Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จิตวิทยาพัฒนาการ(นักทฤษฎี) - Coggle Diagram
จิตวิทยาพัฒนาการ(นักทฤษฎี)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
แนวคิด
บนฐานพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา
ขั้นพัฒนาการความคิดเด็ก ไม่เร่ง
พัฒนาการเป็นไปตามลำดับขั้น
เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก
ทฤษฎีการเรียนรู้
**พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้
น**
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)0-2ปี
2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)2-7ปี
2.1 ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought)2-4ปี
2.2 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)4-7ปี
3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)7-11ปี
เข้าใจเหตุผล
แก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม
คิดย้อนกลับ
เข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
สร้างและตั้งกฎเกณฑ์
4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)
ส่งเสริม มี 6 ขั้น
ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) รู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เล็ก-ใหญ่
ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) รู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย/ปานกลาง น้อย
ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) รู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) รับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่เห็น
กระบวนการทางสติปัญญา
การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)
รับรู้เรื่องราว
สะสมประสบการณ์
การปรับและจัดระบบ (accommodation)
3.การเกิดความสมดุล
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
1. นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
1.1 ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences)
1.2 ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logic mathematical experiences)
นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบ
**2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง
เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
เน้นกิจกรรมการค้นพบ
ความแปลกใหม่
3. การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง
ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
**4. ในขั้นประเมินผล
มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น
ทฤษฎีการเรียนรู้ของวีก๊อทสกี้
แนวคิด
เน้นความ สำคัญของวัฒนธรรม สังคม และการเรียนรู้ที่มีต่อพัฒนาการเชาว์ปัญญา
มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด
ระดับเชาว์ปัญญา
1. เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น
คือเชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2. เชาว์ปัญญาขั้นสูง
เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรม เลี้ยงดู มี3ขั้น
2.1 ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม (social speech)0-3ปี
2.2 ภาษาที่พูดกับตนเอง 3 – 7 ขวบ (egocentric speech)3-7ปีเพื่อตัดสินใจ
2.3 ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป (inner speech)
สัญลักษณ์ที่ช่วยในกระบวนการพัฒนาสติปัญญา
เครื่องหมายดัชนี ( indexical sign)
อธิบายสิ่งที่มีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน
ฝนตกน้ำท่วม
เครื่องหมายภาพตัวแทน(iconic sign)
สื่อสัญลักษณ์ต่างๆ
ธงชาติ
เครื่องหมายสัญลักษณ์ (symbolic sign)
สัญลักษณ์แทนสิ่งที่เป็นนามธรรมในการคิด
ภาษา
ประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
จัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริง ผู้เรียนฝึกฝนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เปลี่ยนจากการสอนตาตัว สู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำได้แก้/ปัญหาจริงได้
ผู้เรียนเรียนรู้อย่างตื่นตัวกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆจะต้องสร้าง ความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วย
ครูสร้างบรรยากาศทางสังคม จริยธรรม ให้เกิดขึ้น ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสเรียนรู้ในบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จะช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขึ้น และหลากหลายขึ้น
ผู้เรียนมีบทบาทเต็มที่ โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
ครูจะมีบทบาทต่างไปจากเดิม คือ จากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ เป็นการอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ“การให้ความรู้” ไปเป็น “การให้ผู้เรียนสร้างความรู้”
ในด้านการประเมินผลเนื่องจากการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองนี้ ขึ้นอยู่กับความสนใจและการสร้างความหมายที่แตกต่างกันของบุคคล ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะหลากหลาย
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
แนวคิด
มนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด
พฤติกรรมเป็นผลมาจากแรงจูงใจ/แรงขับพื้นฐานที่กระตุ้น
คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะ
สัญชาตญาณเพื่อความตาย
สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต
พัฒนาการทางเพศ 5 ขั้นตอน
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) (อายุ 1 ปี 6 เดือน - 3 ปี 6 เดือน)
เข้มงวดในการฝึกวินัยในการขับถ่าย
เกิดภาวะติดค้าง
เผด็จการ
ไม่มีความพอดีในเรื่องความสะอาด/ใช้จ่าย
1. ขั้นปาก (Oral Stage) (แรกเกิด - 18 เดือน)
การดูดเป็นการลดเครียดของเด็ก
ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณปาก
ภาวะติดค้าง
ชอบกินเหล้า
กินจุกจิก
สูบบุหรี่
จู้จี้ขี้บ่น
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) (3 ปี 6 เดือน - 6 ปี)
เริ่มสนใจความแตกต่างระหว่างเพศ
ชอบเล่นอวัยวะเพศ
ภาวะติดค้าง
ชอบแสดงออกในเรื่องเพศ
ชอบพูดจาสองแง่สองง่าม
สนใจต่อเรื่องเพศมากเป็นพิเศษ
เด็กชายเกิดปมโอดิปุส (Oedipus Complex) รักแม่อิจฉาพ่อ
เด็กหญิงจะเกิดปมอีเลคตร้า (Electra Complex)รักพ่ออิจฉาแม่
4.ขั้นพัก/ขั้นแฝง (Latency Stage) (6 - 12 ปี)
พฤติกรรมทางเพศเป็นไปอย่างสะเปะสะปะ
ไม่อยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะจึงไม่มีภาวะติดค้าง
5. ขั้นเพศ (Genital Stage) (12 - 20 ปี)
มี “วุฒิภาวะทางเพศ”
พร้อมต่อการสืบพันธุ์
ลักษณะจิตใจของบุคคล 3 ส่วน
1.
อิด (Id)
ความพึงพอใจของตนเองเป็นใหญ่
ไม่คำนึงว่าผู้อื่น
2.
อีโก้ (Ego)
ตอบสนองความต้องการที่เกิดจากอิด
ตอบสนองตามหลักแห่งความเป็นจริง (Reality Principle)
คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมระหว่างตนเองกับผู้อื่น
3.
ซูเปอร์อีโก้ (Superego)
ตอบสนองความต้องการของอิด
คำนึงถึงหลักแห่งมโนธรรม (Moral Principle)
คำนึงถึงประโยชน์สุขของผู้อื่น
ตนเองอาจทุกข์ก็ได้
กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism)
การเก็บกด (Repression)
การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization)
การถดถอย (Regression)
การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation)
การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming)
การแยกตัว (Isolation)
การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement)
การเลียนแบบ (Identification)
กลไกในการป้องกันตัว
การประยุกต์ใช้
พัฒนาการด้านบุคลิกภาพให้เหมาะสม
เลี้ยงดูถูกหลักป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
ครูผู้สอน
ให้ความรู้เรื่องเพศ
สอนบทบาทสังคม
ทำกิจกรรมเพื่อลดการหมกหมุ่นเรื่องเพศ
กีฬา
ดนตรี
ทฤษฎีจิตสังคมของอีริกสัน
พัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น
ขั้นที่ 3 ระยะก่อนไปโรงเรียน (Preschool period) อายุ 3-6 ปี
มีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)
เด็กมีการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
ชอบลองอะไรใหม่ๆ
ถ้าดีจะมีความมั่นใจในตนเอง กล้าซักถาม มีความคิดริเริ่ม แสดงความแยบคายในการแก้ปัญหาและพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งต่างๆ
ถ้าพ่อแม่เข้มงวดควบคุมความประพฤติตลอดเวลา เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองทำผิดเมื่อพยายามทำอะไรด้วยตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 5 ระยะวัยรุ่น (Adolescent period) อายุ 12-20 ปี
ขั้นการเข้าใจอัตลักษณะของตนเองกับไม่เข้าใจตนเอง (Identity vs role confusion)
ผูกพันกับสังคมและต้องการตำแหน่งทางสังคม
รู้สึกเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง
เข้าใจตนเอง
หากไม่สามารถรวบรวมประสบการณ์ในอดีตได้ ก็จะไม่สามารถเข้าใจตัวเอง เกิดความสับสน และความขัดแย้ง
ขั้นที่ 4 ระยะเข้าโรงเรียน (School period) อายุ 6-12 ปี
ขั้นเอาการเอางานกับความมีปมด้อย (Industry vs Inferiority)
เด็กเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์
มีความคิดและพยายามทำกิจกรรมด้วยตัวเอง
หากได้รับการสนับสนุนจะทำให้เด็กมีการพัฒนาบุคลิกภาพและมีความมานะเพียรพยายามที่จะแสวงหาสิ่งที่ท้าทายความสามารถ สติปัญญา
หากไม่เด็กมีความรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า อาจต้องถอยกลับไปสู่วัยทารกอีกเพื่อหลีกเลี่ยงภาระอันต้องรับผิดชอบ
ขั้นที่ 2 วัยเริ่มต้น (Toddler period) อายุ 2-3 ปี
มีความเป็นอิสระกับความละอายและสงสัย (Autonomy vs Shame and doubt)
เริ่มทำกิจกรรมด้วยตนเอง
พ่อแม่เคร่งครัด
ไม่แน่ใจในตนเอง
ไม่กล้าที่จะทำอะไรด้วยตนเอง
ขั้นที่ 1 ระยะทารก (Infancy period) อายุ 0-2 ปี
เรียนรุ้ไว้ใจแม่
ไว้วางใจและไม่ไว้วางใจผู้อื่น (Trust vs Mistrust)
ถ้าไม่ได้รับความรักจะหวั่นกลัว ไม่ไว้วางใจผู้ใดหรือสิ่งของใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้รวมทั้งไม่ไว้วางใจตนเองด้วย
สรุป
อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชรา
วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น
ถ้าพัฒนาตามหลักก็จะโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ
ประยุกต์ใช้
การจัดการเรียนการสอน
ให้เด็กได้แสดงออก/ความคิด/สติปัญญา/ความสามารถ
ให้อิสระทางความคิด
เด็กได้สร้างผลงานต่างๆ ด้วยตนเอง
เชื่อใจ/ไว้ใจเด็ก
ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาในสิ่งที่ตนชอบ
จัดให้เด็กใช้กิจกรรมกลุ่ม
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น3ระดับ
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ20 ปี ขึ้นไป
ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคมอายุ 10 -16 ปี
ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบของสังคม
เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม
รู้ถึงบทบาทและหน้าที่
ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม
อยากเป็นที่ยอมรับ
ถูกชักจูงง่าย
ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม จะพบในเด็ก 2-10 ปี
ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
ถูก/ผิด
ถ้าได้รางวัลจะทำอีก
ขั้นที่ 2 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
สนใจทำตามกฎข้อบังคับ
สนองความต้องการของตนเอง
การประยุกต์ใช้
ในระดับตามกฎเกณฑ์เด็กจะเรียนจากสังคมกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน และจะเรียนรู้จากบุคคลอื่นๆ หรือมีการเลียนแบบ ผู้ปกครองและครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี และควรหาแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง เช่น การเล่าถึงผู้ที่กระทำความดี การเล่านิทานที่ให้แง่คิด เป็นต้น ในระดับนี้ครูควรเริ่มสอนเรื่องบทบาท หน้าที่ และกฎระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ควรใช้วิธีที่เข้าใจง่ายเพื่อให้เด็กสนใจ เช่น การให้ดูวิดีโอเกี่ยวกับกฎหมาย บทลงโทษ
ระดับเหนือกฎเกณฑ์เด็กเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดที่อิสระมากขึ้น เด็กเริ่มเป็นผู้ตัดสินว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดด้วยตนเอง ในช่วงวัยนี้ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากกรณีศึกษาต่างๆ ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์และร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นๆ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะไปในทางที่ถูกต้อง
ครูได้ทราบว่าในช่วงก่อน 10 ขวบเด็กจะเรียนด้านจริยธรรมจากผลของการกระทำของตนเอง ในช่วงวัยนี้เราควรชี้แจงถึงสิ่งที่ถูกต้องอย่างเหมาะสม มีการใช้คำชมเชย ของรางวัลกับเด็กที่กระทำตนเป็นเด็กดี และมีการว่ากล่าวตักเตือนเด็กเมื่อทำผิดไม่ใช่ปล่อยเพราะคิดว่ายังเยาว์วัยอยู่ ในการว่ากล่าวตักเตือนต้องอธิบายถึงสิ่งที่เด็กทำผิดด้วย