Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปฏิกิริยาของอาหาร (Glycyrrhizic acid) กับยา - Coggle Diagram
ปฏิกิริยาของอาหาร (Glycyrrhizic acid) กับยา
สาร Glycyrrhizic acid พบมากในรากชะเอม นิยมนำมาผสมเป็นยาอม ยาแก้ไข้หลายชนิดเพื่อทำให้รสหวานและชุ่มคอ
ชะเอม
ชะเอม (Liquorice หรือ Licorice) เป็นพืชประเภทไม้พุ่มขนาดเล็กมีความสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร และรากมาใช้ด้วยมีสารที่คุณสมบัติหลายประการเช่น สาร “Glycyrrhizin หรือ Glycyrrhizic acid ” มีรสหวานกว่าน้ำตาล 30 - 50 เท่า เหมาะที่จะนำไปปรุงรสให้กับลูกกวาด ขนมหวานและเครื่องดื่ม
สรรพคุณ
ต่อต้านเชื้อโรคต่างๆเช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย
บรรเทาอาการอักเสบ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ช่วยป้องกันโรคที่อวัยวะตับ
เพิ่มความดันโลหิต
ขับเสมหะและบรรเทาอาการไอ
การออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ทำให้มีเกลือโซเดียมคั่ง (sodium retention) และร่างกายสูญเสียโปแตสเซียม (potassium loss)
รูปแบบของยา
ยาฉีด ยาเม็ดชนิดรับประทานที่ผสมร่วมกับยาอื่น ครีมทาแก้ผิวหนังอักเสบ โลชั่นทาใบหน้า โฟมล้างหน้า ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก
การเก็บรักษา
ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง แดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ชะเอมกับปฏิกิริยาระหว่างยาตัวอื่น
การวิจัยและพัฒนาอีกมากตั้งแต่ระดับเซลล์ไปจนถึงสัตว์ ทดลอง แต่ยังไม่สามารถมีข้อสรุปชัดเจน ดังนั้น เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ยาชะเอมหรือสารสกัดจากชะเอมกับยาแผนปัจจุบันใดๆแล้วมีอาการผิดปกติ ผู้ป่วยต้องหยุดการใช้ยาร่วมกันทันทีแล้วกลับมาขอคำปรึกษาจากแพทย์
ข้อควรระวังการใช้ชะเอม
1.ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยา ที่มีส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จากชะเอมหรือสารสกัดของชะเอม
2.ระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ยาจากชะเอมหรือสารสกัดของชะเอมในสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ
3.หากเกิดอาการแพ้ยาหลังใช้ผลิตภัณฑ์ยาของชะเอม/สารสกัดจากชะเอมให้หยุดการใช้ทันที แล้วรีบนำผู้ป่วยมาพบแพทย์
4.ห้ามแบ่งผลิตภัณฑ์ยาจากชะเอมหรือสารสกัดของชะเอมให้ผู้อื่นใช้
5.ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ยาจากชะเอมหรือสารสกัดของชะเอมที่หมดอายุ
6.ห้ามเก็บผลิตภัณฑ์ยาของชะเอมหรือสารสกัดของชะเอมที่หมดอายุ
ชะเอมสามารถต่อต้านและยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสและเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบต่อร่างกายได้ ทั้งยังป้องกันโรคตับจากไวรัสและช่วยเพิ่มความดันโลหิต และยังพบว่าในชะเอมมีฤทธิ์ต้านไวรัสเริม งูสวัด โคโรนาไวรัสที่ก่อโรคซาร์ (SARS) ไวรัสเอดส์ ไวรัสตับอักเสบชนิด เอ บี ซี และอี รวมถึงไวรัสสมองอักเสบ (Japanese encephalitis virus)