Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว - Coggle Diagram
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว
Atrial Septal Defect
ความหมาย
ผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว
อาการ
ถ้ารูรั่วมีขนาดใหญ่ จะมีอาการอ่อนเพลียเวลาออกกำลังกาย เหนื่อยง่าย เหงื่อออกมาก เป็นหวัดหรือปอดบวมบ่อยๆ มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ตรวจร่างกายทั่วไปได้ยิน systolic murmur
การรักษา
การรักษาทางยาเมื่อเกิดภาวะหัวใจวายหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้แก่ ยา digitalis ยาขับปัสสาวะ ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
การผ่าตัด สามารถทำได้เมื่อวัยก่อนเข้าเรียนหรือทำก่อนถ้าเด็กมีอาการโดยการเย็บปิดผนังกั้นของ ASD หรือเย็บซ่อมลิ้นหัวใจ mitral
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มี
โปรตีนและแคลอรี่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต
ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ปอดโดยดูแลเรื่องความสะอาดของช่องปากและฟัน
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับน้ำในปริมาณที่จำกัด หรือจำกัดปริมาณนมต่อวันตามแผนการรักษา
ดูแลให้ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับร่างกายและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
การวินิจฉัย
chest x–ray : พบหัวใจโตเล็กน้อย มี ventricle ขวาโต และอาจจะมี atrium ขวาโต มีหลอดเลือดที่ปอดเพิ่ม
EKG : อาจมี atrium ขวาโต พบว่า มี P wave สูงแหลม
echocardiogram : ขนาดของ atrium ขวาและ ventricle ขวา
รวมทั้งหลอดเลือดแดง pulmonary มีขนาดใหญ่ขึ้น เห็นรูรั่วบริเวณผนังกั้นหัวใจห้องบนชัดเจน
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาการของหัวใจของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เกิดการพัฒนาของผนังกั้นหัวใจที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่ว
พยาธิสภาพ
ASD จะทำให้เลือดไหลลัดจาก LA มา RA (left to right shunt) ทำให้มีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นใน RA และ RV หัวใจห้องดังกล่าวโตขึ้นจาก volume overload
Ventricular Septal Defect
ความหมาย
เป็นความพิการของหัวใจที่มีทางเชื่อมติดต่อระหว่าง ventricle ซ้ายและขวา
พยาธิสภาพ
เลือดจะไหลลัดจากLV ไป RV (left to right shunt) ทำให้มีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นใน RV ทำให้ผนัง RV หนาตัวขึ้นและ RV โตขึ้นจาก volume overload มีการไหลกลับของเลือดที่จะไปปอด เลือดจาก RV ก็จะไหลลัดไป LV แทน (right to left shunt) ทำให้เลือดดำไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจึงเกิดอาการเขียว เรียกว่า Eisenmenger’ s syndrome
การรักษา
การดูแลสุขภาพทั่วไป
VSD ขนาดเล็กและขนาดกลาง ให้การดูแลสุขภาพอนามัยที่ดี ระมัดระวังและป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ โดยการดูแลสุขภาพของปาก ป้องกันไม่ให้ฟันผุ
VSD ขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ต้องทำการผ่าตัด
การผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการโดยการรัด pulmonary artery ให้เล็กลง ในกรณีไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจวายได้ การผ่าตัดเย็บปิดรูพิการหรือการผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ
กรณีมีภาวะหัวใจวาย ให้ยา digitalis ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือด
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาการของหัวใจของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เกิดการพัฒนาของผนังกั้นหัวใจที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดรูรั่ว
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : หายใจเร็วผิดปกติ เด็กตัวเล็ก โตช้า
การตรวจร่างกาย : พบเสียง murmur
EKG : พบ left atrium และ ventricle ทั้งสองโต
chest x-ray :
VSD ขนาดเล็ก : ขนาดหัวใจมักปกติหรือโตเล็กน้อย
VSD ขนาดปานกลาง : มักมีหัวใจโต หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้น
VSD ขนาดใหญ่ : มักพบว่าหัวใจโตมาก หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้นมาก พบ ventricle ซ้าย-ขวาโต และมี atrium ซ้ายโตด้วย
echocardiogram : มองเห็นขนาดรูรั่วและห้องหัวใจที่โตขึ้น
อาการ
VSD ขนาดเล็ก ไม่มีอาการ การเจริญเติบโตปกติ
VSD ขนาดปานกลาง เหนื่อยง่าย ตัวเล็ก และมีการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย พัฒนาการทางร่างกายช้า ดูดนมลำบากต้องพักเหนื่อย ตรวจพบหัวใจโตเล็กน้อย
VSD ขนาดใหญ่ เหนื่อยง่ายเมื่อทารกอายุประมาณ 1 – 2 เดือน เลี้ยงไม่โต ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย ตัวเล็ก หายใจเหนื่อยหอบ จะตัวเขียวเล็กน้อยเวลาร้อง หรือออกแรงมากๆ ตรวจพบหัวใจโตและมีอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย เช่น ตับโต หัวใจเต้นเร็วและแรง
การพยาบาล
การดูแลสุขภาพอนามัยที่ดี ระมัดระวังและป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ โดยการดูแลสุขภาพของปาก ป้องกันไม่ให้ฟันผุ
ดูแลให้ได้รับอาหาร น้ำ และเเคลอรี่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
เด็กที่มีอาการเหนื่อยมากจากการดูดนม ให้ดูดเป็นระยะๆ ข้างแรกให้ดูดนานประมาณ 8- 10 นาที อีกข้างให้ดูด 10-15 นาที หรือให้ทางสายยางแทน
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่จำเป็น และให้พักผ่อนมากๆ
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัยโดยพิจารณาจากข้อจำกัดของผู้ป่วย
อธิบายให้บิดามารดาและสมาชิกในครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับอาการ แนวทางในการดูแลรักษา เพื่อความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยและให้เด็กเกิดความไว้วางใจในตัวผู้ดูแล
Patent Ductus Arteriosus
สาเหตุ
เกิดจากการที่หลอดเลือด ductus arteriosus (หลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างส่วนต้นของ descending
aorta กับส่วนต้นของหลอดเลือดแดง pulmonary ข้างซ้าย) ไม่ปิดภายหลังทารกคลอด
การรักษา
ในรายที่ไม่มีอาการ ควรทำการผ่าตัดโดยผูกหรือตัด ductus arteriosus เมื่อผู้ป่วยอายุเกิน 1
ปีไปแล้ว เนื่องจากก่อนอายุ 1 ปี มีโอกาสที่ ductus arteriosus อาจจะปิดได้เอง ในผู้ป่วย PDA ทุกราย ควรได้รับการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ เกิด pulmonary
hypertension เนื่องจากการผ่าตัดปิด PDA ได้ผลดีมาก
การรักษาทางยา ในทารกแรกคลอดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนดและมีอาการหัวใจวายให้ยา
Indomethacin 0.2 mg/Kg. ทางปากหรือหลอดเลือดดำซ้ำ 3 ครั้ง ห่างกัน 8 –12 ชม. ในการให้ยา Digitalis ถ้า HR น้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้งดยามื้อนั้น ส่วนยาขยายหลอดเลือด ถ้า systolic blood
pressure น้อยกว่า 70 mmHg ให้งดยามื้อนั้น แต่ถ้าการใช้ยาไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องผ่าตัดผูกหลอดเลือดductus arteriosus ด้วยไหมขนาดใหญ่
ความหมาย
หลอดเลือดดัคตัส อาร์เตริโอซัส ไม่ปิดหลังคลอด
อาการ
PDA ขนาดเล็ก : มักไม่มีอาการ ตรวจร่างกายพบหัวใจไม่โต หรือโตเล็กน้อย ได้ยินเสียง murmur
PDA ขนาดปานกลาง : ผอาจมีอาการเหนื่อยง่ายเล็กน้อย มีการติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยๆ หัวใจซีกซ้ายโต พัฒนาการไม่สมวัย
PDA ขนาดใหญ่ : จะมีอาการมากตั้งแต่วัยทารก ในทารกคลอดก่อนกำหนดจะมีหัวใจวาย เหนื่อยหอบ น้ำหนักตัวไม่เพิ่ม ติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยๆ มีอาการเขียวปลายนิ้วเท้า หัวใจโต
การพยาบาล
ดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ปอด เช่น ดูแลความสะอาดของช่องปาก หลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นหวัดไอ เจ็บคอ หรือหลีกเลี่ยงการพาบุตรไปที่ชุมชน
ส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรได้ออกแรง หรือ
ออกกำลังกายเช่น การเล่นที่เหมาะสม และตามศักยภาพ
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัยโดยพิจารณาจากข้อจำกัดของผู้ป่วย
แนะนำให้สังเกตอาการที่ผิดปกติ เช่น หายใจเร็ว เหนื่อยหอบมาก ไม่ยอมดูดนม เป็นต้น ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
การมาตรวจตามนัด เป็นสิ่งสำคัญมาก การมาพบแพทย์แต่ละครั้งบุตรจะได้รับการประเมินปัญหาของโรคหัวใจ และจะได้รับคำแนะนำการดูแลที่อาจปรับเปลี่ยนไปบ้างในแต่ละครั้ง หรืออาจจะได้รับการปรับขนาดของยาที่ได้รับหรือปรับปริมาณน้ำหรือนมที่ได้
พยาธิสภาพ
ความดันของเลือดในหลอดเลือด aorta > pulmonary ทำให้เลือดจาก aorta ไหลกลับมา LA เลือดไปไหลเวียนที่ปอดใหม่ เนื่องจาก Ductus Arteriosus เปิดอยู่ เลือดดำจะผสมกับเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนล่างของร่างกาย เกิดภาวะ differential cyanosis ซึ่งในระยะท้ายจะเกิดภาวะหัวใจวายได้
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : จากอาการตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หายใจเร็ว
การตรวจร่างกาย : ได้ยิน murmur ที่ลิ้น pulmonic, ชีพจรเต้นแรง (bounding pulse) และ pulse pressure กว้างกว่า ½ ของความดัน systolic
chest x-ray : พบ ventricle ซ้ายโต หลอดเลือด pulmonary artery มีขนาดใหญ่ขึ้น หลอดเลือดที่ปอดเพิ่มขึ้น
EKG : พบว่าหัวใจล่างซ้ายโต
echocardiogram : พบว่า มีหัวใจด้านซ้ายโต วัดขนาดของ ductus arteriosus ได้
Pulmonic stenosis
สาเหตุ
เกิดการตีบของลิ้น pulmonary มีผลให้การไหลของเลือดจากหัวใจห้องล่างขวาไปยัง pulmonary artery ได้ยากขึ้น
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย : ฟังได้ systolic murmur บริเวณอกด้านซ้ายด้านบน คลำได้ ventricle ขวาโต
EKG : ventricle ขวาโต atrium ขวาโต
chest x-ray : พบมีการโป่งพองของ pulmonary artery หัวใจห้องบน และล่างขวาโต หลอดเลือดที่ปอดมักจะน้อยลง
echocardiogram : พบ atrium ขวาโต ventricle ขวาหนาขึ้น ดูโป่งพอง และมีการตีบแคบของหลอดเลือด pulmonary
การรักษา
รายที่เป็น mild pulmonary stenosis ไม่ต้องผ่าตัด
ในรายที่มีอาการมาก ทำผ่าตัด pulmonary valvotomy และ balloon valvuloplasty เพื่อขยายลิ้น pulmonary
ให้คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
พยาธิสภาพ
เกิดการอุดกั้นของทางออกของ ventricle ขวา ทำให้ ventricle ขวาต้องบีบตัวแรงขึ้น เพื่อให้มีปริมาณของเลือดไปปอดเพียงพอ กล้ามเนื้อของ ventricle ขวาจึงหนาตัวขึ้น ส่งผลให้เลือดจากatrium ขวาไหลลง ventricle ขวาได้ไม่สะดวก atrium ขวา จึงมีขนาดใหญ่และผนังหนาขึ้นและอาจทำให้ความดันใน atrium ขวาสูงกว่า atrium ซ้าย เกิดเลือดไหลลัดวงจรจาก atrium ขวาไปซ้าย(right to left shunt ) ทำให้เกิดอาการเขียวได้
การพยาบาล
อาการ
ชนิดที่มีการตีบแคบน้อย : ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ อาจพบ systolic murmur
ชนิดที่มีการตีบแคบปานกลาง : ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหนื่อยง่ายเพียงเล็กน้อยเวลาออกแรง พบ systolic murmur
ชนิดที่มีการตีบแคบมาก : ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะหัวใจซีกขวาวายหรือมีอาการเขียวเล็กน้อยในเด็กเล็ก ส่วนในเด็กโตมักมีอาการเหนื่อยง่าย อาจมีอาการเขียว พบ systolic murmur บางรายอาจมีการเป็นลมหมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิตในขณะออกกำลังกายได้
ความหมาย
หลอดเลือดพัลมอนิคตีบ
Coarctation of Aorta
การพยาบาล
ดูแลให้ออกซิเจนเพื่อเพิ่มปริมาณความเข้มข้น
ของออกซิเจนในร่างกาย
ดูแลให้นอนในท่าศีรษะสูง fowler’s position
หรือ semi-fowler’s position
ดูแลให้ได้น้ำและนมตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
บันทึกสัญญาณชีพทุก 1–2 ชั่วโมง หรือ
ทุก 4 ชั่วโมงแล้วแต่สภาวะและความรุนแรง
สังเกตอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย
อาการ
ในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่มาด้วยอาการของหัวใจวาย ได้แก่ หายใจเหนื่อยหอบ เลี้ยงไม่โต ตรวจร่างกายจะพบว่ามีหายใจเร็ว ชีพจรที่แขนจะแรงกว่าที่ขา
ในเด็กโตส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ ถ้ามีอาการมักจะเป็นผลจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย และติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ
พยาธิสภาพ
aorta ส่วนที่เป็น coarctation แคบลง ทำให้หัวใจห้อง ventricle ซ้ายทำงานหนักมาก และaortic blood flow ลดลง เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง และทำให้การทำงานของ ventricle ซ้ายเสียไป เป็นผลให้ความดันเลือดใน atrium ซ้ายสูงขึ้น มี left to right shunt ทำให้เกิดอาการหัวใจวาย
สาเหตุ
เกิดภาวะที่มีการตีบตันของ aorta ส่วนใหญ่เกิดที่ aortic isthmus ใต้ left subclavian artery
การรักษา
รักษาทางยา digitalis ในรายที่มีภาวะหัวใจวาย
Transluminal angioplasty with Balloon dilation หลัง dilate อาจเกิด aneurysm ได้
ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ทำผ่าตัดเมื่ออายุ 4–5 ปี โดยทำการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบออก และต่อส่วนปลายทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน (end to end anastomosis) หรือการตัดหลอดเลือดส่วนที่ตีบออก
ความหมาย
หลอดเลือดเอออร์ตาตีบ
การวินิจฉัย
chest x-ray : หัวใจห้องล่างซ้ายโต aorta ส่วนหน้าของบริเวณตีบแคบจะขยายใหญ่ขึ้น
EKG : หัวใจห้องล่างซ้ายโตในเด็กโต ส่วนเด็กเล็กจะพบ ventricle ขวาโต
echocardiogram : พบ hypoplasia ของ aortic isthmus อาจมี post stenosis dilation