Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 พยาธิสรีรภาพของภาวะผิดปกติระบบหัวใจและหลอดเลือด, unnamed (2),…
บทที่ 12 พยาธิสรีรภาพของภาวะผิดปกติระบบหัวใจและหลอดเลือด
คำศัพท์ที่ควรทราบ
Afterload = แรงต้านการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย
Atherosclerosis = การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
Congestion = การคั่งของน้ำหรือเลือดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
Embolus = ลิ่มเลือดฟองอากาศไขมันที่ลอยอยู่ในหลอดเลือด
Infarction = การตายของเนื้อเยื่อจากการขาดออกซิเจนการได้รับเลือดไป
Ischemia = เลี้ยงไม่เพียงพอ
Orthopnea = เหนื่อยนอนราบไม่ได้
Paroxysmal nocturnal dyspnea = หายใจลำบากขณะนอนหลับเมื่อนอนราบปกติ
Plaque = แผ่นนูนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของอวัยวะต่างๆ
Preload = แรงดันในหัวใจห้องล่างซ้ายเมื่อหัวใจคลายตัวเต็มที่ญ
Septum = ผนังกัน
Stenosis = การตีบแคบของส่วนที่เป็นท่อหรือรู g
Vaicose = การพองตัวและคดงอ
Aneurysm = การป่งพองของผนังหลอดเลือดคำศัพท์ที่ควรทราบ
ส่วนประกอบของหัวใจ
หัวใจของเราประกอบด้วย 4 ห้อง ห้องบนเรียก Atrium มีทั้งซ้ายและขวา ส่วนห้องล่างเรียก Ventricle ซึ่งก็มีทั้งซ้ายและขวา ระหว่างหัวใจห้องข้างบนและล่างจะมีลิ้นหัวใจกั้นอยู่
หน้าที่ของหัวใจ
สูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย
ลิ้นหัวใจประกอบด้วย
Tricuspid Valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวาและล่างขวา
Mitral Valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย
Pulmonary or Pulmonic Valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวากับหลอดเลือดดำ
Aortic Valve กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือด Aorta
การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตประกอบด้วย
...หัวใจ (heart)
1.หัวใจห้องบนขวาจะรับเลือดจากหลอดเลือดดำซูพีเรียเวนาคาวา(Superior Venacava) ซึ่งรับเลือดมาจากศีรษะเเละเเขน เเละรับเลือดจากหลอดเลือดดำอินฟีเรยเวนาคาวา(Inferior Venacava)ซึ่งรับเลือดมาจากลำตัวเเละขาเข้าสู้หัวใจ
2.หัวใจห้องบนขวาจะบีบตัว ทำให้เลือดไหลเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวาผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสพิด
3.หัวใจห้องล่างขวาจะบีบตัว เลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวในพัลโมนารีเซมิลูนาร์ ทำให้เลือดไหลเข้าสู้หลอดเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี
4.เลือดจะถูกส่งไปยังปอดเพื่อเเลกเปลี่ยนเเก๊ส ทำให้เลือดมีเเก๊สออกซิเจนสูงขึ้น
5.เลือดที่มีเเก๊สออกซิเจนสูง จะออกจากปอดเเล้วไหลกลับสูู่หัวใจทางหลอดเลือดพัลโมนารีเวน เข้าสู่หัวใจห้อง
บนซ้าย เมื่อหัวใจห้องบนซ้ายบีบตัวเลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวใจไบคัสพิดเข้าสู่หัวใจห้องล่างซ้าย
6.เมื่อหัวใจห้องล่างซ่ายเกิดการบีบตัวทำให้เลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติกเซมิลูนาร์ ทำให้เลือดไหลเข้าสู้หลอดเลือดเอออร์ตา(Aorta) ซึ่งเป็นหลอดเลือดเเดงใหญ่ เลือดที่มีปริมาณเเก๊สออกซิเจนสูงจะไหลไปยังส่วนต่างๆของร่ากาย
...หลอดเลือดแดง (artery)
ผนังของหลอดเลือดแดงมีความหนากว่าหลอกเลือดดำเพราะในหลอดเลือดแดงจะมีแรงดันมากกว่า ป้องกันหลอดเลือดแตก
...หลอดเลือดฝอย (blood capillary)
จะอยู่ล้อมรอบถุงลม เป็นจุดที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกสิเจนและคาร์บอนไดออกไซค์
...หลอดเลือดดำ (vein)
หลอดเลือดดำจะมีลิ้นเปิด ปิดและมีผนังที่บางกว่าหลอดเลือดแดง เพราะมีแรงดันน้อยกว่าหลอดเลือดแดง
การฟังเสียงหัวใจ
การจับชีพจร
1.1) Temporal Artery ที่บริเวณขมับ
1.2) External Carotid Artery บริเวณข้างคอ
1.3) Internal Maxillary Artery บริเวณหน้าติ่งหู
1.4) Facial Artery บริเวณมุมขากรรไกรล่าง
1.5) Brachial Artery บริเวณข้อพับด้านใน
1.6) Radial Artery บริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นตำแหน่งที่นิยมจับชีพจร
1.7) Femoral Artery บริเวณขาหนีบตรงกลาง
1.8) Popliteal Artery บริเวณข้อพับใต้หัวเข่า ถ้างอเข่าจะสามารถคลำได้ง่ายอยู่ตรงกลางๆข้อพับเข่า
1.9) Dorsalis Pedis Artery บริเวณหลังเท้าระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้
1.10)Posterior Tibialis Artery บริเวณด้านหลังของตาตุ่มด้านใน
การวัดความดันโลหิต
ความดันโลหิต
คือ ค่าแรงดันเลือดที่วัดได้ ณ หลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งตำแหน่งที่ใช้วัดกันเป็นมาตรฐาน จะเป็นที่ต้นแขน สูงกว่าข้อพับบริเวณข้อศอกเล็กน้อย
ความดันโลหิตจะสูงหรือต่ำ มีปัจจัยที่สำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ การบีบตัวของหัวใจ สภาพของหลอดเลือด และปริมาณของเลือด
ค่าความดันโลหิต เวลาวัดจะมีตัวเลข 2 ค่า เรียกง่ายๆว่าเป็น ความดันตัวบน และความดันตัวล่าง ซึ่งความดันตัวบนมักเป็นผลจากการบีบตัวของหัวใจ ร่วมกับสภาพของหลอดเลือด แต่ความดันตัวล่าง จะขึ้นกับความยืดหยุ่นของหลอดเลือด
ค่าความดันโลหิตแต่ละช่วงวัย
ค่าปกติของความดันโลหิต โดยเฉลี่ยคือประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่อย่างไรก็ตามความดันโลหิตมีความแตกต่างกันในแต่ละในช่วงวัยตามตาราง
ความผิดปกติของหลอดเลือด
ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดแดงและโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ซึ่งคล้ายกับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย หรืออาการหลอดเลือดในสมองตีบตัน และโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองที่ทำให้เป็นอัมพาต เพียงแต่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นความผิดปกติที่เกิดกับหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่และโรคหลอดเลือด
สาเหตุของโรค
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
อายุที่มากขึ้น
ความอ้วน
ความดันโลหิตสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูง
เบาหวาน
การสูบบุหรี่
ขาดการออกกำลังกาย
อวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ
...หัวใจ
...สมอง
...ไต
....ลำไส้เล็ก
....lower extremities ซึ่งเกิดพยาธิสภาพดังนี้
: Abdominal aorta / Terminal aorta
: เลือดไปเลี้ยงส่วนของ Lower extremities น้อยลงอาจจะพบ gangrene ที่นิ้วหัวแม่เท้า Coronary artery
: Angina pectoris, Myocardial infarction Carotid และ Vertebral artery
: CVA หรือ Stroke Renal artery
: Hypertension Renal ischemia Mesenteric artery
: Intestinal Ischemia, Peritonitis
ความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ
ความดันโลหิตสูง
ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันแพทย์วินิจฉัยว่าในภาวะปกติผู้ที่มีความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม เช่น มีโอกาสเป็นโรคหัวใจตีบตัน 3-4เท่า และโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน 7 เท่าของผู้ที่มีความดันปกติ
ชนิดของโรคความดันโลหิตสูง
ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ กรรมพันธุ์หรือสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยส่งเสริม เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน ทานอาหารเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครียด เป็นต้น
ชนิดที่ทราบสาเหตุ เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นผลมาจาก ที่เป็นโรคอื่นมาก่อนและมักต้องรักษาโรคที่เป็นสาเหตุด้วย เช่น เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบในส่วนของช่องอก รวมถึงผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
กรรมพันธุ์ จากการสำรวจความถี่ในการเกิดโรค พบว่า ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่า
เพศและอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีข้อมูลบ่งบอกว่า พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงก่อนอายุ 50 ปี แต่เมื่ออายุเลย 50 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย
ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า (Orthostatic or postural hypotension)
เป็นความดันโลหิตต่ำในรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปลี่ยนตำแหน่ง จากการนั่งหรือนอนเป็นยืนขึ้น อาการที่ชัดเจนมากที่สุดคือ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หรือแม้กระทั่งเป็นลม
สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
ภาวะเกี่ยวกับหัวใจ
ความผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท
อาการทั่วไปของภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า ได้แก่
รู้สึกปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะหลังจากยืนขึ้น
การมองเห็นที่ลดลง
อ่อนเพลีย
เป็นลม
มึนงง
คลื่นไส้
โรคหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย
มีอาการอย่างไร
อาการที่สำคัญของภาวะหัวใจขาดเลือด คือ
อาการเจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะออกแรง พักแล้วดีขึ้นโดยจะรู้สึกแน่นๆ
อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก หรือค่อนมาทางซ้าย เจ็บลึกๆ หายใจไม่สะดวก
คลื่นไส้ อาเจียน
เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด
บางรายนอกจากแน่นหน้าอกแล้ว ยังอาจเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ แขน หรือ คอ
การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดประกอบด้วย
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่สำคัญ
การรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรง
สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด
เพศชาย หรือเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน โดยเพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า
สูบบุหรี่
ไขมันในเลือดสูง (โคเลสเตอรอลรวม หรือโคเลสเตอรอลแอล ดี แอล ชนิดร้าย)
ไขมันโคเลสเตอรอล เอช ดีแอล (ชนิดดี) ต่ำ
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
อ้วนและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
มีบุคลิกภาพเจ้าอารมณ์ โกรธ โมโหง่าย เครียดเป็นประจำ
มีประวัติโรคหัวใจขาดเลือดของคนในครอบครัว
ลิ้นหัวใจพิการ
ลิ้นหัวใจ (heart valve) มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ ลิ้นหัวใจที่ผิดปกติจะไม่สามารถควบคุมกระแสเลือดให้ไหลไปทางเดียว ไปข้างหน้าได้อย่างสะดวก เช่น
ลิ้นหัวใจเปิดได้ไม่เต็มที่ซึ่งก็จะทำให้เกิดลิ้นหัวใจตีบ
ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิททำให้มีเลือดรั่วไหลย้อนกลับก็จะทำให้เกิดลิ้นหัวใจรั่ว
สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจโดยทั่วไปเช่น
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคลิ้นหัวใจตีบ
โรคไข้รูมาติก
การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
กาารักษา
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม
ลิ้นหัวใจที่ได้รับบริจาค หรือผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจเดิมโดยไม่ต้องใช้ลิ้นหัวใจเทียม
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เป็นความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ ที่อาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไปไม่สัมพันธ์กับสภาวะของร่างกายขณะนั้น หรือเต้นผิดจังหวะ ซึ่งภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าของหัวใจ คุณอาจมีอาการหัวใจเต้นพลิ้ว หรือ รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วและรัว
อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีดังต่อไปนี้
หัวใจเต้นพลิ้ว
หัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป
เจ็บหน้าอก
หายใจไม่ทัน
มึนศีรษะ
เป็นลม
สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สาเหตุที่เกิดจากหัวใจโดยตรง
และสาเหตุที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute heart failure)
เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการคงที่แต่กลับแย่ลงในเวลาไม่นาน
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ( chronic heart failure)
พบได้ในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันมาก่อนหรือไม่ก็ได้
อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการหายใจเหนื่อย เป็นอาการสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว
อ่อนเพลีย เกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายลดลง
มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ เช่น
ที่เท้าและขามีลักษณะบวม
กดบุ๋ม
มีน้ำคั่งในปอดและอวัยวะภายใน เช่น
มีตับ
ม้ามโต
มีน้ำในช่องท้อง ทำให้มีอาการท้องบวม ท้องโตขึ้น แน่นอึดอัด
สาเหตุ
สาเหตุจากหัวใจ เช่น
หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้าเกินไป
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
โรคลิ้นหัวใจ
สาเหตุอื่นๆ เช่น
ขาดการควบคุมและดูแลในเรื่องเกลือ น้ำ และยา
ได้รับยาที่มีฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจ
ภาวะติดเชื้อ
การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินควร
การทำงานของไตผิดปกติ
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
ความดันโลหิตสูง
ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
ภาวะโลหิตจาง