Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในระยะที่ 1 ของการคลอด - Coggle Diagram
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในระยะที่ 1 ของการคลอด
การพยาบาลในระยะที่ 1 ของการคลอด
ระยะที่ 1 ของการคลอด เริ่มต้นจากระยะตั้งแต่ เริ่มเจ็บครรภ์จริง (onset truecontraction) หรือปากมดลูกเริ่มเปิดจนกระทั่งปากมดลูกเปิดครบ 10 cms. (fully dilatation) การพยาบาลแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะรับใหม่ และระยะรอคลอด
มีขั้นตอนตามลำดับต่อไปนี้
1. การพิจารณาอาการสำคัญของผู้คลอด อาจมาด้วยอาการดังต่อไปนี้
เจ็บครรภ์จริง
มีน้ำเดิน
มีมูก หรือเลือดออก
แพทย์นัด (เพื่อการรักษา เพื่อเร่งคลอด เพื่อผ่าตัดคลอด)
มีภาวะเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ทารกไม่ดิ้น ทารกดิ้นน้อยลง เลือดออก เป็นต้น
2. การดูแลผู้คลอดเมื่อแรกรับ เมื่อวินิจฉัยได้ว่าผู้คลอดเข้าสู่ระยะคลอดจริง หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลควรเตรียมผู้คลอด ดังนี้
2.1 เซ็นใบยินยอมให้การรักษา (Informed consent) โดยต้องอธิบายถึง เหตุผลในการเซ็นใบยินยอมให้ผู้คลอดเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ซักถามก่อนเซ็นใบยินยอม
2.2 วัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง ยกเว้นในรายที่สภาวะผิดปกติ เช่น ความดันโลหิตสูงควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ
2.3 ตรวจการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อ โดยการคลำหน้าท้องที่บริเวณยอดมดลูก ตั้งแต่เริ่มมีการหดตัว จนถึงระยะที่เริ่มมีการคลายตัว ให้สังเกตความรุนแรงความถี่ห่าง ของการหดรัดตัวแต่ละครั้ง
2.4 ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ การฟังควรสังเกตความสมํ่าเสมอของจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจด้วย ถ้ามากกว่า 160 ครั้ง/นาที หรือน้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที ควรรีบรายงานแพทย์
2.5 เตรียมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกโดยโกนขนบริเวณหัวเหน่า ผีเย็บ และทารกหนัก เป็นการเตรียมผิวหนังเพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด การตัดและซ่อมแซมฝีเย็บภายหลังคลอด
1 more item...
อ้างอิง
พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม.(2553).การพยาบาลในระยะคลอด.มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
ศิริพร พงษ์โภคา.(2549).การพยาบาลมารดาในระยะคลอด.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย.
พวงน้อย สาครวัฒนกุล. (2547) . การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์.กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์พานิช.