Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
PATHOPHYSIOLOGY OF RESPIRATORY SYSTEM - Coggle Diagram
PATHOPHYSIOLOGY OF RESPIRATORY SYSTEM
ทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Respiratory Tract)
จมูก(Nose)
Lateral nasal wall มีส่วนกระดูกยื่นในแนว vertical 3 ชิ้น เรียกว่า turbinate (inferior turbinate; IT, middle turbinate; MT และ superior turbinate; ST) เรียงจากด้านล่างขึ้นด้านบน) บางรายอาจมีชิ้นที่ 4 เรียกว่า supreme turbinate และมีช่องใต้ต่อ turbinate เรียกว่า meatus (inferior meatus; IM, middle meatus; MM และ superior meatus; SM)
Inferior meatus พบรูเปิดของท่อน้ำตา (nasolacrimal duct) ทำหน้าที่ถ่ายเทน้ำตาออกทางโพรงจมูก
Middle meatus พบรูเปิดของ frontal sinus, anterior & middle ethmoid sinuses และ maxillary sinus
Superior meatus พบรูเปิดของ posterior ethmoid sinuses
เป็นทางผ่านของอากาศที่ใช้ในการหายใจและช่วยกรองอากาศที่หายใจเข้าไป โดยฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศจะถูกดักจบโดยเมือกหรือสารหล่อลื่น (mucous) ที่ถูกหลั่งออกมาและเส้นขนเล็กๆที่อยู่ภายในจมูก นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศให้มีความเหมาะสมก่อนที่จะส่งต่อไปยังทางเดินหายใจส่วนต่อไป เช่น การเพิ่มความชื้นและการปรับอุณหภูมิ เป็นต้น อีกทั้งยังมีหน้าที่ต่างๆเช่น ช่วยให้เสียงเกิดความก้องกังวาน ช่วยให้กระดูกหน้ามีน้ำหนักเบาลง เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่น การออกเสียง และการพูด
คอหอย(PHARYNX) , กล่องเสียง (LARYNX)
กระดูกอ่อนของกล่องเสียงได้แก่ กระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage), กระดูกอ่อนไครคอยด์ (cricoid cartilage), กระดูกอ่อนอะริทีนอยด์ (arytenoid cartilage), กระดูกอ่อนคอร์นิคิวเลท (corniculate cartilage) และ กระดูกอ่อนคิวนิฟอร์ม (cuneiform cartilage)
ทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower Respiratory Tract)
หลอดลม (Trachea, bronchi, bronchioles)
เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย หลอดลมของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง (Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม
หลอดลมใหญ่ (Trachea) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากกล่องเสียงยาวลงไปจนถึงจุดที่แยกเข้าสู่ปอดด้านซ้ายและด้านขวา
หลอดลมของปอด (Main bronchus) เป็นแขนงของหลอดลมใหญ่ ซึ่งอยู่ในแต่ละข้างของปอด เริ่มต้นต่อจากหลอดลมใหญ่ลึกเข้าไปในเนื้อปอด หลอดลมเหล่านี้เมื่ออยู่ลึกเข้าไป ก็จะมีการแตกแขนงแยกย่อยลงไปอีกตามตำแหน่งของเนื้อปอด เช่น หลอดลมของปอดกลีบบน (upper lobe bronchus) หลอดลมของปอดกลีบล่าง (lower lobe bronchus) หลอดลมแขนง (segmental bronchus) เป็นต้น
หลอดลมฝอย (Bronchiole) เป็นแขนงย่อยของหลอดลมของปอด หลอดลมฝอยเหล่านี้บางส่วนนอกจากจะสามารถนำก๊าซเข้าสู่ปอดได้แล้ว ยังสามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย แต่ไม่เป็นหน้าที่หลักเหมือนถุงลม
หลอดลมฝอยเทอร์มินอล (terminal bronchiole) เป็นท่อที่แยกออกจากหลอดลมแขนงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร พบกล้ามเนื้อเรียบและเยื่ออิลาสติกไฟเบอร์(elastic fiber)เป็นองค์ประกอบของผนังหลอดลมฝอยเทอร์มินอล แต่ไม่พบโครงสร้างที่เป็นกระดูกอ่อน
ปอด(lung)
ปอด(lung) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการหายใจ ปอดตั้งอยู่ภายในทรวงอกมีปริมาตรประมาณ 2 ใน3ของทรวงอก ปอดขวาจะสั้นกว่าปอดซ้าย เนื่องจากตับซึ่งอยู่ทางด้านล่างดันขึ้นมา ส่วนปอดซ้ายจะแคบกว่าปอดขวาเพราะว่ามีหัวใจแทรกอยู่ ปอดมีเยื่อหุ้มปอด (pleura) 2 ชั้น ชั้นนอกติดกับผนังช่องอก ส่วนชั้นในติดกับผนังของปอด ระหว่างเยื่อทั้งสองชั้นมีของเหลวเคลือบอยู่ การหุบและการขยายของปอดจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของอากาศที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ออกตามที่ร่างกายต้องการ
การหายใจเข้า (inspiration)และการใจออก(expiration)รวมเรียกว่า การหายใจ (breathing) โดยมีกล้ามเนื้อกะบังลม กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงซี่โครงด้านนอกและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านในเป็นตัวกระทำ การหายใจที่เกิดจากกล้ามเนื้อกระบังลมเรียกว่า การหายใจส่วนท้อง (abdominal breathing)ซึ่งมีความสำคัญประมาณ 75% และการหายใจซึ่งเกิดจากกระดูกซี่โครงและกล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านนอกเรียกว่าการหายใจส่วนอก (chest breathing) ซึ่งมีความสำคัญประมาณ 25% การหายใจส่วนท้องและการหายใจส่วนอกนี้จะทำงานร่วมกันทำให้เกิดการหายใจเข้าและหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านนอกหดตัว จะทำให้ทรวงอกและปอดขยายตัวขึ้นปริมาตรภายในปอดเพิ่มขึ้น ดังนั้นความดันภายในปอดจึงลดลงและต่ำกว่าบรรยากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนตัวเข้าสู่ปอด จนทำให้ความดันภายนอกและภายในปอดเท่ากันแล้วอากาศก็จะไม่เข้าสู่ปอดอีก เรียกว่า การหายใจเข้า (inspiration) เมื่อกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านนอกคลายตัวลง ทำให้ปอดและทรวงอกมีขนาดเล็กลง ปริมาตรของอากาศในปอดจึงลดไปด้วย ท าให้ความดันภายในปอดสูงกว่าบรรยากาศภายนอก อากาศจึงเคลื่อนที่ออกจากปอดจนความดันในปอดลดลงเท่ากับความดันภายนอก อากาศก็จะหยุดการเคลื่อนที่ซึ่งเรียกว่า การหายใจออก (expiration) การหายใจเข้าและการหายใจออกนี้จะเกิดสลับกันอยู่เสมอในสภาพปกติผู้ใหญ่จะหายใจประมาณ 15 ครั้งต่อนาที ส่วนในเด็กจะมีอัตราการหายใจสูงกว่าผู้ใหญ่เล็กน้อย ในขณะที่ร่างกายเหนื่อยเนื่องจากทำงานหรือเล่นกีฬาอย่างหนักอัตราการหายใจจะสูงกว่านี้มาก
การแลกเปลี่ยนแก๊สในร่างกาย
1.ที่ปอดเป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างในถุงลมปอดกับเส้นเลือดฝอย โดยออกซิเจนจากถุงลมปอดจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยรอบ ๆถุงลมปอดและรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (haemoglobin; Hb) ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงกลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิล (oxyhemoglobin; HbO2)ซึ่งมีสีแดงสด เลือดที่มีออกซีฮีโมโกลบินนี้จะถูกส่งเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
2.ที่เนื้อเยื่อออกซีฮีโมโกลบินจะสลายให้ออกซิเจนและฮีโมโกลบิน ออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่เซลล์ทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจน ในขณะที่เนื้อเยื่อรับออกซิเจนนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นในเซลล์ก็จะแพร่เข้าเส้นเลือด คาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยากับน้ำในเซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก(H2CO3) ซึ่งแตกตัวต่อไปได้ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน (HCO3-) และไฮโดรเจนไอออน (H+) เมื่อเลือดที่มีไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนมากไหลเข้าสู่หัวใจจะถูกสูบฉีดต่อไปยังเส้นเลือดฝอยรอบ ๆ ถุงลมปอด ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนและไฮโดรเจนไอออนจะรวมตัวกันเป็นกรดคาร์บอนิกแล้วจึงสลายตัวเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้าในเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลให้ความหนาแน่นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดฝอยสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมปอด จึงเกิดการแพร่ของคาร์บอนไดออกไซด์จากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่ถุง
ถุงลม (ALVEOLI)
ถุงลมและถุงลมย่อย(alveolus หรือ alveolar sac และ pulmonary alveoli) ถุงลมเป็นช่องว่างที่มีถุงลมย่อยหลาย ๆ ถุงมาเปิดเข้าที่ช่องว่างอันนี้ ส่วนถุงลมย่อยมีลักษณะเป็นถุงหกเหลี่ยมมีเซลล์พิเศษหลั่งสารพวกฟอสโฟลิพิด (phospholipid) เรียกว่า เซอร์แฟกแทนท์(surfactant) เข้าสู่ถุงลมย่อยเพื่อลดแรงตึงผิวของถุงลมย่อยไม่ให้ติดกัน เมื่อปอดแฟบเวลาหายใจออกผนังของถุงลมย่อยที่อยู่ติดกันจะรวมกันเป็นอินเตอร์อัลวีโอลาร์เซปทัม(interalveolar septum) ซึ่งมีเส้นเลือดฝอยอยู่ภายใน นอกจากนี้ยังมีรูซึ่งเป็นช่องติดต่อระหว่างถุงลมย่อยทำให้อากาศภายในถุงลมย่อยมีแรงดันเท่ากันทั้งปอด ทั้งถุงลมและถุงลมย่อยจะรวมเรียกว่า ถุงลมปอด ปอดแต่ละข้างจะมีถุงลมปอดประมาณ 300 ล้านถุง แต่ละถุงจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 0.25 เซนติเมตร คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมดของการแลกเปลี่ยนแก๊สของถุงลมปอดทั้งสองข้างประมาณ 90 ตารางเมตรหรือคิดเป็น 40 เท่าของพื้นที่ผิวของร่างกาย การที่ปอดยืดหยุ่นได้ดีและขยายตัวได้มากและการมีพื้นที่ของถุงลมปอดมากมายขนาดนั้นจะทำให้ร่างกายได้รับแก๊สออกซิเจนอย่างเพียงพอและคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วยปอดของคนมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงอย่างมากมายจึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สได้มากและรวดเร็วจนเป็นที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ทรวงอก (Thorax)
Clavicle (กระดูกไหปลาล่า)
นกระดูกทางด้านหน้าที่คลำได้ง่าย ปลายด้านข้างเชื่อมต่อกับปุ่ม acromion processของกระดูกสะบัก (scapula) ปลายด้านในเชื่อมต่อกับ manubrium ของกระดูกหน้าอก (sternum)
Suprastemal notch
(jugular notch) เป็นแอ่งเว้าที่ขอบบนของ manubrium อยู่ในแนวกลางของลำตัว คำว่า supra แปลว่า เหนือ หรืออยู่ด้านบน ดังนั้น suprasternal notch จึงเป็นแอ่งที่อยู่ทางด้านบนของกระดูกหน้าอกนั่นเอง แอ่งนี้จะอยู่ในระดับเดียวกับขอบล่างของ body ของกระดูกสันหลังระดับอกปล้องที่ 2 (T2 vertebra)
Sternal angle
เป็นสันนูนตามขวาง เกิดจากการเชื่อมต่อกันของกระดูก manubrium และ body ของกระดูกหน้าอก เกิดเป็นข้อต่อ manubriosternal joint สันนี้จะตรงกับระดับของ intervertebral disc ที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังระดับอกปล้องที่ 4-5 ขอบทางด้านข้างของ sternal angle จะมีกระดูกอ่อน costal cartilage ที่2มาเกาะ ซึ่งใช้เป็นจุดอ้างอิงในการตรวจร่างกายทรวงอก บอกระดับของกระดูกซี่โครงได้
Xiphisternal joint
เป็นข้อต่อระหว่าง body และกระดูกลิ้นปี่ xiphoid process ของกระดูกหน้าอก ข้อต่อนี้อยู่ในระดับเดียวกับขอบล่างของ body ของกระดูกสันหลังระดับอกปล้องที่ 9 (T9 vertebra)
Costal margin
(ชายโครง) เป็นขอบล่างของทรวงอกทางด้านหน้า เกิดจากการเชื่อมกันของกระดูกอ่อน costal cartilages ที่ 7-10
Subcostal angle
(infrasternal angle) เป็นมุมระหว่างปลาย costal margin ทั้งสองข้าง บรรจบกันที่ xiphisternal joint พบกระดูกลิ้นปี่ยื่นลงมาใน subcostal angle
กระบังลม (DIAPHRAGM)
กระบังลมทำหน้าที่อะไร
กระบังลมทำหน้าที่สำคัญในระบบการหายใจ กล่าวคือ กระบังลมจะทำทำหน้าที่คล้ายลูกสูบ ช่วยในการรั้งปอดลงเพื่อให้อากาศเข้าไปในปอดเวลาหายใจเข้าและดันปอดขึ้นเพื่อบีบไล่อากาศออกจากปอดเมื่อเวลาหายใจออก ซึ่งในระหว่างการหายใจเข้าออกนี้ กระบังลมจะทำหน้าที่ป้องกันการขยายตัวของปอดและซี่โครง ไม่ให้พองตัวจนไปดันอวัยวะในช่องท้องไปในตัวด้วย
ช่องที่มีเส้นเลือดและน้ำเหลืองสำคัญทั้งสามผ่าน (The aortic opening) ได้แก่ หลอดเลือดเอออร์ตา (Aorta) ท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct) และหลอดเลือดอะไซกอส (Azygous vein)
ช่องที่หลอดเลือดอินฟีเรีย เวนา คาวา (Inferior vena cava) ผ่าน (The canal opening) โดยหลอดเลือดดังกล่าว เป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่รับเลือดกลับมาจากส่วนขาและส่วนของร่างกายในตำแหน่งใต้หัวใจลงไป
MATCHING OF VENTILATILATLION TO PERFUSION
การแลกเปลี่ยน gas ที่ถุงลมปอดจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างอากาศที่เข้ามาสู่ถุงลมปอดและเลือดที่มาสู่ capillary ที่ปอดอย่างเหมาะสมด้วย (นั่นก็คือ ventilation กับ perfusion จะต้องเหมาะสมกัน) การแลกเปลี่ยน gas จะเกิดไม่ได้ ถ้ามีแต่ perfusion แต่ไม่มี ventilation เพียงพอ หรือมี ventilation ดี แต่ไม่มี perfusion เพียงพอ ดังนั้นโดยทฤษฎีแล้วแต่ละส่วนของปอดควรได้รับ ventilation เท่าๆ กัน แต่ในความเป็นจริงไม่ว่าปอดคนหรือสัตว์การกระจายของ ventilation จะไม่เท่ากันทุกส่วน (อันเป็นผลมาจาก compliance ของปอดแต่ละส่วนที่ไม่เท่ากัน, regional airway resistance ของแต่ละที่ซึ่งแตกต่างกันไป รวมทั้ง frequency of breathing จะทำให้เกิดความแตกต่างของ compliance กับ resistance ในแต่ละที่และมีผลกระทบให้ ventilation ยิ่งแตกต่างกันเด่นชัดขึ้น) อย่างไรก็ดีปอดมีวิธีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของ ventilation ได้ เช่น
collateral movement เป็นการย้ายอากาศระหว่างปอดที่ใกล้เคียงกันโดยผ่านทาง anastomosing respiratory bronchioles collateral movement พบมากในสุนัข พบบ้างในม้า และแกะ แต่ไม่พบในสุกร และวัว ควาย (เนื่องจากมีการแยกกันอย่างชัดเจนของ secondary lung lobule โดยมี connective tissue เป็นผนังกั้น)
interdependence เป็นการปรับ ventilation ในกรณีที่ส่วนหนึ่งของปอดที่ขยายได้น้อย การขยายของปอดที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงและการเคลื่อนไหวของผนังช่องอกจะช่วยดึงให้ปอดส่วนที่มีปัญหานั้นยืดขยายตามในจังหวะที่มีการหายใจเข้าเป็นการช่วยให้มีการ ventilation ได้โดยพร้อมเพรียงกัน (ในสุกร และวัว ควาย ไม่มี interdependence เพราะลักษณะโครงสร้างปอดที่กล่าวมาแล้ว) ในสัตว์ที่ขาด collateral ventilation และ interdependence นั้นมีโอกาสที่จะเกิดถุงลมแฟบ (atelectasis) ได้ง่าย
ventilation-perfusion ratio (VA/Q) มีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง infinity ทั้งนี้ถ้าพิจารณาจะได้เป็น 3 ประเภท คือ
Decreasing VA/Q
O เมื่อ ventilation เป็น = 0 ในขณะที่ perfusion ปกติ
increasing VA/Q a เมื่อ ventilation ปกติ แต่ perfusion = 0
normal VA/Q เมื่อทั้ง ventilation และ perfusion เป็นปกติ ในปอดนั้นแต่ละตำแหน่งอาจมีค่า VA/Q แตกต่างกันไปได้ โดยบางตำแหน่งมี ventilation สูง แต่ blood vessel อุดตัน ทำให้ perfusion ต่ำ บางตำแหน่งก็มี perfusion สูง แต่มีการอุดตันของ airway การที่ ventilation และ perfusion ไม่สัมพันธ์กัน (mismatch) เช่นนี้ มักทำให้เกิดภาวะ hypoxemia สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิด mismatch ของ VA/Q ได้แก่ chronic bronchitis และ alveolar pulmonary emphysema โดย chronic brochitis ทำให้ VA/Q ต่ำ ส่วน pulmonary emphysema ทำให้ค่า VA/Q สูง
CONTROL OF BREATHING
ตัวส่งสัญญาณ Chemoral chemoreceptors = the carotid bodies
ตอบสนองเมื่อ ระดับออกซิเจนในเลือด ต่ำกว่า 60 mm Hg
Central chemorecptors = brainstem
ตอบสนองเมื่อ ระดับ PaCO2 สูงขึ้น
โดยจะกระตุ้นทำให้เกิด Ventilation เมื่อปริมาณปอด + ทรวงอกขยาย จึงต้องเพิ่มเวลาการหายใจอกเกิด Regulation = Hering - Breuer reflex
PATHOLOGY OF RESPIRATORY SYSTEM
ASTHMA
โรคที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากเกินไป (Hyper resposiveness)
ทำให้เกิดการอีกเสบและการอุกกั้นของทางเดินหายใจ (Airway inflammation and air flow obstruction)
มีลักษณะเป็น Clinical syndrome คือ กลุ่ม ได้แก่
หายใจเสียงวี๊ด (Wheezing)
แน่นหน้าอก (Chest tightness)
หายใจไม่อิ่ม(Shortness of breath)
ไอ (Cough)
Epidemiology and Risk Factors
วัยรุ่น (Adolescent)
ในอายุ < 18 พบเพศ ช > ญ
Atopy
Physicochemical agents
ออกกำลังกาย (Execise) ; hyperventilation with cold dry air
สารก่อภูมิแพ้ (AIIergens)
Low- molecular - weight chemicals
penicillin
chromate
Complex organic molecules
dust mites
enzymes
Pathogensis
กระตุ้น of local inflammatory cells โดยเฉพาะ mast cells และ eosinophils
เกิด lgE- dendent mechanisms
-หลั่งสาร Acute - acting mediators = leukotrienes , prostaglandins
CLINICAL MANIFESTATIONS
Symptoms and Signs
Dyspnea and chest tightess หายใจรำบาก
Wheezing หายใจ
-Cough ไอ
Hypoxemia
1.Chronic Bronchitis
ประวัติ productive cough 3เดือน ใน 2ปีติดกัน
2.Emphysema
ทำลายผนัง ดดยไม่มี Fibrous
อาการแสดง
มีอาการไอเรื้อรัง และมีเสมหะ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน
มีอาการหอบเหนื่อย เวลาทำกิจวัตรประจำวันโดยเฉพาะเวลาที่ออกแรง
หายใจได้ลำบาก แน่นหน้าอก และมีเสียงหวีดได้ในลำคอ
ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
กลไกลการหายใจ
2.ขณะหายใจออก
กะบังลมจะเลื่อนสูงขึ้น
กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง
ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง
ตวามดันอากาศในบริเวณรอบๆปอดสูงกว่าอากาศภายนอก
อากาศในถุงปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดสู่หลอดลม ออกทางจมูก
ความต้านทานการหายใจ (Rwsistance of breathing)
Elastic resistance
ของปอดและทรวงอก เป็นแรงต้านที่ทำให้ปอดและทรวงอกกลับวสู่สภาพเดิมหลังจากที่มีการยืดขยาย โดย Elastic resistance ของปอดจะแปรผกผันกับ compliance C
Tissue resistance
เกิดจากการเสียดสีของเนื้อเยื่อที่เคลื่อนไหวระหว่างการหายใจ มีค่าน้อยมาก ในตนปกติจะมีค่าเป็นศูนย์
Airway resistance
เกิดจากการเสียดสีของโมเลกุลในอากาศด้วยกันเองกับทางเดินหายใจ Airway resistance นี้ปกติจะมีค่าน้อย แต่ถ้ามีการหายใจเร็วขึ้น เช่น ขณะออกกำลังกาย หรือทางเดินอากาศมีขนาดเล็กลง เช่น Asthma จะทำให้ Airway resistance มากขึ้น
การหายใจ
การหายใจภายนอก(External respiration)
เป็นการทำงานของปอดโดยมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกชิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่าง เลือดที่ไหลเวียนในปอดกับอากาศที่หายใจเข้าไป
การขนส่งก๊าซ (Transport mechanism)
เป็นการขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์เนื้อเยื่อและขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เนื้อเยื่อไปขับถ่ายออกทางปอด
การหายใจภายใน (Internal respiration)
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซที่เกิดขึ้นที่เซลล์และเนื้อเยื่อ
ความจุของปอด
1.Inspiratory capacity (IC)
คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าไปได้เต็มที่หลังจากหายใจออกตามปกติ หรือผลรวมของ TV+IRV ปกติมีค่าประมาณ 3800 ml
2.Functional residual capacity (FRC) คือความจุปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศคงเหลืออยู่ในปอดหลังจากหายใจออกตามปกติ หรือเป็นผลรวมของ ERV + RV ปกติมีค่าประมาณ 2200 ml
3.Vital capacity (VC)
คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศหายใจออกเต็มที่หลังจากการหายใจเข้าเต็มที่ หรือเป็นผลรวมของ IRV + TV + ERV ค่าปกติมีค่าประมาณ 4800 ml
4.Total lung capacity (TLC)
คือความจุของปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศทั้หมดเมื่อหายใจเข้าเต็มที่ หรือเป็นผลรวมของ VC+ RV ปกติค่าประมาณ 6000ml
การแลกเปลี่ยนก๊าซ
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับปอด
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างอากาศภายนอกและเลือดเพื่อรักษาระดับแรงดันย่อยของออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ละลายอยู่ในเลือดแดงปกติ
2.การและเปลี่ยนก๊าซระดับหลอดเลือดฝอย
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างเลือดและเซลล์เนื้อเยื่อ และการมีเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ
กลไกการขนส่งก๊าซในเลือด
ปริมาณของเม็ดเลือด หรือฮีโมโกลบิน เนื่องจากออกซิเจนจะจับกับฮีโมโกลบินเรียกว่า ออกซีอีโมโกลบิน และขนส่งออกไปให้เซลล์่างๆ
หากมีภาวะซีด จะทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
3.การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับเซลล์
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านเข้าออกจาก Cell membrane
การแลกเปลี่ยนก๊าซระดับเซลล์ขนาดเล็ก
เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซเข้าออกไมโตคอนเดรีย รวมถึงการเมตาโบลิซึม ที่ใช้ออกซิเจนในเผาผลาญสารอาหารให้เป็นพลังงานและผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
ความผิดปกติของการหายใจ
Restrictive pulmonary
Restrictive หมายถึง ความยืดหยุ่นของปอดลดลง ทำให้ความจุของปอดลดลง เช่น ผู้ที่มีโรคของเนื้อปอด ผู้ที่โครงสร้างกล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่ช่วยในการหายใจผิดปกติ กลุ่มนี้จะมีค่า FVC เมื่อเทียบกับมาตรฐานต่ำกว่า 80 % แต่ค่า FEV1 / FVC จะมากกว่า 70 %
ภาวะที่การขยายตัวของปอดถูกจำกัด ที่พบบ่อย
Atelectasis
Pulmonary fibrosis
Pneumothorax
Atelectasis
สาเหตุ
การอุดตันของทางเดินหายใจ การสะสมของเยื่อเมือก สิ่งแปลกปลอม รวมถึงการใส่ท่อช่วยหายใจได้ไม่ดี อาจทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าสู่ถุงลมในปอดได้อย่างเต็มที่
แรงกดจากภายนอกปอด การเกิดเนื้องอก กระดูกผิดรูป หรือภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือไม่สามารถหายใจได้เต็มที่เช่นกัน
ความผิดปกติที่ส่งผลต่อการทำงานของปอด เช่น กลุ่มอาการหายใจลำบาก (RDS) เป็นต้น ซึ่งมักเกิดขึ้นกับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เพราะร่างกายของเด็กยังไม่สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวในปอดได้เพียงพอและอาจทำให้ปอดแฟบได้
โรคประจำตัว เช่น โรคปอดบวม โรคมะเร็งปอด โรคทางระบบประสาทที่ทำให้ควบคุมกล้ามเนื้อผิดปกติ โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคซิสติกไฟโบรซิส โรคอ้วน โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง เป็นต้น
Pulmonary Edema
สาเหตุ
ลิ่มเลือดอุดตัน
กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS)
การสัมผัสกับแอมโมเนีย คลอรีน หรือสารพิษอื่น ๆ
การสูดควันที่มีส่วนประกอบของสารเคมีบางชนิด
สมองหรือระบบประสาทบาดเจ็บหรือเกิดบาดแผล
ปอดเกิดการบาดเจ็บหลังจากรักษานำลิ่มเลือดออกไป
การติดเชื้อไวรัส
พยาธิสรีรวิทยา
Interatitia edema
Alveolar edema เกิด blood shunt คือ right to left biood shunt
ลักษณะทางคลินิก
Wheezing
Paroxysmal Nocturnal Dyspnea (PND) กลางคืนหายใจลำบากกระทันหัน
ไอแห้งๆ ถ้าเป็นมากจะมีอาการ
Dyspnea
Orthopnea
ไอมีเสมหะเป็นสีสนิม หรือเป็นเลือดสด
การเต้นของหัวใจผิดปกติ
CXR Cardiomegaly ปอดเป็นผ้าขุ่นขาวเหมือนปีกผีเสื้อเนื่องจากมีน้ำในปอด
Pneumonthorax
สาเหตุ
มีการ leak ของลมเข้าไป โดยผ่านทางรูเปิดที่ผนังทรวงอก
Alveoli แตกฉีดขาด
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อมีลมเข้าไปใน pleural space จะทำให้ intrapleural pressure สูงขึ้นทำให้ผนังช่องอกและปอดแยกออกจากกัน มีผลให้การหุบขยายของปอดไม่เกิดขึ้นตามการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อทรวงอก ขณะเดียวกันจะดัน mediastinum shift ไปนังด้านตรงข้างที่ปกติ
ลักษณะทางคลินิก
pleural pain
Dyspnea
Breath sound เบาลง
หน้าอกข้างที่มี Pneumothrax จะมีการเคลื่อนไหวน้อย
Pleural effusion or Hydrothorax
สาเหตุ
Trauma
Neoplasm
Infection
Thromboemboli
พยาธิสรีรวิทยา
จากการที่มีของเหลวในเยื่อปอดโดยตรงทำให้การขยายตัวของปอดถูกจำกัด และมีการ shift ของ mediastinum ไปยังด้านจรงข้าม มีการเปลี่ยน
ลักษณะทางคลินิก
ไอ
Breath sound เบาลง
การเคลื่อนไหวของหน้าแกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน
การใส่สายระบายทรวงอก (Chest tube insertion)
การใส่สายระบายทรวงอก intercostal dreinage ; ICD
คือการใส่สายเข้าไปยังเยื่อหุ้มปอด (pleural cavity)
เพื่อระบายลม น้ำหนอง เลือด รักษาพยาธิสภาพของเยื่อหุ้มปอด
Pleurisyb or Pleuritis
Pleurisy
สาเหตุ
โดยทั่วไป เยื่อหุ้มปอดอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อโรคในปอดโดยเฉพาะไวรัสอย่างไข้หวัดใหญ่ เชื้อแบคทีเรียอย่างปอดบวมหรือวัณโรค รวมไปถึงพยาธิ และเชื้อราด้วย ก่อนจะก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบตามมา ซึ่งนอกจากเชื้อโรคพวกนี้แล้ว ยังมีปัญหาสุขภาพมากมายที่เป็นต้นเหตุของภาวะนี้ เช่น
หลอดลมอักเสบ
โรคความผิดปกของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอย่างโรคลูปัสและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
หลักการพยาบาล Restrictive pulmonary function
แก้ไขตามสาเหตุของภาวะนั้นๆ
การแก้ไขภาวะของ Hypoxemia
ดูแลทางเดินหายใจให้ไล่ง
คำแนะนำในการปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
Obstrutive pulmonary function
แบ่งได้ 3 กลุ่มคือ
1.กลุ่มรูท่อทางเดินห่ายใจอุดตัน
2.กลุ่มที่ผนังท่อทางเดินหายใจบวมหรือหดตัว
3.กลุ่มที่มีแรงดันบริเวณรอบๆ นอกท่อทางเดินหายใจ
หลักหารพยาบาล
รักษาทางเดินหายใจให้โล่ง
การแก้ไขภาวะของ Hypoxmia
แนะนำภาวะโภชนาการ
แนะนำการปฎิบัติตรให้หลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆ
พยาธิสรีรวิทยา
1.การระบายอากาศน้อย
การระบายอากาศกับการไหลเวียนของเลือดไม่สมดุลกัน
3.การลัด
4.การสูญเสียการซึมมซ่านของก๊าซ
การวางแผนการพยาบาล
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบว่าข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่พบบ่อยในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจปัญหาจริง และปัญหาเสี่ยง