Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ - Coggle Diagram
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
บทนิยาม
คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม
ผู้ดูแลคนพิการ หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือ
บุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรือรับอุปการะคนพิการ
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หมายความว่า แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หมายความว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
ครูการศึกษาพิเศษ หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษ
การเรียนร่วม หมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุก
สถานศึกษาเฉพาะคนพิการ หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต
ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือ
ตามอัธยาศัยแก่คนพิการโดยเฉพาะ
องค์การคนพิการแต่ละประเภท หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความ
พิการที่ได้แจ้งชื่อไว้กับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
กองทุน หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง และ
ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคนพิการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบคน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เลขาธิการ สภา
การศึกษา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
อธิบดีกรมสุขภาพจิต
อธิบดีกรมการแพทย
อธิบดีกรม
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาต
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสิบสี่คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านการบริหารการศึกษา
ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นเลขานุการ
หน้าที่คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์
เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดหลักสูตร
พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
วางระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
การดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
เมื่อครบกำหนดตามกำหนด ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
ตาย
ลาออก
เป็นบุคคลล้มละลาย
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่น
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง
การประชุมของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน
กรรมการตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม
หากรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งหมด ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
. การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
วิจัย และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการ
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
เงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากเงินกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบ
กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2546
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นประธาน
รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนสิบเอ็ดคน
ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน
บริหารกองทุน
พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน
รายงานสถานะการเงิน
การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน และการตัดหนี้เป็นสูญ
การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน และการตัดหนี้เป็นสูญให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
การจัดทำงบการเงินและรายผลการสอบบัญชี
คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต
เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
เงินค่าตอบแทนพิเศษของครูการศึกษาพิเศษ
ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด
ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์
ความรู้ การศึกษาอย่างต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
การได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือจากรัฐ
สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม
สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ
การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม
ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก
การจัดสรรงบประมาณ
ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
และการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา
ให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม