Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ปวยเด็กโรคไข้เลือดออก - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ปวยเด็กโรคไข้เลือดออก
ความหมาย
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ติดเชื้อ เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ จะมีไข้สูงลอยนาน 2-7 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลงสู่ปกติหรือต่ำกว่าปกติอย่างรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการช็อก และมีเลือดออก โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งทำใหผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้
พยาธิสภาพ
สาเหตุ
ยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย
หากยุงกัดในช่วง 2-7 วันที่มีไข้ก็จะได้รับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น
ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางคืน
อาการและอาการแสดง
ความรุนแรงของโรค
Grade 2
ผู้ป่วยไม่ช็อก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด
Grade 3
ผู้ป่วยช็อก มีความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเร็ว Pulse pressure แคบ เหงื่อออก กระสับกระส่าย
Grade 1
ผู้ป่วยไม่ช็อก เป็นไข้เลือดโดยที่ไม่มีจุดเลือดออก ทำ Tourniquet test ให้ผลบวก
Grade 4
ผู้ป่วยช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิตไม่ได้ DHF Grade 3 และ Grade 4 เรียกว่า DSS
การติดเชื้อแดงกี (Dangue Fever)
ไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส ไข้มักจะขึ้นสูงวันละ 2 ครั้ง
ผื่นในข่วงแรกๆของไข้จะมีผื่นขึ้นที่หน้า คอ หน้าอก ลักษณะเป็นผื่นแดงๆ
มีจุดเลือดออกตามผิว
ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever : DHF)
ระยะไข้สูง (Febrile stage)
ไข้สูงขึ้นทันทีเป็นเวลา 2 – 7 วัน หน้าตาแดง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องบริเวณชายโครงขวาเนื่องจากตับโต กดเจ็บ อาจมีผื่นขึ้นตามตัวคล้ายหัด ทำ Tourniquet test ให้ผลบวก
ระยะวิกฤติหรือระยะเลือดออก (shock/ hemorrhagic stage )
เกิดพร้อมกับที่มีไข้ลดลง ประมาณวันที่ 4-7 ของโรค รายที่ไม่รุนแรงอาจมีเหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง รายที่รุนแรงจะมีอาการกระสับกระส่าย ซึมลง มีอาการ shock
ระยะพักฟื้น (convalesent stage)
อาการต่างๆกลับคืนสู่สภาพปกติ ภายใน 2-3 วัน เริ่มรับประทานอาหารได้ ไม่อาเจียน ตับที่โตเล็กลง เลือดที่ออกก็จะหยุด
การรักษา
ถ้าเป็นเด็กโต ให้ isotonic solution , 5% D/NSS
ถ้าเป็นเด็กเล็ก < 1 ปี ให้ 5% D/N/2
ถ้าช็อกให้ isotonic solution ในช่วงที่มีภาวะช็อกเท่านั้น โดยให้ในขนาด 10-20 มิลลิลิตร/กิโลกรัม/ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นชัดเจนจากการให้สารน้ำ แม้จะเป็นเวลา ½ - 1 ชั่วโมง ควรจะลดอัตราเร็วของการให้สารน้ำ แก้ไขภาวะเสียดุลของเมตะบอลิกและอิเล็คโทรลัยท์ที่อาจเกิดขึ้น
ถ้าผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น ต้องนึกถึงภาวะเลือดออก อาจให้เลือด
การเอาใจใส่ดูแลของแพทย์และพยาบาลในช่วงวิกฤต การมีภาวะช็อกนาน (prolonged shock) ภาวะเป็นกรดจากเมตาบอลิซึม (metabolic acidosis) และมีภาวะ DIC รุนแรงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เลือดออกมาก ทำให้การพยากรณ์โรคเลวลง
ชนิดของเชื้อไวรัสแดงกี
ไข้ออกผื่น (Undifferentiated Fever)
ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever : DHF)
ไข้เลือดออกแดงกีช็อก (Dengue Shock Syndrome : DSS)
การติดเชื้อแดงกี (Dangue Fever)
เกณฑ์การวินิจฉัย
การติดเชื้อแดงกี (Dangue Fever)
ผลการทำงานของตับมักจะปกติ
ผลการตรวจเลือด CBC มักจะปกติในช่วงไข้ WBC อาจจะต่ำ
เกล็ดเลือดมักจะมีจำนวนลดลงน้อยกว่า 140’000 /mm3
Hct. อาจเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ 10% จากภาวะ dehydrate
ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever : DHF)
ไข้เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและไข้สูงลอย 2-7 วัน
มีอาการไข้เลือดออก อย่างน้อยทำ tourniquet test ให้ผลบวก ร่วมกับมี อาการเลือดออกอื่น เช่นจุดเลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกำเดา ถ่ายเป็นเลือด
เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 /mm3
ตับโต มักกดเจ็บ
การไหลเวียนเลือดผิดปกติ หรือช็อก
มีการรั่วของ plasma ออกนอกหลอดเลือด เลือดข้นขึ้น โดยมีการเพิ่มขึ้นของ Hct. มากกว่าหรือเท่ากับ 20% หรือมี pulmonary edema, Ascytes
WBC มักจะปกติหรือสูงในช่วงแรก แต่เมื่อเข้าสู่วันที่ไข้จำนวน WBC จะลดลง และมี atypical lymphocytes เพิ่มมากขึ้น
การตรวจ dengue NS1 Antigen
การตรวจ dengue PCR
ไข้เลือดออกแดงกีช็อก (Dengue Shock Syndrome : DSS)
ชีพจรเบาเร็ว
มีการเปลี่ยนแปลงในระดับความดันโลหิตโดยตรวจพบมี Pulse pressure แคบน้อยกว่า 20 mmHg โดยที่ความดันยังไม่ต่ำเช่น 100/80 หรือมีความดันโลหิตต่ำ
poor capillary refilled < 2 วินาที (วิธีตรวจทำโดยการกดเล็บ จะพบว่าซีด เมื่อปล่อยให้จับเวลาตั้งแต่ปล่อยจนสีเล็บกลับสู่ปกติ)
มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย
การพยาบาล
พักผ่อนในระยะที่มีไข้
เช็ดตัวหรือให้ยาลดไข้โดยพยายามให้อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส
ไม่ควรใช้ Aspirin และ brufen เพราะจะทำให้เลือดออกในทางเดินอาหาร
ให้น้ำเกลือแร่ทางปากในกรณีที่อาเจียนหรือเสียเหงื่อมาก
ประเมินติดตามอาการจนกระทั่งไม่มีไข้และผลเลือดกลับสู่ปกติ
การป้องกันและการควบคุมโรค
วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี และยั่งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย
ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล
ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้งและจะต้องทำพร้อมกันทั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
สำหรับชุมชนที่ห่างไกลก็อาจจะต้องใช้อาสาสมัคร
จัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ
กระตุ้นให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม
จัดการประกวดพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก