Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
image, กล้ามเนื้อลาย, image, image, image, image, image, image, image,…
➢มีทั้งหมด 792 มัด คือประมาณ 40% ของน้ำหนักตัว
การเรียกชื่อกล้ามเนื้อ 1. ตำแหน่งที่ตั้ง (Location) เช่น Temporalis, Intercostal, Tibialis anterior
การจัดเรียงตัวของใยกล้ามเนื้อ (Fascicle Organization) เช่นกล้ามเนื้อที่วางตัวในแนวตรง มักตั้งชื่อว่า rectus
กล้ามเนื้อที่วางตัวแนวตามขวาง ว่า transverse
กล้ามเนื้อที่วางตัวในแนวเฉียง ว่า oblique
3.ตามรูปร่าง -Deltoid (triangle)- Trapezius (Trapezoid) - Palmaris longus (long)- Palmaris brevis (short)
ตามขนาด▪Maximus, Minimus,▪Longus, Brevis▪Major, Minor
4.จำนวนจุดเกาะต้น(Origin or head)เช่น กล้ามเนื้อbiceps มีจำนวน 2หัว กล้ามเนื้อ triceps มีจำนวน 3 หัวและกล้ามเนื้อ quadriceps มีจำนวน 4 หัว
หน้าที่การทำงาน (Function) เช่น flexor, extensor, abductor, adductor, rotator
ตามตำแหน่งของความสัมพันธ (Relative Position)เช่นกล้ามเนื้ออยู่ภายนอกหรืออยู่บริเวณผิวมักมีคำว่าexternus หรือ superficialisส่วนกล้ามเนื้อที่อยู่ลึก เรียกว่าinternus หรือ profundus
7.จุดเกาะต้นหรือจุดเกาะปลาย(Origin and insertion)ชื่อหน้ามักจะบอกตำแหน่งจุดเกาะต้นและชื่อหลังมักจะบอกตำแหน่งจุดเกาะปลายเช่นSternocleidomastoid
กล้ามเนื้อมัดต่างๆของร่างกาย
กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยว (muscles of mastication)
Tempolaris อยู่ที่ขมับด้านข้างของกระโหลกศรีษะ แผ่เป็นรัศมีเต็มขมับทำหน้าที่อ้า หุบและยื่นปาก เวลาเคี้ยวอาหาร
Masseter อยู่ด้านนอกมุมขากรรไกรล่างของใบหน้ารูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำหน้าที่ยกกระดูกขากรรไกรล่างขึ้นเวลาเคี้ยวอาหาร
Pterigiod muscle เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกยื่นจากส่วนมาตรฐานของกระโหลกศรีษะไปยังบริเวณขากรรไกรล่าง มี 2 คู่ คือ External และ Internal pterigoid muscle ช่วยในการอ้าปาก หุบปาก เคลื่อนกรามไปทางด้านข้าง
กล้ามเนื้อใบหน้า กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น คือ อยู่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue) ด้านหนึ่งเกาะกับกระดูกหน้า อีกด้านหนึ่งติดกับผิวหนังของใบหน้าทำหน้าที่แสดงความรู้สึกบนใบหน้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ และแสดงอาการทางสีหน้า เช่น ยิ้ม หัวเราะร้องไห้ เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นบุคลิกภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี กล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึกของใบหน้า (Muscle of facial expression) ที่สำคัญ ได้แก่
Frontalis อยู่ที่หน้าผาก ทำหน้าที่ ยกคิ้วขึ้นลง ทำหน้าผากย่น
Nasalis อยู่ที่จมูก ทำหน้าที่ หุบปีกจมูก เวลาดมกลิ่น
Corrugator อยู่บริเวณคิ้ว – เหนือคิ้ว ทำหน้าที่ ขมวดคิ้ว ครุ่นคิด
Orbiculalisocculi อยู่รอบดวงตา ทำหน้าที่ ปิดตา หรือหลับตา
Zygomaticus major เกาะอยู่บริเวณโหนกแก้ม – ปากบน ทำหน้าที่ยกปาก
Orbicularis oris อยู่บริเวณรอบปาก ทำหน้าที่ หุบปาก ทำริมฝีปากยื่น ทำปากจู๋
Risorius อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของปาก ทำหน้าที่เวลาแสยะยิ้ม
กล้ามเนื้อคอ ที่สำคัญในการเคลื่อนไหวของคอ มีอยู่ 3 มัด คือ
1.Sternomastoidหรือ Sternocleidomastoideusเป็นกล้ามเนื้อที่ใหญ่ที่สุดของคอเกาะพาดจากกระดูกหน้าอกกับกระดูกไหปลาร้าไปยังด้านนอกของกระดูก Mastoid และกระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่เอียงคอ หันและหมุนคอ
2.Splenius capitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านข้างของคอ มีจุดเกาะเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนลำตัว (thoracic spine) อันที่ 3 และ 4 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า
3.Semispinaliscapitisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของคอ จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical spine) อันที่ 4 และ 5 ไปยังจุดเกาะปลายที่กระดูกท้ายทอย ทำหน้าที่ยืดคอ เอียงคอและเงยหน้า
กล้ามเนื้อส่วนลำตัว กล้ามเนื้อส่วนลำตัว (Muscle of the trunk) แบ่งเป็นกล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้
Pectoralis minor เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนเล็กอยู่ภายใต้กล้ามเนื้อPectoralis major เกาะจากผิวนอกของกระดูกซี่โครงซี่ที่ 3 – 5 ไปยัง Coracoid process ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงหัวไหล่ไปทางด้านหน้าและลงล่าง และช่วยรับน้ำหนักตัวขณะที่ยืนเอามือยัน
Pectoralis major เป็นกล้ามเนื้อทรวงอกมัดใหญ่รูปร่างคล้ายพัดคลุมอยู่บนอกและทับอยู่บนกล้ามเนื้อ Pectoralis minor และเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะจากแนวกลางของกระดูกหน้าอกไปยังกระดูกต้นแขน เป็นกล้ามเนื้อที่เน้นลักษณะเพศชายได้ชัดเจนคือมีลักษณะอกผายไหล่ผึ่ง ทำหน้าที่หุบ งอ หมุนต้นแขนเข้าด้านใน ช่วยในการผลัก ขว้าง ปีนป่าย การหายใจเข้ารั้งแขนให้มาทางด้านหน้าทำให้ไหล่คงรูปอยู่กับที่
Rectus abdominisเป็นกล้ามเนื้อหน้าท้องมีลักษณะเป็นแถบยาวเป็นปล้อง ๆ เมื่อออกแรงเกร็งมีจุดเกาะต้นจากกระดูกหัวเหน่า (Pubic bone) ทอดขึ้นบนและค่อย ๆกว้างขึ้นไปเกาะที่ปลายผิวหน้าของกระดูก Xiphoid และกระดูกซี่โครงที่ 5, 6,7 ทำหน้าที่เกร็งช่องท้องเวลายกของหนัก ช่วยในการขับถ่ายและคลอดบุตร
Oblique externusหรือ External oblique เป็นกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้างตั้งต้นจากกระดูกที่ 4 -12 ทอดเฉียงจากบนมาล่าง ยึดเกาะที่ Iliac crest ของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่เหมือนกับกล้ามเนื้อ Rectus abdominis
Serratus anterior เป็นกล้ามเนื้อด้านในของรักแร้ อยู่ทางด้านข้างของอกมีรูปร่างเป็นแฉก ๆ ยึดติดกับกระดูกซี่โครงทางด้านหน้าไปยังกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ยึดดึงกระดูกสะบักให้อยู่กับที่และช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ Deltoid เวลายกแขน
2.กล้ามเนื้อส่วนลำตัวด้านหลังในส่วนลำตัวด้านหลัง มีกล้ามเนื้อที่สำคัญดังนี้
Trapezius เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมคลุมบริเวณคอด้านหลังลงมาถึงหลังโดยยึดเกาะจากแนวกลางของแผ่นหลังส่วนบนไปเกาะที่กระดูกไหปลาร้าทั้งซ้ายและขวา ทำหน้าที่รั้งกระดูกสะบักมาข้างหลัง กล้ามเนื้อส่วนบนเมื่อหดตัวไหล่จะยกขึ้น ส่วนกลางหดตัวจะดึงสะบัก 2 ข้างเข้ามาหากัน ส่วนล่างหดตัวจะทำให้ไหล่ถูกดึงลง
Latissimusdorsiเป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมแบนกว้าง คลุมอยู่ตอนล่างของแผ่นหลังและบั้นเอวทอดผ่านไปมุมล่างของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่ดึงแขนเข้าชิดลำตัวดึง แขน ลงมาข้างล่าง ด้านหลังและหมุนแขนเข้าด้านใน กล้ามเนื้อนี้ใช้มากในการปีนป่าย ว่ายน้ำ และกรรเชียงเรือ จะหดตัวทันทีในขณะที่จาม
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (Muscle of the upper limb)
กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่และแขน (Muscle of the upper limb) ที่ช่วยในการทำงานของหัวไหล่และแขนที่สำคัญ คือ
1.กล้ามเนื้อส่วนหัวไหล่
Deltoid เป็นกล้ามเนื้อคลายขนนกหลาย ๆ อันมารวมกันเป็นมัดใหญ่หนารูปสามเหลี่ยมจุดเกาะอยู่ที่ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปเกาะที่ตอนกลางของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่ยกไหล่และยกต้นแขน เป็นส่วนที่บ่งบอกลักษณะเพศชายได้อย่างชัดเจน
Supraspinatus เริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่ช่วยกล้ามเนื้อ Deltoid ในการยก หรือกางแขน
Infraspinatusเริ่มเกาะจากกระดูกสะบักไปยังกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่หมุนต้นแขนออกด้านนอก และดึงแขนไปด้านหลัง
Teres minor และ Teres major เกาะที่กระดูกสะบัก แล้วมาเกาะที่กระดูกต้นแขนโดย Teres minor ทำหน้าที่หมุนแขนออกด้านนอก Teres major ทำหน้าที่หมุนแขนเข้าด้านใน
Subscapularisมีจุดเกาะที่กระดูกสะบักและกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่หมุนต้นแขนเข้าด้านใน
2.กล้ามเนื้อแขนส่วนต้นที่สำคัญได้แก่
Biceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นแขน มีที่เกาะส่วนบนแยก 2 ทาง คือ เกาะจาก Coracoid process และ Supraglenoid tubercle ไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอต้นแขนและปลายแขน หมุนแขนเข้าและดึงออก
Brachialis เป็นกล้ามเนื้อต้นแขนที่อยู่ตรงกลางค่อนมาด้านล่าง เกาะจากกระดูกต้นแขนไปยัง Tuberosity ของกระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) ทำหน้าที่งอข้อศอก
Coracobrachialisเกาะจาก Coracoid process ของกระดูกสะบักไปยังกึ่งกลางของกระดูกต้นแขน ทำหน้าที่งอต้นแขน
Triceps brachiiเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังของต้นแขน ปลายบนแยก 3 ทางเกาะที่กระดูกสะบักหนึ่งที่ และอีก 2 ทางเกาะที่กระดูกต้นแขน และมีจุดเกาะปลายที่กระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) กล้ามเนื้อมัดนี้จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อ Biceps brachiiคือ ทำหน้าที่เหยียดปลายแขน
3.กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน
Brachioradialisเป็นกล้ามเนื้อด้านนอกของปลายแขน มีจุดเกาะต้นที่ตอนล่างของกระดูกแขน ไปเกาะที่ด้านนอกของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) ทำหน้าที่งอปลายแขน
Flexor carpi radialisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของปลายแขน มีจุดเกาะที่กระดูกต้นแขนแล้วมาเกาะที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ 3 ทำหน้าที่งอข้อมือและกางมือ
Palmaris longusเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของแขน จุดเกาะต้นเริ่มจากกระดูกต้นแขนไปยังกระดูกปลายแขน แล้วกลายเป็นเอ็น (Tendon) ไปเกาะที่ฝ่ามือทำหน้าที่งอข้อมือ
Flexor carpi ulnarisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) ผ่านมาที่ข้อมือ ทำหน้าที่งอข้อมือ
Extensor carpi radialislongusเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นจากกระดูกต้นแขนแล้วไปเกาะที่กระดูกฝ่ามือทางด้านหลัง ทำหน้าที่กางและเหยียดข้อมือ
1 more item...
4.กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้ว
กล้ามเนื้อส่วนมือและนิ้วมือ เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กและสั้น ส่วนมากจะเป็นเอ็นของกล้ามเนื้อซึ่งติดต่อมาจากแขนท่อนล่าง ทำหน้าที่ช่วยในการงอและเหยียดมือและข้อมือรวมทั้งช่วยให้นิ้วหัวแม่มือสามารถเคลื่อนไปแตะนิ้วอื่น ๆ ได้จึงเรียกว่า Opposition กล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่
Thenar eminence เป็นกล้ามเนื้อหัวแม่มือเกาะที่ฝ่ามือ โดยเฉพาะที่ได้ฐานหัวแม่มือจะเห็นเป็นเนินชัดเจน ทำหน้าที่งอนิ้วหัวแม่มือ
Hypothenar eminence เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้นิ้วก้อย มีรอยนูนเด่นชัด ทำหน้าที่งอนิ้วก้อย
Dorsal interosseusเป็นกล้ามเนื้อที่กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 และ 2 ผ่านมาเกาะที่นิ้วชี้ ทำหน้าที่กางนิ้วชี้และหมุนหัวแม่มือ
1 more item...
กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและขา ()Muscle of the lower limb)
1.กล้ามเนื้อส่วนสะโพกและก้นกบ
Gluteus maximusเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และหน้าที่สุดของส่วนสะโพก มีจุดเกาะที่ Ilium และ Sacrum ของกระดูกเชิงกราน แล้วไปเกาะยังกระดูกต้นขา ทำหน้าที่เหยียดขา กางต้นขา หมุนต้นขา ไปทางด้านข้าง
Tensor fasciae lataeเป็นกล้ามเนื้อทางด้านข้างของสะโพก เกาะอยู่ที่ส่วนหน้าของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่กางและหมุนขาเข้าด้านใน
2.กล้ามเนื้อส่วนโคนขา
กล้ามเนื้อส่วนนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งหน้าที่ และประสาทที่มาเลี้ยง ด้านหลังของต้นขาเรียกว่า Flexor surface เป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้าล่าง(Hamstring group) อีกกลุ่มหนึ่งคือ กล้ามเนื้อกลุ่มดึงข้อ (Adductor group) และยังมีกล้ามเนื้อกลุ่มด้านหน้าของต้นขา (Anterior group) กล้ามเนื้อส่วนโคนขามัดที่สำคัญ มีดังนี้
Biceps femorisเป็นกล้ามเนื้อในกล้ามเนื้อกลุ่มเอ็นหลังต้นขาด้านล่าง จุดเกาะเริ่มจากกระดูก Ischium และกระดูกต้นขาไปยังส่วนหัวของกระดูกปลายขาท่อนเล็ก (Fibula)ทำหน้าที่เหยียดต้นขาและงอเข่า
Rectus femorisเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา (Anterior group)เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ทางด้านหน้าของต้นขา จุดเกาะเริ่มจากกระดูก lliumไปยังกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) ทำหน้าที่งอต้นขาและเหยียดปลายขา
Satoriusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของต้นขา มีลักษณะยาวแบนพาดเฉียงบนโคนขา จุดเกาะเริ่มจาก Iliac spine ไปยังส่วนบนของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia)ทำหน้าที่งอต้นขา และปลายขา
3.กล้ามเนื้อส่วนปลายขา
กล้ามเนื้อส่วนปลายขาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านหน้าของปลายขา(Anterior compartment) กลุ่มด้านข้างของปลายขา (Lateral compartment) และกลุ่มด้านหลังของปลายขา (Posterior compartment) กล้ามเนื้อส่วนปลายขาที่สำคัญ ได้แก่
Tibialisanticusเป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหน้าของปลายขา เกาะจากด้านข้างของกระดูกปลายขาท่อนใหญ่ (Tibia) และจากผังผืด ซึ่งยึดระหว่างกระดูกปลายขาท่อนใหญ่และท่อนเล็ก และเกาะที่กระดูกฝ่าเท้าทำหน้าที่กระดกข้อเท้า และบิดข้อเท้าเข้าด้านใน
Gastrocnemius เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มด้านหลังของปลายขา เป็นกล้ามเนื้อน่องเกาะจากส่วนปลายของกระดูกต้นขาทั้งสองด้าน ส่วนปลายกลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกส้นเท้า(Achillis tendon) ทำหน้าที่งอหลังเท้า เหยียดนิ้วเท้า ถีบฝ่าเท้าลงและช่วยงอเข่าด้วย
Soleus เป็นกล้ามเนื้อใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาอยู่ใน Gastrocnemius ทำหน้าที่งอฝ่าเท้า
4.กล้ามเนื้อส่วนเท้า
เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะคล้ายบริเวณมีข้อมือแตกต่างกันตรงที่เป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมส้นเท้าระหว่างการเดิน กล้ามเนื้อส่วนเท้าที่สำคัญ มีดังนี้
Flexor hallucislongusเกาะจากด้านหลังของกระดูกช่วงล่าง ส่วนปลายเป็นเอ็นเกาะที่กระดูกหัวแม่เท้า ท่อนปลายทำหน้าที่งอปลายนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่กระดกข้อเท้าลง และบิดเท้าเข้าด้านใน
Extensor digitorumbrevisเป็นกล้ามเนื้อด้านหลังเท้า ตรงปลายเป็นเอ็นไปเกาะที่นิ้วเท้าทั้ง 4 ยกเว้นนิ้วหัวแม่เท้า ทำหน้าที่เหยียดข้อของนิ้วเท้าทั้ง 4
Adductor hallucisเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกสุด ทำหน้าที่เหยียดหัวแม่เท้า
1 more item...
กล้ามเนื้อลาย
A6480148 นางสาวศิริยากรณ์ ศิริศรี