Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำหัตถการตามขอบเขตวิชาชีพพยาบาล - Coggle Diagram
การทำหัตถการตามขอบเขตวิชาชีพพยาบาล
ความหมาย
ขั้นตอนทางการแพทย์ที่ปฏิบัติเพื่อดูแลผู้
ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือเป็นการรักษาผู้ป่วยโดยการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย รวมทั้งการกำหนด วัด หรือวินิจฉัยผู้ป่วย
การทำหัตถการ
การทำหัตถการในการรักษาพยาบาล
เบื้องต้น
ผู้ประกอบวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่อันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายออก โดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
ล้างตา
การทำแผล การตกแต่งบาดแผล การเย็บแผล การตัดไหม การผ่าฝีในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย การถอดเล็บ และการจี้หูดหรือจี้ตาปลา
ผู้ประกอบวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรม
การใส่และถอดห่วง (IUD)
การฝังและถอดยาคุมกำเนิด (Norplant)
การผ่าตัดตาปลา
การเลาะก้อนใต้ผิวหนังบริเวณที่ไม่เป็นอันตราย
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลุกด้วยวิธี VIA (visual inspection using acetic acid)
การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น (cryotherapy)
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล ส่วนที่ 2 การทำหัตถการ
การทำแผล การตกแต่งบาดแผล การเย็บแผลขนาดลึกไม่เกินชั้นเนื้อเยื่อไขมัน ใต้ผิวหนัง (subcutaneous tissue) และไม่อยู่ในตำแหน่งซึ่งเป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย โดยใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ หรือการตัดไหมในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตราย การดูแลรักษาบาดแผลไหม แผลน้ำร้อนลวก หรือสารเคมี ไม่เกินระดับ 2 ของแผลไหม้
การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอม การผ่าฝี การผ่าตัดตาปลา การเลาะก้อนใต้ผิวหนัง ในบริเวณทีอยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกาย โดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนังหรือฉีดยาชา เฉพาะที่ ในการเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากอวัยวะ
การถอดเล็บ การจี้หูดหรือจี้ตาปลา โดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง หรือฉีดยาชาเฉพาะที่
การให้ออกซิเจน
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต ภาวะสูญเสียสมดุล ของสารน้ำในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะช็อค การปฐมพยาบาล หรือตามแผนการรักษาของ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การให้ยาทางปาก ทางผิวหนัง ทางหลอดเลือดดำ หรือช่องทางอื่น ๆ ตามแผนการรักษา
การให้เลือด (Blood Transfusion) ตามแผนการรักษา
การเปิดทางเดินหายใจให้โล่งด้วยการดูดเสมหะ การเคาะปอด
การช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardio pulmonary resuscitation)
การเช็ดตา ล้างตา (Eye irrigation) หยอดตา ป้ายตา ปิดตา หรือการล้างจมูก
การสอดใส่สายยางลงไปในกระเพาะอาหาร (Nasogastric tube) เพื่อให้อาหาร ให้ยา หรือล้างกระเพาะอาหารในรายที่กินสารพิษ หรือตามแผนการรักษา
การสวนปัสสาวะ หรือการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ ในรายที่ไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
การสวนทางทวารหนัก ในรายที่ไม่มีข้อบ่งชี้อันตราย
การดาม หรือการใส่เฝือกชั่วคราว
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดด าส่วนปลายหรือปลายนิ้ว หรือสารคัดหลั่ง เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามข้อบังคับหรือประกาศที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
หัตถการอื่น ๆ ตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
การทำแผลและการตกแต่งบาดแผล
การประเมินบาดแผล
ซักประวัติข้อมูลต่าง ๆ
ประเมินลักษณะบาดแผล
พิจารณาการจัดการบาดแผล เช่นการเย็บ การนัดทำแผล การส่งต่อ
การทำความสะอาดผิวหนังรอบ ๆ บาดแผล
จัดท่า วางแขน ขาที่มีบาดแผลบนตระแกรงล้างแผล ถ้ามีแผลบริเวณลำตัว สะโพกศีรษะ ให้ใช้ผ้ายางรองใต้แผล ม้วนขอบผ้ายางด้านบนและด้านข้างทั้งสอง แล้วปล่อยชายด้านล่างลงในตระแกรงล้างแผล
เตรียมภาชนะใส่น้ำ และภาชนะตักน้ำ เพื่อล้างผิวหนังรอบแผล โดยไม่ให้สัมผัสกับแผล
ใส่ถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำ และสบู่เหลวฟอกผิวหนังรอบ ๆ แผล โดยเริ่มฟอกจากขอบแผลวนออกไปด้านนอก ให้ห่างจากขอบแผลอย่างน้อย 2 นิ้ว ทำซ้ำจนกว่าจะสะอาด
ใช้ผ้าสะอาด ซับผิวหนังรอบแผลให้แห้ง
การใช้ยาชาเฉพาะที่
ชนิดของยาชา ที่นิยมใช้
Procaine Hydrochloride หรือ Novocaine ใช้บ่อย ราคาถูก
Lignocaine Hydrochloride หรือ Lidocaine หรือ Xylocaine
Pontocaine Hydrochloride ที่มีฤทธิ์ระงับความรู้สึกดี แต่มีพิษมาก
การแก้ไขการแพ้ยาชา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง และรายงานแพทย์
ให้นอนพักศีรษะสูง ให้ O2 Inhalation
วัดสัญญาณชีพ บันทึกอาการและอาการแสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
หากผู้ป่วยมีอาการชักให้ Valium 10 mg. IV push ช้า ๆ
หากหัวใจหยุดเต้นอาจให้ Adrenaline 1:1,000 IV, Epinephline 0.1-0.5 cc. เจือจาง 1:10,000 IV
ช่วยหายใจ เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับใส่ Tracheostomy tube
วิธีการใช้ยาชาเฉพาะที่
ทาหรือหยอด
ฉีดเฉพาะที่
สกัดบริเวณ
ฉีดยาสกัดประสาท
ทำให้ชาโดยฉีดที่ไขสันหลัง
การฉีดยาชาเฉพาะที่
เตรียมอุปกรณ์ฉีดยาชา
ดูดยาชา 2% Lidocaine ชนิดไม่ผสม Adrenaline ขนาด 4.5 mg. ต่อน้ าหนักตัว 1 kg.
ใช้สำลีชุบ 70% Alcohol เช็ดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาชา โดยวนออกด้านนอกให้ห่างจากตำแหน่งที่จะฉีดยาชาเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว
ฉีดยาชาเฉพาะที่ ขณะแทงเข็มผ่านผิวหนังเข้าสู่ชั้น Intramuscular ควรตรวจสอบทุกครั้งเพื่อ ป้องกันการฉีดยาชาเข้าหลอดเลือด
ฉีดยาชารอบ ๆ แผล (Infiltration) ในกรณีบาดแผลอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่นิ้วมือ หรือนิ้วเท้าให้รอ 1 นาที เพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์
การชะล้างบาดแผล
เตรียมชุดทำความสะอาดบาดแผล
เปิดชุดทำความสะอาดบาดแผล กรณีแผลเป็นโพรงลึกตั้งแต่ 1 เซนติเมตร ขึ้นไป ให้เตรียม Syringe sterile ขนาด 20 cc. และเข็มเบอร์ 18 ใส่ไว้ในชุดทำความสะอาดบาดแผลด้วย
ใส่ถุงมือ Sterile
เทน้ำเกลือ NSS เพื่อใช้ล้างแผล ชะล้างอย่างต่อเนื่องจนกว่าแผลจะสะอาด
กรณีมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ให้ใช้ผ้าก๊อซชุบ NSS เช็ดเบา ๆ จนสิ่งแปลกปลอมหลุดออก และสะอาด
ใช้ผ้าก๊อซ Sterile ซับแผลให้แห้ง
เทน้ำเกลือล้างแผล (NSS) ชะล้างบาดแผล โดยยกขวดให้ปากขวดห่างจากแผล 6 นิ้ว ชะล้างบาดแผลอย่างต่อเนื่องจนแผลสะอาด กรณีแผลเป็นโพรงลึกมากกว่า 1 เซนติเมตร ให้เท NSS ใส่ถ้วยขนาด 6 ออนซ์ ในชุดทำความสะอาดแผล แล้วใช้ Syringe sterile ขนาด 20 cc. สวมกับเข็มเบอร์ 18 ดูด NSS จากถ้วยฉีดล้างในแผล โดยให้เข็มห่างจากแผลประมาณ 1 นิ้ว ฉีดล้างจนแผลสะอาด
การเย็บแผล
บาดแผลที่ไม่ควรเย็บ
สุนัขกัด ตกน้ำคร่ำ และแผลติดเชื้อ บาดแผลสกปรกและชอกช้ำมากต้อง
อาจต้องเปิดปากแผลไว้และเย็บปิดบาดแผลในภายหลัง และให้นัดทำแผลทุกวัน บาดแผลเรื้อรังสกปรก
วิธีการเย็บแผล
เตรียมชุดเย็บแผลและอุปกรณ์ให้พร้อม
เตรียมบริเวณบาดแผลก่อนการเย็บแผล หากมีขนบริเวณที่จะเย็บต้องโกนขนก่อน
ทำความสะอาดบาดแผล
ฉีดยาชา ควรฉีดเข้าในชั้นใต้ผิวหนัง หรือ Subcutaneous tissue
เลือกเข็มให้เหมาะสมกับแผลที่เย็บ ถ้าเป็นเข็มตรงใช้มือจับเย็บ ถ้าเป็นเข็มโค้งต้องใช้Needle Holder จับประมาณ 1/3 ค่อนมาทางโคนเข็ม สนด้ายที่จะใช้เย็บเข้าที่รูเข็ม
การจับ Needle Holder ควรจับให้ด้ามอยู่ในอุ้มมือโดยสอดนิ้วโป้งกับนิ้วนางเข้าไปในเครื่องมือ
การตักเข็ม โดยปักลงไปตรง ๆ ไม่กว้างเกินไป โดยตักให้ตั้งฉากกับผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ ใช้ข้อมือหมุนเข็มให้ปลายเสยขึ้น แล้วปล่อย Needle Holder จากโคนเข็มมาจับปลายที่แทงกับผิวหนัง อีกด้านหนึ่ง แล้วหมุนเข็มตามความโค้งของเข็ม จัดความยาวของเชือกหรือด้ายที่ใช้เย็บให้เท่ากัน พร้อมกับดึงขอบ แผลให้มาติดกัน แล้วผูกเงื่อนตาย ผูกด้ายโดยใช้ปลาย Needle Holder ตวัดด้ายของมือซ้ายทำเป็นบ่วงอยู่ที่ปลาย Needle Holder เอา Needle Holder รอดบ่วงที่ทำชั้นนี้ไปจับปลายด้ายอีกข้างหนึ่ง ใช้ปลาย Needle Holder ดึงปลายด้ายรอดเข้าบ่วง ดึงให้ตึง แล้วมือซ้ายคล้องปลายคีมซึ่งจับปลายด้ายอีกข้างหนึ่งอยู่ ดึงคีมให้ปลายด้ายเข้าบ่วงแล้วดึง ให้ตึงใช้กรรไกรตัดไหม ตัดด้ายโดยให้เหลือโคนไว้ยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร
ท าความสะอาดแผล แล้วปิดแผลด้วยก๊อสปราศจากเชื้อ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีบาดแผล
ระวังอย่าให้แผลสกปรก และเปียกน้ำ
แผลที่ต้องพันผ้า หรือเข้าเฝือก เพื่อให้เคลื่อนไหวได้น้อยใน 24 ชั่วโมงแรก สังเกตการไหลเวียนเลือดถ้าบวม ปวด และแน่นมาก ให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัด และควรหนุนให้สูง 24–48 ชั่วโมงแรก เพื่อป้องกันไม่ให้แผลบวม
ถ้ามีอาการอักเสบ ได้แก่ แผลบวมแดง มีไข้หรือมีอาการปวด มีหนอง ให้มาพบแพทย์ได้เลย
ให้มาตัดไหมตามนัด ถ้าเปนแผลเย็บไม่ควรปล่อยให้ไหมค้างคาไว้นานเกินไป
แนะนำการมารับภูมิคุ้มกันต่อเนื่องให้ครบตามกำหนดของการให้ภูมิคุ้มกัน
การตัดไหม
แผลบริเวณใบหน้า ควรตัดไหมเมื่อครบ 5 วัน
แผลบริเวณศีรษะ ควรตัดไหมเมื่อครบ 7-10 วัน
แผลบริเวณลำตัวที่ผิวหนังไม่ตึงมาก ควรตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน
แผลบริเวณแขนขาหรือผิวหนังที่ตึงมาก ควรตัดไหมเมื่อครบ 7-10 วัน หรืออาจถึง 10-14 วัน ในตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวมาก
แนวทางปฏิบัติในการผ่าฝีและเลาะซีสต์(cyst)
ฝี หมายถึง ตุ่มหนองที่เกิดการอักเสบ เจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดน และก่อตัวขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เกิดได้ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน
ซีสต์ (cyst) หมายถึง ก้อนหรือตุ่มที่เกิดขึ้นตามร่างกาย โดยมีลักษณะเป็นถุงที่บรรจุอากาศ ของเหลว น้ำ ไขมัน หรือมีเนื้อเยื่อ
วิธีการผ่าตัดก้อนใต้ผิวหนังที่พบบ่อย
Sebaceous cyst เป็นก้อนใต้ผิวหนังและติดกับผิวหนัง ถ้าบีบจะมีสารสีขาว ๆ ออกมา แตกเองได้ เกิดจากต่อมไขมันอุดตัด
วิธีการผ่าตัด ฉีดยาชารอบถุงถึงก้นถุง ลงมีดเป็นรูปวงรี ตัดส่วนที่ติดกับผิวหนังออก เลาะลงไปทั้งสองข้าง ระวังอย่าให้ถุงแตก ใช้ Forceps/Arterial clamp หรือ Metzenbaum แหวกเลาะ จับขั้วขึ้นมาแล้วตัดถุงออก จากนั้นเช็ดทำความสะอาดแผลและเย็บปิด
lipoma เป็นก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ค่อนข้างนิ่ม ไม่มีรูปเปิดเหมือนถุงไขมัน ก้อนไขมันจะอยู่ใต้ผิวหนังและบนกล้ามเนื้อ
วิธีการผ่าตัด ฉีดยาชา ลงมีด และใช้นิ้วมือ/ Forceps/Arterial clamp หรือ Metzenbaum แหวกเลาะปลิ้นก้อนออกมา lipoma จะมีหลอดเลือดมาเลี้ยงที่ขั้ว ให้ใช้ Arterial clamp จับที่ฐาน แล้วตัดก้อนออก ผูกเส้นเลือด จากนั้นเช็ดท าความสะอาดแผลและเย็บปิด
fibroma ลักษณะแข็ง ไม่ติดกับผิวหนัง เคลื่อนที่ได้
วิธีการผ่าตัด เช่นเดียวกับ lipoma
Wart เป็นตุ่มผิวหนังที่นูนสูงขึ้นเป็นแท่งปลายตัด ที่ปลายเป็นขุย ๆ มันกมีสีดำ เป็นจุดเล็ก ๆ
วิธีการผ่าตัด ฉีดยาชารอบถุงถึงก้นถุง ลงมีดเป็นรูปวงรีใช้ Tooth forceps จับที่ตัวหูดใช้มีด หรือ Metzenbaum ตัดที่ฐาน จากนั้นเช็ดทำความสะอาดแผลและเย็บปิด หากหูดมีขนาดใหญ่ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
การถอดเล็บ (nail extraction)
วิธีการถอดเล็บจะกระทำในกรณีเล็บขบ มีหนองใต้เล็บ เล็บเน่าพร้อมที่จะหลุด
ใช้สายยางรัดโคนนิ้วให้แน่น แล้วฉีดยาชา
สอดปลายกรรไกรเข้าใต้เล็บ
ถ่างปลายกรรไกรออกเพื่อแยกเล็บออกจากพื้นเล็บ
ใช้คีมจับปลายเล็บแล้วดึงออก
ทำความสะอาดแผลหลังดึงเล็บออก แล้วปิดด้วยแผ่นตาข่ายที่มีน้ำยาหล่อลื่น เช่น ก๊อซชุบยาปฏิชีวนะชนิดครีม หรือ sofra-tulle
ใช้ผ้าพันแผลพันปลายนิ้วให้แน่น
ดึงสายยางรัดที่โคนนิ้วออก
การล้างตา (Eye irrigation)
วิธีการปฏิบัติ
ตรวจสอบ ชื่อผู้ป่วย และตาข้างที่จะล้างให้ถูกต้อง
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์ และขั้นตอนการล้างตา
ปูผ้ายางหรือผ้าขวางเตียงรองใต้ศีรษะผู้ป่วย
ใช้สำลีสะอาดอุดหูข้างที่จะล้างตา จัดท่าผู้ป่วยนอนราบ ไม่หนุนหมอน และเอียงหน้าเล็กน้อยไปทางตาข้างที่จะล้าง
หยอดยาชา tetracaine eye drop 1 หยด
ให้ผู้ป่วยหลับตาแล้วปล่อยน้ำเกลือชนิด 0.9% Normal Saline หรือ Ringer’s Lactate ให้ไหลลงบนแก้มผู้ป่วยก่อนแล้ว จึงล้างหนังตาหรือผิวหนังรอบตา
ล้างตาตามขั้นตอนดังนี้
ดึงหนังตาล่างลง ให้ผู้ป่วยมองขึ้นด้านบนแล้วจึงล้างเยื่อบุตาล่าง
ดึงหนังตาบนขึ้น ให้ผู้ป่วยมองลงข้างล่างแล้วจึงล้างเยื่อบุตาบน
ให้ผู้ป่วยกลอกตาไปมาทางซ้ายและขวา สลับกันไปเพื่อล้างเยื่อบุให้ทั่วถึง
ในกรณีผู้ป่วยถูกสารเคมีเข้าตาต้อง ใช้น้ำเกลือปริมาณอย่างน้อย 1000 ซีซี นาน 30 นาที ขณะล้างตาให้เปิดตาให้กว้างที่สุด
เมื่อเสร็จแล้ว ใช้สำลีสะอาดเช็ดซับบริเวณรอบ ๆ ตาให้เรียบร้อย
หยอด poly - oph 1 - 2 หยด หรือยาตามแผนการรักษา
เมื่อล้างตาเสร็จแล้วแจ้งให้ผู้ป่วยทราบและจัดท่าอยู่ในท่าที่เหมาะสม
ข้อควรระวัง
ในเด็กต้องห่อตัวก่อนการล้างตา
ห้ามล้างตาในผู้ป่วย Ruptured globe หลังผ่าตัดลูกตาช่วงเดือนแรก
หากต้องล้างตาทั้งสองข้อง ล้างตาข้างที่สะอาดก่อนเสมอ
ในกรณีถูกสารเคมีเข้าตา ต้องล้างด้วยน้ำเกลือจำนวนมาก โดยใช้น้ำเกลือขนาด 1,000 ml และต่อกับสายยางให้น้ำเกลือ (IV set) โดยแขวนขวดเช่นเดียวกับขวดน้ำเกลือ เมื่อเปิด Clamp ที่สายยาง น้ำยาจะไหลลงมา
ระวังอย่าให้ปลาย Undine แตะต้องกับส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้ป่วย เพราะจะทำให้สกปรกและเกิดอันตรายได้
ล้างตา 15-30 นาที ใช้ 0.9% NSS อย่างน้อย 1 ลิตร พร้อมตรวจซ้ำว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดค้างในตาหรือไม่ หากพบให้นำออกให้หมด
ระวังอย่าให้น้ำพุ่งลงบนกระจกตาดำ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดตา
หลังจากล้างตาเสร็จ 5-10 นาทีให้ทดสอบ pH และให้ล้างตาต่อจนกว่า pH จะเป็นกลาง