Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่ติดเชื้อ HIV, นางสาวเมธาพร ขวัญทอง รหัส 621001070 - Coggle…
การพยาบาลเด็กที่ติดเชื้อ HIV
การพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและแพร่กระจายเชื้อ
เป้าหมาย
ไม่มีการติดเชื้อฉวยโอกาสและไม่มีการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับวัคซีนที่เหมาะสมตามอายุของผู้ป่วยเด็ก
ป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ โดยการแยกอุุปกรณืหรือสิ่งของเครื่องใช้
วัดและประเมิน v/s ทุก 4 hr
ให้ยาต้านไวรัสและยาที่เกี่ยวกับการติดเชื้อตามแผนการรักษาของแพทย์
ชั่งน้ำหนักวันละ 2 ครั้งในเด็กโต
ล้างมือก่อนและหลังการพยาบาลทุกครั้ง
สังเกตอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้ออื่นๆทางระบบหายใจและทางเดินอาหาร
ติดตามผลการเจาะ CD4
เกณฑ์การประเมิน
น้ำหนักตัวไม่ลด
จำนวน T helper ไม่ลดลง
ไม่มีอาการแสดงการติดเชื้ออื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ไม่มีคอแดง เจ็บคอ เป็นต้น
v/s ปกติ
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากเบื่ออาหาร เหนื่อย ถ่ายเหลว มีการติดเชื้อราในช่องปาก
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ยาต้านการอักเสบ หรือยาต้านเชื้อราในปากตามแผนการรักษา
บันทึกการให้สารอาหารอย่างละเอียด และสังเกตอาการท้องอืด อาเจียน
ให้สารอาหารอื่นทดแทน หรือสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
บันทึกการถ่ายอุจจาระ ทั้งจำนวนและลักษณะในผู้ป่วยที่ท้องร่วง หรือประเมินลักษณะแผลในปากในรายที่มีการติดเชื้อราในปาก
ทำความสะอาดปากและฟัน ก่อนและหลังอาหาร
เกณฑ์การประเมิน
น้ำหนักตัวไม่ลด รับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้น
อาการถ่ายอุจจาระเหลวลดลงหรือหมดไป การติดเชื้อราในช่องปากหมดไป
เป้าหมาย
ได้รับสารอาหารเพียงพอและเหมาะสมกับสภาพร่างกาย
การรักษา
การเลือกสูตรยาต้านไวรัสในเด็กติดเชื้อเอชไอวี
2 nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) + NNRTI หรือ Boosted PI
2 NRTIs ที่แนะนำเป็นอันดับแรก
เด็กติดเชื้อเอชไอวีอายุ ≤ 12 ปี แนะนำ AZT/3TC หรือ ABC/3TC
เด็กติดเชื้อเอชไอวีอายุ > 12 ปี แนะนำ TDF/3TC
NNRTI หรือ boosted PI ที่แนะนำเป็นอันดับแรก
เด็กติดเชื้อเอชไอวีอายุ < 3 ปี แนะนำให้ใช้ LPV/r
เด็กติดเชื้อเอชไอวีอายุ ≥ 3 ปี แนะนำให้ใช้ EFV
การติดตามผลการรักษา แนะนำให้ตรวจ HIV viral load testing หากพบว่าVL > 1,000 copies/mL ถือว่าการรักษาล้มเหลว ให้หาสาเหตุโดยเฉพาะเรื่องวินัยการกินยา และพิจารณาส่ง HIV drug resistance testing
ปรับปรุงตารางการให้วัคซีนให้กับเด็กติดเชื้อเอชไอวี รวมถึงการให้วัคซีนซ้ำใหม่ในเด็กที่เคยมีภูมิคุ้มกันต่ำ หลังจากที่ได้รับยาต้านไวรัสจนภูมิคุ้มกันดีแล้ว
ความหมาย
การติดเชื้อ HIV เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อ HIV แล้วทำให้ T- helper lymphocyte ถูกทำลายและมีจำนวนลดลง เป็นผลให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อฉวยโอกาส เมื่อผู้ป่วยเด็กมีการติดเชื้อรุนแรงหรือติดเชื้อซ้ำๆ แสดงว่าเริ่มมีอาการเข้าสู่ระยะของโรคเอดส์ โดยอาจมีอาการแสดงช้าหรือเร็วขึ้นกับระดับภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย
การวินิจฉัย
การตรวจ HIV DNA PCR
เด็กที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง
แนะนeให้ตรวจ HIV DNAPCR 3 ครั้ง ที่อายุ 1 เดือน 2 เดือน และ 4 เดือน อย่างไรก็ตามหากผลเลือดเป็นบวกครั้งใดครั้งหนึ่ง แสดงว่า “เด็กน่าจะติดเชื้อเอชไอวี” ให้รีบส่งตรวจ HIV DNA PCR ซ้ำทันทีและเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
หากผลตรวจที่อายุ 1 เดือนเป็นลบสามารถหยุดยาต้านไวรัสที่กินป้องกันได้ หากผลการตรวจ PCR เป็นลบทั้ง 3 ครั้ง ร่วมกับเด็กไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อเอชไอวีให้การวินิจฉัยว่า “เด็กไม่ติดเชื้อเอชไอวี”
เด็กที่มีความเสี่ยงทั่วไปในการติดเชื้อ แนะนำให้ตรวจ HIV DNA PCR 2
หากผลเลือดที่ 1 เดือนเป็นลบ ให้ตรวจ HIV DNA PCR ซ้ำอีกครั้งที่อายุ 2-4เดือน หากผลเป็นลบทั้งสองครั้ง “เด็กน่าจะไม่ติดเชื้อเอชไอวี” ในกรณีที่ผลไม่ตรงกันให้พิจารณาตรวจครั้งที่ 3 ที่อายุ 4 เดือน
ครั้ง ที่อายุ 1 เดือน และ 2-4 เดือน หากผลเลือดที่อายุ 1 เดือนเป็นบวกแสดงว่า “เด็กน่าจะติดเชื้อเอชไอวี” ให้รีบส่งตรวจเลือด HIV DNA PCRซ้ำทันที และอาจพิจารณาเริ่มยาต้านไวรัสเพื่อการรักษาไปก่อน หากผลการตรวจเป็นบวกทั้งสองครั้ง จะสนับสนุนว่าเด็กน่าจะติดเชื้อ และต้องรีบเริ่มให้ยาต้านไวรัสหากยังไม่ได้เริ่ม
การตรวจ anti-HIV เมื่ออายุ 18 เดือน
โดยทั่วไป
กรณีที่ชุดทดสอบ
anti-HIV เป็นชนิดที่ตรวจหาทั้ง antibody และ antigen ต่อเชื้อเอชไอวี(HIV Ag/Ab; 4th generation) ซึ่งมีความไวในการทดสอบสูงมากอาจทำให้การตรวจ antibody เมื่ออายุ 18 เดือนเกิดผลบวกลวงในเด็กที่ไม่ติดเชื้อได้ (บางรายอาจรายงานว่าผลบวกอ่อน หรือ weakly positive)
ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อเอชไอวีแต่ผล antibody เป็นบวกเมื่อ18 เดือนแนะนำให้ตรวจซ้ำ โดยใช้ชุดทดสอบตรวจหา antibody ต่อเชื้อเอชไอวีชนิดที่ตรวจเฉพาะ antibody (3rd generation) หรือนัดตรวจเลือดantibody ซ้ำเมื่อเด็กอายุ 24 เดือน เด็กที่ไม่ติดเชื้อจะต้องมีผล anti-HIVเป็นลบในที่สุด ไม่ว่าจะตรวจด้วยชุดตรวจแบบใด
เด็กที่ติดเชื้อ
ในเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีผลยืนยันการติดเชื้อโดย HIV DNA PCR เป็นบวก 2 ครั้งและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตร 3 ตัวตั้งแต่อายุน้อยมาก ผลตรวจ anti-HIV เมื่ออายุ 18 เดือนมีโอกาสเป็นลบได้ทั้งๆ ที่ติดเชื้อ
เนื่องจากการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่รวดเร็ว จะทำให้มีจำนวนเชื้อเอชไอวีในร่างกายเด็กในปริมาณน้อย ทำให้อาจจะไม่มากพอที่จะกระตุ้นให้ทารกสร้าง anti-HIV ได้ ในกรณีที่พบผลการตรวจเลือดเป็นลบในเด็กที่ได้รับยาต้านไวรัสเช่นนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเสมอไม่ควรหยุดยาต้านไวรัสเอง เพราะการหยุดยาในเด็กติดเชื้อที่มีผล anti-HIV เป็นลบลวงอาจเกิดผลเสียต่อผู้ป่วยได
อาการและอาการแสดง
กลุ่มอาการเจ็บป่วยรวดเร็วและรุุนแรง
อาจมีอาการตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน
ได้แก่ เลี้ยงไม่โต มีเชื้อราในช่องปาก อุจจาระร่วงเรื้อรัง ปอดอักเสบ เป็นต้น
ทารกกลุ่มนี้ได้รับเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และไวรัสทำลายการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกัน เด็กมักเสียชีวิตภายใน 1-2 ปีแรก จากภาวะแทรกซ้อนทางปอด
กลุ่มอาการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป
ความรุนแรงของโรคน้อยกว่า มักปรากฏอาการเมื่อเด็กอายุหลายปี
ได้แก่ น้ำหนักตัวน้อย ตับม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ปอดอักเสบ ต่อมน้ำลายอักเสบ ผื่นคันบริเวณผิวหนัง เป็นต้น
สาเหตุ
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
การรับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีโอกาสรับเชื้อได้ 3 ช่วง คือ ขณะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และ กินนมแม่
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มของผู้ที่เสพสารเสพติด หรือฉีดยาเข้าเส้น
พยาธิสภาพ
เชื้อ HIV มีความสามารถในการติดเชื้อที่ T helper cell (Cd 4+) ได้ดีกว่าเซลล์ชนิดอื่น โดยอาศัยการจับกันระหว่าง GP 120 ขอบเปลือกนอกของไวรัสกับ CD4 mollecule ที่อยู่บนผิวของT helper cell แบ่งตัวแล้วแยกตัวเป็นเซลล์ HIV ใหม่ออกมาจาก T helper cell และT helper cell ก็จะถูกทำลายไป อีกกลไกหนึ่ง คือ แอนติบอดี้ต่อเชื้อ HIV จะจับเชื้อ HIV แล้ว Antibody- coated HIV จะถูกphagocyte จับกินเข้าไปที่เชื้อ HIV ไม่ถูกทำลายใน phagocyte แต่จะอาศัยอยู่ใน phagocyte
นางสาวเมธาพร ขวัญทอง รหัส 621001070