Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไข้เลือดออก - Coggle Diagram
โรคไข้เลือดออก
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล 2
-
-
เกณฑ์ประเมินผล
- ดื่มน้ำ/น้ำผลไม้/น้ำผสมผงเกลือแร่ ได้วันละ 6-8 แก้ว
- รับประทานอาหารได้หมดทุกมื้อ ไม่มีอาการอาเจียน
- น้ำหนักตัวไม่ลดลง/น้ำหนักเพิ่ม
-
กิจกรรมการพยาบาล 1
- เช็ดตัวลดไข้ โดยใช้น้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น
- ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ตามแผนการรักษา ซึ่งมักเป็นพาราเซตามอล
-
- พยายามกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ โดยให้ดื่มครั้งละน้อย ๆ ชนิดของน้ำตามที่ผู้ป่วยชอบ เช่น น้ำผลไม้เย็น ๆ น้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS) การดื่มน้ำผลไม้เย็น ๆ จะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน การได้น้ำที่เพียงพอจะช่วยระบายวามร้อนออกจากร่างกาย ผู้ป่วยสดชื่นและสุขสบายขึ้น
- จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเต็มที่ ลดการเผาผลาญ และการใช้พลังงานของร่างกาย
- ประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามประเมินอุณหภูมิของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปจากผลของพยาธิสรีรภาพของโรค และจากผลการรักษาพยาบาล
- แนะนำบิดามารดาให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ เช่น การเช็ดตัวลดไข้
กิจกรรมการพยาบาล 2
- ดูแลความสะอาดปากฟัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารมากขึ้น
- ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย และเป็นอาหารที่ผู้ป่วยชอบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานได้มากขึ้น
- ดูแลให้ดื่มน้ำผลไม้ที่ชอบ หรือน้ำอัดลมที่ไม่มีสี เช่น ไสปรท์หรือ 7 –up
ควรใส่เกลือเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การดื่มน้ำอัดลมไม่มีสีจะช่วยให้สังเกตอาการของการมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ง่าย
หรือน้ำอัดลมใส่เกลือจะป้องกันการเกิดกรดในกระเพาะอาหาร เพราะกรดทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองและมีเลือดออกได้ง่าย
ควรดูแลให้ดื่มน้ำเหล่านี้ครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ จะทำให้ได้ปริมาณมากและเพียงพอ
- ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน รับประทานอาหารและน้ำได้น้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกจากร่างกายใน 24 ชั่วโมง
-
- แนะนำบิดามารดาให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับสารน้ำ สารอาหารอย่างเพียงพอ
เช่น เตรียมน้ำดื่มต่างๆ และกระตุ้นให้ดื่มเป็นระยะ ๆ ช่วยและร่วมมือในการตวงน้ำดื่ม และตวงปัสสาวะ เป็นต้น