Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง : โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart Disease),…
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง : โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart Disease)
ความหมาย
เป็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ซึ่งเกิดจากกระบวนการอักเสบของกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มและหัวใจจากเป็นไข้รูมาติค นำมาก่อนภาวะการอักเสบนี้ จะส่งผลให้เกิดการเสียหน้าที่ของลิ้นหัวใจไปในระยะหลัง คือ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว ตีบ หรือ Aortic regurgitation ซึ่งต่อมาอาจทำให้เกิดหัวใจวายและลิ้นหัวใจผิดปกติอย่างถาวร สาเหตุของโรคนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการติดเชื้อรูมาติคและการติดเชื้ออื่นๆ
พยาธิสภาพ
กลไกของการเกิดโรค เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immunopathology) ทำให้มีการทำลายของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยเฉพาะที่ผนัง ของ left ventricle, mitral valve, aortic valve และเยื่อหุ้มหัวใจ การอักเสบจะเป็นแบบ exudative inflammation เกิด granulomatus tissue และ fibrosis การอักเสบซ้ำๆ จะทำให้ลิ้นหัว ใจตีบหรือรั่วได้
การรักษา
2.ให้ยาสำหรับลดการอักเสบ ให้กรณีมี Carditis และหัวใจโตมาก ไม่มี heart failure
3.ให้นอนพัก 2-6 สัปดาห์/เคลื่อนไหวไปมาในห้อง เดินบริเวณใกล้ ช่วยเหลือในการทากิจกรรมทุกอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย
ให้ยากำจัดเชื้อโรค Beta hemolytic streptococcus
4.ถ้ามี Chorea ให้ Phenobarbital, Diazepam
สาเหตุ
เกิดจากกระบวนการอักเสบของกล้ามเนื้อเยื่อหุ้มและหัวใจจากเป็นไข้รูมาติค นำมาก่อนภาวะการอักเสบนี้ เป็นภาวะแทรกซ้อนของคออักเสบหรือทอนซิลอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรียที่่มีชื่อว่า Beta hemolytic streptococcus group A
การประเมินสภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Antistreptolysin O (ASO) ในเลือดมากกว่า 320 Todd unit
ESR (Erythrocyte Sedimentation rate) เพิ่มขึ้น
C-reactive protein ให้ผลบวก
เพาะเชื้อจากคอ ตรวจหา Beta hemolytic streptococcus group A
ตรวจร่างกาย : พบอาการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
4.ภาพรังสีทรวงอก (chest x-ray) : พบเงาหัวใจโตกว่าปกติ ปอดบวมน้ำ มีน้ำในช่องเยท่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มปอด
1.การซักประวัติ
5.คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) : P-R interval ยาวกว่าปกติ T-wave ผิดปกติ
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) : ช่วยวินิจฉัยการมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ การรั่ว/ตีบของลิ้นหัวใจ
อาการและอาการแสดง
อาการทาง major criteria
2.Polyarthritis : การอักเสบของข้อ มักเป็นข้อใหญ่ๆ เช่น ศอก เข่า ข้อเท้า ลักษณะการอักเสบ คือ ปวด บวม แดง ร้อน
3.ทางผิวหนัง มี 2 ลักษณะ
Erythema marginatum : เป็นผื่นแดง ไม่คั นขอบผื่นจะหยักและสีแดงชัดเจน มักพบบริเวณแขน ขา ลำตัว
Subcutaneous nodule : เป็นก้อนรีๆ ใต้ผิวหนัง จับให้เคลื่อนไหวได้ มักเป็นใกล้ข้อ
1.Carditis : เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด พบร้อยละ 80 พบเสียง murmur ที่ apex จากภาวะ mitral valve ตีบหรือรั่ว, หัวใจโต, หัวใจวาย
Chorea เป็นความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่วมกับมีอารมณ์แปรปรวน มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยไม่ได้ตั้งใจร่วมกับมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้พูดไม่ชัด เป็นต้น
อาการทาง minor criteria
Previous Rheumatic fever or RHD (Rheumatic heart disease)
increase ESR, C-Reactive protein และ leukocytosis
Arthalgia : มีการปวดตามข้อ โดยตรวจไม่พบอาการอักเสบ คือ ปวด บวม แดง และร้อน มักเป็นตามข้อใหญ่ๆ และปวดมากกว่า 2 ข้อ
Prolonged P-R interval
Fever (ไข้) : มักจะเป็นแบบไข้ต่ำ
การป้องกัน
ป้องกันผู้ที่เป็นแล้วไม่ให้เป็นซ้ำอีก โดยควรได้รับยาป้องกันตลอดชีวิต แต่อาจจะพิจารณาหยุดยาเมื่ออายุ 25 ปี และไม่เป็นโรคนี้ซ้ำอีก เป็นเวลา 5 ปี ได้แก่ยา Penicillin, Erythromycin
การพยาบาล
ปัญหา : เนื้อเยื่อต่างๆ มีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจ ทำให้ร่างกายได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่่ำหรือหัวใจทำงานหนักเกินไปทำให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง
5.สังเกตและบันทึกอาการนำหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน พบมากขณะออกกำลังกาย ดูดนมหรือร้องไห้มากๆ
6.ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม
4.วัดและบันทึกสัญญาณชีพ การเต้นของหัวใจ สีผิว เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของเด็ก
7.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาและวัดความเข้มข้นของออกซิเจนเป็นระยะๆ
3.คลายเสื้อผ้าให้หลวม และจัดให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม ในเด็กภาวะขาดออกซิเจนให้นอนคว่ำ ยกก้นสูง, หายใจลำบากให้นอนศีรษะสูง และเด็กเป็นลมหมดสติให้นอนราบยกปลายเท้าสูงหรือนอนคว่ำ ยกก้นสูง
8.ดูแลให้ได้รับยา Digitalis (Digoxin) ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
2.วางแผนปฏิบัติการพยาบาลก่อน-หลังโดยรบกวนผู้ป่วยน้อยทึ่ดสุด
9.ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ตรงตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
1.จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่มีเสียงรบกวนกระตุ้นเด็ก