Coggle requires JavaScript to display documents.
อธิบายข้อมูลเหตุผลความจำเป็นในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ พร้อมบอกวิธีการปฏิบัติตัวระยะเวลาที่ใช้และวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจแก่ผู้ป่วยและญาติ
ประเมินระดับความรู้สึกตัว สัญญาณชีพและความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้ว และดูแลดูดเสมหะให้ทางเดินหายใจโล่งก่อนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ
เฝ้าอยู่ข้างเตียงตลอดเวลา ขณะเริ่มต้นการหย่าเครื่องช่วยหายใจ อย่างน้อยในช่วง 15 นาทีแรก เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดมั่นใจ
ระยะเริ่มการหย่าเครื่องช่วยหายใจใหม่ๆ ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ ลักษณะการหายใจ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วทุก 5-15 นาที ต่อมาทุก 15 นาที- 30 นาที และเมื่ออาการคงที่ ปรับเป็นวัดทุก 1 ชั่วโมง และสังเกตอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะขาดออกซิเจน เช่น อาการหายใจหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ซีดเขียว เป็นต้น ถ้ามีความผิดปกติ รีบรายงานแพทย์ทันที
ประเมินเสียงลมในปอดและอาการของการมีทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นจากภาวะสายเสียง (Vocal cord) บวม เนื่องจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
ตรวจวัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย ทุก 4 ชั่วโมง ถ้ามีไข้ อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38 องศาเซลเซียส เช็ดตัวลดไข้ เพื่อช่วยให้ความร้อนออกจากร่างกาย
ดูแลให้ยาลดไข้ ตามแผนการรักษาของแพทย์ และประเมินผลหลังเช็ดตัวลดไข้ 30 นาที
สังเกตลักษณะ สี กลิ่นของเสมหะ ส่งตรวจ sputum gram stain, AFB, C/S รังสีทรวงอก พร้อมทั้งติดตามผลการตรวจ
ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจซ้ำ
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ ตามแผนการรักษาของแพทย์และสังเกตผลข้างเคียงจากการได้รับยา
ดูแลทำความสะอาดปากฟันบ่อยๆ หรือแปรงฟันให้สะอาด ดูแลให้อาหารทางสายยางอย่างถูกวิธี
ล้างมืออย่างถูกวิธีก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
วัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมง จน Stable ต่อจากนั้นประเมินทุก 4 ชั่วโมง และประเมิน O2 Saturation keep มากกว่าหรือเท่ากับ 94 เปอร์เซ็นต์
ดูแลทางเดินหายใจของผู้ป่วยให้โล่ง สะดวก โดยการจัดให้นอนตะแคงหน้า เพื่อให้เสมหะไหลสะดวก ไม่เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจและเตรียม O2 และ Suction ให้พร้อม
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ On ET – tube 8.5 with ventilator machine Mode: CMV ตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาขยายหลอดลม ตามแผนการรักษาของแพทย์
พูดคุยให้กำลังใจผู้ป่วย ดูแลการทำงานของเครื่องช่วยหายใจให้มีประสิทธิภาพ ไม่ให้ท่อช่วยหายใจเลื่อนจากตำแหน่งเดิม ดูแลเครื่องช่วยหายใจไม่ให้หัก หรือพับสาย
ใส่ Oropharygeal air way เพื่อป้องกันไม่ให้กัดท่อช่วยหายใจ
ฟังเสียงปอดว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อประเมินเสมหะ วัด Pressure cuff ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการรั่วของอากาศออกรอบๆ กระเปาะ และติดตามผล ABG ภาพถ่ายรังสีทรวงอก ตามแผนการรักษา
สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น การเลื่อนหลุดของท่อหลอดลมคอ อาการ Pleural effusion, Pneumothorax, และ Cardiac temponade
กระตุ้นและช่วยเหลือผู้ป่วยเปลี่ยนท่านอนทุก 1-2 ชม. จัดให้นอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี และแนะนำให้ผู้ป่วยไอและหายใจลึกๆ (Deep Breathing exercise)
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ-สารอาหาร ตามแผนการรักษา
ประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยการปรับ mode การ setting เครื่องช่วยหายใจ ใหม่เป็น Mode: SIMV และผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ปรับเป็น mode CPAP ตามแผนการรักษา
ผู้ป่วยมีลักษณะการหายใจเกิน (Hypercapnea) เป็นลักษณะการหายใจแรงและผู้ป่วยหลายรายห่อปากในขณะหายใจออกด้วย (Pursed Lip Breathing)