Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หัวใจพิการแต่กำเนิด (ชนิดไม่มีอาการตัวเขียว) - Coggle Diagram
หัวใจพิการแต่กำเนิด (ชนิดไม่มีอาการตัวเขียว)
Left to right shunt
Ventricular Septal Defect (VSD)
ความหมาย
มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้น ventricle ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่าง ventricle ซ้ายและขวา
พยาธิสภาพ
มีรูรั่วที่ผนังหัวใจด้านล่าง ซึ่งการสร้างผนังหัวใจเกิดเมื่อfetus อายุครรภ์ 5-7 สัปดาห์ โดยผนังหัวใจด้านล่าง(IVS) สร้างจากองค์ประกอบ 3 ส่วน
2)ส่วนผนังด้านล่างเป็นแผ่นกล้ามเนื้อที่เป็น muscular หรือ trabacular part
3)ส่วนทางออกหัวใจเรียกว่า conotruncus ที่สร้างผนังด้านหน้าและส่วนบนที่ติดกับ great vessels
1)ส่วน inlet ด้านหลังที่ต่อเนื่องกับ atrioventricular valves สร้างมาจาก embryonic endocadial cushion tissue
ทั้ง3ส่วนจะเจริญเข้ามาประกอบเจอกันที่membranous part ที่อยู่กลางหัวใจ(centralbody) เมื่อการสร้างผนังไม่สมบูรณ์จะเกิดรูขึ้น
อาการและอาการแสดง
ขนาดปานกลาง
ตัวเล็กหรือเลี้ยงไม่โต พัฒนาการทางกายช้า
ขนาดใหญ่
มีอาการเหนื่อยง่าย เลี้ยงไม่โต ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาดูดนม
ขนาดเล็ก
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
หายใจเร็วผิดปกติ เด็กตัวเล็ก โตช้า
การตรวจร่างกาย
พบเสียง murmur
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
พบ left atrium และ ventricle โต
ภาพรังสีทรวงอก
VSD ขนาดเล็ก
ขนาดหัวใจมักปกติหรือโตเล็กน้อย
VSD ขนาดปานกลาง
มักมีหัวใจโต หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้น
VSD ขนาดใหญ่
มักพบว่าหัวใจโตมาก หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้นมาก พบ Right ventricle โต และมี Left atrium โตด้วย
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
มองเห็นขนาดรูรั่วและห้องหัวใจที่โตขึ้น
การรักษา
การดูแลสุขภาพทั่วไป
VSD ขนาดเล็ก
ให้การดูแลสุขภาพอนามัยที่ดี ระมัดระวังและป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
VSD ขนาดใหญ่
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ต้องทำการผ่าตัด
กรณีไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจวายได้
ผ่าตัดเย็บปิดรูพิการ หรือการผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ
กรณีมีภาวะหัวใจวาย
ให้ยา digitalis ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด
Atrial Septal Defect (ASD)
ความหมาย
มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้นAtriumที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่วเป็นทางติดต่อระหว่าง Left Atrium และ Right Atrium การเกิดรูรั่วอาจมีเพียงรูเดียวหรือหลายรูก็ได้ พบรูรั่วขนาดต่างๆ กัน
อาการและอาการแสดง
ขนาดปานกลาง
เติบโตปกติหรือช้า ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจบ่อย
ขนาดใหญ่
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก
ขนาดเล็ก
เติบโตปกติหรือช้า ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจบ่อย
การวินิจฉัย
ภาพรังสีทรวงอก
ASD ขนาดปานกลางจะพบหัวใจโต
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ASD ขนาดปานกลางขึ้นไปจะพบ Right Atrium มีการขยายตัว และ Right Ventricle มีการหนาตัว
การตรวจร่างกาย
Right Ventricle โต เสียงที่หนึ่ง (S1) ต่ำกว่าปกติที่บริเวณลิ้น Tricuspid ปิด
Echocardiography
ขนาดของ Right atrium และ Right ventricle และหลอดเลือดแดง pulmonary มีขนาดใหญ่ขึ้น เห็นรูรั่วบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องบนชัดเจน
การซักประวัติ
ประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย เหนื่อยง่าย
การตรวจสวนหัวใจและการฉีดสารทึบรังสี
(Angiography) ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดใน Right Atrium จะเพิ่มขึ้น
การรักษา
การดูแลสุขภาพสุขภาพปาก และฟัน
การรักษาทางยา
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบรักษาโดยใช้ ยาปฏิชีวนะ รักษาภาวะหัวใจวาย คือ ยา Lanoxin, Lasix
ASD ปิดได้เองในช่วงอายุ 3 ปี ถ้ารูรั่วมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร
การผ่าตัด
โดยการเย็บปิดผนังกั้นของ ASD
พยาธิสภาพ
มีรูรั่วที่ผนังหัวใจด้านบน ซึ่งผนังหัวใจด้านบนสร้างจาก แผ่น septum primum และ septum secondum โดย septum primum เป็นส่วนผนังด้านบน-หลังที่เกิดขึ้นก่อนโตยืดมาด้านล่างแต่ปิดไม่หมดเหลือรู ostium primum ที่ด้านล่าง
ต่อมา septum primum จะเริ่มเกิดรูตรงกลางเรียกว่า ostium secondum แล้วสุดท้ายจึงมีผนัง septum secondum งอกออกมาจากด้านบนฝั่ง Right atrium มาปิดรู ostium secondum ซึ่งถ้าปิดหมดส่วน ostium secondum จะบางกว่าส่วนอื่น เรียกว่า fossa ovalis และถ้าปิดไม่หมดจะมีรูตรงตำแหน่งนี้ เรียกว่า ASD secondum
Patent Ductus Ateriosus (PDA)
ความหมาย
เกิดจากการที่หลอดเลือด ductus arteriosus (หลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างส่วนต้นของ descending aorta กับส่วนต้นของหลอดเลือดแดง pulmonary ข้างซ้าย) ไม่ปิดภายหลังทารกคลอด ซึ่งปกติควรปิดภายใน 1 – 4 สัปดาห์
พยาธิสภาพ
มีเส้นเลือด PDA ที่เชื่อมต่อระหว่างด้านล่างของ distal arch of aorta (มักอยู่ตำแหน่งพอดีกับตรงข้ามทางออกของ thirdaorticbranch ; left subclavianartery) และ Main Pulmonaryartery หรือ ส่วนต้นของ LPA
อาการและอาการแสดง
ขนาดปานกลาง
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่ายเล็กน้อย
ขนาดใหญ่
ผู้ป่วยจะมีอาการมากตั้งแต่วัยทารกหัวใจวายเหนื่อยหอบ
ขนาดเล็ก
ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
อาการตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หายใจเร็ว
การตรวจร่างกาย
ได้ยิน murmur ที่ลิ้น pulmonic
ชีพจรเต้นแรง (bounding pulse)
pulse pressure กว้างกว่า ½ ของความดัน systolic
ภาพรังสีทรวงอก
พบ Left ventricle โต หลอดเลือด pulmonary artery มีขนาดใหญ่ขึ้น หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้น
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
พบว่าหัวใจล่างซ้ายโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
พบว่า มีหัวใจด้านซ้ายโต วัดขนาดของ ductus arteriosus ได้
การรักษา
ในรายที่ไม่มีอาการ
ควรทำการผ่าตัดโดยผูก ductus arteriosus เมื่อผู้ป่วยอายุเกิน 1 ปีไปแล้ว
การรักษาทางยา
ในทารกแรกคลอดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีอาการหัวใจวายให้ยา
Indomethacin 0.2 mg/Kg. ทางปากหรือหลอดเลือดดำซ้ำ 3 ครั้ง ห่างกัน 8 –12 ชั่วโมง
ถ้าการใช้ยาไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องผ่าตัดผูกหลอดเลือด ductus arteriosus ด้วยไหมขนาดใหญ่
obstructive lesion
Pulmonary Stenosis (PS)
ความหมาย
การตีบของลิ้น pulmonary มีผลให้การไหลของเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาไปยัง pulmonary artery ได้ยากขึ้น
พยาธิสภาพ
มีการตีบแคบของทางออกหัวใจด้านขวาและหรือ pulmonary artery อาจแบ่งได้เป็น Sub valve PS, Valvular PS ,supravalvular PS, Pulmonary artery stenosis และตีบหลายระดับร่วมกัน
อาการและอาการแสดง
ชนิดที่มีการตีบแคบน้อย
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ อาจพบ systolic murmur
ชนิดที่มีการตีบแคบปานกลาง
ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหนื่อยง่ายเพียงเล็กน้อยเวลาออกแรง พบ systolic murmur
ชนิดที่มีการตีบแคบมาก
ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะหัวใจซีกขวาวายหรือมีอาการเขียวเล็กน้อยในเด็กเล็ก ส่วนในเด็กโตมักมีอาการเหนื่อยง่าย อาจมีอาการเขียว
การวินิจฉัย
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
Right ventricleโต และ Right atriumโต
ภาพรังสีทรวงอก
พบมีการโป่งพองของ pulmonary artery หัวใจห้องบนและล่างขวาโต หลอดเลือดที่ปอดมักจะน้อยลง
การตรวจร่างกาย
ฟังได้ systolic murmur
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
พบ Right atrium โต Right ventricle หนาขึ้น ดูโป่งพอง และมีการตีบแคบของหลอดเลือด pulmonary
การรักษา
รายที่เป็น mild pulmonary stenosis ไม่ต้องผ่าตัด
ในรายที่มีอาการมาก ทำผ่าตัด pulmonary valvotomy และ
balloon valvuloplasty เพื่อขยายลิ้น pulmonary
ให้คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
Coarctation of Aorta (COA)
ความหมาย
การตีบแคบหรืออุดตันของส่วนใดส่วนหนึ่งของหลอดเลือด aorta ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบที่ aortic arch
พยาธิสภาพ
มีการตีบแคบของ distal aortic arch หรือ ส่วนต้นของ descending aortaถ้ามีPDA อยูด้วย อาจเรียกตำแหน่งของรอยตีบตาม PDA คือ Preductal, Juxtaductal และ post ductalCoarctation
อาการและอาการแสดง
ในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มาด้วยอาการของหัวใจวาย
หายใจเหนื่อยหอบ เลี้ยงไม่โต ตรวจร่างกายจะพบว่ามีหายใจเร็ว ชีพจรที่แขนจะแรงกว่าที่ขา
ในเด็กโตส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ
ถ้ามีอาการมักจะเป็นผลจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย และติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
อาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย
ชีพจรส่วนบนของร่างกายแรง แต่ชีพจรส่วนล่างของร่างกาย เช่น femoral เบา
ขาอาจจะเย็นกว่าแขนและความดันโลหิตมักจะสูง
รูปร่างหน้าตาปกติ บางคนมีร่างกายส่วนบนใหญ่ แต่ท่อนล่างเล็ก เรียกว่า pop-eye appearance
ภาพรังสีทรวงอก
หัวใจห้องล่างซ้ายโต aorta ส่วนหน้าของบริเวณตีบแคบจะขยายใหญ่ขึ้น
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
หัวใจห้องล่างซ้ายโตในเด็กโต ส่วนเด็กเล็กจะพบ ventricle ขวาโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
พบ hypoplasia ของ aortic isthmus
การรักษา
รักษาทางยา digitalis ในรายที่มีภาวะหัวใจวาย
ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง
แนะนำให้ทำผ่าตัดเมื่ออายุ 4–5 ปี โดยทำการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบออก และต่อส่วนปลายทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน (end to end anastomosis) หรือการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบออก
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
การติดเชื้อไวรัสบางชนิดในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
พันธุกรรม
สิ่งแวดล้อม
การพยาบาล
ดูแลให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการโปรตีนและแคลอรี่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตที่สำคัญคืออาหารที่ให้บุตรรับประทานต้องเป็นอาหารที่มีลดเกลือหรือลดเค็ม
ดูแลให้น้ำในปริมาณที่จำกัด หรือจำกัดปริมาณนมต่อวันตามแผนการรักษา
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ยาที่ได้รับจะเป็นกลุ่มยา lanoxin เพื่อเพิ่มแรงบีบของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้มีเลือดออกไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น
ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ปอดโดยเฉพาะเรื่องความสะอาดของช่องปาก
ส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรได้ออกแรง หรือออกกำลังกาย เช่น การเล่นที่เหมาะสม และตามศักยภาพ
ดูแลให้ออกซิเจนเพื่อเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของออกซิเจนในร่างกายตามแผนการรักษา
ดูแลให้นอนในท่าศีรษะสูง fowler’s position การนอนท่านี้จะช่วยให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ ส่งผลให้การนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น
การบันทึกสัญญาณชีพทุก 1–2 ชั่วโมงหรือทุก 4 ชั่วโมงแล้วแต่สภาวะและความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเด็กเป็น