Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้รับบริการชื่อ บานเย็น อายุ45ปี อาชีพทำนา สมรส จบป.4 - Coggle Diagram
ผู้รับบริการชื่อ บานเย็น อายุ45ปี
อาชีพทำนา สมรส จบป.4
โรคที่คิดถึง
โรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis)
ไส้ติ่งอักเสบ ( appendicitis)
ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis)
ลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis)
ข้อมูลทั่วไป
PI : 1 สัปดาห์ก่อนมา รพ.มีอาการปวดท้อง เป็นๆหายๆ ซื้อยาธาตุน้ำขาวและยา paracetamol มารับประทานเองอาการปวดจึงทุเลาลงมีอาการปวดท้องแบบบีบๆ ปวดบริเวณตรงกลางท้องแล้วเยื้องมาด้านขวาและมีอาการปวดร้าวไปที่หลัง มักปวดตอนกลางคืน ถ่ายเป็นสีเทาๆ
1 วันก่อนมา รพ. มีอาการปวดท้อง มีไข้ อาเจียน 4-5 ครั้ง จึงมาโรงพยาบาล
PH : ปฏิเสธการมีโรคประจำตัว ปฏิเสธการได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง ปฏิเสธการแพ้ยา แพ้อาหาร
CC : มีอาการปวดบีบท้องมาก มีไข้ และอาเจียน4-5ครั้ง 1 วันก่อนมา รพ.
สัญญาณชีพ
P 97 beat/min
BT 38.0 °C
BP 103/72 mmHg
O2sat 99 %
FM : คนในครอบครัวปฏิเสธการมีโรคประจำตัว
ข้อมูลส่วนตัว : ไม่ออกกำลังกาย ขับถ่าย 1-2 ครั้งต่อวัน ถ่ายเป็นสีเทาๆก่อนมา รพ. ปัสสาวะวันละ 2-3 ครั้ง ไม่มีปัสสาวะแสบขัด ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่
Final Diagnosis : นิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) เหตุผล : ผู้รับบริการมีอาการปวดท้อง ลามไปที่หลัง คลื่นไส้ อาเจียน 4-5 ครั้ง
การวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ แพทย์จะอัลตราซาวด์ท้องผู้ป่วย เพื่อดูว่าภายในถุงน้ำดีมีก้อนนิ่ว เยื่อบุหนาที่ถุงน้ำดี ปริมาณน้ำดีที่มากเกินไป หรือสัญญาณอื่น ๆ ของถุงน้ำดีอักเสบปรากฎหรือไม่ โดยการอัลตราซาวด์ท้องจะช่วยให้แพทย์ตรวจขนาดและรูปร่างของถุงน้ำดีผู้ป่วยได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีในการวินิจฉัยถุงน้ำดีที่พบได้ทั่วไป
ตรวจเลือด แพทย์จะเจาะเลือดผู้ป่วย เพื่อดูการทำงานของตับอ่อน เช่น เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) เอนไซม์ลิเพส (Lipase) ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count : CBC) และการทำงานของตับ รวมทั้งตรวจหาการติดเชื้อหรือสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับถุงน้ำดี
ตรวจสแกนตับและถุงน้ำดี (Hepatobiliary Iminodiacetic Acid Scan: HIDA Scan) แพทย์จะตรวจลำไส้เล็กส่วนบน ถุงน้ำดี และท่อน้ำดี โดยการตรวจนี้จะช่วยแสดงภาพการผลิตและไหลเวียนของน้ำดีจากตับไปยังลำไส้เล็ก รวมทั้งปัญหาการอุดตันของน้ำดีผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารที่รังสีเข้าไปภายในร่างกายซึ่งสารที่รังสีจะผสมกับเซลล์ที่ผลิตน้ำดี ทำให้เห็นภาพการไหลเวียนของน้ำดีในท่อน้ำดีได้
การรักษา / คำแนะนำ
ให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อ มีไข้สูง
ในกรณีผู้ป่วยปวดท้อง อาเจียน หรือท่องอึดมากต้องใส่สายยางเข้าทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร เพื่อดูดกรด ลม และน้ำออกจากกระเพาะและลำไส้
งดอาหารและน้ำทางปากในระยะที่มีอาการปวดท้องมาก ควรงดอาหารมัน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้มีการบีบตัวของถุงน้ำดี กรณีผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมาก ควรให้รับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย
ในกรณีที่ปวดมาก บรรเทาอาการปวดโดยการให้บารอลแกน ฉีดทุก 4 ชั่วโมงหรือเพททิดีน 50 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าเส้นเลือดทุก 6 ชั่วโมง
การผ่าตัด