Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีปัญหาการใช้สารเสพต…
บทที่ 10 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีปัญหาการใช้สารเสพติด
สารเสพติด (substance) ความหมาย
ยา สารเคมี หรือวัตถุใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ ร่างกายไม่ว่าจะโดยการรับประทาน สูบ ฉีด สูดดม หรือวิธีการใดก็ตาม
ประเภทของสารเสพติดตามการออกฤทธิ์
สารกดประสาท ออกฤทธิ์กดการทำงานของสมอง ได้แก่ แอลกอฮอล์ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอนีสารกลุ่ม benzodiazpineและ สารกลุ่ม barbiturate
สารกระตุ้นประสาทไ ด้แก่ แอมเฟตามีน ยาเลิฟ ยาอี ยาไอซ์โคเคน บุหรี่กาแฟ กระท่อม
สารออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกัน ได้แก่กัญชา
สารหลอนประสาท ทำให้การรับรู้บิดเบือนจากความเป็นจริง
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้สารเสพติด
ปัจจัยด้านชีวภาพ
จากการศึกษาผู้ที่ติดสุราและโคเคน พบว่า มีพันธุกรรใมาเกี่ยวข้อง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมการเลียนแบบ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของสังคมและวัฒนธรมม กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเลียนแบบคนอื่นได้ง่าย
ความยากง่ายในการเข้าถึงสารเสพติด
ปัจจัยด้าน learning และ conditioning
ผลบวกจากการใช้ยา เป็นแรงเสริมให้พฤติกรรมคงที่
การกระตุ้นด้วยปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขของการเสพ เกิดอาการอยากยาและกลับไปเสพได้อีก
Substance Use Disorders
ใช้สารนั้นจำนวนมากหรือเป็นระยะเวลานานกว่าที่ตั้งใจไว้
ต้องการอย่างต่อเนื่องหรือพยายามลด
3.ใช้เวลาไปกับกิจกรรมต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งสารนั้น เพื่อเสพสาร หรือฟื้นตัวจากฤทธิ์ของสารนั้น
มีความยากหรือมีแรงปราถนาอย่างมาก
ใช้สารนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ส่งผลให้บทบาทภาระหน้าที่สำคัญล้มเหลว
ใช้สารนั้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีปัญหาในด้านสังคมหรือปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
กิจกรรมที่สำคัญทางสังคม หน้าที่การงาน หรือการพักผ่อน ถูกล้มเลอกหรือลด
ใช้สารน้ันซ้ำแล้วซ้ำอีกในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย
ใช้สารนั้นเรื่อยๆ แม้ทราบว่ามีปัญหาทางกายหรือจิตใจจากสารนั้นอย่างต่อเนื่อง
มีการดื้อยา (tolerance) ตามข้อใดข้อหนึ่ง
-มีความต้องการใช้สารนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อให้ได้ผลหรืออาการที่ต้องการ
-ผลของสารนั้นจะลดลงไปอย่างมาก เมื่อมีการใช้อย่างต่อเนื่องในจำนวนเท่าเดิม
มีอาการขาดยา (withdrawal) ตามข้อใดข้อหนึ่ง
-เกิดลักษณะของกลุ่มอาการขาดยา
-มีการใช้สารนั้นเพื่อหลีกเลียงหรือบรรเทาอาการขาดยา
ประเภทของสารเสพติดตามที่มาของสาร
ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา เป็นต้น
ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน สารระเหย
ประเภทของสารเสพติดตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ประเภท 3 ให้โทษที่มีลักษณะเป็ นต ารับยา และมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 เป็นส่วนผสม
ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตสารเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2
ประเภท 2 ให้โทษประเภททั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน โคเดอีน ฝิ่นยา
ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่อยู่ในประเภทที่ 1-4
ประเภท 1 ให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
Substance Induced Disorders
ภาวะเป็นพิษ (substance intoxication)
เกณฑ์วินิจฉัยตาม DSM-5
มีอาการและอาการแสดงอย่างเฉพาะเจาะจงของสารจากการที่ใช้สารนั้น
มีพฤติกรรมหรือจิตใจเปลี่ยนแปลงผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะเป็นพิษของสารนั้น
อาการไม่ได้เกิดจากภาวะเจ็บป่วยทางกายอื่นและไม่สามารถอธิบายด้วยความผิดปกติทางจิตอื่นได้
ภาวะถอนสารเสพติด (substance withdrawal)
เกณฑ์วินิจฉัยตาม DSM-5
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมกับสภาพร่างกายและความคิดอย่างเฉพาะเจาะจงของสารจากการหยุดหรือลดใช้สารน้ันหลงัเสพสารอย่างมากมาเป็นเวลานาน
อาการและอาการแสดงอย่างเฉพาะเจาะจงของสารก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานหรือมีความบกพร่องทางสังคมการงานการทำหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญ
อาการไม่ได้เกิดจากภาวะเจ็บป่วยทางกายอื่น และไม่สามารถอธิบายด้วยความผิดปกติทางจิตอื่นได้
ความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดจากสารเสพติด (other substance/medication induced mental disorders)
โรคจิต ได้แก่ อาการหลงผิด ประสาทหลอน
อารมณ์สองขั้ว เช่น แอมเฟตามีนทำให้อาการซึมเศร้าในช่วงการถอนสารและอาการครื้นเครงหรือผสม (mixed mood) ในภาวะเป็นพิษ
โรคซึมเศร้า พบได้ในภาวะถอนแอมเฟตามีน
ความวิตกกังวล แอลกอฮอล์ทำให้มีอาการวิตกกังวล
การย้ำคิดย้ำทำ แอลกอฮอล์ทำให้มีการคิดและมีพฤติกรรมซ้ำๆอย่างไม่มีเหตุผล
เกิดความผิดปกติของการนอนหลับ แอลกอฮอล์ทำให้หลับง่าย แต่มีผลเสียคือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอน ทำให้มีลักษณะการนอนไม่ต่อเนื่อง ตื่นบ่อย ภาวะถอน แอลกอฮอล์ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป
ปัญหาการตอบสนองทางเพศผดิปกติ เช่น กัญชาทำให้มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
อาการเพ้อ (delirium) ภาวะเป็นพิษของแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอาการเพ้อด้วย
ความผิดปกติของการรู้คิด (nuerocognitivedisorders) เช่น แอลกอฮอล์ทำให้สมองเสื่อม
Alcohol
Alcohol
คือ
สารที่มีส่วนผสมของ ethyl-alcohol เช่น สุรา เบยีร์เหล้า สาโท กระแช่ ไวน์ เป็นต้น ดูดซึมได้ดีและรวดเร็วในทางเดินอาหาร
ออกฤทธิ์จับกับ GABA receptor ซึ่งจะกดประสาท
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด Alcohol intoxication ได้แก่ น้ำหนักตัว ความทนต่อแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดและระยะเวลาในการดื่มแอลกอฮอล์ อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับแอลกอฮอล์ ยิ่งเพิ่มขึ้นรวดเร็วจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการ Alcohol intoxication
Alcohol intoxication
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงมากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดอาการตาพร่า หมดสติ และเสียชีวิต ซึ่งโดยปกติร่างกายของคนเราสามารถรองรับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้เพียง 300 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถือเป็นภาวะพิษจากแอลกอฮอล์ที่อันตรายร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นได้
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะ Alcohol intoxication
ประเมินสัญญาชีพและอาการและอาการแสดงของภาวะ alcohol intoxication
จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบ ลดการกระตุ้น เฝ้าระวังอุบัติเหตุ การทำร้ายตนเองและผู้อื่น
กรณีผู้ป่วยวุ่นวายแพทย์อาจพจิารณาให้ยา diazepam 5-10 mg. ดูแลให้ยาตามแผนการรักษาและประเมินอาการ ข้างเคียงจากยา ที่สำคัญ คือ กดการหายใจและอาจเสริมฤทธิ์กับแอลกอฮอล์
การผูกมัดจะยิ่งกระตุ้นผู้ป่วย หากจำเป็นต้องระมัดระวังและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
เมื่ออาการ alcohol intoxication ดีขึ้น ควรได้รับการประเมินปัญหาการ ดื่มสุราหรือภาวะติดสุรา โดยเครื่องมือ AUDIT (Alcohol Use Disorders Identification Test), ASSIST (The Alcohol, Smoking and Substance Involvement Screening Test), CAGE
Alcohol withdrawal
การดำเนินอาการของ alcohol withdrawal
6-24 ชั่วโมง มีอาการ หงุดหงิด สั่น ความดันโลหิตสูง เหงื่อแตก หน้าแดง ใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ Halucination,illusion
7-48 ชั่วโมง มีอาการ Grand mal seizure
48-72 ชั่วโมง มีอาการ Delirium tremens
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
Motivational Interviewing
การพูดคุยให้การปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
พูดคุยแบบให้การปรึกษา(Counseling)
ให้ความสำคัญที่ผู้รับการปรึกษา (Client-centered)
การฟังอย่างตั้งใจ(Active listening)
การสื่อสารทางบวกทั้งภาษาพูดและภาษากาย (Positive Verbal & non verbal communication )
ทักษะการให้การปรึกษาแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ
การถามคำถามปลายเปิด (Open-ended questioning)
การชื่นชมยืนยันรับรอง (Affirmation)
การฟังอย่างเข้าใจและสะท้อนความ
การทวนความ การถ่ายทอดความและการสรุปความ
ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม Stage of Change
ขั้นเมินเฉยปัญหา (Pre-contemplation)
ขั้นลังเลใจ (Contemplation)
ขั้นตัดสินใจหรือเตรียมการ (Determination or preparation)
ขั้นลงมือแก้ไข (Action)
ขั้นกระทำต่อเนื่อง (Maintenance)
ขั้นกลับไปติดซ้ำ (Relapse)
ทฤษฎีการรับรู้ตนเอง (Self Perception theory)
“As I hear myself talk, I learn what I believe”
“หากฉันได้ยินสิ่งที่ฉันคุยกับตนเอง ฉันก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฉันเชื่อ”
กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดข้อความจูงใจตนเอง
การบำบัดด้วยการแก้ปัญหา
(Problem Solving Therapy)
การแก้ปัญหาตามแนวคิดของ เดอร์ซุเลร่า และเนซู(D’Zulera&Nezu, 2007)
ได้เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหา โดยการแก้ปัญหาต้องทำความเข้าใจ 3 ประเด็น
คือ การแก้ปัญหา ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหา
หมายถึงการนำตนเอง กำกับตนเองในการที่จะพยายามค้นหาหรือระบุปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำให้เกิดศักยภาพที่หลากหลาย และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้งเพิ่มความเป็นไปได้ในการเลือกวิธีที่ดีที่สุดจากหลายๆทางเลือก
ปัญหา
หมายถึง สถานการณ์ปัญหา (problematic situation) เป็นสถานการณ์หรืองานที่คาดหวังไว้ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้บุคคลรับรู้ว่าตนเองต้องการศักยภาพ พลังหรือวิธีการจากท้ังภายนอกและภายในตนเอง แต่พบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดมาก่อน ไม่คุ้นเคย ขาดตัวช่วย ขาดข้อมูล ขาดทักษะ มีความยุ่งยากซับซ้อน มีความไม่แน่นอน มีความยุ่งยากทางอารมณ์ มีความขัดแย้งในเป้าหมายและรู้สึกล้มเหลวในการพยายามแก้ปัญหา
วิธีการแก้ปัญหา
หมายถึง การเผชิญกับปัญหาด้วยกระบวนการคิดและพฤติกรรมในปัญหาระบุอย่างเฉพาะเจาะจง ประสิทธิภาพของการแก้ปัญหาจะทำให้สถานการณ์ปัญหาลดลง บุคคลลดความรู้สึกกดดันลง สามารถเพิ่มผลกรรมทางบวกและลดผลกรรมทางลบลง รวมทั้งสามารถลดปัญหาได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
วิธีการแก้ปัญหามี 3แบบ
แบบที่ 1 เรียกว่าการแก้ปัญหาแบบมีเหตุผล(Rational problem solving)
เป็นการแก้ปัญหาโดยพยายามทำความเข้าใจกับปัญหา (Formulation) และค้นหาปัญหาที่แท้จริง (Identified problem) พยายามคิดหาทางออกจากปัญหาหลายๆ ทาง
มีการตัดสินใจบนวิธีการแก้ปัญหาที่มีการวางแผนไว้ ลงมือแก้ปัญหาตามที่ได้มีการวางแผนไว้ และตรวจสอบผลการแก้ปัญหาทั้งผลดีและผลลบ โดยการแก้ปัญหาทั้งหมดอยู่กับความเป็นจริงและพยายามลดอารมณ์ทางลบเพราะคิดว่าไม่เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหา
แบบที่ 2 เป็นการแก้ปัญหาโดยการหลีกหนี (Avoidence)
การแก้ปัญหาแบบนี้ เป็นการหลีกหนีปัญหา ไม่พยายามเผชิญกับปัญหา พยายามจะหลีกเลี่ยงออกจากความรับผิดชอบในการแก้ปัญหา มีความตั้งใจที่จะไม่ร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหากับผู้อื่น รอให้ปัญหาจบลงด้วยตัวของมันเองหรือแก้ปัญหาโดยการพึ่งพาผู้อื่นและมองการแก้ปัญหาในทางร้าย
แบบที่ 3 เป็นการแก้ปัญหาแบบหุนหันพลนัแล่นและขาดความระมัดระวัง (Impulsive/careless)
เป็นการแก้ปัญหาอย่างเร่งรีบ แก้ปัญหาแบบลวกๆ ตัดสินใจเร็วโดย ไม่รอคิดทบทวนหลายๆ ทางก่อน มีทางออกของปัญหาเพียงไม่กี่แนวทางแก้ปัญหาแบบไม่มีระบบหรือใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ไม่มีการตรวจสอบและประเมินการแก้ปัญหาที่ได้กระทำ
นางสาวญาวรี ดำเชื้อ เลขที่ 19 รุ่นที่ 31