Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด (Transient Tachypnea of the…
ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด (Transient Tachypnea of the Newborn : TTNB)
ความหมาย
ภาวะที่มีการหายใจลําบากในระยะแรกเกิดที่ปรากฏอาการภายหลัง คลอดทันที หรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด เกิดจากมีน้ำเหลืออยู่ในปอดมากกว่า
ปกติทําให้ใช้เวลา ดูดซึมออกจากปอดนานขึ้นจึงทําให้ทารกมีอาการหายใจลําบาก
พยาธิสรีรวิทยา
มีสารน้ำสะสมอยู่ในถุงลมปอดและในเนื้อเยื่อนอกถุงลมปอด (extra-alveolar interstitium)
หลอดลมบีบเค้นอย่างรุนแรง (compress)
อุดกั้นทางเดินหายใจ
อากาศถูกกักและปอดมีการขยายตัวมากเกินไป เลือดขาดออกซิเจนจากการที่ถุงลมมีการกําซาบ (perfusion)
การระบายก๊าซออก (ventilation) ไม่เพียงพอ
คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง
การประเมิน
Apgar score
Appearance (ลักษณะสีผิว)
ถ้าผิวสีเขียวคล้ำทั่วร่างกาย ให้ 0 คะแนน
ถ้าเขียวปลายมือปลายเท้า ให้ 1 คะแนน
ถ้าผิวสีชมพูทั้งตัว ให้ 2 คะแนน
Pulse (อัตราการเต้นของหัวใจ)
ถ้าไม่มีชีพจร ให้ 0 คะแนน
ถ้ามีน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 1 คะแนน
ถ้ามีมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 2 คะแนน
Grimace (สีหน้าจากการกระตุ้น)
ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้ 0 คะแนน
แสยะปาก ร้องไห้เบาๆ ให้ 1 คะแนน
มีไอจาม หรือร้องไห้เสียงดัง ให้ 2 คะแนน
Activity (การเคลื่อนไหวของทารก)
ถ้าอ่อนปวกเปียก ให้ 0 คะแนน
ถ้าแขนขางอเล็กน้อย ให้ 1 คะแนน
ถ้าแข็งแรงเคลื่อนไหวได้ดี ให้ 2 คะแนน
Respiration (ความพยายามในการหายใจ)
ไม่หายใจ ให้ 0 คะแนน
หายใจช้า/ไม่สม่ำเสมอ ให้ 1 คะแนน
หายใจดี ร้องเสียงดัง ให้ 2 คะแนน
กระประเมิน
ภาวะปกติ (no asphyxia) มีคะแนนรวม 8-10
ภาวะที่ทารกถูกกดการหายใจเล็กน้อย (mild asphyxia) มีคะแนนรวม 5-7
ภาวะที่ทารกถูกกดการหายใจปานกลาง (moderate asphyxia) มีคะแนนรวม 3-4
ภาวะที่ทารกถูกกดการหายใจรุนแรง (severe asphyxia) มีคะแนนรวม 0-2
อาการและอาการแสดง
ในระยะเเรกมีคะแนนแอพการ์เท่ากับหรือต่ำกว่า 5 อาการหายใจเร็ว (tachypnea) จะเกิดขึ้นภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอดโดยในชั่วโมงแรกอาจมีอัตราการหายใจปกติ (40-60 ครั้งต่อนาที) และอัตราการหายใจจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
ใน 4-6 ชั่วโมงต่อมา อัตราการหายใจสูงสุด อาจสูงได้ถึง 162 ครั้งต่อนาที จะพบเมื่ออายุ 6-36 ชั่วโมง แล้วอัตราการหายใจจะค่อยๆลดลงสู่ปกติ เมื่ออายุ 48-72 ชั่วโมง
รายที่อาการรุนแรงอาจใช้เวลาถึง 7 วันกว่าจะกลับมาเป็นปกติ
ทารกอาจมีอาการเขียวเล็กน้อย หายใจปีกจมูกบาน (nasal flaring) มี การดึงรั้ง (retraction) ของช่องซี่โครงหรือใต้ชายโครง หน้าอกปุ่มขณะหายใจเข้าและมีเสียง gunting ขณะหายใจออก และอาจพบทรวงอกโปร่งกว่าปกติ (hyperinflation)
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะความดันในปอดสูง
เกิดความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด
ductus arteriosus ไม่ปิด เกิดการไหลลัดของเลือดจากหัวใจห้องขวาไปยังห้องซ้ายโดยตรง โดยไม่ผ่านปอด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีน้ำเหลืออยู่ในปอดมากกว่าปกติ
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำและสารอาหารเนื่องจากไม่สามารถรับอาหารทางปากได้จากภาวะหายใจเร็ว
มีภาวะตัวเหลือง
ทารกมีความบกพร่องปฏิสัมพันธ์กับบิดามารดาเนื่องจากถูกแยกรักษาที่หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด ระยะวิกฤตในช่วงแรก
บิดามารดาและญาติวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของทารก
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
เริ่มมีอาการหายใจเร็วภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมงหลังคลอด
อาการหายใจเร็วคงอยู่นานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
ทารกไม่สามารถดูดนมได้
ไม่มีสาเหตุความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจมาก่อน
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดจะคงอยู่ ประมาณ 48-72 ชั่วโมง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
สังเกตอาการอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนการส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยตามแนวทางของกฎ 2 ชั่วโมง (Rule of 2 hr.)
จำนวนเม็ดเลือด (complete blood count)
หาสาเหตุของการเกิดภาวะหายใจเร็วของทารก
chest x-ray
ปอดมีปริมาตรเพิ่มขึ้น (hyperaeration)
พบเป็นฝ้าขาวหรือจุดขาวเล็ก ๆ กระจายทั่วไปในปอด
กระบังลมซีกขวาอยู่ต่ำกว่าซี่โครงซี่ที่ 8 และ เส้นผ่าศูนย์กลางหน้าหลัง (A-P diameter) ของทรวงอกเพิ่มขึ้น
เห็นแท่งอากาศในทางเดินหายใจ (air bronchogram) หลอดเลือดที่ขั้วปอดเด่นชัดขึ้น (prominent vascular marking)
hemoculture
อาการรุนแรงหรือคงอยู่หลายชั่วโมง ทำการส่งตรวจการติดเชื้อในกระแสเลือด
arterial blood gas
การวิเคราะห์ก๊าซในเลือดพบภาวะกรดจากการ
หายใจ (respiratory acidosis) คาร์บอนไดออกไซด์คั่งและเลือดขาดออกซิเจน
เกณฑ์การวินิจฉัย (สุรีพร ศรีโพธิ์ ,2562)
ก่อนการวินิจฉัยต้องทำการสังเกตอาการอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนการส่งตรวจ เพราะการหายใจเร็วในทารกแรกเกิดสามารถพบได้ในระยะของการปรับตัวและเมื่อสังเกตอาการครบ 2 ชั่วโมงแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรพิจารณาส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัย
ส่งตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (complete blood count)
ส่งตรวจ chest x-ray เพื่อประกอบการวินิจฉัย
หากมีอาการรุนแรงหรือคงอยู่หลายชั่วโมง ควรทำการส่งตรวจ hemoculture
เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
คะแนน Apgar ต่ำ ในนาทีที่ 1 และ 5 นาที
เริ่มมีอาการหายใจเร็วภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมงหลังคลอด
อาการหายใจเร็วคงอยู่นานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
ไม่สามารถดูดนมได้
การตรวจ chest x-ray พบน้ำคั่งบริเวณปอดและเยื่อหุ้มปอด
ไม่มีสาเหตุความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจมาก่อน
แนวทางการรักษา
ในรายที่มีภาวะความดันในปอดสูงอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (extracorporeal membrane oxygenator: ECMO)
ให้ออกซิเจนความเข้มข้นตั้งแต่ 40% ขึ้นไปซึ่งทั่วไปให้ออกซิเจน canular หรือออกซิเจน box บางรายอาจต้องใช้ออกซิเจนแรงดันบวก (continuous positive airway pressure) หรือใส่ท่อช่วยหายใจ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของกุมารเเพทย์
ในรายที่อาการคงอยู่นานเกิน 48 ชั่วโมงขึ้นไปควรได้รับการตรวจการติดเชื้อของปอดและให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันปอดอักเสบ
การพยาบาล
1.ก่อนการคลอดลำตัวทารก ท่าการดูดเสมหะในทางเดินหายใจด้วยลูกสูบยางให้ทางเดินหายใจโล่งเพื่อช่วยส่งเสริมการหายใจครั้งแรกของทารกแรกเกิด
2.ส่งเสริมการหายใจของทารกแรกเกิด โดยใช้ลูกสูบยางดูดเสมหะในปากและจมูกในระยะแรกคลอดก่อนการกระตุ้นให้ทารกร้องไห้ และให้การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำโดยให้การพยาบาลใต้ radiant warmer รีบเช็ดตัวให้แห้งและห่อตัวทารกให้อบอุ่นซึ่งช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจได้
3.ระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมง ให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดในรายที่มีอาการหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิด โดยเฉพาะลักษณะการหายใจและระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (O2 saturations) ควรติดตามอย่างต่อเนื่อง
5.ในรายที่พบว่ามีอาการหายใจเร็วชั่วคราวเกิดขึ้น ให้ออกซิเจนที่มีระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 40% ขึ้นไปตามแผนการรักษา เพื่อช่วยส่งเสริมการดูดกลับของสารน้ำในปอดส่งเสริมการปรับตัวของระบบหายใจและระบบไหลเวียน
6.รายที่มีอาการรุนแรง (อัตราการหายใจมากกว่า 80 ครั้ง / นาที) ควรให้งดดูดนม และให้สารละลายทางหลอดเลือดดำชนิด 10% DW ในขนาด 60-80 มล. / กก. / วัน ตามแผนการรักษา
4.สังเกตอาการครบ 2 ชั่วโมงร่วมกับให้การดูแลแบบประคับประคองแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษเพื่อประกอบการวินิจฉัยภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิดและให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจตามแผนการรักษา
ส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวไปยังหออภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) เพื่อให้การดูแลป้องกันและเฝ้าระวังภาวะหายใจลำบากและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จนกว่าอาการจะคงที่
8.ทารกแรกเกิดจำเป็นต้องได้รับการดูแลและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ประเมินอัตราการหายใจ ลักษณะผิดปกติของการหายใจ ควรมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงของมารดาและทารกในครรภ์ต่อการเกิดภาวะหายใจเร็วของทารกแรกเกิดตั้งแต่ระยะก่อนคลอด ในการเฝ้าระวังภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิด (สุรีพร ศรีโพธิ์ ,2562)
ปัจจัยเสี่ยง (สุรีพร ศรีโพธิ์ ,2562)
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
การคลอดก่อนกำหนดในระยะท้าย (late preterm)
ทารกเกิดก่อนกําหนดช่วงอายุ 34+7 ถึง 36+6 wk
มีน้ําหนักต้งแต่ ั 1,500 ถึง 2,500 กรัม
การผ่าตัดคลอด (cesarean section)
โรคหอบหืดในมารดา (maternal asthma)
ภาวะเบาหวานในขณะตั้งครรภ์และทารกตัวโต (gestational diabetes mellitus and macrosomia)
ความผิดปกติทางพันธุกรรมเกี่ยวกับการทำงานของ ion-channel
ทารกมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
อาหารหายใจเร็ว (tachypnea) มีอัตราการหายใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที (อัตราการหายใจปกติในทารกแรกเกิด คือ 40-60 ครั้ง/นาที)
ความผิดปกติอื่นๆ ของการหายใจร่วมด้วย เช่น หายใจออกเสียงดัง (expiratory grunting) ปีกจมูกบาน (nasal flaring) และอกบุ๋ม (retraction)
สาเหตุ
ทารกไม่สามารถขับน้ำที่อยู่ภายในปอดออกมาได้หมด ทำให้การหายใจในระยะแรกเกิดไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การคลอดก่อนกำหนด (สุรีพร ศรีโพธิ์ ,2562)
ทำให้
เกิด