Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลบาดแผล, นางสาวชลธิชา คงทอง รหัสนิสิต632111007 คณะพยาบาลศาสตร์ -…
การดูแลบาดแผล
กลไกการหายของแผล
ระยะที่1 ระยะห้ามเลือดHemostasis phase เกิดการหดตัวของเลือด ที่ฉีกขาด และเกร็ดเลือดรวมตัวกันเป็นก้อนเกาะติดผนังหลอดเลือด อุดรูไม่ให้เลือดไหลออกมาได้
ระยะที่2 ระยะอักเสบ Inflammation phase หลอดขยายตัว ของเหลวเเละพลาสมา โปรตีนซึมผ่านออกมาบริเวณบาดแผล และมีการนำเม็ดเลือดขาวมาสู่บริเวณเเผล
ระยะที่3 ระยะเพิ่มจำนวนเซลล์ Proliferative phase เป็นกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวกันขึ้นมาแทนที่เนื้อเยื่อภายในแผล โดยการสังเคราะ collagen ทำหน้าหน้าที่ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเพิ่มความแข็งแรงให้แผลในระยะแรก และมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ Angiogenesis ขึ้นมาแทน
ระยะที่4 ระยะการเจริญเต็มที่ Maturation phase เนื้อเยื่อเกี่ยวกันที่ก่อตัวขึ้นมาใหม่เรียกว่า แผลเป็น scar ในระยะแรกจะเห็นรอบนูนมีสีค่อนข้างแดง จาการที่มีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยง เมื่อแผลเป็นได้รับการก่อตัวอย่างสามบูรณ์ เส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงค่อยๆหายไป แผลจะแบนลง สีซีด ไม่มีขน
การดูแลทวารใหม่
การทำความสะอาดทวารใหม่และเปลี่ยนถุงรองรับช่วยลดกลิ่นจากการหมักหมอมของสิ่งขับถ่าย ทำให้มีสุขอนามัยที่ดีและช่วยให้ตรวจความผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นได้แต่ระยะเริ่มแรก มีขั้นตอนดังนี้
1.ถอดอุปกรณ์รองรับออกจากผิวหนัง เมื่อรั่วซึม
2.ทำความสะอาดทวารใหม่และผิวหนังโดยรอบ ด้วยน้ำสบู่อ่อนแล้วเช็ดออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด ซับผิวหนังให้แห้ง
3.ติดถุงรับรองใหม่
การดูแลบาดแผล
แผลที่มีท่อระบาย ท่อระบายที่ใส่แผล เพื่อระบายเอาเลือดหรือสารคัดหลัง ที่ตกค้างในแผลออกมา การทำแผลเหมือนการทำแผลหลังผ่าตัดทั่วไปแต่หลังการทำแผลต้องปิดรอบท่อระบายด้วย Y-gauze และต้องใช้อุปกรณ์ยึดแผลติดหนา ความถี่ในการทำแผล ขึ้นกับปริมาณ ที่Dischage ที่ซึมออก
การตัดไหม การตัดไหมเมื่อแผลติดกันดี ใช้อุปกรณ์และวิธีเดียวกันกับการทำแผลเเห้ง Dry dressing โดยเพิ่มกรรไกรตัดไหมเข้าไปในชุดทำแผลโดยใช้มือที่ไม่ถนัดถือกรรไกรตัดไหม ใช้ปากคีบดึงไหมยกขึ้นจากผิวหนังแล้วสอยกรรไกรข้างหนึ่งไปตัดไหมใต้ปม ใช้ปากคีมหนีบเส้นไหมออกมาตัด1เส้นเว้น1เส้นก่อน เพื่อดูว่าแผลติดดีหรือไม่ หากติดีให้ตัดทั้งหมด หลังจากนั้นใช้สำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดทำความสะอาดแผลอีกครั้ง ปิดด้วยผ้าก๊อซตามความเหมาะสม ให้คำแนะนำ หากแผลติดดี สามารถให้ถูกน้ำและซับให้แผลแห้งด้วยผ้าสะอาด บันทึกลักษณะผิวหนังแลบาดแผล
-
หลักการพันผ้า
- ก่อนจับผ้า ม้วนผ้าให้เรียบร้อย 2.จับผ้าด้วยมือที่ถนัด โดยหงายม้วนผ้าขึ้น 3.วางผ้าบริเวณที่ต้องการพัน 4.พันจากส่วนปลายไปยังส่วนโคน 5.เมื่อสุดการพัน ผูกหรือใช้เข็มกลัดหรือติดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย 6.การใช้ผ้ายืดต้องระวังการรัดแน่นเกินไป 7.ถ้ามีอาการปวดและชา รีบคลายผ้าออกแล้วพันใหม่
แผลกดทับ
แผลกดทับ คือการได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ อันเกิดจากแรงกดทับที่ผิวหนังเป็นเวลานาน ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ เกิดการตีบตันของหลอดเลือด เซล์ได้รับอาหารไม่พอ
อาการของแผลกดทับ
ระยะที่1 เป็นแผลเปิด อุ่น นุ่มหรือแข็ง ผิวหนังบริเวณแผลไม่มีสี เมื่อกดลงไปที่แผล แผลจะไม่เป็นสีขาว
ระยะที่2 เป็นแผลเปิด หรือแผลที่มีตุ่มน้ำหนอง หนังหลุดลอก
ระยะที่3 แผลเป็นโพรงลึก ผิวหนังทั้งหมดหลุดลอกออกไป
ระยะที่4 ผิวหนังถูกทำลายอย่างรุนแรง เนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตาย กล้ามเนื้อและกระดูกอาจถูกทำลาย
ผลกระทบเมื่อมีแผล
1ด้านร่างกายก่อให้เกิดความเจ็บปวด 2.ด้านจิตใจ ก่อให้เกิดความคับข้องใจ กังวล 3.ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
-
ชนิดของแผล
แบ่งตามระยะเวลาของแผล 1.แผลเฉียบพลัน Acute wound 2.แผลเรื้อรัง Chronic wound แบ่งตามความลึกของแผล 1.แผลลึก 2.แผลตื้น แบ่งตามลักษณะของผิวหนัง 1.แผลเปิด Open wound 2.แผลปิด closed wound
-