กโต
พบว่าเหนื่อยง่าย เหนื่อยเวลาเล่น เล่นไม่ได้เท่าเพื่อน functional class เลวลง บวมบริเวณขา บางรายอาจมีท้องโต (จากภาวะascities) ต้องนอนหนุนหมอนสูง (Orthopnea) ลุกขึ้นมาหอบเหนื่อยตอนกลางคืน (Paroxysmal nocturnal dyspnea)
การรักษา
การเพิ่มแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดการทำงานของหัวใจและเพื่อลดการคั่งของเลือดในระบบหลอดเลือดดำ (venous congestion
การดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน
ระวังอย่าให้เกิดภาวะขาดน้ำเพราะมีเลือดข้นอยู่แล้ว จะทำให้มีโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันได้ง่าย
ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ต้องให้ได้รับตามเกณฑ์อายุ
การพยาบาล
ให้พักผ่อน โดยเฉพาะจัดให้นอน Fowler’s position โดยให้ศีรษะสูง 30 องศา หรือในเด็กเล็กให้นอนใน cardiac chair เพื่อลดการทำงานของหัวใจและเนื้อเยื่อต่างๆ ลดความต้องการออกซิเจน
ให้ยาขับปัสสาวะ ลดปริมาณของเหลวในร่างกาย ป้องกันการเกิดปอดบวมน้ำและน้ำคั่งในร่างกายส่วนอื่นๆ ผลข้างเคียงของยาคือ Hypokalemia และ Metabolic acidosis
จำกัดเกลือในอาหาร โดยเฉพาะในรายที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรให้เกลือน้อยกว่า 1 กรัม /วัน
จำกัดน้ำดื่มและน้ำเข้าสู่ร่างกายทุกทางเพื่อลดเลือดที่จะไหลเวียนเข้าสู่หัวใจ และเป็นการลดความต้องการออกซิเจนของหัวใจ
check serum electrolyte เพราะยาขับปัสสาวะทำให้เกิดโปตัสเซียมและคลอไรด์ต่ำ และบอกถึงภาวะ Digitalis intoxication
ให้ยา Digitalis เพื่อเป็นการเพิ่มแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ cardiac output เพิ่มขึ้น
ให้ยาขยายหลอดเลือด ลดการบีบตัวของหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ดี และช่วยลดอาการบวม
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อโรคในปาก เช่น ฟันผุ ทอนซิลอักเสบ
เกิดจากเชื้อโรคจากฝี โรคในลำไส้หรือทางเดินปัสสาวะ
ในเด็กที่เป็นโรคหัวใจชนิดเขียว ต้องระวังอย่าให้เกิดภาวะขาดน้ำเพราะมีเลือดข้นอยู่แล้ว จะทำให้มีโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันได้ง่าย
การติดเชื้อโรคอื่นๆ
การวินิจฉัย
การตรวจเลือด มีการตรวจระดับสารเคมีในเลือด (N-terminal pro-B-type Natriuretic Peptide: NT-proBNP) ที่ช่วยในการระบุภาวะหัวใจวายได้ง่ายขึ้น
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง(Echocardiogram), Chest X-ray
หายใจเหนื่อยนอนราบไม่ได้ไอ เสมหะเป้นฟองสีชมพู
หลอดเลือดที่คอโปงตึง ตับโต บวส่วยปลาย หรือทั่วทั้งตัว
นางสาวธิติยา กิติลาโภ รหัส 621001039 ชั้นปีที่ 3