Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) - Coggle Diagram
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดโรคกระเพาะอาหารซ้ำเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่
วัตถุประสงค์
มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ ประเมินปัจจัยเสี่ยง เช่น การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด ปัจจัยส่งเสริม เช่น การดื่มสุรา การซื้อยามารับประทานเองที่มีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ประเมินความรู้ของผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับโรค
แนะนำให้พักผ่อนเพียงพอทั้งร่างกายและจิตใจ ลดภาวะเครียด และความวิตกกังวลต่าง ๆ
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเผ็ดเปรี้ยว รับประทานอาหารให้เป็นเวลาวันละประมาณ 3-4 มื้อต่อวัน ไม่ควรรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร เช่น ยาชุดแก้ปวดกล้ามเนื้อ
แนะนำให้งดการดื่มน้ำอัดลมและกาแฟ ซึ่งจะทำให้อาการของกระเพาะอาหารอักเสบเป็นมากขึ้น
แนะนำให้สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนของกระเพาะอาหารอักเสบ เช่น อาการปวดใต้ลิ้นปี่ จุกเสียด แน่น ท้องอืดซึ่งอาจจะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารทะลุได้
หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง หากมีปัญหาทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์
ประเมินความเข้าใจโดยถามซ้ำอีกครั้ง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพร่องสารอาหาร ไม่สมดุลของน้ำและอิเล็คโตรลัยต์ เนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ อาเจียน หรือท้องเสีย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องโภชนาการและความรุนแรงของภาวะพร่องโภชนา ได้แก่ อ่อนเพลีย ผอม ซีด น้ำหนักลด ระดับอัลบูมินและโปรตีนในเลือด ประเมินดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) จากน้ำหนักตัวและความสูง
ประเมินภาวะขาดน้ำ ได้แก่ การตึงตัวของผิวหนังลดลง ริมฝีปากแห้ง กระหายน้ำ ความดันต่ำ ชีพจรเร็ว การเปลี่ยนแปลงการรับรู้
ดูแลให้ได้รับสารอาหาร สารน้ำ รวมถึงยาเพื่อบรรเทาอาการอาเจียน ท้องเสียตามแผนการรักษา
ติดตามอาการ อาการแสดงของการพร่องสมดุลของสารอาหาร น้ำและอิเล็คโตรลัยต์ และรายงานแพทย์เพื่อช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
4.1ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (hypokalemia)
4.2ภาวะคลอไรด์ในเลือดต่ำ (hypochloremia)
4.3 ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia)