Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์ที่ 2 Dx Hydronephrosis (ภาวะไตบวมน้ำ) - Coggle Diagram
สถานการณ์ที่ 2
Dx Hydronephrosis (ภาวะไตบวมน้ำ)
โจทย์สถานการณ์
หญิงไทยอายุ 42 ปี Dx Hydronephrosis รู้สึกตัวดี On O2 canula 3 L/M
On 5% DSS + KCL 40 mEq/L V drip 80 cc/ hr O2 sat 98%
Na = 131 mEq/L
K = 2.9 mEq/L, Albumin 2.9 g/dL, On NGT ต่อลง Gomco Suction มี Content สี bile เล็กน้อย BP =110/70 mmhg
P = 76 ครั้ง/นาที , R = 20 ครั้ง/ นาที T= 37.7 ° C
ข้อวินิจฉัย
ปัญหาที่ 1 ผู้ป่วยพร่องออกซิเจน เนื่องจากมีของเสียคั่งที่ไต
ข้อมูลสนับสนุน
Objective Data (OD)
O2 sat 98%
Albumin 2.9 g/dL
มีของเสียคั่งที่ไต
Subjective Data (SD)
ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย และหมดแรง
วัตถุประสงศ์
เพื่อให้ผู้ป่วยมีของเสียคั่งร่างกายลดลง และไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่งในร่างกาย
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น เหนื่อย และอ่อนเพลีย และหมดแรง
Albumin เพิ่มมากขึ้นกว่า 2.9 g/dL หรือมีค่า Albumin 3.5 - 5 g/dL
กิจกรรมพยาบาล
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินการทำงานของไตเพื่อหาแนวทางการพยาบาลที่เหมาะสมต่อไป
1.สังเกตอาการของเสียคั่งในร่างกาย ได้แก่ อาการเหนื่อย อ่อนเพลีย และหมดแรง เพื่อประเมินความรุนแรงของเสียคั่งในร่างกาย และให้การรักษาที่เหมาะสม
2.จำกัดน้ำผู้ป่วยไม่เกิน 1000 cc/Day เพื่อป้องการภาวะบวมน้ำจากการที่ไตกรองได้ลดลง
บันทึกน้ำเข้า - ออกร่างกาย ทุก 8 ชั่วโมง เพื่อประเมินความสมดุลน้ำเข้า และออก ตามแผนการรักษา
แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการทำงานของร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับ On O2 canula 3 L/M เพื่อบรรเทาอาการเหนื่อย และอ่อนเพลีย ตามแผนการรักษา
ผลการประเมิน
ผู้ป่วยไม่มีอาการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น เหนื่อย อ่อนเพลีย และหมดแรง
มีค่า Albumin 3.5-5 g/dLที่เป็นปกติ
ปัญหาที่ 2 ผู้ป่วยมีภาวะไม่สมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ร่างกายเนื่องจากไตเสียหน้าที่
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective Data (SD)
ผู้ป่วยมีปัสสาวะไม่สุด และปัสสาวะแสบขัด
Objective Data (OD)
Na : 131 mEq/L
K : 2.9 mEq/L
On 5% DSS + KCL 40 mEq V drip 80 cc/ hr
วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาสมดุลของน้ำ และอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
มีค่า Na เพิ่มมากขึ้นกว่า 131 mEq/L หรือ มีค่า Na 136-145 mEq/L
มีค่า K เพิ่มมากขึ้นกว่า 2.9 mEq/L
หรือ มีค่า K 3.5-5.0 mEq/L
กิจกรรมพยาบาล
วัดสัญญาณชีพโดยประเมินทุกชั่วโมงในระยะแรก และเปลี่ยนเป็นทุกๆ 4 ชั่วโมงเมื่ออาการดีขึ้น เพื่อทำการประเมินตามแผนการรักษา
สังเกตระดับความรู้สึกตัว เช่น อาการอ่อนเพลีย หรือเหนื่อย จากภาวะโซเดียมต่ำ และโพเเทสเซียมต่ำ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้แก่ On 5% DSS + KCL 40 mEq/L V drip 80 cc/ hr เพื่อรักษาสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลด์ในร่างกาย
สังเกตอาการบวมของแขนและขา เพื่อประเมินภาวะน้ำเกินในร่างกาย
ติดตามประเมินผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินภาวะสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์
ผลการประเมิน
ประเมินผล : ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจาก Electrolyte imbalance
ปัญหาที่ 3 ไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้
ข้อมูลสนับสนุน
Objective Data (OD)
BP =110/70 mm.hg.
PR = 76 ครั้ง/นาที
RR = 20 ครั้ง/ นาที
T= 37.7 ° C
Subjective Data (SD)
มีอาการปวดหัว ตัวร้อน และอุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายขึ้น และหายจากอาการเป็นไข้
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการปวดหัว ตัวร้อน และอุณหภูมิร่างกายลดลง (T = 35.4 - 37.4 ° C)
1.อุณหภูมิร่างกายลดลง V/S อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ในวัยผู้ใหญ่) PR = 60-100 ครั้ง/นาที RR = 16-24 ครั้ง/นาที
BP = 80-110/60-75 mm.Hg , T = 35.4 - 37.4 ° C
2.ผู้ป่วยสีหน้าสดชื่นขึ้น นอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ
6-8 ชั่วโมง/วัน
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชม. และเฝ้าระวังอาการผิดปกติ จากไข้สูง เช่น ซึม อ่อนเพลีย ปากแห้ง ชัก หมดสติ
ดูแลให้การรักษาเช็ดตัวเมื่อมีไข้ ด้วยหลัก tepid sponge
ให้ยา Paracetamol ลดไข้ ตามแผนการรักษา คือ
Paracetamol syrup 1 1/2 tsp per oral prn for fever ทุก 4 ชม
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ อากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ได้พักผ่อน และลดการใช้พลังงาน
ผลการประเมิน
ผู้ป่วยมีอุณหภูมิร่างกายลดลงในเกณฑ์ปกติ
(T = 35.4 - 37.4 ° C)
ผู้ป่วยสีหน้าสดชื่น สดใสขึ้น
ไม่มีอาการปวดหัว ตัวร้อน
ปัญหาที่ 4 ผู้ป่วยมีภาวะรับประทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากคลื่นไส้ อาเจียน
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective Data (SD)
ผู้ป่วยอาจมีภาวะการคลื่นไส้ อาเจียน
Objective Data (OD)
On NGT ต่อลง Gomco Suction มี Content สี bile
เล็กน้อย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย และหายจากภาวะการคลื่นไส้ อาเจียน
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มี Content สี bile ติดมากับท่อ NGT ที่ต่อลง
Gomco Suction
ผู้ป่วยไม่มีภาวะการคลื่นไส้ อาเจียน
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชม. และเฝ้าระวังอาการผิดปกติ จากการอาเจียน เพราะการหดรัดตัวของกระเพาะอาหารซึ่งจะบีบเอาอาหารและน้ำย่อยในกระเพาะให้ไหลย้อนขึ้นมาที่ปาก หรืออาจจะไม่มีอาหารออกมาก็ได้ ซึ่งจะมีอาการคลื่นไส้หรือไม่ก็ได้ โดยอาการที่ต้องเฝ้าระวัง เช่น ซึม อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด กลืนอาหารลำบาก อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงและชีพจรเต้นเร็วขึ้น
ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่ย่อยง่าย ควรจะเป็นอาหารที่ไม่มีกลิ่นรุนแรง หรือมีรสจัด เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้มากขึ้น และไม่ควรฝืนรับประทาน หากรู้สึกคลื่นไส้ให้รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อย ๆ
รักษาความสะอาดในช่องปากและทำความ สะอาดช่องปากหลังมีการคลื่นไส้ อาเจียน
จัดพื้นที่สิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน
ผลการประเมิน
ผู้ป่วยไม่มี Content สี bile ติดมากับท่อ NGT ที่ต่อลง Gomco Suction
ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย และหายจากภาวะการคลื่นไส้ อาเจียน
พยาธิสภาพ
ภาวะที่ไตเกิดการขยายของโครงสร้างภายในไตจึงทำให้เห็นว่ามีน้ำไปสะสมอยู่ในไต (hydronephrosis) ทำให้ปัสสาวะไม่สามารถขับออกมาจากกรวยไต หรือท่อไตได้ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกรวยไต และท่อไตภาวะไตบวมน้ำถ้าทิ้งไว้นานๆจะทำให้เนื้อไตถูกทำลาย การทำงานของไตเสื่อมลง สุดท้ายก็จะกลายเป็นไตวายเรื้อรัง
สาเหตุ ภาวะไตบวมน้ำ
สาเหตุหลักๆ ของภาวะไตบวมน้ำ คือ เกิดจากมีการอุดตันเกิดขึ้น เช่น
นิ่วในไต นิ่วในท่อทางเดินปัสสาวะ
การตีบแคบของท่อปัสสาวะ
ก้อนเนื้อที่มากดเบียดท่อปัสสาวะ
โรคต่อมลูกหมาก
ความผิดปกติของโครงสร้างที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือ
เกิดขึ้นภายหลัง
อาการ ภาวะไตบวมน้ำ
ในกรณีที่เกิดจากนิ่วท่อไตก็จะทำให้ปวดท้องแบบบีบๆ (colicky pain) คลื่นไส้ อาเจียน อาจจะมีไข้ร่วมด้วย ถ้ามีการอุดกั้นที่ท่อไตทั้ง 2 ข้าง จะทำให้ปัสสาวะ น้อยลง (oliguria/anuria)
ปวดรุนแรงในบริเวณเอวบนมือข้างหนึ่งคล้ายอาการปวดจุกเสียดไต
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง
ความดันโลหิตสูง
จำนวนปัสสาวะอย่างเห็นได้ชัดจะลดลง
ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาวะออกซิเจนต่ำ
ออกซิเจนในเลือดต่ำ หมายถึง แรงดันของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ หรือวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้น้อยกว่าปกติ
การวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน เพราะสามารถวัดได้จากภายนอก โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ไม่ซับซ้อน วัดโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า pulse oximeter (เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว) ปกติความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดจะอยู่ที่ 96 – 99% ของความอิ่มตัวสูงสุด
เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ เริ่มแรกจะรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นๆ ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลในตัวเอง เพื่อรักษาระดับออกซิเจนไม่ให้ตกก่อน โดยการหายใจที่เร็วขึ้น แรงขึ้น หัวใจก็พยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยจะเต้นเร็วและแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น
หากยังไม่สามารถรักษาระดับออกซิเจนในเลือดให้เพียงพอไว้ได้ ก็จะส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายเริ่มทำงานผิดปกติ นำไปสู่ภาวะของการเกิดของเสียในเซลล์มากขึ้น
ภาวะออกซิเจนสูง
ระดับออกซิเจนสูง ( Hyperoxia ) คือ แรงดันออกซิเจนหรือค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนมากกว่าปกติ
มีระดับที่มีออกซิเจนในเลือดอยู่สูงว่า 100 มิลลิเมตรปรอท หรือมีค่าความอิ่มตัวในเลือดมากกว่า 99% เรียกว่า สภาวะ Hyperoxia หรือ ออกซิเจนเป็นพิษ
เกิดจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณมากหรือการรับออกซิเจนบริสุทธิ์เป็นเวลานาน 24 ชั่วโมงที่ความดัน 760 มิลลิเมตรปรอท
ภาวะระดับออกซิเจนสูงจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ
เกิดการระคายเคือง ไอ เจ็บหน้าอก และส่งผลให้เนื้อเยื่อภายในปอดเกิดการเสื่อม เนื่องจากปอดมีน้ำและเลือดคั่งที่บริเวณเยื่อบุทางเดินอากาศ
ทำให้เยื่อเกิดการอุดตัน ทำให้การแพร่ของก๊าซระหว่างปอดกับเลือดลดลง ความต้านทานในปอดสูงขึ้น ทำให้หายใจลำบากซึ่งจะทำให้เกิดการชักและอาจเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา
Oxygen saturation คือ การวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ซึ่งปกติอยู่ที่ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงปกติในมนุษย์อยู่ที่ 95–100 เปอร์เซ็นต์
ชนิดของออกซิเจน
ความเหมาะสมในการเลือกใช้อุปกรณ์สายให้ออกซิเจนแบบชนิดต่างๆกับเครื่องผลิตออกซิเจน และถังออกซิเจน
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ต้องบำบัดด้วยออกซิเจนแบบใช้ตามบ้าน มักใช้เพียงอุปกรณ์ชนิด Nasal Cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก เพราะภาวะพร่องออกซิเจนมักจะต่ำและไม่รุนแรงมาก
Nasal Cannula หรือสายออกซิเจนแบบผ่านจมูก
คุณลักษณะ
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 1-6 ลิตร/นาที สายเล็กๆ ที่นำออกซิเจนควรอยู่ลึกในจมูกประมาณ 1 ซม. ข้อดีคือผู้ป่วยจะรู้สึกสบายกว่าอุปกรณ์แบบอื่นและมีราคาถูก
ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน
ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ผู้ป่วยได้รับแปรผันตามการหายใจ ถ้าหายใจเร็ว หอบอยู่ สัดส่วนของอากาศปกติก็จะมาก ทำให้ความเข้มข้นลดลง และถ้าเปิดออกซิเจนแรง
จะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูก
Oxygen Mask หรือหน้ากากออกซิเจน
คุณลักษณะ
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 5-8 ลิตร/นาที
การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า
ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน
ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 5 ลิตร/นาที เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย
Oxygen Re breathing Mask with Bag หรือหน้ากากออกซิเจนมีถุง
คุณลักษณะ
ใช้สำหรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6-10 ลิตร/นาที การใช้ต้องครอบให้แนบสนิทกับหน้า สังเกตว่าถุงมีการยุบพอง ตามจังหวะการหายใจของคนไข้
ข้อจำกัดและอาการแทรกซ้อน
ห้ามเปิดออกซิเจน น้อยกว่า 6 ลิตร/นาที เพราะจะทำให้ลมหายใจเดิมค้างในหน้ากาก ผู้ป่วยจะหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย