Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำหัตถการตามขอบเขตวิชาชีพพยาบาล - Coggle Diagram
การทำหัตถการตามขอบเขตวิชาชีพพยาบาล
การทำแผลและการตกแต่งบาดแผล
การทำความสะอาดผิวหนังรอบ ๆ บาดแผล
2.เตรียมภาชนะใส่น้ำล้างแผล และล้างแผลโดยไม่ให้สัมผัสกับแผล
3.ใส่ถุงมือ และใช้ผ้าก๊อตชุบน้ำ และสบู่เหลวเพื่อล้างรอบๆแผล โดยล้างฟอกวนออกไปนอกแผล และห่างจากแผล 2นิ้ว และล้างจนกว่าจะสะอาด
ใช้ผ้าสะอาดซับบริเวณผิวหน้งรอบแผลให้แห้ง
1.จัดท่าให้ผู้ป่วยวางแขนหรือขาที่มีบาดแผลบนตะแกรงล้างแผล หากมีแผลบริเวณสะโพก ศีรษะให้ใช้ผ้ายางรองแผล และให้ชายผ้าอยู่ที่ตะแกรง
การใช้ยาชาเฉพาะที่
การแก้ไขการแพ้ยาชา
3.วัดสัญญาณชีพ บันทึกอาการและอาการแสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด หากผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อค ควรใช้สารน้ำชนิด 5% D/NSS 1,000 ml. IV drip ให้อย่างเร็วระหว่างรอแพทย์
หากผู้ป่วยมีอาการชักให้ Valium 10 mg. IV push ช้า ๆ
หากหัวใจหยุดเต้นอาจให้ Adrenaline 1:1,000 IV,
Epinephline 0.1-0.5 cc. เจือจาง 1:10,000 IV
2.ให้นอนพักศีรษะสูง ให้ O2 Inhalation
1.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง และรายงานแพทย์
ช่วยหายใจ เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือส าหรับใส่ Tracheostomy tube
วิธีการใช้ยาชาเฉพาะที่
การสกัดบริเวณ
การฉีดยาสกัดประสาท
การฉีดเฉพาะที่
การทำให้ชาโดยฉีดที่ไขสันหลัง
การใช้ทาหรือหยอด
ชนิดของยาชา
Lignocaine Hydrochloride หรือ Lidocaine หรือ Xylocaine
Pontocaine Hydrochloride
Procaine Hydrochloride หรือ Novocaine
การประเมินบาดแผล
ประเมินลักษณะบาดแผล
สิ่งแปลกปลอมหรือสารคัดหลั่ง
ขนาดบาดแผล ตำแหน่งของบาดแผล
พิจารณาการจัดการบาดแผล
บาดแผลเกิน 12 ชัวโมง จะไม่เย็บแผล แต่จะนัดมาทำแผลทุกวัน
บาดแผลที่ต้องส่งต่อทันทีหลังให้การพยาบาลเบื้องต้น เช่น บาดแผลที่มีกระดูกหัก บาดแผลที่มีเส้นเลือดฉีกขาด บาดแผลทีมีเนื้อเยื่อหายไป
บาดแผลที่ไม่เกิน 12 ชั่วโมงจะเย็บแผล หากบาดแผลไม่มีสิ่งแปลกปลอม
ซักประวัติข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวัน เวลาที่เกิดบาดแผล สาเหตุการเกิดบาดแผล
และการรักษาบาดแผลก่อนมาสถานบริการสุขภาพจากผู้ป่วย
การชะล้างบาดแผล
4.เทน้ำเกลือ NSS เพื่อใช้ล้างแผล โดยชะล้างจนกว่าแผลจะสะอาด
5.กรณีมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ให้ใช้ผ้าก๊อซชุบ NSS เช็ดเบา ๆ จนสิ่งแปลกปลอมหลุดออก
3.ใส่ถุงมือ Sterile
6.ในกรณีแผลลึกมากกว่า 1 ซม ใช้ Syringe sterile ขนาด 20 cc. สวมกับเข็มเบอร์ 18 ดูด NSS จากถ้วยฉีดล้างในแผล โดยให้เข็มห่างจาก
แผลประมาณ 1 นิ้ว ฉีดล้างจนแผลสะอาด
2.เปิดชุดทำความสะอาดบาดแผล กรณีแผลเป็นโพรงลึกตั้งแต่ 1 เซนติเมตร ขึ้นไป ให้เตรียมSyringe sterile ขนาด 20 cc.
และเข็มเบอร์ 18 ใส่ไว้ในชุดทำความสะอาดบาดแผลด้วย
ใช้ผ้าก๊อซ Sterile ซับแผลให้แห้ง
เตรียมชุดทำความสะอาดบาดแผล
การเย็บแผล
วัตถุประสงค์ในการเย็บแผล
เพื่อการห้ามเลือด
ซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ
ลดอาการปวดและการติดเชื้อ
ลดรอยแผลเป็นที่อาจเกิดจากบาดแผลนั้น ๆ
เพิ่มการหายของแผล
เครื่องมือสำหรับเย็บแผล
1.ชุดเย็บแผล
Tooth Forceps ใช้ส าหรับหยิบจับภายนอก เช่น ผิวหนัง หรือถ้าหากต้องการหยิบ จับภายใน อาจเป็นประเภทของการหยิบจับพังผืด
2 .Non Tooth Forceps ใช้หยิบจับภายใน
Needle Holder ใช้สำหรับการจับเข็ม เพื่อคุมน้ าหนัก และทิศทางในการเย็บแผล
วัสดุเย็บ หรือด้าย ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ Silk และ Nylon เป็นด้ายที่ใช้เย็บภายนอก และไหมละลาย (Chromic Catgut) ซึ่งใช้สำหรับเย็บอวัยวะภายใน
5 .กรรไกรตัดไหม
ถุงมือ sterile
ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
2.ยาชาเฉพาะที่
บาดแผลที่ควรเย็บและไม่ควรเย็บ
บาดแผลที่ควรเย็บ ได้แก่ บาดแผลหลังได้รับอุบัติเหตุนานไม่เกิน 6 ชั่วโมง หรือนานเกิน 6 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 12 ชั่วโมง และแผลมีลักษณะขอบแผลเรียบ
บาดแผลที่ไม่ควรเย็บ ได้แก่ สุนัขกัด ตกน้ำ และแผลติดเชื้อ บาดแผลสกปรกและชอกช้ ามากต้อง อาจต้องเปิดปากแผลไว้และเย็บปิดบาดแผลในภายหลัง และให้นัดทำแผลทุกวัน
ประเภทของการเย็บแผล
เย็บแบบธรรมดา ชนิดปล้อง คือ ใช้เข็มตักเข้าไปที่เนื้อใต้ผิวหนังส่วน
ที่ต้องการเย็บเพียงครั้งเดียว แล้วผูกเป็นปมไว้ที่ด้านข้าง
เย็บแบบซ้อน คือ การเย็บย้อนตอบกลับ โดยใช้เข็มเย็บตักเข้าไปที่เนื้อใต้ผิวหนัง ให้ลึกจากขอบแผลข้างหนึ่งไปโผล่ขอบแผลอีกข้างแล้วย้อนเข็มกลับมา ตักขอบแผลตื้น ๆ แทงเข็มขึ้นมาใกล้ตำแหน่งเดิมที่แทงครั้งแรก แล้วผูกปมตักด้านส่วนที่เหลือออก
การประเมิน
ประเมินขนาดและลักษณะของบาดแผลว่ามี การถลอก ฟกช้ำห้อเลือด หรือแผลฉีกขาด หรือไม่
ประเมินการสูญเสียเลือดว่ามีเลือดออกภายนอกให้เห็น หรือว่ามีเลือดออกภายใน ซึ่งต้องประเมิน โดยใช้สัญญาณชีพเป็นหลัก และอื่น ๆ ประกอบ
คำแนะนำ
ระวังอย่าให้แผลสกปรก และเปียกน้ำ
แผลที่ต้องพันผ้า หรือเข้าเฝือก เพื่อให้เคลื่อนไหวได้น้อยใน 24 ชั่วโมงแรก สังเกตการไหลเวียนเลือดถ้าบวม ปวด และแน่นมาก ให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัด และควรหนุนให้สูง 24–48 ชั่วโมงแรก เพื่อปองกันไม่ให้แผลบวม
ถ้ามีอาการอักเสบ ได้แก่ แผลบวมแดง มีไข้หรือมีอาการปวด มีหนอง ให้มาพบแพทย์ได้เลย
ให้มาตัดไหมตามนัด ถ้าเปนแผลเย็บไม่ควรปล่อยให้ไหมค้างคาไว้นานเกินไป
แนะนำการมารับภูมิคุ้มกันตอเนื่องให้ครบตามกำหนดของการให้ภูมิคุ้มกัน
วิธีการเย็บแผล
เตรียมชุดเย็บแผลและอุปกรณ์ให้พร้อม
เตรียมบริเวณบาดแผลก่อนการเย็บแผล หากมีขนบริเวณที่จะเย็บต้องโกนขนก่อน
ทำความสะอาดบาดแผล
ฉีดยาชา
เลือกเข็มให้เหมาะสมกับแผลที่เย็บ
การตักเข็ม โดยปักลงไปตรง ๆ ให้พอเหมาะ ไม่กว้างจนเกินไป
ทำความสะอาดแผล แล้วปิดแผลด้วยก๊อสปราศจากเชื้อ
การล้างตา
เพื่อความสะอาดปราศจากคราบน้ำตา ขี้ตาหรือน้ำหนอง ล้างพิษจากสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอม รวมถึงทำให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และบรรเทาอาการเจ็บปวด อันเนื่องจากการอักเสบ
วิธีการปฏิบัติ
ให้ผู้ป่วยหลับตาแล้วปล่อยน้ าเกลือชนิด 0.9% Normal Saline หรือ Ringer’s Lactate ให้ไหลลงบนแก้มผู้ป่วยก่อนแล้ว จึงล้างหนังตาหรือผิวหนังรอบตา
ล้างตาตามขั้นตอนดังนี้
1 ดึงหนังตาล่างลง ให้ผู้ป่วยมองขึ้นด้านบนแล้วจึงล้างเยื่อบุตาล่าง
3 ให้ผู้ป่วยกลอกตาไปมาทางซ้ายและขวา
สลับกันไปเพื่อล้างเยื่อบุให้ทั่วถึง
ดึงหนังตาบนขึ้น ให้ผู้ป่วยมองลงข้างล่างแล้วจึงล้างเยื่อบุตาบน
หยอดยาชา tetracaine eye drop 1 หยด
ในกรณีผู้ป่วยถูกสารเคมีเข้าตาต้อง ใช้น้ าเกลือปริมาณอย่างน้อย 1000 ซีซี นาน 30 นาที ขณะล้างตาให้เปิดตาให้กว้างที่สุด
ใช้สำลีสะอาดอุดหูข้างที่จะล้างตา จัดท่าผู้ป่วยนอนราบ ไม่หนุนหมอน และเอียงหน้าเล็กน้อยไปทางตาข้างที่จะล้าง
เมื่อเสร็จแล้ว ใช้สำลีสะอาดเช็ดซับบริเวณรอบ ๆ ตาให้เรียบร้อย
ปูผ้ายางหรือผ้าขวางเตียงรองใต้ศีรษะผู้ป่วย
หยอด poly - oph 1 - 2 หยด หรือยาตามแผนการรักษา
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์ และขั้นตอนการล้างตา
เมื่อล้างตาเสร็จแล้วแจ้งให้ผู้ป่วยทราบและจัดท่าอยู่ในท่าที่เหมาะสม
ตรวจสอบ ชื่อผู้ป่วย และตาข้างที่จะล้างให้ถูกต้อง
ข้อควรระวัง
ระวังอย่าให้น้ำพุ่งลงบนกระจกตา เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดตา
ระวังอย่าให้ปลาย Undine แตะต้องกับส่วนหนึ่งส่วนใด
ของผู้ป่วย เพราะจะทำให้สกปรกและเกิดอันตรายได้
หากต้องล้างตาทั้งสองข้อง ล้างตาข้างที่สะอาดก่อนเสมอ
ในเด็กต้องห่อตัวก่อนการล้างตา
ห้ามล้างตาในผู้ป่วย Ruptured globe หลังผ่าตัดลุกตาช่วงเดือนแรก
ในกรณีถูกสารเคมีเข้าตา ต้องล้างด้วยน้ำเกลือจ านวนมาก โดยใช้น้ำเกลือขนาด 1,000 ml และต่อกับสายยางให้น้ำเกลือ (IV set) โดยแขวนขวดเช่นเดียวกับขวดน้ำเกลือ เมื่อเปิด Clamp ที่สายยางน้ำยาจะไหลลงมา
ล้างตา 15-30 นาที ใช้0.9% NSS อย่างน้อย 1 ลิตร พร้อมตรวจซ้ำว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดค้างในตาหรือไม่ หากพบให้น้ำออกให้หมด
หลังจากล้างตาเสร็จ 5-10 นาทีใหทดสอบ pH และให้ล้างตาต่อจนกว่า pH จะเป็นกลาง
การถอดเล็บ
วิธีการถอดเล็บจะกระทำในกรณีเล็บขบ
มีหนองใต้เล็บ เล็บเน่าพร้อมที่จะหลุด
ใช้คีมจับปลายเล็บแล้วดึงออก
ทำความสะอาดแผลหลังดึงเล็บออก แล้วปิดด้วยแผ่นตาข่ายที่มีน้ำยาหล่อลื่น
ใช้สายยางรัดโคนนิ้วให้แน่น แล้วฉีดยาชา
ถ่างปลายกรรไกรออกเพื่อแยกเล็บออกจากพื้นเล็บ
ใช้ผ้าพันแผลพันปลายนิ้วให้แน่น
สอดปลายกรรไกรเข้าใต้เล็บ
ดึงสายยางรัดที่โคนนิ้วออก
แนวทางปฏิบัติในการผ่าฝีและเลาะซีสต์
ซีสต์(cyst) หมายถึง ก้อนหรือตุ่มที่เกิดขึ้นตามร่างกาย โดยมีลักษณะเป็นถุงที่บรรจุอากาศ ของเหลว น้ำ ไขมัน หรือมีเนื้อเยื่อ
อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการผ่าฝีและเลาะซีสต์
Towel clips
Retractor
ด้ามมีด
Arterial clamp
ใบมีดผ่าตัด
Metzenbaum
Sponge holder
น้ำยาต่าง ๆ
อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้สำหรับเย็บแผล และยาชา
วิธีการผ่าตัดก้อนใต้ผิวหนังที่พบบ่อย
lipoma
ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ค่อนข้างนิ่ม ไม่มีรูปเปิดเหมือน
ถุงไขมัน ก้อนไขมันจะอยู่ใต้ผิวหนังและบนกล้ามเนื้อ
วิธีการผ่าตัด
ฉีดยาชา ลงมีด และใช้นิ้วมือ/ Forceps/Arterial clamp หรือ Metzenbaum แหวกเลาะปลิ้นก้อนออกมา lipoma จะมีหลอดเลือดมาเลี้ยงที่ขั้ว ให้ใช้ Arterial clamp จับที่ฐาน แล้วตัดก้อนออก ผูกเส้นเลือด จากนั้นเช็ดทำความสะอาดแผลและเย็บปิด
fibroma
ลักษณะแข็ง ไม่ติดกับผิวหนัง เคลื่อนที่ได้
วิธีการผ่าตัด
ฉีดยาชา ลงมีด และใช้นิ้วมือ/ Forceps/Arterial clamp หรือ Metzenbaum แหวกเลาะปลิ้นก้อนออกมา จะมีหลอดเลือดมาเลี้ยงที่ขั้ว ให้ใช้ Arterial clamp จับที่ฐาน แล้วตัดก้อนออก ผูกเส้นเลือด จากนั้นเช็ดทำความสะอาดแผลและเย็บปิด
Sebaceous cyst
ก้อนใต้ผิวหนังและติดกับผิวหนัง ถ้าบีบจะมีสารสีขาว ๆ
ออกมา แตกเองได้ เกิดจากต่อมไขมันอุดตัน
วิธีการผ่าตัด
ฉีดยาชารอบถุงถึงก้นถุง ลงมีดเป็นรูปวงรี ตัดส่วนที่ติดกับผิวหนังออก เลาะลงไปทั้งสองข้างระวังอย่าให้ถุงแตก ใช้ Forceps/Arterial clamp หรือ Metzenbaum แหวกเลาะ จับขั้วขึ้นมาแล้วตัดถุงออกจากนั้นเช็ดทำความสะอาดแผลและเย็บปิด
Wart
เป็นตุ่มผิวหนังที่นูนสูงขึ้นเป็นแท่งปลายตัด ที่ปลายเป็นขุย ๆ มันกมีสีดำ เป็นจุดเล็ก ๆ
วิธีการผ่าตัด
ฉีดยาชารอบถุงถึงก้นถุง ลงมีดเป็นรูปวงรีใช้ Tooth forceps จับที่ตัวหูดใช้มีดหรือMetzenbaum ตัดที่ฐาน จากนั้นเช็ดท าความสะอาดแผลและเย็บปิด หากหุดมีขนาดใหญ่ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
ฝี หมายถึง ตุ่มหนองที่เกิดการอักเสบ เจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดน และก่อตัวขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฝีสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน
การตัดไหม
แผลบริเวณศีรษะ ควรตัดไหมเมื่อครบ 7-10 วัน
แผลบริเวณลำตัวที่ผิวหนังไม่ตึงมาก ควรตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน
แผลบริเวณใบหน้า ควรตัดไหมเมื่อครบ 5 วัน
แผลบริเวณแขนขาหรือผิวหนังที่ตึงมาก ควรตัดไหมเมื่อครบ 7-10 วัน หรืออาจถึง 10-14 วัน ในตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวมาก