Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Sepsis Pneumonia c Pressure sore - Coggle Diagram
Sepsis Pneumonia c Pressure sore
การพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนจากระดับ O2 sat Monitor เวรละ 1 ครั้ง Keep > 98% และ ระดับความรู้สึกตัว ลักษณะการหายใจ อาการหอบเหนื่อย การตรวจสภาพสีผิว ปลายมือปลายเท้า ความ รู้สึกตัว สัญญาณชีพทุก 2 ชั่วโมงหรือทุก 4 ชั่วโมง ตามสภาพผู้ป่วยเพื่อจะได้ให้การพยาบาลได้ทันท่วงทีและ รายงานแพทย์ทราบทันทีเมื่อพบภาวะผิดปกติ :
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยจัดให้นอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อให้ปอดได้ยืดขยายได้เต็มที
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษา
เช็ดตัวลดไข้
ฟังเสียงปอดเป็นระยะ ๆ ในขณะที่เหนื่อยหอบ เพื่อประเมินการหดรัดตัวที่ผิดปกติของหลอดลม และท ากายภาพบ าบัดทรวงอก (chest physiotherapy) เพื่อให้เสมหะนั้นขับออกมาได้สะดวก
สาเหตุ
เกิดจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัด และยาสำหรับควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิดก็อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้
อาการและอาการแสดง
มักมีอาการไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และหอบเหนื่อย ส่วนใหญ่มักมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น หรือไข้หวัด มาก่อน บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดท้อง ท้องเดิน เบื่ออาหาร อาเจียนร่วมด้วย อาการไข้มักเกิดขึ้นฉับพลัน อาจมีลักษณะไอเป็นพักๆหรือไข้ตลอดเวลา อาการไอ ในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆต่อมาจะมีเสมหะขาวหรือขุ่นข้นออกเป็นสีเหลือง สีเขียว ผู้ป่วยมักมี อาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว ในผู้สูงอายุ อาจมีอาการซึม สับสนและไม่มีไข้
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด กรณีสาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
ภาวะช็อค กรณีติดเชื้อรุนแรง นำไปสู่ระบบอวัยวะภายในล้มเหลว
ภาวะมีน้ำหรือเป็นหนองในเยื่อหุ้มปอด
ภาวะฝีในปอด
ภาวะการหายใจล้มเหลว
ติดเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากขึ้นเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้จากการมีแผลกดทับบริเวณหลังก้นกบ
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ
มีภาวะสูญเสียกิจวัตรประจำวันเนื่องจากมีภาวะข้อยึดติด
ไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้
เสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
ผู้ป่วยมีภาวะพร่องสารอาหารเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ผู้ป่วยมีภาวะท้องผูกเนื่องจากรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย