Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ - Coggle…
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ
9.1การบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injury)
หมายถึง
การบาดเจ็บที่เกิดกับทารกระหว่างคลอดจากแรงที่กระทำกับทารกโดยตรง และไม่เกี่ยวกับโรคที่มารดาเป็นระหว่างการตั้งครรภ์
สาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา
ความผิดปกติที่มีมาก่อนการตั้งครรภ์ เช่น มารดามีภาวะเบาหวาน เชิงกรานแคบไม่ได้สัดส่วนกับทารก (CPD)
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะน้ำคร่ำน้อย
ระยะเวลาของการคลอด เช่น การคลอดเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงจากทารก
ทารกมีส่วนนำผิดปกติ เช่น หน้า ไหล่ ก้น
ทารกมีขนาดตัวโตมากทำให้เกิดการคลอดยาก
อายุครรภ์ของทารกไม่ครบกำหนด หรือเกินกำหนด
การคลอดไหล่ยาก
ทารกมีความพิการแต่กำเนิด
ปัจจัยเสี่ยงจากการคลอด
การคลอดด้วยคีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศ
การใช้แรงดึงมากเกินไปในการช่วยคลอดทารก
. ปัจจัยเสี่ยงจากผู้ทำคลอด
ขาดการเอาใจใส่อย่างเพียงพอ
ขาดความชำนาญ
1.1) ภาวะก้อนบวมน้ำใต้หนังศีรษะ (caput succedaneum)
เกิดจากการคั่งของของเหลวในระหว่างชั้นของหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ (suture) ของกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุ
แรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอดท่าศีรษะ ทำให้มีของเหลวไหลซึมออกมานอกหลอดเลือดในชั้นใต้เยื่อหุ้มหนังศีรษะ
การใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด (vacuum extraction)
การวินิจฉัย
จากการประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิด โดยการคลำศีรษะทารก จะพบก้อนบวมโน มีลักษณะนุ่ม กดบุ๋ม ขอบเขตไม่ชัดเจน ข้ามแนวรอยต่อของกระดูกะโหลกศีรษะและพบทันทีภายหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
พบได้ด้านข้างของศีรษะ ลักษณะการบวมของก้อนโนนี้จะมีความกว้างและมีขนาดโตประมาณไข่ห่าน ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
แนวทางการรักษา
หายไปได้เองภายหลังคลอด ประมาณ 2 -3
ถ้าเกิดจาก V/E จะหายได้ช้ากว่าเกิดจากการคลอดปกติ
บทบาทการพยาบาล
สังเกตลักษณะ ขนาด การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของก้อนบวมโนที่ศีรษะ
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทของทารก
อธิบายให้มารดาและบิดาเข้าใจถึงอาการที่เกิดขึ้นเพื่อคลายความวิตกกังวล
บันทึกอาการและการพยาบาล
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดาและบิดาวิตกกังวลเกี่ยวกับก้อนบวมน้ำที่ใต้ศีรษะทารก
1.2) ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ (cephalhematoma)
เป็นการคั่งของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ มีขอบเขตชัดเจน เนื่องจากภาวะนี้จะเกิดบนกระดูกกะโหลกศีรษะเพียงชิ้นเดียวหรือเพียงชิ้นใดชิ้นหนึ่งเท่านั้น และไม่ข้ามรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะ พบมากที่กระดูก parietal
อาการและอาการแสดง
จะปรากฏให้เห็นชัดเจนหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว เนื่องจากเลือดจะค่อย ๆ ซึมออกมานอกหลอดเลือด
ในรายที่เป็นรุนแรงอาจพบอาการแสดงทันทีหลังเกิดและพบว่าก้อนโนเลือดมีสีผิดปกติ คือ เป็นสีดำหรือน้ำเงินคล้ำ เนื่องจากการแข็งตัวของเลือด
อาจพบว่าทารกมีภาวะซีดได้จากการสูญเสียเลือดมาก
การวินิจฉัย
ประวัติเบ่งคลอดนาน ช่วยคลอดโดยใช้ V/E
ตรวจพบศีรษะมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชนิดชนิดหนึ่งลักษณะแข็งหรือค่อนข้างตึง คลำขอบเขตได้ชัดเจน กดไม่บุ๋ม
ภาวะแทรกซ้อน
รายที่มีอาการรุนแรง ก้อนโนเลือดมีขนาดใหญ่ จะเกิดภาวะ hyperbilirubinemia
อาจเกิดการติดเชื้อจากการดูดเลือดออกจากก้อนโนเลือดในกรณีมีแผนการรักษา
สาเหตุ
ระยะเวลาการคลอดยาวนาน
ศีรษะทารกถูกกดจากช่องทางคลอด
การใช้ V/E
แนวทางการรักษา
ถ้ามีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วยและมีระดับบิลลิรูบินในเลือดสูง จำเป็นต้องได้รับการส่องไฟ (phototherapy)
ในรายที่ก้อนเลือดขนาดใหญ่อาจรักษาโดยการดูดเลือดออก
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะค่อยๆหายไปเองภายใน 2 เดือน